6 เคล็ด (ไม่) ลับ ถ่ายภาพช่วงซัมเมอร์ให้โดนใจ

6 เคล็ด (ไม่) ลับ ถ่ายภาพช่วงซัมเมอร์ให้โดนใจ

By Krungsri Society
ฤดูร้อนถือเป็นฤดูของการท่องเที่ยวที่สำคัญเลยก็ว่าได้ นอกจากจะเป็นช่วงเวลาปิดเทอมของเด็ก ๆ รวมถึงเทศกาลวันหยุดยาวที่สำคัญอย่างวันสงกรานต์ หลายท่านก็มักจะพาครอบครัวเดินทางไปท่องเที่ยวตามต่างจังหวัด และสิ่งสำคัญที่จะขาดไม่ได้นั้นก็คือ กล้องถ่ายรูปคู่ใจที่จะเก็บช่วงเวลาแห่งความสุขให้อยู่กับคุณไปตราบนานเท่านาน บทความนี้ ผม ภาวิน วงศ์ว่องไว ขอเป็นตัวแทนจาก บริษัท BIG Camera Corporation จำกัด มหาชน ศูนย์จำหน่ายกล้อง และอุปกรณ์ถ่ายภาพชั้นนำที่มีสาขามากกว่า 230 สาขาทั่วประเทศ มาให้เคล็ด (ไม่) ลับที่จะช่วยให้ภาพของคุณโดดเด่นขึ้น

1. สร้างมุมแปลกตาด้วยเลนส์มุมกว้าง (Wide-Angle len)

เป็นเลนส์ยอดฮิตที่ควรมีติดกระเป๋ากล้องไว้ เนื่องจากสามารถเก็บภาพวิวสวย ๆ กว้าง ๆ ได้ครบถ้วน การถ่ายภาพด้วยเลนส์มุมกว้างนี้จะทำให้ได้ภาพที่แปลกตา เนื่องจากเปอร์สเปคทีฟ (Perspective) ของเลนส์จะผลักวัตถุที่อยู่ในภาพให้ไกลออกไปทำให้ภาพดูยิ่งใหญ่อลังการมากขึ้น หรือถ้าอยากถ่ายภาพเพื่อน ๆ ให้ดูเหมือนว่า กระโดดได้สูงมาก เลนส์มุมกว้างสามารถช่วยคุณได้แน่นอน แต่มีข้อควรระวังในเรื่องของการบิดเบี้ยวของวัตถุในภาพ (Distortion) ของเลนส์มุมกว้าง เพราะอาจจะทำให้สถาปัตยกรรมที่ถ่ายนั้นมีสัดส่วนที่ไม่ถูกต้อง หรือล้มเอียงนั้นเอง
ภาพนี้ถ่ายที่ระยะ 16mm ขณะอยู่บนเรือสปีดโบ้ท ความยากของภาพนี้คือ การควบคุมกล้องให้ขนานกับเส้นขอบฟ้ามากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ด้วยความเร็วของสปีดโบ้ททำให้มีโอกาสเพียงไม่กี่วินาทีที่สามารถถ่ายภาพนี้ได้
ภาพนี้ถ่ายที่ระยะ 16mm ด้วยระยะห่างระหว่างเลนส์กับเรือค่อนข้างใกล้ ทำให้หัวเรือดูใหญ่และตัวเรือถูกยืดออกไป ทำให้เกิดภาพที่แปลกตา
ภาพนี้ถ่ายที่ระยะ 11mm สังเกตว่าบริเวณขอบภาพลักษณะของตึกจะโน้มเอียงเข้าหาจุดกึ่งกลางภาพ จึงต้องระมัดระวังไม่ให้เปอร์สเปคทีฟของภาพผิดเพี้ยนไปจากความเป็นจริงจนเกินควร

2. ไกลแค่ไหนก็เหมือนใกล้เมื่อใช้เลนส์เทเลโฟโต้ (Telephoto Lens)

อีกหนึ่งเลนส์ที่ควรมีในกระเป๋ากล้องนั้นก็คือ เลนส์ถ่ายภาพระยะไกล หรือเลนส์เทเลโฟโต้นั่นเอง โดยส่วนตัวผู้เขียนเองมักใช้เลนส์ชนิดนี้ในการถ่ายภาพวิวทิวทัศน์มากพอ ๆ กับเลนส์มุมกว้าง เพราะว่าเราสามารถซูมภาพระยะไกลได้ สมมติว่าเรายืนอยู่บนยอดดอยสักแห่งหนึ่ง ถ้าเราถ่ายภาพด้วยเลนส์มุมกว้างก็จะได้รูปออกมาคล้ายกัน เพราะมุมรับภาพที่กว้างมากนั้นทำให้เราไม่สามารถเลือกมุมได้มากนัก และอาจจะติดสิ่งที่เราไม่ต้องการมาอยู่ในเฟรมภาพของเราอีกด้วย ซึ่งแตกต่างกับเทเลโฟโต้ ที่สามารถซูมเฉพาะจุดที่เราสนใจได้ ทำให้วิวกว้างบนยอดดอยมีมุมเล็ก ๆ ที่น่าสนใจซ่อนอยู่มากมาย เราอาจจะซูมไปที่ยอดดอยที่อยู่ไกลออกไปหรือถนนที่คดเคี้ยวด้านล่าง เป็นต้น การถ่ายภาพด้วยเลนส์เทเลโฟโต้นั้น เมื่อเราซูมภาพเข้ามามาก ๆ จะทำให้ฉากหลังนั้นถูกดึงเข้ามาอยู่ใกล้กับวัตถุมากขึ้น
ภาพนี้ถ่ายที่ระยะ 200mm ถ่ายจากบนเรือหางยาวที่กำลังแล่นอยู่ โดยต้องการให้ภาพเกิดการเปรียบเทียบระหว่างธรรมชาติกับมนุษย์ เพื่อให้เห็นว่า มนุษย์เป็นเพียงส่วนเล็ก ๆ ส่วนหนึ่งของธรรมชาติที่ยิ่งใหญ่
ภาพนี้ถ่ายที่ระยะ 200mm จะเห็นว่า ฉากหลังที่เป็นภูเขาถูกเลนส์ดึงเข้ามาใกล้กับคนในภาพมากขึ้น

3. สร้างจุดเด่นด้วยสี

เรื่องสีก็มีส่วนสำคัญที่สามารถช่วยสร้างความโดดเด่นให้กับภาพของคุณได้ โดยเฉพาะสีคู่ตรงข้ามที่มีเฉดสีตัดกันจะช่วยทำให้ภาพของคุณโดดเด่นสะดุดตาขึ้นมาได้มากทีเดียว คุณสามารถจับคู่สีได้โดยดูที่วงจรสีด้านล่าง
ตัวอย่างภาพวงจรสีแสดงสีคู่ตรงข้าม
ภาพนี้ถ่ายที่ระยะ 50mm ใช้สีคู่ตรงข้าม คือ สีแดงและสีเขียว ทำให้ภาพดูโดดเด่น
ภาพนี้ถ่ายที่ระยะ 16mm ใช้สีคู่ตรงข้าม คือ สีฟ้าและสีเหลือง เพื่อเน้นจุดเด่นในภาพ
ภาพนี้ถ่ายที่ระยะ 200mm ใช้สีคู่ตรงข้าม คือ สีฟ้าของท้องฟ้าและน้ำทะเล ตัดกับสีเหลืองทองของแสงแดดยามเย็น

4. ทำให้โลกหยุดหมุนด้วย Shutterspeed

ลองจินตนาการถึงการหยุดเวลา หยุดการเคลื่อนไหวของทุกสิ่งแบบในหนัง sci-fi ดูสิ แค่คิดก็สนุกแล้ว แล้วทำไมเราไม่ลองเอามาใช้กับภาพถ่ายของเราบ้างล่ะ มันง่ายมาก เพียงแค่เราใช้ความเร็วชัตเตอร์สูง ๆ เพียงเท่านี้คุณก็สามารถสะกดนิ่งโลกทั้งใบได้ด้วยมือคุณเอง
ภาพนี้ถ่ายด้วยความเร็วชัตเตอร์ 1/8000 วินาที จังหวะที่คลื่นซัดมากระทบโขดหินแรง ๆ
ภาพนี้ถ่ายด้วยความเร็วชัตเตอร์ 1/4000 วินาที หยุดภาพนกพิราบกำลังออกตัวบิน

5. เติมจินตนาการเพื่อเพิ่มเรื่องราวให้กับภาพ

อย่าให้การถ่ายภาพเป็นเพียงแค่การกดชัตเตอร์ เพราะมันจะทำให้ภาพไม่มีเรื่องราว ไม่สามารถสื่ออารมณ์ให้กับคนที่ดูภาพของคุณได้ คุณอาจจะใช้สิ่งต่าง ๆ ที่อยู่รอบตัวมาปรับใช้เพื่อสร้างเรื่องราวให้กับภาพถ่ายของคุณได้ หากมุมมองของคุณน่าสนใจ Like & Share มาแน่นอน
ใช้รองเท้าเป็นตัวแทนของความทุกข์ ความกังวลต่าง ๆ ที่ทิ้งไว้ข้างหลัง แล้วออกไปสนุกกับชีวิตที่อยู่ตรงหน้า
ดอกหญ้าที่สะท้อนแสงแดดเมื่อถ่ายย้อนแสง ลองสังเกตสิ่งต่าง ๆ รอบตัว คุณอาจจะค้นพบสิ่งสวยงามที่ซ่อนอยู่ก็เป็นได้

6. พาตัวเองออกไปสู่โลกกว้างบ้าง

สิ่งที่ยากที่สุดสำหรับการถ่ายภาพนั้นไม่ใช่การวัดแสง การจัดองค์ประกอบภาพ หรือการท่องจำสูตรหรือเทคนิคต่าง ๆ แต่เป็นการพาตัวเราออกไปยืนอยู่ ณ จุด ๆ นั้น จุดที่จะทำให้เราได้ภาพที่เราต้องการ เพราะถ้าเรามีแต่ความอยากถ่ายภาพสวย อยากถ่ายภาพเก่ง แต่ไม่ขยันออกไปถ่ายภาพ ก็ไม่มีทางที่คุณจะเก่ง ไม่มีทางที่คุณจะได้ภาพสวย ๆ กลับมาอย่างแน่นอน ที่สำคัญ คือ คุณต้องมีความอดทน เพราะการถ่ายภาพไม่ใช่เพียงแค่การกดชัตเตอร์ เพราะกว่าจะได้ภาพสวย ๆ มานั้น ช่างภาพต้องฝึกฝนทักษะตนเองอย่างหนัก ต้องคิด วางแผน สำรวจสถานที่ และเฝ้ารอเวลาที่ดีที่สุดเพื่อถ่ายภาพสวย ๆ กลับมาให้เราได้ชมกัน บางคนรอดวงอาทิตย์ตกเป็นชั่วโมง บางคนรอถ่ายนกในป่าเป็นวัน บางครั้งก็สมหวัง บางครั้งก็ผิดหวัง ดังนั้น ถ้าอยากได้ภาพสวยต้องทำอย่างไร คำตอบเดียวเลยครับ คุณต้องไปยืนที่สถานที่แห่งนั้นให้ได้เท่านั้นเอง
ผมนั่งรอเพื่อถ่ายภาพนี้ภาพเดียวนานกว่า 40 นาที ทำให้รู้ว่า การอดทนรอมักให้อะไรดี ๆ กับเราได้เสมอ
จาก 6 เคล็ดลับข้างบนนี้ไม่ใช่กฎที่คุณจะต้องทำตามทุกครั้ง แต่จะช่วยให้คุณถ่ายภาพให้ดีขึ้นเมื่อคุณนำมาปรับใช้ให้เหมาะสมกับการถ่ายภาพของคุณเอง
ในช่วงวันหยุดนี้ ขอให้ท่านผู้อ่านทุกท่านเดินทางท่องเที่ยวอย่างปลอดภัย สนุกกับการถ่ายภาพ หากใครที่กำลังมองหากล้องคู่ใจไว้ไปถ่ายภาพท่องเที่ยวอย่าลืมคิดถึง BIG Camera ศูนย์ร่วมกล้องดิจิทัลที่มีความสุขให้เลือกมากที่สุด ส่วนใครที่อยากซื้อกล้อง อยากไปเที่ยวต่างประเทศ แต่สถานภาพทางการเงินยังไม่พร้อม สามารถเข้าไปอ่านบทความดี ๆ เกี่ยวกับการเงินที่ทางกรุงศรีฯ จัดทำไว้ แล้วทริปการท่องเที่ยวต่างประเทศกับกล้องคู่ใจจะไม่เป็นแค่ความฝันอีกต่อไป
ขอบคุณข้อมูลจาก: -
ลงทะเบียนรับข่าวสาร
บริการส่งข้อมูลความรู้ ให้ลูกค้าธุรกิจผ่านอีเมล์
บริการจัดส่งบทวิเคราะห์และข้อมูลข่าวสารทางธุรกิจผ่านทาง E-mail
  • บทวิเคราะห์เศรษฐกิจรายสัปดาห์จากศูนย์วิจัยกรุงศรี
  • ผลการสำรวจดัชนีภาวะธุรกิจ SME รายไตรมาส โดยกรุงศรี
  • ข่าวสาร และกิจกรรมของธนาคาร
  • บริการทางการเงิน และโปรโมชั่นใหม่ๆ ของธนาคาร
Follow us on
ลงทะเบียนรับข่าวสาร
บริการส่งข้อมูลความรู้ ให้ลูกค้าธุรกิจผ่านอีเมล์
บริการจัดส่งบทวิเคราะห์และข้อมูลข่าวสารทางธุรกิจผ่านทาง E-mail
  • บทวิเคราะห์เศรษฐกิจรายสัปดาห์จากศูนย์วิจัยกรุงศรี
  • ผลการสำรวจดัชนีภาวะธุรกิจ SME รายไตรมาส โดยกรุงศรี
  • ข่าวสาร และกิจกรรมของธนาคาร
  • บริการทางการเงิน และโปรโมชั่นใหม่ๆ ของธนาคาร
Powered by
© 2564 ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน)
Follow