ท่องเที่ยวและบริการ ธุรกิจทำเงิน หลังผ่านพ้นช่วงปลดล็อกประเทศ

ท่องเที่ยวและบริการ ธุรกิจทำเงิน หลังผ่านพ้นช่วงปลดล็อกประเทศ

By Krungsri GURU SME

เมื่อผ่านช่วงปลดล็อกประเทศไป เชื่อว่าธุรกิจที่จะกลับมาทำเงินได้อีกนั่นคือ ธุรกิจท่องเที่ยวและบริการ

หนึ่งในบรรดาธุรกิจที่ทำเงินรายได้เข้าประเทศอันดับต้นๆนั้น เป็นที่ทราบกันดีว่า คือ ภาคธุรกิจท่องเที่ยวและบริการ ซึ่งแต่ละปีมีเม็ดเงินสะพัดหลายแสนหลายล้านล้านบาท แม้ว่าบางช่วงวิกฤตโรคระบาดที่ผานมาจะส่งผลต่อการดำเนินงานของธุรกิจในส่วนนี้เป็นอย่างมาก แต่เชื่อได้เลยว่าหลังจากที่ผ่านพ้นสถานการณ์นี้ไป ก็จะกลับมาเป็นธุรกิจที่มีอนาคตสดใส และเป็นธุรกิจที่มีผู้ประกอบการหน้าเก่า-หน้าใหม่เข้ามาในวงการท่องเที่ยวตลอดและในการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนหรือเออีซีในปลายปีนี้ ซึ่งเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการในเออีซีเข้ามาทำธุรกิจได้สะดวกก็ยิ่งทำให้มีการแข่งขันกันสูงขึ้นไปอีก
ทั้งนี้ในปี 2558 ทางกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ตั้งเป้าจะมีนักท่องเที่ยวเข้ามาในไทยประมาณ 28.8 ล้านคน สร้างรายได้ 2 แสนล้านบาท หรือสูงสุด 2.2 ล้านล้านบาทภายใต้แคมเปญ “ปีท่องเที่ยววิถีไทย 2558” หรือ “2015 Discover Thainess” เพื่อเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมไทย และวิถีชีวิตของคนไทย ซึ่งในช่วงครึ่งปีแรกปรากฏว่ามีจำนวนนักท่องเที่ยวเข้ามาเที่ยวในไทยเป็นที่น่าพอใจ โดยเมืองหลัก ๆ ที่นักท่องเที่ยวนิยมไปกัน ได้แก่ กรุงเทพฯ ภูเก็ต พัทยา เชียงใหม่ กระบี่ และเกาะสมุย นับเป็นสัญญาณที่ดีขึ้นเรื่อย ๆ
ปัจจัยสำคัญที่ทำให้นักท่องเที่ยวต่างชาติ โดยเฉพาะในเอเชียอย่างจีน นิยมเข้ามาเที่ยวในไทยหลักหลายล้านคนในแต่ละปีนั้น เนื่องจากประเทศไทยมีจุดเด่นหลายเรื่อง อาทิ มีสถานที่ท่องเที่ยวทางธรรมชาติหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นทะเล ภูเขา น้ำตกหรือถ้ำที่มีความสวยงาม ค่าใช้จ่ายก็ไม่สูงนัก แถมมีบริการด้านสุขภาพ และแหล่งบันเทิงเริงรมย์ให้เลือกสารพัดรูปแบบ ขณะที่หน่วยงานภาครัฐและเอกชนต่างช่วยกันจัดกิจกรรมโปรโมทอย่างเข้มข้นในทุกรูปแบบทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยตั้งเป้าให้ประเทศไทยเป็นฮับของการท่องเที่ยวในอาเซียน
องค์ประกอบเหล่านี้เองที่ทำให้ไทยจัดอยู่ในประเทศยอดนิยมที่นักท่องเที่ยวในเอเชียให้ความสนใจและเมื่อมาเที่ยวแล้วก็กลับมาเที่ยวซ้ำอีก ซึ่งนอกจากนักท่องเที่ยวจากจีนจะมีจำนวนมากขึ้นแล้ว ยังพบว่านักท่องเที่ยวจากกลุ่มประเทศเครือรัฐเอกราช (Commonwealth of Independent State หรือ CIS) ที่เคยเป็นส่วนหนึ่งของสหภาพโซเวียต จำนวน 11 ประเทศก็ชอบมาเที่ยวไทยในปริมาณที่เพิ่มขึ้นทุกปี ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีศักยภาพสูง แม้ว่ากลุ่มนักท่องเที่ยวจากยุโรปอาจจะแผ่วลงไปบ้าง เนื่องจากปัญหาเศรษฐกิจซบเซา รวมถึงนักท่องเที่ยวรัสเซียที่เจอปัญหาค่าเงินรูเบิลตกต่ำ
ฉายภาพโดยรวมของวงการท่องเที่ยวและบริการให้เห็นกันในวงกว้าง เพื่อชี้ว่าธุรกิจนี้ยังสดใสและไปได้อีกยาวไกล แต่อย่างที่เกริ่นไว้แต่แรกว่าธุรกิจนี้มีผู้ประกอบการหน้าเก่าหน้าใหม่เข้ามาทำส่งผลให้การแข่งขันสูง ประกอบกับพฤติกรรมการท่องเที่ยวของผู้คนในแต่ละประเทศก็แตกต่างกันไป ขณะเดียวกันสมาร์ทโฟนและโลกออนไลน์เข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันมากขึ้น
ดังนั้นเพื่อให้การทำธุรกิจท่องเที่ยวและบริการแข่งขันได้ในโลกยุคดิจิตอล ผู้ประกอบการทั้งหลายควรจะต้องปรับตัวให้ธุรกิจตอบสนองกลุ่มลูกค้าที่มีความหลากหลายไม่ว่าจะเป็นกลุ่มลูกค้าในไทยหรือต่างชาติก็ตาม ซึ่งตอนนี้แทบทุกประเทศในเอเชียต่างมีนโยบายส่งเสริมการท่องเที่ยวเพื่อดึงเงินตราต่างประเทศ และหลายประเทศต่างพุ่งเป้าไปยังนักท่องเที่ยวจีนที่มีจำนวนหลายล้านคนที่ชอบเดินทางท่องเที่ยวต่างประเทศ
หลักสำคัญอันหนึ่งในการทำธุรกิจท่องเที่ยวและบริการก็คือ ทำอย่างไรให้ลูกค้าทุกเพศทุกวัยทุกภาษาเกิดความพึงพอใจสูงสุด และในเมื่อตลาดมีการแข่งขันกันสูง จำเป็นจะต้องสร้างจุดเด่นให้แตกต่างเพื่อดึงดูด เพราะลูกค้าแต่ละประเทศก็มีพฤติกรรมที่แตกต่างกันไป ดังนั้นผู้ประกอบการจะต้องเรียนรู้เพื่อให้สินค้าและบริการที่ทำอยู่สนองความต้องการของลูกค้าได้ตรงจุด
จะเห็นได้ว่าปัจจุบันความต้องการของนักท่องเที่ยวมีหลากหลาย ไม่ใช่เฉพาะต้องการมาเที่ยวสถานที่ท่องเที่ยวเพียงอย่างเดียว บางกลุ่มต้องการมาท่องเที่ยวเชิงเกษตร บางกลุ่มต้องการท่องเที่ยวแบบอีโค่ บางกลุ่มต้องการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม บางกลุ่มต้องการเชิงสุขภาพโดยเฉพาะบรรดาผู้สูงวัย และบางกลุ่มต้องการการท่องเที่ยวเชิงอาหาร ฯลฯ ฉะนั้นผู้ประกอบการสามารถสร้างจุดเด่นได้ด้วยการเจาะเฉพาะลูกค้าบางกลุ่ม
กระแสลดโลกร้อนเข้ามามีบทบาทในธุรกิจท่องเที่ยวด้วย ซึ่งกระแสปั่นจักรยานก็มาแรงและเป็นอีกเทรนด์ที่น่าจะอยู่อีกนาน หากผู้ประกอบการท่องเที่ยวนำความเคลื่อนไหวดังกล่าวเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของสินค้าและบริการที่ทำอยู่ก็น่าจะเป็นจุดดึงดูดลูกค้าได้เป็นอย่างดี
พฤติกรรมอีกอย่างของนักท่องเที่ยวโซนเอเชีย คือ ของฝากของที่ระลึก ซึ่งบางจังหวัดอย่างจังหวัดรองที่ทางหน่วยงานท่องเที่ยวต้องการส่งเสริม ในแคมเปญ 12 เมืองต้องห้ามพลาด ได้แก่ ตราด นครศรีธรรมราช เพชรบูรณ์ ตรัง ชุมพร จันทบุรี เลย น่าน บุรีรัมย์ ลำปาง ราชบุรี และสมุทรสงคราม บางจังหวัดยังไม่มีร้านขายของฝากหรือร้านขายของที่ระลึกที่ได้มาตรฐานตรงความต้องการของนักท่องเที่ยว จึงเป็นอีกช่องทางหนึ่งที่น่าสนใจเข้ามาทำธุรกิจประเภทนี้
อย่างไรก็ตาม แม้ตัวสินค้าและบริการจะมีคุณภาพและโดดเด่นแค่ไหน แต่สิ่งสำคัญที่สุดในยุคไฮเทคนี้ก็คือ การโฆษณาประชาสัมพันธ์ให้ผู้คนรับรู้ในวงกว้าง จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องใช้โซเชียลมีเดียให้เกิดประโยชน์สูงสุด ไม่ว่าจะเป็นเว็บไซต์ เฟซบุ๊ค อินสตราแกรม ไลน์ และอื่น ๆ ฯลฯ เพื่อให้ลูกค้าสามารถเข้าถึงข้อมูลได้อย่างสะดวก แต่เหนือสิ่งอื่นใด ในส่วนของสินค้าและบริการนั้น
ขอบคุณข้อมูลจาก: -
พิมพ์สิ่งที่ต้องการค้นหา