ออกเดท ใครออกตังค์: เดินช้อป เดินเที่ยวกับแฟน ตกลงเรื่องเงินอย่างไรดี

ออกเดท ใครออกตังค์: เดินช้อป เดินเที่ยวกับแฟน ตกลงเรื่องเงินอย่างไรดี

By Krungsri Plearn Plearn
“ผู้หญิงนี่...เขาจะมองเราแปลก ๆ มั้ย หากขอให้เธอช่วยหารค่าอาหาร”
“มีผู้ชายชวนออกเดท...เขาให้เราหารค่าตั๋วหนังคนละครึ่ง เราควรเลิกคุยกับเขาดีมั้ยคะ”
“เราเปย์ผู้ชายได้นะ...เราไม่คิดอะไร เรามีเงิน”
“ผู้หญิงคนเดียวเลี้ยงดูเขาไม่ได้...อีกหน่อยแต่งงานไปจะดูแลเขาทั้งชีวิตได้เหรอครับ”
แม้ยุคสมัยจะเปลี่ยนไปแล้ว และผู้หญิงมีเสรีภาพมากขึ้นทั้งในแง่การเงิน การทำงาน และสถานภาพทางสังคม แต่พื้นฐานวัฒนธรรมทางเอเชียยังคงคาดหวังให้ผู้ชายดูแลผู้หญิงในเรื่องเงิน ๆ ทอง ๆ อยู่ดี คุณผู้ชายและคุณผู้หญิงหลายคนเลยอาจเจอสถานการณ์กลืนไม่เข้าคายไม่ออก เมื่อการออกเดททำให้ต้องคิดเล็กคิดน้อยเรื่องการเงิน ครั้งเดียวไม่เท่าไหร่ แต่พอหลาย ๆ ครั้งยิ่งรู้สึกเหมือนอีกฝ่ายเริ่มเป็นภาระ และคาดหวังให้ช่วยกันหารแบบแฟร์ ๆ บ้าง
เชื่อไหมครับว่า การหารเงินเวลาไปเที่ยวกับแฟนนับเป็นเรื่องปกติมากกว่าในวัฒนธรรมตะวันตก แต่อาจกลายเป็นปัญหาในไทย หากเราขอให้อีกฝ่ายช่วยออกเงินค่ามื้ออาหารเท่า ๆ กัน หรือช่วยออกเงินเวลาไปเที่ยวด้วยกัน คุณจะเริ่มคิดเรื่องนี้ขึ้นมา หากคุณเป็นผู้ชาย และการไปกิน ช้อป หรือเที่ยวกับแฟนที่คบกันมาระยะหนึ่งแล้วยังต้องออกค่าใช้จ่ายให้อยู่ ทั้ง ๆ ที่เราเองก็เป็นมนุษย์เงินเดือน มีรายได้เท่า ๆ กัน
ปากอยากจะบอก...แต่ก็กลัวไม่แมน พอแฟนชวนไปเที่ยว หนุ่มบางคนเลยได้แต่บอกปัดว่าไม่มีเวลา ติดงาน ฯลฯ
ส่วนสาว ๆ หากเจอแฟนแนวนี้ บางคนก็อาจจะแอบคิดว่าทำไมเขาดูตระหนี่ ไม่สปอร์ต ไม่เปย์เลย
อย่าลืมว่า “Money is the root of evil” ครับ เรื่องเงินเป็นเรื่องเปราะบาง และสามารถทำลายทุก ๆ ความสัมพันธ์ได้ หลายคนผิดใจกันเรื่องเงินมานักต่อนักแล้ว เพราะไม่ยอมเปิดใจคุยกัน
แล้วเราจะตกลงเรื่องนี้กับคนรักอย่างไรดี

1. หารกัน 50/50 ดีมั้ย?

บางคู่เวลาเที่ยวกับแฟนจะชอบหารกันแบบ 50/50 เหมือนตอนเป็นเพื่อนกัน หากตกลงกันได้ ก็ไม่มีปัญหา
ถ้าเป็นช่วงจีบกันใหม่ ๆ ผู้ชายอยากจะโชว์แมนนิด ๆ คอยซัพพอร์ตค่าใช้จ่ายทุกอย่างก็ไม่ใช่เรื่องแปลก แต่หากคบกันไประยะหนึ่ง และไม่กล้าบอกอีกฝ่าย ลองให้สัญญาณเขาก็ได้ครับ หรือลองหาวิธีบอกที่นุ่มนวลที่สุด ไม่หักดิบจนเกินไปจนฝ่ายหญิงตั้งตัวไม่ทัน บางคนใช้วิธีอ้อม ๆ เช่น บ่นเรื่องค่าใช้จ่ายช่วงนั้นที่เข้ามาเยอะ แค่นี้อีกฝ่ายก็พร้อมที่จะช่วยควักเงินแล้วล่ะครับ วิธีนี้แฟร์ที่สุด และใช้ได้กับทุกเรื่อง รวมทั้งเรื่องท่องเที่ยวด้วยครับ

2. ผู้ชายจ่ายมากกว่านิดหน่อย

อันนี้ก็เป็นข้อตกลงที่คุณผู้ชายและฝ่ายหญิงคงจะพอใจอยู่บ้าง ตรงที่รู้สึกว่าผู้ชายยอมเป็นฝ่ายดูแลผู้หญิงมากกว่าสักนิดก็ยังดี แล้วแต่คู่ของเราว่าจะตกลงกันแบบไหน อาจจะ 60/40 หรือ 70/30 ทั้งนี้ควรพิจารณาถึงรายได้ของแต่ละคนประกอบด้วยครับว่า มีมากน้อยพอที่จะซัพพอร์ตกันเท่าไหร่
แต่หากต้องโชว์ความใจสปอร์ตบ่อย ๆ ล่ะก็ แนะนำให้ใช้จ่ายผ่านบัตรเดบิตหรือเครดิตที่เราสามารถแลกรับสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ เหมือนได้ประโยชน์สองต่อ เช่น ใช้จ่ายผ่านบัญชีธนาคารกรุงศรี ไม่ว่าจะเป็นการทำธุรกรรมผ่านตู้ ATM, Krungsri Online, แอพพลิเคชั่น KMA หรือที่สาขาของธนาคาร ก็จะได้รับ Krungsri GIFT ทุกเดือนโดยไม่ต้องรอสะสมแต้ม แลก Gift ได้ง่าย ๆ ผ่านมือถือ โดยระบบจะแจ้งเตือนทุกครั้งที่ได้รับ Gift ครับ
รายละเอียดเพิ่มเติมที่ Krungsri GIFT

3. จ่ายเฉพาะโอกาสพิเศษ นอกนั้นหารครึ่ง

เป็นวิธีที่แฟร์ดีครับ ยังมีช่องว่างให้ต่างฝ่ายต่างได้เทคแคร์กันและกันในโอกาสพิเศษ เช่น วันเกิด วันครบรอบ วันโบนัสออก วันได้เลื่อนตำแหน่ง เป็นต้น หรือถ้าใครเป็นฝ่ายชวน คนนั้นก็ควรยอมเป็นฝ่ายจ่ายครับ

4. ผลัดกันจ่าย

ครั้งนี้คุณจ่าย ครั้งหน้าฉันจ่าย ก็เป็นไอเดียที่ดี เหมือนเป็นการผลัดกันเทคแคร์อีกฝ่าย จะได้ไม่มีใครรู้สึกว่าเป็นภาระต่อกัน
ไม่ว่าจะวิธีไหน หากทั้งคู่มีความรักและเข้าใจกันจริง เรื่องนี้จะกลายเป็นเรื่องเล็ก ๆ แต่ทั้งสองฝ่ายควรคุยกันให้เคลียร์ จะได้ไม่ต้องแย่งกันจ่ายเงินเวลาเช็คบิลอาหารให้อายเด็กเสิร์ฟ หรือเก็บไปคิดเล็กคิดน้อยในใจ จนเป็นชนวนให้ผิดใจกันภายหลัง ไปเที่ยวไปเดทกับแฟนทั้งที ควรมีแต่ความสุขครับ
ขอบคุณข้อมูลจาก: -
ลงทะเบียนรับข่าวสาร
บริการส่งข้อมูลความรู้ ให้ลูกค้าธุรกิจผ่านอีเมล์
บริการจัดส่งบทวิเคราะห์และข้อมูลข่าวสารทางธุรกิจผ่านทาง E-mail
  • บทวิเคราะห์เศรษฐกิจรายสัปดาห์จากศูนย์วิจัยกรุงศรี
  • ผลการสำรวจดัชนีภาวะธุรกิจ SME รายไตรมาส โดยกรุงศรี
  • ข่าวสาร และกิจกรรมของธนาคาร
  • บริการทางการเงิน และโปรโมชั่นใหม่ๆ ของธนาคาร
Follow us on
ลงทะเบียนรับข่าวสาร
บริการส่งข้อมูลความรู้ ให้ลูกค้าธุรกิจผ่านอีเมล์
บริการจัดส่งบทวิเคราะห์และข้อมูลข่าวสารทางธุรกิจผ่านทาง E-mail
  • บทวิเคราะห์เศรษฐกิจรายสัปดาห์จากศูนย์วิจัยกรุงศรี
  • ผลการสำรวจดัชนีภาวะธุรกิจ SME รายไตรมาส โดยกรุงศรี
  • ข่าวสาร และกิจกรรมของธนาคาร
  • บริการทางการเงิน และโปรโมชั่นใหม่ๆ ของธนาคาร
Powered by
© 2564 ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน)
Follow