ความเชื่อมั่น : กลยุทธ์การตลาดยั่งยืน

ความเชื่อมั่น : กลยุทธ์การตลาดยั่งยืน

By นางสาวชัญญา ธนศักดิภัทร
K-chanya

การดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับการแปรรูปมะพร้าวผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรในรูปกะทิสำเร็จรูป เครื่องดื่มมะพร้าวพร้อมดื่ม ฯลฯ เพื่อการส่งออก ปัญหาส่วนใหญ่ที่เจอก็คือ คุณภาพสินค้าที่ (อาจ) มีโอกาสติดเชื้อในสายการผลิต ผลตามมาก็คือ ลูกค้าเกิดความไม่เชื่อมั่น ส่งผลกระทบต่อการขาย การตลาดและแบรนด์


เมื่อเกิดปัญหาใหญ่ ต้องเร่งแก้เกม สร้างความ “เชื่อมั่น” ให้กลับคืนมาให้ได้อย่างรวดเร็ว...!!! นั่นคือแสดงความรับผิดชอบ เชิญลูกค้าเยี่ยมชมโรงงาน ชมกระบวนการผลิตและสร้างความประจักษ์ในเรื่องมาตรฐานการผลิต ในกระบวนการผลิต  ประเด็นสำคัญคือการสื่อสารกับลูกค้าด้วยข้อมูลที่เป็นจริง เมื่อเห็นความมุ่งมั่นในการดำเนินธุรกิจ
ความเชื่อมั่นที่ “ลูกค้า” หรือ “คู่ค้า” มีความสำคัญอย่างยิ่งในการทำธุรกิจ โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์กึ่งสำเร็จรูปและสำเร็จรูปได้รับความนิยมมากขึ้น ในขณะเดียวกันอาหารไทยในตลาดต่างประเทศก็ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย ขณะที่ตลาดผู้บริโภคในประเทศมีความต้องการ เพิ่มมากขึ้น ผู้บริโภคปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและธุรกิจบริการอาหารก็ปรับตัวเพื่อให้เกิดความรวดเร็วในการให้บริการและควบคุมต้นทุนลดความสูญเสีย ด้วยเหตุนี้การแข่งขันของตลาดการดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับการแปรรูปมะพร้าวก็มีความเข้มข้นด้วยเช่นกัน
วิจัยและพัฒนาสู่นวัตกรรมใหม่ : เน้นการเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตโดยใช้การวิจัยและพัฒนา (R&D : Research and Development) เพื่อนำไปสู่นวัตกรรมใหม่ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์รูปแบบใหม่ๆ เพื่อสร้างความแตกต่างและสร้างตลาดตอบสนองความต้องการผู้บริโภคในรูปแบบการใช้สินค้าตามการใช้งานมากยิ่งขึ้น
สร้างฐานลูกค้าประจำ-เปิดตลาดใหม่ : ต้องสร้างฐานลูกค้าเก่าด้วยกิจกรรมส่งเสริมการขาย ในขณะเดียวกันก็นำผลิตภัณฑ์ใหม่ทดลองทำการตลาดเพื่อต่อยอดสินค้าเดิมสนองความต้องการของตลาดเฉพาะ ด้วยการนำไปร่วมออกบูธในต่างประเทศ ทั้งที่ในประเทศที่มีฐานลูกค้าเก่าและเปิดตลาดใหม่ๆ ยังประเทศที่ไม่เคยไป การเพิ่มสินค้าใหม่ภายใต้แบรนด์ของตัวเองจะช่วยการสร้างการจดจำและลดความเสี่ยงทางธุรกิจได้
 
“ธุรกิจอาหารหากมีการเปลี่ยนแบรนด์บ่อยๆ จะมีผลต่อสูตรอาหารที่รสชาติออกมาจะไม่คงเดิม”
การบริหารระบบขนส่ง-จัดการห่วงโซ่อุปทาน : การบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานและระบบขนส่งในโรงงานให้มีประสิทธิภาพ อาทิ หันมาส่งเสริมเกษตรกรเพาะปลูกมะพร้าวมากขึ้นควบคู่ไปกับการบริหารและจัดการภายในองค์กรในการเก็บสต็อกวัตถุดิบหรือในรูปผลิตภัณฑ์กะทิที่มีความเข้มข้นมากขึ้นเพื่อลดความเสี่ยงวัตถุดิบขาดแคลน หรือลงทุนทำสวนปลูกมะพร้าวต้นแบบ ซึ่งนอกจากจะใช้เป็นสถานที่เพื่อให้เกษตรกรที่สนับสนุนมาดูงานแล้ว ยังสามารถเปิดให้คู่ค้าหรือลูกค้ามาดูกระบวนการ การดูซึ่งก็จะช่วยให้เกิดความเชื่อมั่นหรือมั่นใจแก่ลูกค้าได้เป็นอย่างดี
ตลาดอาเซียนที่จะรวมตัวกันเป็นประชาคมเศรษฐกิจเดียวกันในปีหน้า ว่ากันว่าประเทศ มาเลเซีย,  อินโดนีเซีย และประเทศฟิลิปินส์ จะได้เปรียบประเทศไทย เนื่องจากมีมะพร้าวมากกว่า อีกทั้งราคายังถูก เมื่อนำมาแปรรูปก็จะทำให้ต้นทุนต่ำกว่าของไทย หากแต่มองถึงการพัฒนาด้านเทคโนโลยีการผลิตให้มีประสิทธิภาพและได้คุณภาพนั้นนับว่าไทยยังได้เปรียบอยู่ ด้วยเหตุนี้ ด้านการพัฒนาของผลิตภัณฑ์เชื่อว่า กระแสความต้องการเพื่อสุขภาพ หรือให้ความสำคัญในการรักษาสิ่งแวดล้อมนั้นจะมีบทบาทสำคัญในการทำให้ผู้ประกอบการต้องปรับตัวทั้งด้านผลิตภัณฑ์และกลยุทธ์ในการเข้าถึงลูกค้า
ดังนั้น การสื่อสารด้วยข้อมูลที่ถูกต้อง สร้างความเชื่อมั่นที่มาจากฐานการวิจัยและพัฒนาจะมีบทบาทมากขึ้น หรืออาจจะมากพอๆ กับการทำประชาสัมพันธ์ให้อาหารไทยให้เป็นที่รู้จักกว้างขวางขึ้น
ขอบคุณข้อมูลจาก: -
ลงทะเบียนรับข่าวสาร
บริการส่งข้อมูลความรู้ ให้ลูกค้าธุรกิจผ่านอีเมล์
บริการจัดส่งบทวิเคราะห์และข้อมูลข่าวสารทางธุรกิจผ่านทาง E-mail
  • บทวิเคราะห์เศรษฐกิจรายสัปดาห์จากศูนย์วิจัยกรุงศรี
  • ผลการสำรวจดัชนีภาวะธุรกิจ SME รายไตรมาส โดยกรุงศรี
  • ข่าวสาร และกิจกรรมของธนาคาร
  • บริการทางการเงิน และโปรโมชั่นใหม่ๆ ของธนาคาร
Follow us on
ลงทะเบียนรับข่าวสาร
บริการส่งข้อมูลความรู้ ให้ลูกค้าธุรกิจผ่านอีเมล์
บริการจัดส่งบทวิเคราะห์และข้อมูลข่าวสารทางธุรกิจผ่านทาง E-mail
  • บทวิเคราะห์เศรษฐกิจรายสัปดาห์จากศูนย์วิจัยกรุงศรี
  • ผลการสำรวจดัชนีภาวะธุรกิจ SME รายไตรมาส โดยกรุงศรี
  • ข่าวสาร และกิจกรรมของธนาคาร
  • บริการทางการเงิน และโปรโมชั่นใหม่ๆ ของธนาคาร
Powered by
© 2567 ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน)
Follow