เริ่มต้นธุรกิจ วางสมดุลฝ่ายตลาดกับฝ่ายขายอย่างไรดี

เริ่มต้นธุรกิจ วางสมดุลฝ่ายตลาดกับฝ่ายขายอย่างไรดี

By Krungsri Guru

การเริ่มต้นธุรกิจนั้นมีอะไรหลาย ๆ อย่างที่เราต้องคอยดูแลอย่างใกล้ชิด และที่ขาดไม่ได้ คือ การวางสมดุลระหว่างฝ่ายการตลาดและฝ่ายขาย ซึ่งถือเป็นหนึ่งในแม่งานของเราเลยทีเดียว เพราะสองฝ่ายนี้คือฝ่ายที่จะนำกำไรมหาศาล หรือทำเราขาดทุนได้เหมือนกัน แต่ไม่ต้องกังวลไปนะครับ ปัญหาไม่มาปัญญาก็ไม่เกิด ธุรกิจก็เช่นกัน อุปสรรคไม่มี ความสำเร็จก็ไม่เกิด เพราะไม่มีหนทางใดที่จะเดินสบายพร้อมโรยด้วยกลีบกุหลาบหรอกครับ

วิธีการวางสมดุลนั้นมีหลายวิธีโดยสามารถหาอ่านได้จากหนังสือวิธีการบริหารธุรกิจทั่วไป หรือเรียนรู้จากผู้ประสบความสำเร็จมาก่อน จากนั้นนำมาปรับใช้ อาจเริ่มจาก
ขั้นแรก จะเน้นในเรื่องของการกระจายอำนาจ ซึ่งเราต้องมีแผนก่อน พร้อมทั้งมีความตระหนักรู้ในตนเองว่า เราทำธุรกิจอะไร มีรายละเอียดอย่างไร เราจะได้รู้ว่า เราจะจัดสรรแต่ละฝ่ายอย่างไร เช่น หากคุณนำเข้าเครื่องสำอาง แน่นอนคุณต้องใช้การโปรโมตสินค้ามากกว่าการขายในขั้นแรกอยู่แล้ว ดังนั้น อำนาจการบริหารและการสื่อสารทางการตลาดจะมีบทบาทมากกว่า เช่น การวางเป้าหมาย ทำให้คนรู้จัก รวมทั้งวิธีการขาย ให้ฝ่ายขายนำเสนอตามนโยบายที่การตลาดสร้างมา ในทางกลับกัน หากธุรกิจของคุณ คือ ร้านขายก๋วยเตี๋ยวในย่านเยาวราช แน่นอนว่า บทบาทของฝ่ายขายย่อมมีมากกว่า เพราะย่านนั้นเป็นย่านอาหาร คนเดินไปมาเยอะอยู่แล้ว วิธีที่จะให้คนเข้ามามากที่สุดและประทับใจ คือ การหาพนักงานขายและให้บริการอย่างเต็มที่นั่นเอง
ขั้นที่สอง หลังจากการกระจายอำนาจแล้ว เรายังต้องตอกย้ำทัศนคติขององค์กร ทำให้ทั้งสองฝ่ายพูดคุยภาษาเดียวกัน กล่าวคือ ทุกฝ่ายต่างรู้แนวทางและเป้าหมายขององค์กร เพื่อป้องกันปัญหาที่เกิดขึ้นเวลาที่การตลาดคิดอย่าง ฝ่ายขายทำจริงไม่ได้ รวมทั้งเมื่อเกิดปัญหา ทั้งสองฝ่ายพร้อมที่จะจับมือกันแก้ไขแทนการโยนความผิดนั่นเองครับ
ขั้นที่สาม สภาพแวดล้อมองค์กร ก่อนอื่นผมขอทบทวนข้อจำกัดความของฝ่ายการตลาดและฝ่ายขายก่อนนะครับ ฝ่ายการตลาดหรือ “Marketing” นั้น คือ ฝ่ายที่วางแผนและลงมือทำจนนำไปสู่การสร้างฐานลูกค้าและมีการซื้อขายสินค้า หรือฝ่ายที่ทำให้เกิดการขาย จากนั้นฝ่ายขายหรือ “Sale” คือ ฝ่ายที่ทำการปิดการขาย ทำให้ได้เงินผู้บริโภคมาและสินค้าเราออกไปนั่นเอง พูดง่าย ๆ ฝ่ายการตลาด คือ ต้นกระบวนการ และฝ่ายขาย คือ จุดสิ้นสุดของกระบวนการ ซึ่งต่างสำคัญทั้งสิ้น ดังนั้น สภาพแวดล้อมองค์กรควรจัดให้ทั้งสองฝ่ายสามารถเข้าถึงกันได้ง่ายขึ้น คุยกันเยอะ ๆ แทนการแบ่งห้องเสมือนการแบ่งพรรคพวก เพื่อลดเส้นกั้นความสนิทสนมกัน เพราะบริษัทเราต้องการทำงานเป็นทีม ทุกคนในทีมจะต้องสามัคคีกัน บริษัทจึงจะอยู่รอด
สำหรับธุรกิจเริ่มต้น (Startup) อาจมีอะไรหลาย ๆ อย่างที่ต้องเตรียมตัว ทั้งนี้ทั้งนั้น จงอย่าลืมเป้าหมายและความฝันที่เราวาดเอาไว้ จากนั้นให้รวมเรื่องทุกอย่างต่อเป็นเหมือนขบวนรถไฟ จัดแจงให้เป็นระบบ เพียงเท่านี้ คำว่า “ยากเกิน” หรือ “เดี๋ยวค่อยทำตอนพร้อม” ก็จะหมดไปจากระบบความคิดของเรา เพราะมีคนที่ประสบความสำเร็จมากมายที่เริ่มตั้งแต่ตอนยังไม่พร้อม เพราะหากทุกอย่างพร้อมแล้วอุปสรรคมันไม่เกิด ความทุ่มเทมันไม่มี อะไรที่ได้มาง่าย ๆ มักจะเสียไปง่ายเสมอ สู้ ๆ นะครับ (อ่านบทความเพิ่มเติมได้ที่นี่)
ขอบคุณข้อมูลจาก: -
ลงทะเบียนรับข่าวสาร
บริการส่งข้อมูลความรู้ ให้ลูกค้าธุรกิจผ่านอีเมล์
บริการจัดส่งบทวิเคราะห์และข้อมูลข่าวสารทางธุรกิจผ่านทาง E-mail
  • บทวิเคราะห์เศรษฐกิจรายสัปดาห์จากศูนย์วิจัยกรุงศรี
  • ผลการสำรวจดัชนีภาวะธุรกิจ SME รายไตรมาส โดยกรุงศรี
  • ข่าวสาร และกิจกรรมของธนาคาร
  • บริการทางการเงิน และโปรโมชั่นใหม่ๆ ของธนาคาร
Follow us on
ลงทะเบียนรับข่าวสาร
บริการส่งข้อมูลความรู้ ให้ลูกค้าธุรกิจผ่านอีเมล์
บริการจัดส่งบทวิเคราะห์และข้อมูลข่าวสารทางธุรกิจผ่านทาง E-mail
  • บทวิเคราะห์เศรษฐกิจรายสัปดาห์จากศูนย์วิจัยกรุงศรี
  • ผลการสำรวจดัชนีภาวะธุรกิจ SME รายไตรมาส โดยกรุงศรี
  • ข่าวสาร และกิจกรรมของธนาคาร
  • บริการทางการเงิน และโปรโมชั่นใหม่ๆ ของธนาคาร
Powered by
© 2567 ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน)
Follow