ธุรกิจ Fintech เริ่มให้รุ่ง ต้องมุ่งมั่น ใจต้องกล้า

ธุรกิจ Fintech เริ่มให้รุ่ง ต้องมุ่งมั่น ใจต้องกล้า

By Piyaphan Make Billion
คนในยุคหนึ่งที่ผ่านมาจะคุ้นเคยกับระบบเดิม ๆ เช่น การชำระเงินต้องผ่านธนาคาร เทรดหุ้นผ่านบริษัทโบรกเกอร์ ทำประกันฯ ผ่านบริษัทประกันฯ ใหญ่ ๆ ซื้อกองทุนต้องซื้อผ่านบริษัทบริหารกองทุนรวม เป็นต้น

 
แต่ในยุค Fintech อย่างปัจจุบัน ทุกอย่างดูเปลี่ยนไป มีแพลตฟอร์ม และแอปพลิเคชันให้เราได้ใช้อย่างสะดวกสบายทุกที่ทุกเวลา ทั้งมีแพลตฟอร์มสำหรับใช้ชำระเงินในการสั่งซื้อสินค้าและบริการ แอปฯ เทรดหุ้น แอปฯ เทียบราคาประกันหรือกองทุนรวมกำเนิดขึ้นมากมาย ความไว้เนื้อเชื่อใจในเทคโนโลยีที่มากขึ้นของผู้คนมาพร้อม ๆ กับความต้องการความสะดวกสบายที่มากขึ้น
โลกของ Finance กับ Technology ได้เชื่อมต่อ จนกลายมาเป็น Fintech ที่เราคุ้นหู
ตัวเงินหลักหลายพันหลายหมื่นล้านบาทต่อวัน ในการทำธุรกรรมทางการเงิน หรือการเทรดหุ้น ทำให้เปอร์เซ็นต์ที่น้อยนิด เช่น 0.1% เท่านั้น ก็สร้างมูลค่ามโหฬารตาม ยกตัวอย่าง หาก Fintech ได้คอมมิชชั่น 0.1% หรือพันละ 1 บาท (หมื่นละ 10 บาท) เงินหมื่นล้านบาทต่อวันในการทำธุรกรรมทางการเงิน จะทำรายได้ 10 ล้านบาทต่อวันแก่ Fintech ด้วยแพลตฟอร์มที่ทำไว้ เหมือนระบบท่อน้ำที่พร้อมให้เงินไหลเข้ามาทุกวันตลอด 24 ชั่วโมง
นั่นคือเหตุผลที่ทำให้ Startup หลาย ๆ ทีมโฟกัสไปยังอุตสาหกรรม Fintech ด้วยโอกาสที่เยอะในการหารายได้เอง แถมยังมีสปอนเซอร์มากหน้าหลายตาพร้อมสนับสนุน ไม่ว่าจะสถาบันทางการเงินที่ขยับตัวมาลุยเองในมุมเทคโนโลยี รวมถึง Angel Investor หรือ VC ที่เห็นโอกาสตรงนี้ก็พร้อมเอาเงินมาลงช่วย
เราจึงไม่แปลกใจนักที่ได้เห็นดีลใหญ่แห่งปีเป็นบันทึกประวัติศาสตร์ไทยของ Omise ใน Series B ที่มีมูลค่าสูงถึง 17.5 ล้านเหรียญ (612 ล้านบาท) การสร้างช่องทางชำระเงินที่ใช้ง่ายและเป็นที่เชื่อใจสร้างให้เกิดธุรกิจพันล้านหมื่นล้านได้ด้วยการเริ่มต้นของ co-Founder เพียง 2-3 คน แต่ตอนนี้พวกเขามีลูกค้ากว่าพันรายจากทั้งญี่ปุ่นและไทย อาทิ นกแอร์ และกลุ่มไมเนอร์
หรือยกตัวอย่างใกล้ตัว Startup ที่ผมลงทุนไปในสาย Fintech เช่น StockRadars ก็พร้อมจะสยายปีกไปต่างประเทศ ด้วยการเป็นแอปฯ ที่ให้นักลงทุนสะดวกสบายในการลงทุน การมีค่าคอมฯ เล็ก ๆ น้อย ๆ จากนักลงทุนจำนวนมากหมายถึงสิ่งดี ๆ ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตอันใกล้
หรืออย่าง FRT (Fortune Robotic Trading) ที่วิจัยกลยุทธ์ด้านการลงทุน แล้วสร้าง Robot ในการเทรดหุ้นให้การลงทุนมีระเบียบวินัย และสร้างกำไรที่สม่ำเสมอ ก็ได้รับการตอบรับที่ดีแก่นักลงทุนที่ไม่มีเวลามากนัก
นั่นคือตัวอย่างเจ๋ง ๆ ให้คนรุ่นใหม่อยากเจ๋งบ้าง แต่กว่าจะไปถึงตรงนั้น ต้องมีการเตรียมพร้อมสำหรับคนที่อยากจะเริ่มต้น เพราะอย่าลืมว่า ทุกอย่างที่มีคนสนใจมาก คนที่เจ๋งสุดเท่านั้นจะประสบความสำเร็จได้ ใครที่สนใจ ผมอยากลองให้ทำตาม 5 ข้อแนะนำ ดังนี้
  • ต้องค้นคว้าให้มาก หา Pain Point จริง ๆ ของคนส่วนใหญ่ให้เจอ
  • ต้องค้นคว้าหา Solution ที่ตอบโจทย์ของคนในสังคม และจำให้ฝังใจว่า “ของคล้าย ๆ กัน คนจะยินดีใช้ของที่ใช้ง่ายกว่าและไว้ใจมากกว่าเสมอ”
  • เนื่องจากการทำ Fintech จะมีหน่วยงานราชการที่ดูแล และคุ้มครองประชาชนอยู่ ต้องเข้าใจเป็นอย่างดี และปรับรูปแบบแพลตฟอร์มให้สอดคล้องอย่างสุดความสามารถ
  • ทีมต้องมุ่งมั่นทุ่มเท เพราะไม่เพียงแค่คู่แข่ง Startup ที่ทำแพลตฟอร์มคล้าย ๆ กัน แต่ที่ทำอยู่นั้นยังมีองค์กรหรือสถาบันฯ ใหญ่ ๆ ทำธุรกิจเดียวกันอยู่ ผู้ชนะต้องเจ๋งและมีความแตกต่าง
  • การนำเสนอแพลตฟอร์มทั้งผ่าน user หรือการ Pitch กับนักลงทุนบ่อย ๆ จะได้มุมมองดี ๆ เสมอ ให้ใส่ใจและนำเอาความเห็นเหล่านั้นกลับมาพัฒนา ดังนั้นต้อง ใจกล้า ขยัน ใส่ใจ ยืดหยุ่น ตรึกตรอง มุ่งมั่นอย่างสม่ำเสมอ
การสร้าง Fintech ให้ไปถึงดวงดาวไม่ใช่งานง่ายนัก แต่หากคุณมั่นใจว่าคุณสมบัติด้านบนครบถ้วนก็น่าลองดูซักตั้งนะครับ เร็ว ๆ นี้จะมีงาน Krungsri Uni Startup 2016 ซึ่งเปิดโอกาสให้นักศึกษาปี 3 หรือ ปี 4 จากสถาบันไหนก็ได้ทั่วประเทศ ได้ปล่อยของ ลงสนามแข่ง เสนอผลงานพัฒนาแอปพลิเคชันทางการเงิน พร้อมกลยุทธ์ทางการตลาด โดยผู้ชนะ 8 ทีมสุดท้ายจะได้รับโอกาสเข้าค่ายฝึกซ้อมจากไอดอลวงการ Startup และสร้างโอกาสอื่น ๆ อีกมากมายในอนาคต ผู้สนใจติดตามรายละเอียดที่ www.krungsri.com/unistartup หรือสอบถามได้ที่ krungsri.unistartup@gmail.com
ใบ้ให้นิดนึงครับว่า เวลาลงสนามจริงก็คือ การหาพี่เลี้ยงดี ๆ ซึ่งเป็นหนึ่งในโอกาสของคนรุ่นนี้ครับ
ขอบคุณข้อมูลจาก: -
ลงทะเบียนรับข่าวสาร
บริการส่งข้อมูลความรู้ ให้ลูกค้าธุรกิจผ่านอีเมล์
บริการจัดส่งบทวิเคราะห์และข้อมูลข่าวสารทางธุรกิจผ่านทาง E-mail
  • บทวิเคราะห์เศรษฐกิจรายสัปดาห์จากศูนย์วิจัยกรุงศรี
  • ผลการสำรวจดัชนีภาวะธุรกิจ SME รายไตรมาส โดยกรุงศรี
  • ข่าวสาร และกิจกรรมของธนาคาร
  • บริการทางการเงิน และโปรโมชั่นใหม่ๆ ของธนาคาร
Follow us on
ลงทะเบียนรับข่าวสาร
บริการส่งข้อมูลความรู้ ให้ลูกค้าธุรกิจผ่านอีเมล์
บริการจัดส่งบทวิเคราะห์และข้อมูลข่าวสารทางธุรกิจผ่านทาง E-mail
  • บทวิเคราะห์เศรษฐกิจรายสัปดาห์จากศูนย์วิจัยกรุงศรี
  • ผลการสำรวจดัชนีภาวะธุรกิจ SME รายไตรมาส โดยกรุงศรี
  • ข่าวสาร และกิจกรรมของธนาคาร
  • บริการทางการเงิน และโปรโมชั่นใหม่ๆ ของธนาคาร
Powered by
© 2564 ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน)
Follow