8 กฎเหล็กจัดการสภาพคล่อง SME

8 กฎเหล็กจัดการสภาพคล่อง SME

By Krungsri GURU SME
8 กฎเหล็กจัดการสภาพคล่อง SMEสิ่งแรกที่ผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม หรือ SME ให้ความสำคัญ คือ มุ่งหาตลาดเพื่อสร้างยอดขาย จนอาจละเลยการบริหารจัดการรายได้ที่เข้ามา หากรู้จักวางแผนการใช้อย่างมีประสิทธิภาพ ไม่เพียงเป็นฐานรากที่แข็งแกร่งของกิจการ แต่สามารถต่อยอดนำสู่การขยายเครือข่ายรองรับโอกาสทางธุรกิจมากมาย วันนี้มี 8 กฎเหล็กจัดการสภาพคล่องให้ SME หันกลับมาทบทวนและเตรียมความพร้อมกันอีกครั้ง 
1
ทำงบประมาณเงินสด (Cash Budget) บันทึกทุกอย่างเกี่ยวกับเงิน ทั้งรายรับและรายจ่าย จุกจิกแค่ไหนอย่าขี้เกียจ ทำงานวันนี้ต้องบันทึกวันนี้ เพื่อความถูกต้องและไม่ล่าช้า แม้กระทั่งนั่งดื่มกาแฟรอลูกค้าหรือเลี้ยงลูกค้า คือค่าใช้จ่ายที่เพิ่มทวีคูณตามจำนวนแก้วและจำนวนครั้ง คุณสามารถจัดการกับตัวเลขที่ไม่พึงประสงค์นี้ได้หากมีฐานข้อมูลที่ถูกต้อง
 
 
2
ตรวจสถานะเงินสดของกิจการเป็นประจำ โดยเทียบอดีตกับปัจจุบัน และประมาณการอนาคต ยิ่งมีความถี่ในการทำเป็นประจำได้ทุกสัปดาห์ ทุกเดือน โอกาสที่จะรับรู้ความผิดพลาดย่อมเร็ว เป็นการป้องกันการรั่วไหลที่ดี
 
 
3
อย่าตรวจดูสถานะเงินเฉพาะในสมุดบัญชีธนาคารหรือใน Bank Statement เพียงอย่างเดียว เพราะไม่ได้แสดงข้อมูลใดๆ นอกจากตัวเลขรายรับ-รายจ่ายกลมๆ เท่านั้น อย่าลืมว่าคนเราความจำสั้น คุณไม่สามารถจดจำรายละเอียดทั้งหมดได้แม้จะผ่านไปเพียงวันเดียว ฉะนั้นกลับไปทำ 3 ข้อแรกอย่างเข้มงวด
 
 
4
หัวใจในการดำเนินธุรกิจ SME คือเงินสดไม่ใช่กำไรหรือตัวเลขทางบัญชี ผู้ประกอบการ SME ต้องโฟกัสเฉพาะหน้าชนิดวันต่อวันให้ดีที่สุด ด้วยความเป็นกิจการขนาดเล็ก สายป่านสั้น หากรายได้ไม่เข้าเพียงวันเดียว ต้องตอบตัวเองให้ได้ว่าจะเกิดอะไรขึ้นกับกิจการของคุณ
 
 
5
อย่าให้เงินสดขาดมือ ควรสำรองเงินสดขั้นต่ำเผื่อกรณีฉุกเฉิน สามารถคาดการณ์เงินสดสุทธิระยะ 3 เดือน 6 เดือน 1 ปีข้างหน้าได้ พร้อมๆ กับบวกลบคูณหารค่าใช้จ่ายคงที่ ค่าใช้จ่ายแปรผัน แผนการลงทุนเพิ่มเติม การขยายหรือต่อยอดกิจการ
 
 
6
ปัญหาทางการเงินในวันนี้เกิดจากปัญหาสะสมที่ไม่ได้รับการแก้ไข ดังนั้นเมื่อพบปัญหาทางการเงินเพียงน้อยนิด ต้องจัดการแก้ไขในทันที อย่าให้กลายสภาพเป็นลูกหนี้ที่ขาดส่ง เพราะหมายถึงเครดิตที่จะมีผลต่อการดำเนินธุรกิจในอนาคตเลยทีเดียว
 
 
7
ปัญหาการเงินแก้ไขได้ด้วยการเจรจา ซึ่งเป็นวิธีการแรกที่ผู้ประกอบการควรต้องกระทำมากที่สุดหากสภาพคล่องเริ่มสะดุดและรายรับน้อยลง อาจขอความอนุเคราะห์จากเจ้าหนี้โดยจ่ายน้อยลงกว่าปกติหรือยืดเวลาชำระหนี้ออกไป เพื่อป้องกันปัญหาไม่ให้บานปลาย
 
 
8
ไม่ตามกระแสและไม่ลงทุนเกินตัว เมื่อเกิดเทรนด์ธุรกิจฮอตฮิตในตลาดย่อมกระตุ้นต่อมความสนใจของผู้ประกอบการให้อยากลองทำดู เพราะฉะนั้นอย่าได้คิดเป็นอันขาดหากไม่ใช่เจ้าแรกๆ ในการเปิดตลาด แม้กิจการเดิมจะไปได้สวย มีเงินสดพร้อมลงทุน แต่หากไม่ใช่ธุรกิจที่เชี่ยวชาญ เพราะนั่นคือการลงทุนที่เกินตัวและเกินกำลังนั่นเอง
ในวันที่ธุรกิจหลักเข้มแข็งและสถานะทางการเงินแข็งแกร่ง ไม่ยากที่ SME จะตีปีกขยายอาณาจักรสู่ธุรกิจขนาดกลาง และก้าวสู่บริษัทยักษ์ใหญ่ตามลำดับไป
ขอบคุณข้อมูลจาก: -
ลงทะเบียนรับข่าวสาร
บริการส่งข้อมูลความรู้ ให้ลูกค้าธุรกิจผ่านอีเมล์
บริการจัดส่งบทวิเคราะห์และข้อมูลข่าวสารทางธุรกิจผ่านทาง E-mail
  • บทวิเคราะห์เศรษฐกิจรายสัปดาห์จากศูนย์วิจัยกรุงศรี
  • ผลการสำรวจดัชนีภาวะธุรกิจ SME รายไตรมาส โดยกรุงศรี
  • ข่าวสาร และกิจกรรมของธนาคาร
  • บริการทางการเงิน และโปรโมชั่นใหม่ๆ ของธนาคาร
Follow us on
ลงทะเบียนรับข่าวสาร
บริการส่งข้อมูลความรู้ ให้ลูกค้าธุรกิจผ่านอีเมล์
บริการจัดส่งบทวิเคราะห์และข้อมูลข่าวสารทางธุรกิจผ่านทาง E-mail
  • บทวิเคราะห์เศรษฐกิจรายสัปดาห์จากศูนย์วิจัยกรุงศรี
  • ผลการสำรวจดัชนีภาวะธุรกิจ SME รายไตรมาส โดยกรุงศรี
  • ข่าวสาร และกิจกรรมของธนาคาร
  • บริการทางการเงิน และโปรโมชั่นใหม่ๆ ของธนาคาร
Powered by
© 2567 ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน)
Follow