กู้เงินมาทำธุรกิจกับสินเชื่อ SME หลักทรัพย์ค้ำประกันกรุงศรี

กู้เงินมาทำธุรกิจกับสินเชื่อ SME หลักทรัพย์ค้ำประกันกรุงศรี

By Krungsri Guru

ขอสินเชื่อ SME หลักทรัพย์ค้ำประกันดีมีชัยไปกว่าครึ่ง

ทำไมถึงขอสินเชื่อยากจัง!! ไปธนาคารหลายรอบแล้วนะ... ยังไม่ได้รับการอนุมัติสินเชื่อเสียที!!

เชื่อว่าผู้ประกอบกิจการ SME หลายท่านคงรู้สึกอึดอัด และรู้สึกแย่ เมื่อเงินสำหรับหมุนเวียนในกิจการเริ่มน้อยลงไปทีละนิด... หรือคนที่ต้องการขยายกิจการ แต่ไม่มีเงินทุน ... ซึ่งการขอสินเชื่อ SME เป็นอีกหนึ่งทางออกช่วยหาเงินด่วน เงินก้อน สำหรับไปใช้จ่ายและต่อยอดทำธุรกิจให้เดินต่อไปได้

แล้วสินเชื่อ SME คืออะไร และคือสินเชื่อประเภทใด สรุปแบบง่าย ๆ คือสินเชื่อที่ออกแบบมาเพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการและเจ้าของธุรกิจขนาดเล็กที่ต้องการเงินลงทุน หรือเงินก้อน เงินด่วน มาช่วยเสริมสภาพคล่องให้ธุรกิจดำเนินไปได้ ซึ่งในปัจจุบันมีหลายประเภท แต่ที่กรุงศรี เรามีสินเชื่อ SME ประเภทใช้หลักทรัพย์ค้ำประกัน ที่ให้การกู้เงินมาทำธุรกิจเป็นเรื่องง่าย อนุมัติง่าย ได้วงเงินสูง

หากใครเจอปัญหาขอสินเชื่อทีไรก็ถูกปฏิเสธ ไม่ได้รับการอนุมัติ จะทำอย่างไรดี? ในบทความนี้ กรุงศรีมีเคล็ดลับที่จะทำให้การขอสินเชื่อธุรกิจ หรือการกู้เงินมาทำธุรกิจ SME นั้นผ่านฉลุย ซึ่งสิ่งสำคัญที่เจ้าของกิจการต้องมีคือ “หลักทรัพย์มาค้ำประกันเงินกู้” ครับ โดยมีเกณฑ์พิจารณาหลักทรัพย์ค้ำประกันเงินกู้ ดังต่อไปนี้
1. กรณีใช้บัญชีเงินฝากเป็นหลักทรัพย์ค้ำประกัน
วงเงินสินเชื่อรวม 3 แสนบาท - 12 ล้านบาท หากเป็นสินเชื่อวงเงินเบิกเกินบัญชี (O/D) หรือเงินกู้ระยะยาวตั้งแต่ 3-7 ปี (T/L) สามารถใช้บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ของธนาคารมาค้ำประกันเงินกู้ได้ครับ ดอกเบี้ยที่จะได้รับมีตั้งแต่ MRR+2.5% - MRR+3% แล้วแต่ประเภทของสินเชื่อ และดอกเบี้ยอาจปรับขึ้นลงได้ตามการเปลี่ยนแปลงดอกเบี้ยนโยบายที่กำหนดโดยธนาคารแห่งประเทศไทยครับ

อย่างไรก็ตามหากต้องการขอสินเชื่อ SME เป็นเงินจำนวนมาก ๆ วงเงินสินเชื่อสูงสุด 20 ล้านบาท ก็สามารถนำบัญชีเงินฝากเป็นหลักทรัพย์ค้ำประกันได้เช่นกันนะครับ โดยกรณีนี้ต้องติดต่อกับเจ้าหน้าที่ฝ่ายสินเชื่อโดยตรง ทำเรื่องขอสินเชื่อในกรณีพิเศษ หากเป็นเงินกู้วงเงินมาก ๆ ธนาคารจะถือว่าเราเป็นลูกค้าพิเศษ โดยดอกเบี้ยที่ SME จะได้รับก็คือ MOR+1.25% - MLR+1.50% ขึ้นอยู่กับลักษณะของกิจการ SME ว่ามีแนวโน้มเติบโตมากน้อยแค่ไหนครับ
2. กรณีใช้ที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างเป็นหลักทรัพย์ค้ำประกัน
สำหรับที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างที่ใช้เป็นหลักทรัพย์ค้ำประกัน ได้แก่ โรงงาน ที่พักอาศัย (บ้านเดี่ยว ทาวน์เฮ้าส์ คอนโดมิเนียม) และอาคารพาณิชย์ เป็นต้น โดยที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างเหล่านี้ สามารถนำมาค้ำประกันเงินกู้ SME ได้โดยวงเงินสินเชื่อรวม 3 แสนบาท - 12 ล้านบาท หากเป็นสินเชื่อวงเงินเบิกเกินบัญชี (O/D) หรือเงินกู้ระยะยาวตั้งแต่ 3-7 ปี (T/L) เมื่อนำสินทรัพย์มาค้ำประกันเงินกู้ ดอกเบี้ยที่จะได้รับมีตั้งแต่ MRR+2.5% - MRR+3% แล้วแต่ประเภทของสินเชื่อ และดอกเบี้ยอาจปรับขึ้นลงได้ตามการเปลี่ยนแปลงดอกเบี้ยนโยบายที่กำหนดโดยธนาคารแห่งประเทศไทยครับ

กรณีการขอกู้แบบจุใจ 20 ล้านบาท การใช้ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างมาค้ำประกัน ก็สามารถยื่นขอกู้ได้เช่นกันครับ เช่นเดียวกับกรณีแรก หากเป็นเงินกู้ในวงเงินจำนวนมาก ธนาคารจะถือว่าเราเป็นลูกค้าพิเศษ โดยจะได้รับดอกเบี้ย SME อยู่ที่ MOR+1.25% - MLR+1.50% ขึ้นอยู่กับลักษณะของกิจการ SME ว่ามีแนวโน้มเติบโตมากน้อยแค่ไหนครับ
3. การเตรียมค่าใช้จ่ายเรื่องค่าธรรมเนียมสำหรับเงินกู้ SME
ค่าธรรมเนียมครั้งแรกในการจัดวงเงินสินเชื่อ หรือ Front-End-Free นั้นจะสูงสุดไม่เกิน 2% ของวงเงินสินเชื่อที่ได้รับการอนุมัติ (ขั้นต่ำ 20,000 บาท) และเจ้าของธุรกิจ SME ควรเตรียมค่าธรรมเนียมอื่น ๆ ที่อาจเกิดขึ้นอันเป็นไปตามประกาศของธนาคาร (อ่านรายละเอียดเพิ่มที่นี่ สินเชื่อ SME)
วงเงินสินเชื่อสูงสุดที่ธนาคารให้ได้ในบางกรณีจะไม่เกิน 3 เท่าของหลักทรัพย์ค้ำประกัน
อย่างไรก็ตาม วงเงินสินเชื่อสูงสุดที่ธนาคารให้ได้ในบางกรณีจะไม่เกิน 3 เท่าของหลักทรัพย์ค้ำประกันนะครับ หมายความว่าหากเราต้องการกู้เงิน 3 ล้านบาท ถ้าเรานำบัญชีธนาคารไปค้ำประกัน เราควรมีเงินสดในบัญชีอย่างน้อย 1 ล้านบาท และที่สำคัญในบางกรณีจะมีการยกเว้นค่าธรรมเนียมการค้ำประกันวงเงินสินเชื่อในปีแรกด้วยหากเราใช้ บสย. (บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม) เป็นผู้ช่วยในการค้ำประกัน โดยเจ้าของกิจการ SME สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้กับทางเจ้าหน้าที่สินเชื่อนะครับ
จากบทความนี้เราจะเห็นได้ว่าเจ้าของกิจการที่มีข้อมูลเตรียมตัวพร้อมก่อนไปขอสินเชื่อ กู้เงินมาทำธุรกิจ ย่อมได้เปรียบ เพราะหากเราไม่พร้อม และไม่ได้เตรียมหลักทรัพย์ค้ำประกันได้อย่างถูกต้องครบถ้วนเสียก่อน โอกาสที่เราจะถูกปฏิเสธสินเชื่อก็เป็นไปได้สูง และจะทำให้เสียโอกาสทางธุรกิจไปด้วยนะครับ อย่าลืมเตรียมตัวให้พร้อมเสียก่อน เพื่อให้ทุกอย่าง “ราบรื่น” เหมือนธุรกิจที่ราบรื่น ไม่ติดขัด และประสบความสำเร็จได้ในที่สุดครับ
ขอบคุณข้อมูลจาก: -
พิมพ์สิ่งที่ต้องการค้นหา