ช่องทางสว่างไสวของเอสเอ็มอีใน “เออีซี”

ช่องทางสว่างไสวของเอสเอ็มอีใน “เออีซี”

By Krungsri GURU SME

ปี 2559 เป็นปีที่เข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนหรือเออีซีโดยสมบูรณ์ ซึ่งผู้ประกอบการส่วนใหญ่ต่างรับรู้กันอยู่แล้ว แต่เชื่อว่ายังมีเอสเอ็มอีจำนวนไม่น้อยที่ไม่มีข้อมูลเชิงลึกว่าจะเกิดผลอะไรบ้างกับธุรกิจที่ทำอยู่

ก่อนอื่นคงต้องทราบข้อมูลเบื้องต้นว่า สินค้าที่จะแข่งขันรุนแรงในเออีซีที่ประกอบด้วย 10 ประเทศ มีหลากหลาย อาทิ อาหารและเครื่องดื่ม อาหารทะเล เสื้อผ้า ผลิตภัณฑ์ไม้ เฟอร์นิเจอร์ไม้ ยานยนต์และชิ้นส่วน ดังนั้นผู้ประกอบการในธุรกิจเหล่านี้จำเป็นจะต้องปรับตัวรับมือกับสิ่งที่เกิดขึ้น เพื่อให้ธุรกิจอยู่รอดปลอดภัยและเติบโตได้อย่างยั่งยืน (อ่านบทความรับมือกับ AEC อย่างชาญฉลาด)
 

หลักกว้าง ๆ ที่เอสเอ็มอีควรดำเนินการ คือ

1. ต้องศึกษาเรียนรู้ความต้องการของตลาด ต้องรู้เทรนด์สินค้าที่ผลิตอยู่ว่าไปทางไหน แล้วนำมาปรับปรุงให้สอดรับกับความต้องการของผู้บริโภค ยกตัวอย่าง บริษัทผู้ผลิตรองเท้าแตะรายหนึ่ง มองว่ายุคนี้ผู้คนทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยเฉพาะวัยรุ่นทั้งหลายต่างนิยมสวมรองเท้าผ้าใบในโอกาสต่าง ๆ ไม่ใช่เฉพาะเล่นกีฬาอย่างเดียว บริษัทดังกล่าวจึงหันมาผลิตรองเท้าผ้าใบในรูปแบบลำลองเพื่อให้ใช้หลากหลาย เป็นการเพิ่มช่องทางการตลาด และเพิ่มยอดขายให้กับบริษัท
2. รู้แนวโน้มกระแสความเปลี่ยนแปลงของโลก พร้อมปรับตัวให้ทัน อย่างเช่นที่ผ่านมา ตลาดยุโรปให้ความสำคัญกับสินค้าออแกนิกมาก ฉะนั้นหากจะส่งสินค้าเกษตร หรือเกษตรแปรรูปไปยังตลาดดังกล่าวควรจะต้องทราบข้อมูลดังกล่าวด้วย และถ้าจะให้ขายได้ก็ต้องเป็นสินค้าออแกนิกที่มีใบรับรองมาตรฐานตามหลักสากล
3. ต้องเรียนรู้พฤติกรรมผู้บริโภคที่แตกต่างไปจากเดิมมาก เพราะผู้คนในยุคนี้ต่างหันมาซื้อสินค้าออนไลน์กันมากขึ้นเรื่อย ๆ และเทรนด์ต่อไป คือ การใช้สมาร์ทโฟนทำทุกสิ่งทุกอย่าง ไม่ว่าจะเป็นการดูหนังฟังเพลง ฯลฯ รวมถึงการช็อปทางออนไลน์ด้วย บริษัทใหญ่ ๆ ลงทุนทำแอปพลิเคชั่นเพื่อสื่อสารกับลูกค้าได้ตลอด นอกเหนือจากการมีเว็บไซต์และช่องทางการสื่อสารต่าง ๆ ทางโซเชียลมีเดีย หรือสื่อแบบเดิม ๆ
ที่ผ่านมาสินค้าและบริการของบ้านเราเป็นที่ยอมรับในเรื่องคุณภาพและมาตรฐาน โดยเฉพาะในประเทศรอบ ๆ ต่างนิยมชมชอบสินค้าไทยเป็นอย่างมาก แต่ในอีกไม่ช้าประเทศเหล่านี้ย่อมจะมีความสามารถในการผลิตสินค้าเหล่านั้นเอง ซึ่งจะได้เปรียบในเรื่องของราคา เนื่องจากค่าแรงงานขั้นต่ำของประเทศอื่นถูกกว่าประเทศไทย ฉะนั้นผู้ประกอบการไทยจะต้องเตรียมรับมือกับเรื่องเหล่านี้
สิ่งที่ควรจะทำ คือ ต้องพัฒนาผลิตภัณฑ์ในรูปของนวัตกรรมใหม่ ๆ ควบคู่ไปกับภูมิปัญญาดั้งเดิมของคนไทย อันเป็นเอกลักษณ์เฉพาะที่มีความโดดเด่น เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้านั้น ๆ แทนที่จะผลิตในแบบเดิม ๆ ซึ่งนับวันจะมีคู่แข่งเพิ่มขึ้นในราคาที่ประเทศไทยไม่สามารถแข่งขันได้
ยกตัวอย่างเช่น เสื้อผ้าแฟชั่นระดับกลางลงล่าง แต่ก่อนไทยเป็นผู้นำส่งออก แต่ในช่วงไม่กี่ปีมานี้ตลาดดังกล่าวซบเซาเพราะมีคู่แข่งเพิ่มขึ้น สุดท้ายไทยสูญเสียตลาดนี้ไปเพราะสู้ราคาไม่ได้
ขณะเดียวกันอย่ามองว่าเออีซีเป็นเรื่องน่ากลัว ในทางกลับกันควรมองว่าเป็นโอกาสมากกว่า และใช้ให้เป็นประโยชน์ต่อธุรกิจ นั่นคือ หาพันธมิตรในเออีซีแทนที่จะมองว่าเป็นคู่แข่ง โดยเอสเอ็มอีสามารถเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของบริษัทใหญ่ ๆ ได้ในฐานะคู่ค้า ซึ่งจะทำให้ได้รับประโยชน์ในเรื่องการผลิต การตลาด และเทคโนโลยีต่าง ๆ นอกจากนี้ยังใช้เป็นแหล่งวัตถุดิบที่บ้านเรามีไม่เพียงพอ
สรุปแล้วในเออีซียังมีช่องทางให้เอสเอ็มอีได้เติบโตอีกยาวไกล ขึ้นอยู่กับว่าเดินไปในทิศทางที่ถูกที่ควรหรือไม่ประการใด
ขอบคุณข้อมูลจาก: -
ลงทะเบียนรับข่าวสาร
บริการส่งข้อมูลความรู้ ให้ลูกค้าธุรกิจผ่านอีเมล์
บริการจัดส่งบทวิเคราะห์และข้อมูลข่าวสารทางธุรกิจผ่านทาง E-mail
  • บทวิเคราะห์เศรษฐกิจรายสัปดาห์จากศูนย์วิจัยกรุงศรี
  • ผลการสำรวจดัชนีภาวะธุรกิจ SME รายไตรมาส โดยกรุงศรี
  • ข่าวสาร และกิจกรรมของธนาคาร
  • บริการทางการเงิน และโปรโมชั่นใหม่ๆ ของธนาคาร
Follow us on
ลงทะเบียนรับข่าวสาร
บริการส่งข้อมูลความรู้ ให้ลูกค้าธุรกิจผ่านอีเมล์
บริการจัดส่งบทวิเคราะห์และข้อมูลข่าวสารทางธุรกิจผ่านทาง E-mail
  • บทวิเคราะห์เศรษฐกิจรายสัปดาห์จากศูนย์วิจัยกรุงศรี
  • ผลการสำรวจดัชนีภาวะธุรกิจ SME รายไตรมาส โดยกรุงศรี
  • ข่าวสาร และกิจกรรมของธนาคาร
  • บริการทางการเงิน และโปรโมชั่นใหม่ๆ ของธนาคาร
Powered by
© 2567 ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน)
Follow