ประเทศไทย 5.0…ใครๆ ก็อิจฉา

ประเทศไทย 5.0…ใครๆ ก็อิจฉา

By แซม ตันสกุล

สวัสดีผู้อ่านกรุงศรี เพลินเพลิน ทุกท่านครับ ผมเคยมีโอกาสได้เขียนใน Post Today มากว่า 2 ปี ก่อนที่หนังสือพิมพ์จะปิดตัวไป และวันนี้ก็ดีใจที่ได้กลับมาเขียนอีกครั้ง

และคงไม่เฉพาะสื่อสิ่งพิมพ์ที่กำลังโดนทำลาย หรือ disrupt เท่านั้น หลาย ๆ คนก็คงเห็นวงการธนาคารกำลังโดนเหล่า Fintech Startup เล่นงานอยู่เช่นกัน โดยเริ่มจากในยุโรป ที่รายได้ของธนาคารหายไปกว่า 40% ในรอบ 10 ปีที่ผ่านมา ถ้าลงมาที่ประเทศไทยถามว่าเรากำลังโดน disrupt แล้วหรือยัง ต้องตอบเลยว่ายังไม่โดนเต็ม ๆ จาก startup แต่โดนจากที่ธนาคารและสถาบันการเงินต้องปรับตัวเพื่อตอบสนองลูกค้าที่พฤติกรรมไปใช้ทางออนไลน์มากขึ้น และธนาคารต้องลงทุนในด้านเทคโนโลยีและยอมเฉือนกำไรตัวเองออกมา
โดยผมขอเริ่มซีรีส์กับนวัตกรรมก้าวไปข้างหน้าของประเทศไทยที่ทุกธนาคารทำตามนโยบาย National e-Payment ที่ต้องบอกเลยว่าจริง ๆ แล้วหลายประเทศถึงกับอิจฉา (โดยเฉพาะสิงคโปร์) ที่ผมว่าพวกเราต้องให้เครดิตกับรัฐบาลและธนาคารแห่งประเทศไทยมาก ๆ (เรื่องอื่นไม่แน่ใจนะ 😊)
  1. PromptPay บริการโอนเงินโดยใช้หมายเลขโทรศัพท์ หรือหมายเลขบัตรประชาชน ที่ ณ ตอนนี้มีผู้ลงทะเบียนกว่า 40 ล้านคน และทำให้คนไทยได้โอนเงินกันง่ายและไม่เสียค่าธรรมเนียมเมื่อโอนเงินไม่เกิน 5,000 บาท (ในตอนเริ่มก่อนที่จะปลดเพดาน) ซึ่งก็ทำให้ผู้บริโภคอย่างเรา ๆ ได้ฟินกัน แต่ก็พบกับความยากลำบากนิดนึง เนื่องจากยังมีคนไม่ยอมสมัครอยู่พอสมควรในช่วงแรกเพราะกลัวเรื่องข้อมูลส่วนตัว
  1. QR Payment การชำระเงินโดยใช้โทรศัพท์มือถือจ่ายออกจาก Mobile Banking หรือ e-wallet ต่าง ๆ ซึ่งต้องถือว่าเป็นพฤติกรรมการใช้เช่นเดียวกับคนจีนที่ใช้ Alipay หรือ WeChat Pay กันทั้งประเทศ ซึ่งดูเหมือนว่าจะไปได้ดี มีร้านค้าใช้อยู่มากมาย แต่ก็ยังไม่สามารถที่จะให้คนไทยใช้กันได้อย่างแพร่หลาย เหตุเป็นเพราะคนไทยยังไม่มี pain เท่ากับคนจีน ที่กลัวเรื่องธนบัตรปลอม จนไม่กล้าใช้เงินสด เลยให้ไปใช้การชำระแบบอิเล็กทรอนิกส์แทน แต่สิ่งที่ชื่นชมประเทศไทยน่าจะเป็นประเทศแรกในโลกที่ทำ Standardize QR ที่ให้ทุกธนาคารใช้ QR แบบเดียวกันทุกธนาคาร หรือแม้แต่ Visa MasterCard JCB ก็ต้องใช้มาตรฐานนี้ ทำให้ร้านค้ามีแค่ QR Code แบบเดียวพอ (ไม่งั้นเราคงได้เห็น QR 10 แบบอยู่หน้าร้านคล้าย ๆ กับโปรโมชั่นบัตรเครดิตแน่นอน)
  1. ฟรี โอนข้ามธนาคารนี่ก็ถือเป็นนวัตกรรมการเงินของประเทศไทย ที่ทำให้คนไทยได้โอนเงินต่างธนาคารโดยไม่เสียค่าธรรมเนียมแม้แต่บาทเดียว ซึ่งงานนี้ต้องขอบคุณ SCB ที่สร้างปรากฎการณ์เสนอบริการนี่เป็นแบงค์แรกในเดือน มี.ค. 2561 จนทุกธนาคารต้องอุปทานหมู่นำเสนอเหมือนกันเพื่อปกป้องลูกค้าธนาคารตัวเองไม่ให้ไปใช้ธนาคารอื่น ต้องถือว่านี่คือความโชคดีของผู้บริโภคชาวไทย และน่าจะมีไม่กี่ประเทศในโลกที่ได้ใช้ฟรีแบบนี้
  1. Blockchain ในที่สุดบล็อกเชนในภาคการเงินการธนาคารก็สามารถได้ใช้เพื่อพิสูจน์ยืนยันตัวตนที่แท้จริง ที่ทุกแบงค์รวมตัวกันก่อตั้ง BCI หรือ Thailand Blockchain Community Initiative โดยเริ่มจากหนังสือค้ำประกันออนไลน์ที่สามารถลดการดำเนินการจาก 2 วันเหลือแค่ไม่เกิน 1 วัน และจะมีบริการอื่น ๆ ตามมาอีกมากมาย
ขอบคุณข้อมูลจากธนาคารแห่งประเทศไทย
  1. NDID (National Digital ID) ก็ถือว่าเป็นระบบบล็อกเชนอีกตัวที่เพิ่งออกมาให้ใช้ในเดือนกุมภาพันธ์นี้ หลังจากเลื่อนกันมานาน โดยที่เป็นระบบพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อให้ต่อไปนี้คนไทยสามารถทำธุรกรรม ไม่ว่าจะเป็นเปิดบัญชี กู้เงิน หรือสมัครทำธุรกรรมออนไลน์ด้วยตนเอง
และนี่คือนวัตกรรมทางการเงิน 5 อย่าง ของประเทศไทยที่ทำให้วันนี้เกิดผลข้างเคียงต่อวงการเงินการธนาคาร เช่น การปิดสาขาธนาคารอย่างมากมาย หรือการกดเงินสดในตู้ ATM เริ่มน้อยลงอย่างชัดเจนกว่า 20% แต่ทั้งหมดนี้คือโอกาสและความโชคดีของคนไทยที่ทำให้เราได้ใช้บริการทางการเงินแบบสะดวกสบาย
ในคอลัมน์หน้า ผมขอมาเล่าเรื่อง NDID ระบบพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางอิเล็กทรอนิกส์ ว่าคนไทยต้องเตรียมตัวอย่างไร ที่จะทำให้เราได้ใช้บริการนี้ ในแบบที่หลาย ๆ คนยังไม่เคยได้ยินกัน
ขอบคุณข้อมูลจาก: -
ลงทะเบียนรับข่าวสาร
บริการส่งข้อมูลความรู้ ให้ลูกค้าธุรกิจผ่านอีเมล์
บริการจัดส่งบทวิเคราะห์และข้อมูลข่าวสารทางธุรกิจผ่านทาง E-mail
  • บทวิเคราะห์เศรษฐกิจรายสัปดาห์จากศูนย์วิจัยกรุงศรี
  • ผลการสำรวจดัชนีภาวะธุรกิจ SME รายไตรมาส โดยกรุงศรี
  • ข่าวสาร และกิจกรรมของธนาคาร
  • บริการทางการเงิน และโปรโมชั่นใหม่ๆ ของธนาคาร
Follow us on
ลงทะเบียนรับข่าวสาร
บริการส่งข้อมูลความรู้ ให้ลูกค้าธุรกิจผ่านอีเมล์
บริการจัดส่งบทวิเคราะห์และข้อมูลข่าวสารทางธุรกิจผ่านทาง E-mail
  • บทวิเคราะห์เศรษฐกิจรายสัปดาห์จากศูนย์วิจัยกรุงศรี
  • ผลการสำรวจดัชนีภาวะธุรกิจ SME รายไตรมาส โดยกรุงศรี
  • ข่าวสาร และกิจกรรมของธนาคาร
  • บริการทางการเงิน และโปรโมชั่นใหม่ๆ ของธนาคาร
Powered by
© 2564 ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน)
Follow