จ่ายภาษีในสถานะสมรส สามี-ภรรยา

จ่ายภาษีในสถานะสมรส สามี-ภรรยา

By Krungsri Guru

สมัยที่เราตัวคนเดียวการยื่นภาษีเป็นเรื่องที่มีทางเลือกเพียงหนึ่งเดียว คือ ยื่นด้วยจำนวนรายได้ที่เรามี และหักลดหย่อนตามสัดส่วนต่าง ๆ แต่เมื่อเรามีคนอีกคนกลายเป็นสามี-ภรรยา ทำให้เรามีทางเลือกที่จะจ่ายภาษีในสถานะใหม่ ทางเลือกก็คือ แยกยื่น กับ ยื่นร่วมกัน อย่างไรน่าสนใจกว่ากันลองมาดูกรณีศึกษาต่อไปนี้

กรณีแรก “คู่สมรสมีเงินได้อยู่ในฐานภาษีเดียวกัน หรือรายได้ใกล้เคียงกัน”


ในกรณีนี้แนะนำให้แยกยื่น โดยต่างฝ่ายต่างแยกยื่นเงินได้ในชื่อของตนเอง จะทำให้โดยรวมแล้วทั้งคู่จะเสียภาษีน้อยกว่าการร่วมยื่น เนื่องจากคู่สมรสจะได้รับยกเว้นภาษี 1.5 แสนบาทแรกทั้งคู่ แต่ถ้าหากคิดจะร่วมยื่นกัน จะทำให้เงินรวมรายได้สุทธิสูงมากขึ้น ก็จะไปเข้าในฐานภาษีที่สูงขึ้น ทำให้มีโอกาสส่งผลให้เสียภาษีในอัตราที่สูงขึ้นนั่นเอง

กรณีที่สอง “คู่สมรสทั้งสองคนมีรายได้ไม่สูง แต่มีรายการใช้เป็นค่าลดหย่อนได้มาก”


ในกรณีที่คู่สมรสทั้งสองคนมีรายได้ไม่สูง แต่มีรายการใช้เป็นค่าลดหย่อนได้มาก แนะนำให้ยื่นร่วมกัน โดยรวมเงินได้ทุกประเภทเข้าด้วยกัน ทั้งกรณีสามีเป็นผู้ยื่นแบบ หรือภรรยาเป็นผู้ยื่นแบบ
สำหรับกรณีที่สามีภรรยาที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีรายได้ไม่สูงนัก แต่มีรายการที่สามารถนำมาหักลดหย่อนภาษีได้มาก ถ้าไปแยกยื่นจะทำให้เกิดเหตุการณ์ดังนี้
  • แยกยื่นแล้วรายได้สุทธิถึงเกณฑ์ไม่ต้องเสียภาษี ในกรณีนี้หลายคนอาจคิดว่าก็ดีแล้วที่ไม่ต้องเสียภาษี แต่ความจริงคือเราถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายไปตั้งแต่แรกแล้ว ถ้ารายได้เราไม่ถึงเราจะไม่สามารถขอคืนภาษีได้ ในขณะที่ทั้งคู่มีรายการที่ใช้หักลดหย่อนภาษีได้มาก แบบนี้ถ้าแยกยื่นอาจเสียประโยชน์ ควรร่วมยื่นนำรายได้ทั้งสองมารวมกัน และยื่นทีเดียว และนำรายการหักลดหย่อนภาษีได้ไปหักเพื่อขอภาษีในส่วนนี้คืน ไม่เสียสิทธิ์
  • แยกยื่นแล้วต้องเสียภาษีมากกว่าการยื่นร่วม ในกรณีที่รายได้ของคู่สมรสและตัวเราเองมีไม่มาก แต่ถึงเกณฑ์ต้องเสียภาษี การแยกยื่นเราจะต้องเสียภาษีมากกว่าการยื่นร่วม และรายการที่หักลดหย่อนอาจจะกระจัดกระจาย แบบนี้ควรยื่นร่วมกัน แต่ต้องพิจารณาว่ายื่นร่วมแล้วยังอยู่ในฐานภาษีเดิม และนำรายการลดหย่อนมารวมกันหักลดหย่อนได้อย่างเต็มที่จะดีกว่า

กรณีที่สาม “ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีเงินได้ประเภทเงินเดือนสูง”


ในกรณีที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีเงินได้ประเภทเงินเดือนสูง แนะนำยื่นรวมเฉพาะเงินได้ประเภทอื่น แต่ให้แยกยื่นเงินเดือนออกมา โดยกรณีที่คู่สามีภรรยาที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีเงินได้ประเภทเงินเดือนสูง และอาจมีเงินได้ประเภทอื่น ๆ บ้าง เช่น รายได้จากค่าเช่า รายได้จากเงินปันผลหุ้น ค่าคอมมิชชั่นจากงานเสริม ถ้าคู่สมรสมีฐานภาษีสูงกว่าอีกฝ่ายหนึ่ง แนะนำให้ฝ่ายที่มีเงินเดือนสูงยื่นแบบเสียภาษีเฉพาะเงินได้ประเภทเงินเดือนในชื่อของตนเอง แล้วนำเงินได้ประเภทอื่นไปยื่นรวมกับคู่สมรสแทน วิธีการนี้จะช่วยให้ฐานภาษีของตนเองลดลง และทำให้โดยรวมแล้วทั้งคู่จะเสียภาษีน้อยกว่าการแยกยื่น
อย่างไรก็ตามการจะเลือกว่าควรยื่นเสียภาษีแบบใดนั้นต้องพิจารณาฐานภาษีเงินได้ของตนเอง และคู่สมรสเป็นหลัก ถ้าการแยกยื่นจะทำให้เราเสียประโยชน์การขอคืนดังกรณีข้างต้น ก็แนะนำให้ยื่นร่วมกันจะดีกว่า แต่หากการยื่นร่วมกันจะทำให้ฐานภาษีสูงขึ้น และต้องจ่ายภาษีมากขึ้น แบบหลังแนะนำให้แยกยื่นจะดีที่สุด
ฐานภาษีใหม่ในปี 2560

สำหรับฐานภาษีใหม่ในปี 2560 มีดังต่อไปนี้
รายได้ อัตราภาษีที่ต้องเสีย
รายได้ไม่เกิน 300,000 บาท ร้อยละ 5
รายได้เกิน 300,000 บาท แต่ไม่เกิน 500,000 บาท ร้อยละ 10
รายได้เกิน 500,000 บาท แต่ไม่เกิน 750,000 บาท ร้อยละ 15
รายได้เกิน 750,000 บาท แต่ไม่เกิน 1,000,000 บาท ร้อยละ 20
รายได้เกิน 1,000,000 บาท แต่ไม่เกิน 2,000,000 บาท ร้อยละ 25
รายได้เกิน 2,000,000 บาท แต่ไม่เกิน 5,000,000 บาท ร้อยละ 30
รายได้เกิน 5,000,000 บาทขึ้นไป ร้อยละ 35
ทั้งนี้ฐานภาษีใหม่จะเริ่มใช้ภายในปี 2560 ดังนั้น เราควรวางแผนการเสียภาษี และมองหาการลงทุนเพื่อนำมาหักลดหย่อนภาษีไว้ล่วงหน้า แม้ฐานภาษีใหม่จะดูต่ำกว่าเก่า แต่จะมีการซอยระดับรายได้ของเราให้ถี่ขึ้น ถ้ารายได้เราโตเร็วก็จะต้องเสียภาษีในฐานใหม่เร็วกว่าที่เราคาดคิด ควรวางแผนแต่เนิ่น ๆ จะได้ไม่ต้องมาปวดหัวทีหลัง ถ้าวางแผนดีนอกจากจะประหยัดภาษีได้แล้ว ยังสบายใจอีกด้วยนะครับ
ขอบคุณข้อมูลจาก: -
ลงทะเบียนรับข่าวสาร
บริการส่งข้อมูลความรู้ ให้ลูกค้าธุรกิจผ่านอีเมล์
บริการจัดส่งบทวิเคราะห์และข้อมูลข่าวสารทางธุรกิจผ่านทาง E-mail
  • บทวิเคราะห์เศรษฐกิจรายสัปดาห์จากศูนย์วิจัยกรุงศรี
  • ผลการสำรวจดัชนีภาวะธุรกิจ SME รายไตรมาส โดยกรุงศรี
  • ข่าวสาร และกิจกรรมของธนาคาร
  • บริการทางการเงิน และโปรโมชั่นใหม่ๆ ของธนาคาร
Follow us on
ลงทะเบียนรับข่าวสาร
บริการส่งข้อมูลความรู้ ให้ลูกค้าธุรกิจผ่านอีเมล์
บริการจัดส่งบทวิเคราะห์และข้อมูลข่าวสารทางธุรกิจผ่านทาง E-mail
  • บทวิเคราะห์เศรษฐกิจรายสัปดาห์จากศูนย์วิจัยกรุงศรี
  • ผลการสำรวจดัชนีภาวะธุรกิจ SME รายไตรมาส โดยกรุงศรี
  • ข่าวสาร และกิจกรรมของธนาคาร
  • บริการทางการเงิน และโปรโมชั่นใหม่ๆ ของธนาคาร
Powered by
© 2567 ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน)
Follow