ใจนึงอยากเที่ยว อีกใจก็อยากเก็บเงิน เลือกอะไรดี

ใจนึงอยากเที่ยว อีกใจก็อยากเก็บเงิน เลือกอะไรดี

By Krungsri Plearn Plearn

เลื่อนฟีดเฟสบุ้ค นั่งไถอินสตาแกรม ช่วงนี้มีแต่คนอัพรูปไปเที่ยวต่างประเทศกัน เห็นแล้วก็อยากไปสัมผัสบรรยากาศต่างแดนแบบเขาบ้าง แต่หันมาดูเงินเก็บของตัวเองก็คงต้องรอไปก่อนสินะ…

“เขาเก็บตังค์เที่ยวกันยังไง? ทำไมถึงได้เที่ยวกันบ่อย ๆ? ทำงานอะไรกันหนอ?” คงเป็นคำถามที่ผุดขึ้นมาในใจใครหลายคนที่มีความฝันว่าอยากออกไปท่องเที่ยวต่างประเทศบ้าง แต่ด้วยภาระค่าใช้จ่าย ไหนจะค่าผ่อนรถ ผ่อนบ้าน ดูแลพ่อแม่ลูก ฯลฯ แถมยังต้องเก็บออมเงินเผื่อฉุกเฉินอีก แค่นึกก็ทำให้ถอดใจกันง่าย ๆ แล้วใช่ไหม
จุดนี้เหมือนเรายืนอยู่ตรงทางแยก ทางหนึ่งก็อยากออกไปท่องเที่ยวเดินทาง ไปลองทำสิ่งที่ไม่เคยทำ พาตัวเองไปอยู่ท่ามกลางผู้คนที่ไม่ได้พูดภาษาเดียวกับเราตามกระแส YOLO (You Only Live Once) คงน่าตื่นเต้นดีไม่น้อย..
อีกทางก็คิดว่า รอให้พร้อมกว่านี้ มีเงินเก็บมากกว่านี้ สร้างตัวได้เมื่อไหร่ค่อยไปเที่ยวก็ได้มั้ง
“แต่ช้าก่อน...ชีวิตคนเรามีขีดจำกัดเรื่องเวลานะ” อีกเสียงหนึ่งกระซิบ
ถ้ารอให้อายุมากขึ้น ต่อไปร่างกายอาจไม่เอื้ออำนวยก็ได้ เพราะฉะนั้นวิธีที่จะได้ไปเที่ยวด้วยและยังมีเงินเก็บด้วย คงหนีไม่พ้นการบริหารจัดการเงิน แต่จะเก็บเงินเที่ยวอย่างไรไม่ให้กระทบภาระหน้าที่ของเรา วันนี้กรุงศรีมี 4 เคล็ดลับมาแนะนำ…

1. มีเงินน้อย ก็เที่ยวได้ แค่ฉลาดเลือก

ยุคนี้ผู้ประกอบการต่าง ๆ แข่งขันกันหาลูกค้า เรามีทางเลือกในการท่องเที่ยวที่ราคาถูกลง แถมมีตัวเลือกเยอะขึ้น อาทิ สายการบินราคาประหยัด การเลือกจองตั๋วและที่พักตอนมีโปรโมชั่นดีดีลเด็ด หรือแม้แต่เลือกเที่ยวประเทศที่ราคาไม่แพง แต่เป็น Hidden Gem มีธรรมชาติสวย อารยธรรมน่าค้นหา เช่น อินเดีย กัมพูชา จีน ฟิลิปปินส์ เวียดนาม อินโดนีเซีย เป็นต้น เหล่านี้อาจเป็นทางเลือกต้น ๆ ที่เราควรมีไว้ในแพลน
แต่ถ้าเราอยากไปประเทศที่ไกลกว่านี้ และแพงขึ้นล่ะ? ลองดูข้อถัดไปกัน...

2. มีบัญชีสำหรับท่องเที่ยวโดยเฉพาะ

เมื่อตั้งเป้าหมายแล้วว่าจะไปเที่ยวไหนอะไร รู้ว่าต้องใช้งบเท่าไร พอเงินเดือนออก หรือได้รายได้มา ให้เรากันเงินเก็บไว้ทันที ขอแนะนำให้เก็บในบัญชีเพื่อการท่องเที่ยวโดยเฉพาะ เพื่อที่เราจะจัดการเงินในบัญชีได้ง่าย โดยไม่ปะปนกับเงินส่วนอื่น ที่สำคัญจะได้ไม่เผลอหยิบเงินตรงนี้ไปใช้เพื่อเป้าหมายอื่นด้วย ตัวอย่างเช่น จะไปเที่ยวเมืองจีน ใช้เงินประมาณ 20,000 บาท ถ้าออมเดือนละ 2,000 บาทจะใช้เวลา 10 เดือนพอดี ดังนั้นทุกสิ้นเดือนก็ให้หักเงินมาใส่บัญชีเก็บเงินเพื่อการท่องเที่ยว 2,000 บาท เผลอแป๊บเดียวก็ได้ไปเที่ยวแล้ว ไม่เชื่อลองเลย!
แต่ไหน ๆ จะเก็บเงินทั้งที ก็น่าจะให้เงินงอกเงยด้วย ขอแนะนำบัญชีเงินฝากออมทรัพย์มีแต่ได้ ออนไลน์ เพราะมีข้อดีเพียบ!
  • ให้ดอกเบี้ยสูงสุดถึง 1.5% ต่อปี (สูงกว่าบัญชีออมทรัพย์ทั่วไปตั้งหลายเท่า)
  • ...คิดดอกเบี้ยทุกวัน...จ่ายดอกเบี้ยทุกเดือน
  • ที่สำคัญ จะฝากทีละเท่าไหร่ก็ได้ แล้วแต่เราเลย
  • เปิดบัญชีก็ง่าย อยู่ที่ไหนก็ทำได้ด้วยตัวเอง ผ่าน KMA-Krungsri Mobile App

3. ลดรายจ่าย ตั้งเป้าเพิ่มรายได้ 

เพื่อให้ความฝันทริปท่องเที่ยวของเราเป็นจริงไวๆ ลองหารายได้พิเศษดู และเก็บเงินจากส่วนนั้นเข้าบัญชีเพื่อการท่องเที่ยวด้วย
นอกจากนี้ ควรทำบัญชีรายรับ-รายจ่ายเพื่อเราจะได้รู้ว่า ในแต่ละเดือนเราหมดเงินไปกับอะไรบ้าง โดยเฉพาะรายจ่ายที่ไม่จำเป็น หรือของฟุ่มเฟือย จะได้ทบทวนและตัดออก เพื่อเปลี่ยนเงินส่วนนั้นมาเป็นเงินออมแทน เช่น ถ้าเราซื้อกาแฟแก้วละ 60-100 บาททุกวัน ลองเปลี่ยนเป็นกาแฟที่ราคาถูกลง หรือสลับชงดื่มเองบ้าง ก็จะช่วยประหยัดได้ แม้จะเป็นเงินเล็ก ๆ น้อย ๆ แต่ถ้ารวมกันเป็นเดือนเป็นปี ก็ถือเป็นเงินก้อนโตเชียวนะ

4. มองหาวิธีไปเที่ยวในราคาประหยัด

ลองติดตามเว็บไซต์ เพจท่องเที่ยว หรือโซเชียลมีเดียที่มักบอกวิธีจองที่พัก ตั๋วเครื่องบินราคาพิเศษ ลองศึกษาวิธีและช่วงเวลาการจองเพื่อให้ได้รับโปรโมชั่นที่คุ้มค่า ฯลฯ ทิปส์ต่าง ๆ ที่เพจเหล่านี้แชร์ถือเป็นความรู้ที่ช่วยเราเซฟเงินได้มากทีเดียว แถมยังเป็นแรงบันดาลใจที่สามารถนำมาทำตามได้ด้วย เช่น วิธีเดินทางไปดูแสงเหนือภายในงบ 60,xxx บาท เป็นต้น
นอกจาก 4 เคล็ดลับข้างต้น ปัจจัยที่สำคัญอีก 2 อย่างที่ช่วยให้การเก็บเงินสำเร็จได้ก็คือ ความมีวินัยและระยะเวลาที่เพียงพอ แค่นี้ความฝันก็อยู่ใกล้แค่เอื้อมแล้วล่ะ
ขอบคุณข้อมูลจาก: -
ลงทะเบียนรับข่าวสาร
บริการส่งข้อมูลความรู้ ให้ลูกค้าธุรกิจผ่านอีเมล์
บริการจัดส่งบทวิเคราะห์และข้อมูลข่าวสารทางธุรกิจผ่านทาง E-mail
  • บทวิเคราะห์เศรษฐกิจรายสัปดาห์จากศูนย์วิจัยกรุงศรี
  • ผลการสำรวจดัชนีภาวะธุรกิจ SME รายไตรมาส โดยกรุงศรี
  • ข่าวสาร และกิจกรรมของธนาคาร
  • บริการทางการเงิน และโปรโมชั่นใหม่ๆ ของธนาคาร
Follow us on
ลงทะเบียนรับข่าวสาร
บริการส่งข้อมูลความรู้ ให้ลูกค้าธุรกิจผ่านอีเมล์
บริการจัดส่งบทวิเคราะห์และข้อมูลข่าวสารทางธุรกิจผ่านทาง E-mail
  • บทวิเคราะห์เศรษฐกิจรายสัปดาห์จากศูนย์วิจัยกรุงศรี
  • ผลการสำรวจดัชนีภาวะธุรกิจ SME รายไตรมาส โดยกรุงศรี
  • ข่าวสาร และกิจกรรมของธนาคาร
  • บริการทางการเงิน และโปรโมชั่นใหม่ๆ ของธนาคาร
Powered by
© 2564 ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน)
Follow