5 สัญญาณเตือน Startup ให้หยุดธุรกิจก่อนจะสาย

5 สัญญาณเตือน Startup ให้หยุดธุรกิจก่อนจะสาย

By Krungsri Guru

เทคโนโลยีในปัจจุบันเปลี่ยนแปลงไปมากมาย ทำให้เกิดนักธุรกิจรุ่นใหม่ หรือเราเรียกกันสั้น ๆ ว่า Startup ที่อาศัยการเติบโตของเทคโนโลยี ไม่ว่าจะเป็นอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง หรือการคิดค้นนวัตกรรมใหม่ ๆ จากการต่อยอดทางความคิด ความรู้ยุคใหม่...

อย่างไรก็ตาม การดำเนินกิจการใด ๆ ยังคงต้องอยู่บนพื้นฐานบางอย่างของการทำธุรกิจ “สัญญาณเตือน” สำหรับนักธุรกิจนั้นเราต้องไม่มองข้าม ลองติดตามบทความนี้กับเรื่องราวของ 5 สัญญาณเตือน Startup ให้หยุดธุรกิจก่อนจะสาย... มีอะไรบ้างติดตามกันเลยดีกว่าครับ

สัญญาณเตือนแรก ... “จำนวนลูกค้าไม่เพิ่มขึ้น หรืออาจหดตัวลง”

สัญญาณเตือนนี้อาจมาแบบเบา ๆ หรือรุนแรง หากโมเดลธุรกิจ Startup ของเรายังตอบโจทย์ลูกค้า หรือผู้ใช้บริการของเรา ไม่ว่าจะเป็นแอปฯ บนมือถือที่ช่วยอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ธุรกิจของเราก็จะยังคงเติบโต และมีคนมาใช้บริการอย่างต่อเนื่อง ในทางกลับกัน หากโมเดลธุรกิจของเราเริ่มไม่ตอบโจทย์ผู้ใช้สินค้าหรือบริการของเรา ก็เป็นธรรมดาที่จำนวนลูกค้าจะไม่เพิ่มขึ้นหรืออาจหดตัวลง ซึ่งนั่นคือ สัญญาณ “อันตราย” เพราะหากลูกค้าลดน้อยลง หมายความว่าอาจมีสิ่งที่ “ดีกว่า” มีแอปฯ ที่ตอบโจทย์มากกว่า ผู้ประกอบการ Startup ควรรีบหาจุดบกพร่องและปรับปรุงโดยด่วนก่อนจะสายเกินไปนะครับ

สัญญาณเตือนที่สอง ... “ลูกค้าใช้เวลาคิดนานผิดปกติ กว่าจะใช้สินค้าหรือบริการของเรา”

สัญญาณเตือนแบบนี้ถือเป็นเรื่องที่ Startup ไม่ควรมองข้ามโดยเด็ดขาด สำหรับเจ้าของกิจการ Startup คงจะรู้ดีถึงสิ่งที่เรียกว่าอัตราส่วนการ Burn Rate หรืออัตราการเผาเงินทิ้ง เพราะสำหรับการเริ่มต้นให้มีจำนวนผู้ใช้บริการมาก ๆ ต้องเริ่มต้นด้วย “ของฟรี” และต้องใช้เงินในการดึงดูดลูกค้าที่เรียกว่า Burn Rate หากลูกค้าใช้เวลาคิดนานกว่าจะหันมาใช้บริการ หรือสินค้าของเรา นั่นคือสัญญาณเตือน บางครั้งเราอาจต้องหยุดโปรเจกต์ เพื่อป้องกันเลือดไหล ถอยไปตั้งหลักก่อนเดินหน้าน่าจะดีกว่าก็เป็นไปได้ครับ

สัญญาณเตือนที่สาม ... “ตลาดเป้าหมายของเราเริ่มหดหายไป”

สัญญาณเตือนที่ผมถือว่า “รุนแรง” เพราะตลาดที่เริ่มหดหายไปก็เหมือนกับบ่อน้ำที่ไม่มีน้ำ น้ำแห้งเหือดไป คนเลิกใช้บริการแบบนี้ เพราะอาจมีสิ่งที่อำนวยความสะดวกได้มากกว่า ถ้าเราย้อนกลับไปดูเหตุการณ์ในอดีตก็มีการทดแทนของตลาดให้เห็นกันมากมาย เช่น ร้านโชห่วย ถูกแทนด้วยร้านสะดวกซื้อ เป็นต้น หากเกิดเหตุการณ์แบบนี้กับกิจการของเรา ต้องรีบทบทวนและปรับเปลี่ยนโดยด่วนก่อนจะสายเกินไป

สัญญาณเตือนที่สี่ ... “เกิดสงครามราคา”

สัญญาณของการเกิดสงครามราคาในการซื้อสินค้าหรือบริการนั้น มันบ่งบอกเราทางอ้อมถึงการที่ธุรกิจนั้นมีคู่แข่งใหม่ ๆ เข้ามาง่ายขึ้น และเมื่อมีคู่แข่งเข้ามามากขึ้น มันจะกลายเป็นตลาดที่มีการแข่งขันสูง มีการแข่งขันอย่างสมบูรณ์แบบ โดยไม่มีช่องว่างให้เติบโตอีก อย่างไรก็ตาม สงครามราคาอาจเป็นปัญหาชั่วคราว เพราะหลังจบสงครามราคาแล้ว ก็จะมีผู้บาดเจ็บล้มตายและต้องออกจากตลาดไป นั่นอาจส่งผลดีกับผู้ที่เหลือรอด แต่หากเกิดสงครามราคาหรือเริ่มมีคู่แข่งมากขึ้น เราต้องรีบทบทวน หากลยุทธ์แก้ไขจะดีที่สุดครับ

สัญญาณสุดท้าย ... “ตัวเราเองเริ่มหมดไฟ”

สัญญาณนี้ไม่ได้เกิดจากปัจจัยภายนอก แต่กลับเป็นปัจจัยที่เกิดขึ้นภายในจิตใจของเราเอง บางครั้งในช่วงเริ่มต้นทำธุรกิจเราอาจรู้สึกท้าทาย และมีสิ่งให้เอาชนะ แต่เมื่อเราประสบความสำเร็จ หรือทำมันซ้ำ ๆ ทุก ๆ วันเราอาจรู้สึก “หมดไฟ” หากปล่อยไว้นานมันจะส่งผลกับธุรกิจของเราอย่างหลีกเลี่ยงได้ยาก ทางที่ดีเราควรหาทางแก้ไข ด้วยการหาคนมาบริหารจัดการแทน หรือถ้าเราหมดไฟจริง ๆ สามารถเลือกที่จะขายหุ้นออก เพื่อปลีกตัวออกจากกิจการที่เรารู้สึกไม่ท้าทายอีกต่อไป และนำเงินที่ได้ไปมองหากิจการใหม่ ๆ จะดีกว่ามากครับ ลองอ่านบทความเปิดใจของคุณ หมู ณัฐวุฒิ พึงเจริญพงศ์ แห่ง Ookbee Startup กับเคล็ดลับความสำเร็จกันดูครับ เผื่อเป็นแรงบันดาลใจให้เพื่อน ๆ หลาย ๆ คนเดินหน้าทำธุรกิจกันต่อไป
ขอบคุณข้อมูลจาก: -
ลงทะเบียนรับข่าวสาร
บริการส่งข้อมูลความรู้ ให้ลูกค้าธุรกิจผ่านอีเมล์
บริการจัดส่งบทวิเคราะห์และข้อมูลข่าวสารทางธุรกิจผ่านทาง E-mail
  • บทวิเคราะห์เศรษฐกิจรายสัปดาห์จากศูนย์วิจัยกรุงศรี
  • ผลการสำรวจดัชนีภาวะธุรกิจ SME รายไตรมาส โดยกรุงศรี
  • ข่าวสาร และกิจกรรมของธนาคาร
  • บริการทางการเงิน และโปรโมชั่นใหม่ๆ ของธนาคาร
Follow us on
ลงทะเบียนรับข่าวสาร
บริการส่งข้อมูลความรู้ ให้ลูกค้าธุรกิจผ่านอีเมล์
บริการจัดส่งบทวิเคราะห์และข้อมูลข่าวสารทางธุรกิจผ่านทาง E-mail
  • บทวิเคราะห์เศรษฐกิจรายสัปดาห์จากศูนย์วิจัยกรุงศรี
  • ผลการสำรวจดัชนีภาวะธุรกิจ SME รายไตรมาส โดยกรุงศรี
  • ข่าวสาร และกิจกรรมของธนาคาร
  • บริการทางการเงิน และโปรโมชั่นใหม่ๆ ของธนาคาร
Powered by
© 2567 ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน)
Follow