การนำสินค้าที่มีในประเทศหนึ่ง ส่งไปยังอีกประเทศหนึ่งที่ยังไม่มีสินค้าชนิดนี้ถือเป็นหลักการส่งออกโดยทั่วไปที่ทำให้ผู้ประกอบการส่งออกสินค้าไปยังต่างประเทศ “ประสบความสำเร็จ” มาหลายรายแล้ว แล้วถ้าเราจะเริ่มต้นส่งออกควรจะเริ่มต้นอย่างไร โดยเฉพาะอย่างยิ่ง SME ขนาดกลาง และเล็กที่อยากจะนำสินค้าของตนส่งออกไปยังต่างประเทศเหมือนรายใหญ่บ้างจะเริ่มต้นอย่างไรดี บทความนี้มีคำตอบให้ครับ
ขั้นตอนแรก
“หาความต้องการของสินค้าเราให้เจอ”
ขั้นตอนนี้สำคัญมากครับเพราะเป็นจุดเริ่มต้นของการวางแผนที่จะส่งออกสินค้าของเราให้
“ตรงจุด” และตรงกับกลุ่มลูกค้าที่เราจะนำสินค้าไปเสนอขาย เพราะหากเราเลือกกลุ่มลูกค้าไม่ถูกจุดตั้งแต่เริ่มต้นเราจะเสียเวลา เสียเงินเปล่าไปกับการโปรโมท ค่าใช้จ่ายของการเดินทาง สินค้าตัวอย่าง โดยที่ลูกค้าไม่ได้สนใจสินค้าของเราเลย ลองเข้าไปหากลุ่มลูกค้าของเราด้วยการปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ ที่มีฐานข้อมูลลูกค้าต่างประเทศอย่างกรมส่งเสริมการส่งออกก็ได้ครับ
"จุดเริ่มต้นของการวางแผนที่จะส่งออกสินค้าของเราให้ “ตรงจุด” และตรงกับกลุ่มลูกค้าที่เราจะนำสินค้าไปเสนอขาย"
ขั้นตอนที่สอง
“โปรโมทสินค้าผ่านช่องทางต่างๆ”
เมื่อเราได้กลุ่มเป้าหมายที่เราต้องการแล้ว SME ต้องเริ่มต้นโปรโมทสินค้าของตนผ่านช่องทางต่างๆ ยกตัวอย่างเช่น ช่องทางอินเทอร์เน็ตอย่างเว็บ
www.alibaba.com ที่เป็นเว็บขายส่งสินค้าระดับโลก ด้วยการโพสบอกสรรพคุณสินค้าของเรา นอกจากนั้นการติดตามกรมส่งเสริมการส่งออกไปออกงานแฟร์ยังต่างประเทศ หรือแม้แต่งานแฟร์โชว์สินค้าภายในประเทศเพื่อทำให้สินค้าของเราเป็นที่รับรู้ในวงกว้างที่สุด จนกว่าจะได้
“คำสั่งซื้อ” จากลูกค้าเพื่อเข้าสู่ขั้นตอนต่อไปครับ
ขั้นตอนที่สาม
“วางแผนการผลิต และจัดส่งสินค้า”
เมื่อเราได้กลุ่มลูกค้าเป้าหมาย ประเทศเป้าหมายที่เราคิดจะส่งออกสินค้าเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ขั้นตอนต่อมาก็คือการวางแผนการส่งสินค้าเมื่อเราได้รับคำสั่งซื้อจากลูกค้ามาแล้ว การวางแผนส่งสินค้าประกอบด้วยการวางแผนการผลิตสินค้า การตรวจสอบคุณภาพสินค้า เราต้องเข้าใจว่าลูกค้าต้องการคุณภาพสินค้าระดับไหน ต้องมีใบรับรองอะไรบ้างเพื่อกันความผิดพลาด เพราะหากเราส่งสินค้าผิด Spec ไปยังต่างประเทศแล้วลูกค้าตีกลับ ความเป็นจริงแล้วค่าขนส่งกลับนั้นอาจแพงกว่าราคาสินค้าทำให้เกิดความเสียหายเป็นอย่างมาก
ขั้นตอนที่ห้า
“การบริหารจัดการด้านการเงินสำหรับผู้ส่งออก”
สำหรับการบริหารจัดการด้านการเงินนั้นถือเป็นเครื่องมือที่ใช้
“หล่อเลี้ยง” ให้ธุรกิจส่งออกขับเคลื่อนไปข้างหน้าได้ครับ เปรียบเหมือนกับรถยนต์ที่ไม่มีน้ำมันเครื่องที่ดีก็จะกินน้ำมัน ต้นทุนสูง และไปไม่ได้ไกลนั่นเอง สำหรับการขับเคลื่อนทางการเงินด้วยการขอสินเชื่อเพื่อธุรกิจ SME ผมขอแนะนำบริการสินเชื่อเพื่อการส่งออก (Packing Credit) ของธนาคารกรุงศรีอยุธยา ซึ่งเป็นบริการที่สนับสนุนเงินทุนหมุนเวียนให้กับผู้ส่งออกในการซื้อวัตถุดิบเพื่อผลิตสินค้า และช่วยให้ธุรกิจการค้าดำเนินไปได้อย่างคล่องตัว
สำหรับการบริการธนาคารให้บริการสินเชื่อเพื่อการส่งออกเพื่อใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนระยะสั้นไม่เกิน 180 วันทั้งสกุลเงินบาทและสกุลเงินตราต่างประเทศ โดยสามารถนำสัญญาซื้อขาย, L/C หรือใบจำนำสินค้า มาเป็นหลักฐานเพื่อขอสินเชื่อ ผู้ส่งออกสามารถเบิกเงินล่วงหน้าเพื่อนำไปซื้อสินค้า หรือวัตถุดิบในการผลิตสินค้าเพื่อการส่งออกและเมื่อได้รับชำระค่าสินค้าจากผู้นำเข้าในต่างประเทศแล้ว จึงนำเงินมาชำระคืนให้กับธนาคารในภายหลัง
"ธนาคารให้บริการสินเชื่อเพื่อการส่งออกเพื่อใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนระยะสั้นไม่เกิน 180 วันทั้งสกุลเงินบาทและสกุลเงินตราต่างประเทศ โดยสามารถนำสัญญาซื้อขาย, L/C หรือใบจำนำสินค้า มาเป็นหลักฐานเพื่อขอสินเชื่อ"
ประโยชน์ที่เราจะได้รับ ได้แก่ เสริมสภาพคล่องในการดำเนินธุรกิจ และได้รับอัตราดอกเบี้ยต่ำกว่าวงเงินสินเชื่อเบิกเกินบัญชี (OD) ทำให้สามารถเพิ่มโอกาสทางธุรกิจ สามารถผลิตหรือจำหน่ายสินค้าได้อย่างคล่องตัวด้วยขั้นตอนที่สะดวก รวดเร็วในการพิจารณาวงเงินสินเชื่อของธนาคาร โดยกรณีที่ใช้บริการทางอินเทอร์เน็ตผ่านระบบ Krungsri Trade Link สามารถตรวจสอบภาระคงค้างและวงเงินคงเหลือสำหรับสินเชื่อ P/C ที่มีอยู่กับธนาคารได้ทางอินเทอร์เน็ตผ่านระบบ Krungsri Trade Link ครับ ส่วนรายละเอียดเพิ่มเติมติดตาม
ที่นี่เลยครับ
อย่างไรก็ตามรายละเอียดการส่งออกจริงๆ จะมีขั้นตอนที่มากมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งขั้นตอนการจัดทำเอกสารรับรองต่างๆ ผู้ส่งออกควรศึกษาให้รอบด้าน หรือปรึกษาผู้เชี่ยวชาญจะดีที่สุดครับ ขอให้ทุกท่านประสบความสำเร็จส่งออกสินค้าไทยไปทั่วโลก เพื่อความภาคภูมิใจของเราชาวไทยด้วยกันนะครับ