งานใหญ่ที่ท้าทายเพื่อการตลาดยุคใหม่

งานใหญ่ที่ท้าทายเพื่อการตลาดยุคใหม่

By เกรียงกานต์ กาญจนะโภคิน

เมื่อพูดถึงงานโอลิมปิก ต้องบอกว่าถือเป็นงานอีเว้นท์ที่ติด 1 ใน 3 ของงานอีเว้นท์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดของโลก อย่างงาน World Expo และงาน FIFA World Cup เป็นงานที่ไม่ว่าใครหรือประเทศไหนก็ตามต่างต้องการที่จะเสนอตัวเข้าเป็นเจ้าภาพของงานทั้งสิ้น เนื่องจากเป็นการแสดงถึงความพร้อม และศักยภาพของประเทศได้เป็นอย่างดี เรียกได้ว่ามีของอะไร ก็สามารถที่จะปล่อยได้หมดในงานนี้ พร้อม ๆ กับการที่มีคนสามารถรับรู้ และพร้อมที่จะสื่อสารแมสเซจของงาน โดยการแชร์ข้อมูลข่าวสารออกไปตาม Social Network ต่าง ๆ พร้อมกันด้วยจำนวนมหาศาล กล่าวคือเป็นการกระจายข่าวสารออกไปทั่วโลกในระยะเวลาที่รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพสูงสุด


งานโอลิมปิกเป็นงานที่รวมคนจากทั่วทุกมุมโลก ต่างชาติ ต่างภาษา มาไว้ที่ ๆ เดียวกัน เพราะฉะนั้นจึงไม่เป็นที่น่าสงสัยเลยว่างานโอลิมปิกเป็นงานที่ใคร ๆ หลายคนต่างหมายปอง และหอมหวนเป็นอย่างมาก รวมถึงเป็นกรณีศึกษาของนักการตลาดชั้นดี หรือถ้าในมุมนักการตลาดอย่างเรา ๆ ก็คงต้องบอกว่าเป็นการทำ Branding ของแต่ละประเทศ ว่าจะเชิดหน้าชูตาประเทศของตัวเองได้หรือไม่ อย่าง Olympic ในปี 2020 ที่กำลังจะถึงในอีก 5 ปีนี้ ประเทศญี่ปุ่นได้มีการเตรียมตัว และกำลังเป็นกระแสแรงในขณะนี้ เนื่องจากญี่ปุ่นได้มีความตั้งใจ และตั้งเป้าไว้สูงมากที่จะใช้โอกาสนี้เป็นตัวกระตุ้น และแรงผลักดันทางเศรษฐกิจครั้งใหญ่เลยทีเดียว โดยมีการลงทุนนับแสนล้านบาทเพื่อการก่อสร้าง Olympic Park และระบบการคมนาคมขนส่งต่าง ๆ เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับเพื่อน ๆ จากทั่วโลกที่จะเข้ามาเยือน ซึ่งนับเป็นแรงกระตุ้นเชิงบวก ที่จะผลักดันให้ญี่ปุ่นเริ่มตระหนักและหันมามอง รวมถึงให้ความสำคัญกับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวมากขึ้น และสามารถสร้างเม็ดเงินระยะยาวให้กับประเทศได้เป็นอย่างดี เหมือนกับที่ประเทศไทยได้ให้ความสำคัญของการท่องเที่ยว เพื่อดึงดูดเพื่อน ๆ จากทั่วโลกให้เข้ามาท่องเที่ยว และรู้จักประเทศไทยมากขึ้น จนทำให้ประเทศไทยเป็นประเทศที่ติดอันดับประเทศชั้นนำในเรื่องของการท่องเที่ยวของโลก โดยมียอดจำนวนนักท่องเที่ยวมาไทย 25-26 ล้านคน และจะขึ้นไปถึง 30 ล้านคนในอีกไม่เกิน 2 ปี ขณะที่ญี่ปุ่นเองมีนักท่องเที่ยวเพียงปีละ 10 ล้านคนเท่านั้น ทั้งนี้ รัฐบาลญี่ปุ่นประกาศตั้งเป้าไว้ว่า ปี 2020 ที่จะมี Olympic เกิดขึ้น จะมีนักท่องเที่ยวเข้าญี่ปุ่นถึง 20 ล้านคน ซึ่งแน่นอนว่าจะนำเงินเข้าประเทศปีละหลายล้านล้านบาท ซึ่งเมื่อเทียบกับการลงทุนการเป็นเจ้าภาพ Olympic สิ่งที่ได้รับกับเม็ดเงินในการลงทุน ถือว่าเป็นจำนวนที่น้อยมาก นับเป็นการมองช่องทางหารายได้ใหม่ ๆ แทนอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ที่กำลังตกต่ำอย่างมาก ดังนั้นจึงถือเป็นโอกาสที่ดีที่จะใช้พื้นที่ตรงนี้ในการขยาย และต่อยอดโอกาสใหม่ ๆ อย่าลืมนะครับ ว่าการทำการตลาด การทำ Brand มันไม่ใช่แค่การได้เงินจากการขายของ เพราะนัก Marketing อย่างเรารู้ดี ว่าด้วยชื่อนั้น เรื่องของ Emotional มีผลต่อผู้บริโภคอย่างมาก ดังนั้นจากการตลาดเดิม ๆ สู่การตลาดยุคใหม่ ซึ่งได้ประโยชน์ทั้งในด้านของการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ประเทศ เพื่อให้เห็นถึงศักยภาพและความคิดสร้างสรรค์ออกสู่สายตานานาประเทศของการเป็นเจ้าภาพโอลิกปิก 2020 และยังได้สมาชิกเพิ่มขึ้นในส่วนของเพื่อน ๆ ของชาติอื่น ๆ ได้เข้ามารู้จักญี่ปุ่นมากขึ้น ซึ่งความท้าทายที่สุด คือ อยู่ที่จะทำอย่างไรที่จะสามารถใช้โอกาสและจังหวะตรงนี้ เพื่อสร้างการรับรู้ และให้คนทั่วไปได้รับรู้กับสิ่งที่ทางญี่ปุ่นต้องการจะสื่อสารออกมาสู่ประชาชน และเพื่อน ๆ ชาติอื่น ๆ ได้มากที่สุดด้วยระยะเวลาอันจำกัด เพราะฉะนั้นการนำเสนอมุมมองใหม่ ๆ ทางธุรกิจให้เกิดขึ้น โดยทำให้ผู้บริโภครู้สึกอิน นั่นแหละครับที่เรียกว่า Emotional กับสิ่ง ๆ นั้นแบบธรรมชาติ เป็นสิ่งที่ต้องคิดอย่างละเอียด และรอบคอบมากที่สุด เรียกได้ว่า ทำครั้งหนึ่งแล้วจะเกิดผลกระทบต่ออีกมหาศาลโดยเฉพาะอย่างยิ่งกับงานโอลิมปิก

แต่อย่างไรก็ตามเมื่อมีงานที่มีสเกลขนาดใหญ่มากเท่าไหร่ เป็นที่แน่นอนว่าปัญหาที่เกิดขึ้นตามมาก็เป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้เช่นกัน จากที่เห็นจากข่าว เริ่มต้นตั้งแต่ปัญหาจากคำครหาเรื่องของโลโก้ Olympic ที่ดันไปเหมือนกับโลโก้อื่น หรือแม้กระทั่งปัญหาค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างต่าง ๆ ก็หนีไม่พ้น เป็นต้น ซึ่งก็ต้องค่อย ๆ แก้กันไป บริหารจัดการงานกันเป็นส่วน ๆ ไป เรียกว่ากว่าจะถึง Olympic 2020 รัฐบาลญี่ปุ่นคงต้องเผชิญปัญหาอีกมากมายที่ไม่สามารถคาดเดาได้ว่าจะเกิดอะไรขึ้นอีกเมื่อไหร่ก็คงเป็นธรรมดาสำหรับการทำงานใหญ่ ๆ ระดับโลก ที่มีปัจจัยหลาย ๆ อย่างเข้ามาเกี่ยวข้อง ทั้งที่ควบคุมได้ และควบคุมไม่ได้ แต่สิ่งสำคัญที่สุด คือ ความพร้อมที่จะรับมือกับปัญหาต่าง ๆ ที่เข้ามาให้ดีที่สุด เพราะอย่าลืมว่า
 
การตลาดที่ดี ต้องเป็นการตลาดที่สามารถปรับเปลี่ยนได้ เพื่อรองรับกับสถานการณ์ที่จะเกิดขึ้นได้ในทุกมิติ เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ในปัจจุบันและผู้บริโภคยุคใหม่ให้ดีที่สุด
ขอบคุณข้อมูลจาก: -
ลงทะเบียนรับข่าวสาร
บริการส่งข้อมูลความรู้ ให้ลูกค้าธุรกิจผ่านอีเมล์
บริการจัดส่งบทวิเคราะห์และข้อมูลข่าวสารทางธุรกิจผ่านทาง E-mail
  • บทวิเคราะห์เศรษฐกิจรายสัปดาห์จากศูนย์วิจัยกรุงศรี
  • ผลการสำรวจดัชนีภาวะธุรกิจ SME รายไตรมาส โดยกรุงศรี
  • ข่าวสาร และกิจกรรมของธนาคาร
  • บริการทางการเงิน และโปรโมชั่นใหม่ๆ ของธนาคาร
Follow us on
ลงทะเบียนรับข่าวสาร
บริการส่งข้อมูลความรู้ ให้ลูกค้าธุรกิจผ่านอีเมล์
บริการจัดส่งบทวิเคราะห์และข้อมูลข่าวสารทางธุรกิจผ่านทาง E-mail
  • บทวิเคราะห์เศรษฐกิจรายสัปดาห์จากศูนย์วิจัยกรุงศรี
  • ผลการสำรวจดัชนีภาวะธุรกิจ SME รายไตรมาส โดยกรุงศรี
  • ข่าวสาร และกิจกรรมของธนาคาร
  • บริการทางการเงิน และโปรโมชั่นใหม่ๆ ของธนาคาร
Powered by
© 2567 ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน)
Follow