เคล็ดลับจัดการภาษีธุรกิจ SMEs ให้มีประสิทธิภาพที่สุด

เคล็ดลับจัดการภาษีธุรกิจ SMEs ให้มีประสิทธิภาพที่สุด

By TaxBugnoms

หลายๆ คนที่เป็นเจ้าของธุรกิจ SMEs ทั้งหลาย มักจะเกิดความสงสัยว่า จะทำธุรกิจอย่างไรถึงจะประหยัดภาษีได้มากที่สุด แถมยังไม่รู้ว่าจะใช้เทคนิคไหนดีเพื่อวางแผนภาษีให้ถูกต้อง ครั้นจะวางแผนง่ายๆให้ถูกใจตัวเองด้วยการจ่ายภาษีน้อยๆ ก็กลัวว่าจะกลายเป็นเรียกให้พี่สรรพากรมาหาถึงออฟฟิศเสียได้

อย่างที่เรารู้กันดีครับว่า เรื่องของภาษีนั้นมันแสนจะยุ่งยาก ซับซ้อน แถมยังมีรายละเอียดมากมายจนทำให้ใครหลายคนสับสนว่า ควรวางแผนแบบไหน ต้องเสียภาษีอะไรบ้าง และต้องจ้างผู้เชี่ยวชาญหรือไม่ วันนี้ @TAXBugnoms เลยมีเคล็ดลับดีๆ 5 ข้อ ในการจัดการภาษีให้มีประสิทธิภาพที่สุด สำหรับธุรกิจ SMEs มาฝากกันครับ
1. รู้ก่อนว่า... “ธุรกิจ” ไม่ใช่เรื่อง “ส่วนตัว”
โดยปกติแล้ว เจ้าของธุรกิจทั้งหลายมักจะแยกระหว่างความเป็น “ส่วนตัว” กับ “กิจการ” ไม่ออก เพราะเข้าใจผิดว่า “รายจ่ายของธุรกิจคือรายจ่ายของเรา” และ “รายจ่ายของเราก็คือรายจ่ายของธุรกิจ” ชีวิตมันเลยสับสนอลหม่านแบบนี้ล่ะครับ
เพราะตามหลักของกฎหมาย สถานภาพของ “เจ้าของ” หรือ “ผู้บริหาร” จะถือว่าเป็น “บุคคลธรรมดา” แยกออกจาก “ธุรกิจ” ที่มีสถานภาพเป็น “นิติบุคคล” โดยเด็ดขาด แถมกฎหมายภาษี (ประมวลรัษฎากร) ยังห้ามไว้ด้วยว่า อย่าเอารายจ่ายมารวมกัน เพราะมันผิดกฏหมายนะจ๊ะ
ดังนั้นค่าใช้จ่ายส่วนตัวทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็น ค่าน้ำมันรถ ค่าอาหาร รวมถึงค่าใช้จ่ายต่างๆ ของครอบครัวและบุตรหลาน อย่าเอามาผสมปนเปกับรายจ่ายของธุรกิจเลยนะครับ มิฉะนั้นอาจจะมีปัญหา แล้วจะหาว่าไม่เตือนไม่ได้นะ
1. รู้ก่อนว่า... “ธุรกิจ” ไม่ใช่เรื่อง “ส่วนตัว”
โดยปกติแล้ว เจ้าของธุรกิจทั้งหลายมักจะแยกระหว่างความเป็น “ส่วนตัว” กับ “กิจการ” ไม่ออก เพราะเข้าใจผิดว่า “รายจ่ายของธุรกิจคือรายจ่ายของเรา” และ “รายจ่ายของเราก็คือรายจ่ายของธุรกิจ” ชีวิตมันเลยสับสนอลหม่านแบบนี้ล่ะครับ
เพราะตามหลักของกฎหมาย สถานภาพของ “เจ้าของ” หรือ “ผู้บริหาร” จะถือว่าเป็น “บุคคลธรรมดา” แยกออกจาก “ธุรกิจ” ที่มีสถานภาพเป็น “นิติบุคคล” โดยเด็ดขาด แถมกฎหมายภาษี (ประมวลรัษฎากร) ยังห้ามไว้ด้วยว่า อย่าเอารายจ่ายมารวมกัน เพราะมันผิดกฏหมายนะจ๊ะ
1. รู้ก่อนว่า... “ธุรกิจ” ไม่ใช่เรื่อง “ส่วนตัว”
โดยปกติแล้ว เจ้าของธุรกิจทั้งหลายมักจะแยกระหว่างความเป็น “ส่วนตัว” กับ “กิจการ” ไม่ออก เพราะเข้าใจผิดว่า “รายจ่ายของธุรกิจคือรายจ่ายของเรา” และ “รายจ่ายของเราก็คือรายจ่ายของธุรกิจ” ชีวิตมันเลยสับสนอลหม่านแบบนี้ล่ะครับ
เพราะตามหลักของกฎหมาย สถานภาพของ “เจ้าของ” หรือ “ผู้บริหาร” จะถือว่าเป็น “บุคคลธรรมดา” แยกออกจาก “ธุรกิจ” ที่มีสถานภาพเป็น “นิติบุคคล” โดยเด็ดขาด แถมกฎหมายภาษี (ประมวลรัษฎากร) ยังห้ามไว้ด้วยว่า อย่าเอารายจ่ายมารวมกัน เพราะมันผิดกฏหมายนะจ๊ะ
2. เข้าใจว่า... ธุรกิจของเราต้องเสียภาษีอะไรบ้าง
ภาษีที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจส่วนใหญ่นั้น จะแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ ภาษีทางตรง และ ภาษีทางอ้อม ซึ่งแต่ละประเภทนั้น มีรายละเอียดดังนี้
ภาษีทางตรง คือ ภาษีที่มีการเรียกเก็บเงินจากเราโดยตรงและไม่สามารถผลักภาระให้กับใครได้เลย ซึ่งก็คือ ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา และภาษีเงินได้นิติบุคคล นั่นเอง
ส่วน ภาษีทางอ้อม คือ ภาษีที่เราสามารถผลักภาระภาษีทั้งหมดไปให้กับผู้บริโภคได้ โดยประกอบด้วยภาษีหลักๆ 3 ประเภท ได้แก่ ภาษีมูลค่าเพิ่ม, ภาษีธุรกิจเฉพาะ และ อากรแสตมป์
ภาษีมูลค่าเพิ่ม คือ ภาษีที่มีการเรียกเก็บเงินจากเราโดยตรงและไม่สามารถผลักภาระให้กับใครได้เลย ซึ่งก็คือ ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา และภาษีเงินได้นิติบุคคล นั่นเอง
ภาษีธุรกิจเฉพาะ คือ ภาษีที่มีการจัดเก็บจากธุรกิจเฉพาะอย่าง เช่น ธนาคาร ประกันชีวิต โรงรับจำนำ ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์
อากรแสตมป์ คือ ภาษีที่มีการจัดเก็บจากธุรกิจเฉพาะอย่าง เช่น ธนาคาร ประกันชีวิต โรงรับจำนำ ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์
โดยส่วนใหญ่แล้วธุรกิจ SMEs จะต้องเสียภาษีทั้งสองประเภท ประกอบด้วย “ภาษีทางตรง” คือ ภาษีเงินได้นิติบุคคล และ “ภาษีทางอ้อม” คือ ภาษีมูลค่าเพิ่ม ดังนั้นเจ้าของธุรกิจ SMEs ทั้งหลาย ต้องเข้าใจภาษีทั้งสองประเภทนี้ด้วยนะครับ ว่าแต่ละประเภทแตกต่างกันอย่างไร และเรามีหน้าที่ยื่นแบบแสดงรายการภาษีตอนไหนและอย่างไรบ้าง
3. มองหา... ผู้เชี่ยวชาญและที่ปรึกษาดีๆ
อย่างที่บอกไปตั้งแต่ต้นแล้วว่า เรื่องราวของภาษีนั้นเป็นเรื่องที่วุ่นวายซับซ้อน ดังนั้นการมองหาที่ปรึกษาดีๆ หรือผู้เชี่ยวชาญสักคนอาจจะเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ทำให้การทำธุรกิจของเราง่ายขึ้นกว่าเก่า โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ถ้าธุรกิจ SMEs ของเรามีนักบัญชีคู่ใจดีๆ หรือที่ปรึกษาทางกฎหมายที่เชื่อใจได้ อาจจะทำให้ธุรกิจเราดำเนินไปได้อย่างรวดเร็ว และไม่มีปัญหาด้านกฎหมายและเอกสารต่างๆที่วุ่นวายอีกด้วยครับ
4. วางแผน... เสียภาษีให้ถูกต้องตามกฎหมาย
การวางแผนภาษีที่ดีที่สุด คือ การใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีต่างๆ ให้ถูกต้องตามกฎหมาย โดยเฉพาะเรื่องของภาษีเงินได้นิติบุคคลนั้น เราสามารถเลือกใช้สิทธิประโยชน์ทางด้านภาษีต่างๆ ที่กฎหมายกำหนดไว้ เช่น ค่าใช้จ่ายบางรายการที่สามารถหักได้ 2 เท่า เป็นต้น
5. อย่าอาย... ที่จะโทรหาสรรพากร
สำหรับข้อสุดท้ายนี้ ขอแนะนำสำหรับผู้ที่ทำธุรกิจทุกคนว่า.. ถ้าหากมีปัญหาด้านภาษีจริงๆ หรือไม่เข้าใจเรื่องอะไรที่เกี่ยวกับภาษี เราไม่จำเป็นต้องคิดเอาเอง แต่สามารถสอบถามจากทางสำนักงานสรรพากรพื้นที่ ในเขตที่กิจการของเราตั้งอยู่ เพื่อป้องกันปัญหาการตีความผิดๆ ทางด้านกฎหมาย ซึ่งอาจจะกลายเป็นปัญหาในอนาคตได้ ดังนั้น อย่าอายและอย่ากลัวเลยครับ ถ้าหากเราไม่ได้ทำอะไรที่ผิดกฎหมาย พี่สรรพากรเขาไม่จัดการเราให้ตายหรอกจ้า
สุดท้ายนี้... ขอฝากข้อคิดไว้ก่อนจากกันว่า เรื่องภาษีนั้นก็เหมือนกับเงา ที่คอยตามติดธุรกิจของเราไปทุกที่ อย่าคิดที่จะวิ่งหนีให้เสียเวลาเปล่า แต่เราควรหาวิธีที่จะทำให้เงาจางลงไปด้วยการออกมาอยู่ในที่สว่างผ่านวิธีการวางแผนภาษีที่ถูกต้อง มันน่าจะง่าย สะดวกและประหยัดเวลากว่าเป็นไหนๆ จริงไหมครับ
ขอบคุณข้อมูลจาก: -
ลงทะเบียนรับข่าวสาร
บริการส่งข้อมูลความรู้ ให้ลูกค้าธุรกิจผ่านอีเมล์
บริการจัดส่งบทวิเคราะห์และข้อมูลข่าวสารทางธุรกิจผ่านทาง E-mail
  • บทวิเคราะห์เศรษฐกิจรายสัปดาห์จากศูนย์วิจัยกรุงศรี
  • ผลการสำรวจดัชนีภาวะธุรกิจ SME รายไตรมาส โดยกรุงศรี
  • ข่าวสาร และกิจกรรมของธนาคาร
  • บริการทางการเงิน และโปรโมชั่นใหม่ๆ ของธนาคาร
Follow us on
ลงทะเบียนรับข่าวสาร
บริการส่งข้อมูลความรู้ ให้ลูกค้าธุรกิจผ่านอีเมล์
บริการจัดส่งบทวิเคราะห์และข้อมูลข่าวสารทางธุรกิจผ่านทาง E-mail
  • บทวิเคราะห์เศรษฐกิจรายสัปดาห์จากศูนย์วิจัยกรุงศรี
  • ผลการสำรวจดัชนีภาวะธุรกิจ SME รายไตรมาส โดยกรุงศรี
  • ข่าวสาร และกิจกรรมของธนาคาร
  • บริการทางการเงิน และโปรโมชั่นใหม่ๆ ของธนาคาร
Powered by
© 2567 ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน)
Follow