บ้านยังผ่อนไม่หมด รีไฟแนนซ์ได้ไหม? เข้าใจใน 5 นาที
รอบรู้เรื่องบ้าน
icon-Facebook icon-Twitter icon-line

บ้านยังผ่อนไม่หมด รีไฟแนนซ์ได้ไหม? เข้าใจใน 5 นาที

icon-access-time Posted On 22 มิถุนายน 2561
by Krungsri The COACH

รีไฟแนนซ์บ้าน คืออะไร

ใครที่สนใจกู้ซื้อบ้านควรรู้จักกับคำว่า ‘รีไฟแนนซ์’ ว่าคืออะไร บ้านยังผ่อนไม่หมดรีไฟแนนซ์ได้ไหม หรือรีไฟแนนซ์กับธนาคารเดิมได้ไหม ลองไปอ่านกันเลย

รีไฟแนนซ์ คือการขอกู้เงินจากสถาบันการเงินใหม่เพื่อนำไปปลดภาระเงินกู้เก่าที่มีอยู่ เหตุผลส่วนใหญ่ของการรีไฟแนนซ์ ได้แก่ การเลือกสถาบันการเงินใหม่ที่ให้ดอกเบี้ยต่ำกว่า เพื่อช่วยลดภาระค่าผ่อนชำระต่อเดือนหรือช่วยให้ผ่อนหมดได้เร็วขึ้นนั่นเอง ซึ่งการรีไฟแนนซ์บ้านกับธนาคารเดิม จะเรียกว่าเป็นการลดดอกเบี้ยหรือ Retention ซึ่งจะได้ไหมหรือได้เท่าไรจะขึ้นอยู่กับธนาคาร

ตัวอย่างเช่น สมมติปัจจุบันนาย ก. ผ่อนบ้านราคาสองล้านบาทเป็นเวลา 20 ปี รวมดอกเบี้ยที่ต้องจ่ายตลอดอายุสัญญาเท่ากับสองล้านห้าแสนบาท นั่นคือเงินต้น (2,000,000 บาท) + ดอกเบี้ย (2,500,000 บาท) = 4,500,000 บาท จึงตัดสินใจเลือกรีไฟแนนซ์โดยเลือกให้ระยะเวลาการผ่อนสิ้นสุดตามสัญญาเดิม (17 ปี) ทำให้สถานการณ์เปลี่ยนเป็นเงินต้น + ดอกเบี้ย = 3,750,000 บาท ทั้งหมดนี้เป็นตัวเลขสมมติแต่คงช่วยให้คุณเห็นภาพได้แล้วว่าการรีไฟแนนซ์นั้นสามารถช่วยให้เรามีเงินเหลือเก็บมากขึ้น มีโอกาสประหยัดเงินได้นับแสนบาท

สมการข้างต้นอาจดูเรียบง่าย แต่ถ้าสนใจรีไฟแนนซ์บ้านจริงๆ จะยุ่งยากหรือไม่และต้องทำอย่างไรบ้าง เรามาทำความเข้าใจขั้นตอนการรีไฟแนนซ์กันดีกว่า
 

ขั้นตอนในการรีไฟแนนซ์บ้าน

 

1. ตรวจสอบสัญญากู้บ้าน

บ้านยังผ่อนไม่หมด อยากรีไฟแนนซ์ได้ไหม คำตอบคือได้แน่ ๆ โดยขั้นแรกให้เอาสัญญากู้บ้านมาตรวจสอบดูว่าสามารถเริ่มทำได้ตอนไหน ซึ่งส่วนมากในสัญญาสามารถเริ่มรีไฟแนนซ์บ้านได้เมื่อผ่อนไปแล้ว 3 ปี
 

2. เลือกธนาคารที่ใช่

เป็นข่าวดีเพราะการรีไฟแนนซ์นั้นมีให้เลือกมากกว่า 100 โปรโมชั่น ซึ่งเรื่องของดอกเบี้ยขึ้นอยู่กับแต่ธนาคาร เราไม่ต้องกังวลว่าบ้านยังผ่อนไม่ไหมดจะรีไฟแนนซ์ได้ไหม จะผ่านหรือเปล่าในตอนนี้ ให้เราต้องนำข้อมูลของหลาย ๆ ธนาคารมาเทียบกัน ถ้าเลือกดี ๆ จะได้ธนาคารที่ให้ดอกเบี้ยที่ถูกที่สุด และช่วยให้เราประหยัดดอกเบี้ยได้นับแสนเลยทีเดียว และอีกเรื่องที่สำคัญคือธนาคารที่เราจะเลือกใช้บริการ Refinance นั้นเราสะดวกในการเข้าไปติดต่อทำธุรกรรมหรือไม่

ลงทุนใช้เวลาสักหน่อยในการเลือกธนาคารที่จะรีไฟแนนซ์ ลองดูโปรโมชั่นจากธนาคารกรุงศรีอยุธยาเป็นทางเลือกในการตัดสินใจ เพื่อจะได้เลือกในสิ่งที่ดีที่สุด

ส่วนคำถามที่ว่าจะรีไฟแนนซ์บ้านกับธนาคารเดิมได้ไหม? ที่จริงแล้วหากว่าไม่ต้องเปลี่ยนธนาคารเราสามารถยื่นขอลดดอกเบี้ยเงินกู้ได้ เป็นอีกทางเลือกหนึ่งของคนที่ต้องการลดดอกเบี้ยบ้าน
 

3. เตรียมเอกสาร

ในกรณีที่บ้านยังผ่อนไม่หมด การรีไฟแนนซ์บ้านมีเอกสารหลายส่วนที่ต้องเตรียม การรีไฟแนนซ์ได้ไหม สำเร็จหรือไม่ก็ขึ้นอยู่กับการเตรียมเอกสาร เพราะคล้ายการขอยื่นกู้บ้านใหม่อีกรอบ ซึ่งเอกสารที่แต่ละธนาคารต้องการมักจะคล้ายกัน มาดูกันว่าต้องเตรียมเอกสารอะไรบ้าง

1. เอกสารข้อมูลส่วนบุคคล
เอกสารที่เกี่ยวกับข้อมูลของผู้กู้ ใช้เพื่อยืนยันตัวตนกับธนาคาร
  • สำเนาบัตรประชาชน หรือบัตรข้าราชการ
  • สำเนาทะเบียนบ้าน
  • สำเนาบัตรประชาชน และสำเนาทะเบียนบ้าน ของคู่สมรส (ถ้ามี)
  • สำเนาทะเบียนสมรส/หย่า/ใบเปลี่ยนชื่อ-สกุล (ถ้ามี) 
  • สำเนาใบมรณะบัตร และทะเบียนสมรสของคู่สมรส (กรณีคู่สมรสเสียชีวิต)

2. เอกสารแสดงหลักประกันที่นำมารีไฟแนนซ์
  • สำเนาแสดงกรรมสิทธิ์หลักประกัน เช่น โฉนดที่ดิน หรือ หนังสือรับรองกรรมสิทธิ์ห้องชุด
  • ใบอนุญาติปลูกสร้าง/หนังสือแสดงกรรมสิทธิ์สิ่งปลูกสร้าง เช่นสำเนาหนังสือสัญญาขายที่ดิน ทด.13 หรือสัญญาให้ที่ดิน ทด.14
  • สำเนาหนังสือสัญญาจำนองที่ดิน
  • สำเนาสัญญากู้เงินธนาคารเดิม
  • สำเนาใบเสร็จเงินกู้เดือนล่าสุด
  • แผนที่ตั้งหลักประกันโดยสังเขป
 
3. เอกสารแสดงรายได้
แบ่งประเภทของผู้มีรายได้เป็น 2 แบบด้วยกัน ซึ่งถ้ามีบัญชีเงินเดือนกับธนาคารกรุงศรีก็จะมีสิทธิพิเศษต่างๆ เพิ่มเติมด้วย
  1. สำหรับบุคคลธรรมดาที่มีรายได้ประจำ
  • สลิปเงินเดือน หรือหนังสือรับรองการทำงาน(ตัวจริง)
  • รายการเดินบัญชีย้อนหลัง 6 เดือน
  • สำเนาหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย (50 ทวิ)
  1. สำหรับบุคคลธรรมดาที่ทำธุรกิจส่วนตัว
  • สำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียน/ใบทะเบียนการค้า
  • สำเนาบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นที่มีชื่อผู้กู้/ผู้กู้ร่วม
  • สำเนารายการเดินบัญชีย้อนหลัง 6 เดือน (ทั้งในนามบุคคลและกิจการ)
  • สำเนา ภ.พ. 30 (ถ้ามี) 
*ในทั้ง 2 ประเภท ถ้ามีผู้กู้ร่วมก็ต้องให้ผู้กู้ร่วมเตรียมเอกสารข้อมูลส่วนบุคคลและเอกสารแสดงรายได้ดังกล่าวด้วยเช่นกัน
 

4. ยื่นขอสินเชื่อรีไฟแนนซ์

คุณยื่นเอกสารเพื่อขอสินเชื่อรีไฟแนนซ์แล้ว ทางธนาคารก็จะส่งเจ้าหน้าที่มาประเมินราคาหลักประกันของเราเพื่อประกอบการอนุมัติ และเมื่อได้รับการอนุมัติจากธนาคารใหม่ที่เราเลือกเรียบร้อยแล้ว เจ้าหน้าที่ธนาคารจะแจ้งให้เราติดต่อธนาคารเดิมเพื่อสอบถามยอดหนี้คงเหลือและนัดวันไถ่ถอน

ในขั้นตอนการไถ่ถอน แม้ว่าเราจะรีไฟแนนซ์บ้านกับธนาคารเดิมไม่ได้ แต่ธนาคารเดิมอาจจะลดดอกเบี้ยให้เรา แต่จะเปลี่ยนใจเราได้ไหม เราจะต้องเปรียบเทียบค่าใช้จ่ายทั้งหมดเพื่อใช้ประกอบการตัดสินใจด้วย
 

5. ทำสัญญาและจดจำนองที่กรมที่ดิน

เจ้าหน้าที่จากธนาคารใหม่จะถือสัญญาไปให้เซ็นที่กรมที่ดิน พร้อมๆ กับการไปทำสัญญาจำนองที่กรมที่ดินในวันเดียวกัน
 

ค่าใช้จ่ายในการดำเนินการ

บ้านยังผ่อนไม่หมด สามารถรีไฟแนนซ์ได้ไหม

หากว่าบ้านยังผ่อนไม่หมด แต่ต้องการรีไฟแนนซ์ และเลือกธนาคารได้แล้ว และได้ผลการขอสินเชื่อว่ารีไฟแนนซ์ได้ไหมมาแล้ว อีกสิ่งหนึ่งที่ต้องทำคือ การลองนำไปคำนวณหักลบกับเงินที่ประหยัดขึ้นจากการรีไฟแนนซ์ ว่าค่าใช้จ่ายที่เสียไปจะคุ้มค่ากับจำนวนเงินที่คุณประหยัดได้จากดอกเบี้ยที่ลดลงหรือเปล่า โดยส่วนมากค่าใช้จ่ายในการรีไฟแนนซ์จะน้อยกว่าการซื้อบ้านใหม่มาดูว่าปกติแล้วมีค่าใช้จ่ายอะไรบ้าง
  • ค่าประเมินราคา (อาจมีค่าใช้จ่าย หรือไม่มี ขึ้นอยู่กับโปรโมชั่น)
  • ค่าจดจำนอง จ่ายให้กรมที่ดิน 1% ของวงเงินกู้
  • ค่าอากรแสตมป์ 0.05% ของวงเงิน(ไม่เกิน 10,000 บาท)
  • ประกันอัคคีภัย (โดยปกติต้องทำทุก 1-3 ปี ตามกฎหมาย)
  • ค่าธรรมเนียมอื่นๆ ของธนาคาร


เคล็ดลับดีๆ ที่ช่วยรีไฟแนนซ์ให้ง่ายขึ้น

บ้านยังผ่อนไม่หมด อยากลดค่าใช้จ่าย แต่กังวลว่าจะรีไฟแนนซ์ได้ไหม ให้เราพิจารณารายได้ของเราว่ามีรายได้เพียงพอที่พอผ่อนชำระในแต่ละเดือนไหม หรือมีหลักทรัพย์อะไรที่เพิ่มมาใหม่จากเดิมและยังมีการผ่อนชำระอยู่ (ถ้ามีจะช่วยให้การรีไฟแนนซ์กับธนาคารใหม่สามารถทำได้ไม่ง่ายนัก) และที่สำคัญควรตรวจสอบให้ดีว่าระบบเครดิตบูโรของเรายังดีอยู่หรือเปล่า

นอกจากนั้นเราก็สามารถนำบ้านที่กำลังผ่อนอยู่กับสถาบันการเงินที่ไม่ใช่ธนาคาร มาทำการรีไฟแนนซ์ผ่อนกับธนาคารที่ให้ดอกเบี้ยถูกกว่าได้เหมือนกัน นอกจากจะทำให้เราผ่อนบ้านได้หมดไวแล้วยังมีเงินเหลือเอาไปต่อยอดในการลงทุนได้อีกด้วย ดังนั้น ใครอยากลดดอกเบี้ย อยากประหยัดเงิน บ้านยังผ่อนไม่หมด ไม่ต้องกังวลว่าจะรีไฟแนนซ์ได้ไหม มาปรึกษาเราเลย
 
เครื่องมือคำนวณ รีไฟแนนซ์บ้าน

บทความโดย
ปริตา ธิติปรีชาพล
กลุ่มบริการที่ปรึกษาทางการเงินส่วนบุคคล
ธนาคารกรุงศรีอยุธยา
ผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง
บทความที่เกี่ยวข้อง
พิมพ์สิ่งที่ต้องการค้นหา