อยากทำธุรกิจสถานีชาร์จรถไฟฟ้า เริ่มต้นยังไงดี?

อยากทำธุรกิจสถานีชาร์จรถไฟฟ้า เริ่มต้นยังไงดี?

By Krungsri Plearn Plearn
พูดได้เต็มปากเลยว่าวันนี้เรื่องของรถยนต์ไฟฟ้า ในบ้านเราเรียกได้ว่ากำลังมาแรงสุด ๆ เห็นได้จากยอดจองรถในแต่ละเดือน หรือการที่มีสังคมของคนขับรถยนต์ไฟฟ้ามากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นรถไฟฟ้าแบรนด์จีน อย่าง BYD, GWM หรือแบรนด์ดังระดับโลกอย่าง Tesla ก็เข้ามาตีตลาด วางขายในบ้านเราอย่างเป็นทางการด้วยเหมือนกัน เมื่อมีรถยนต์ไฟฟ้ามากขึ้น สิ่งที่ทุกคนอยากให้มีเพิ่มเลยคือ สถานีชาร์จรถไฟฟ้า เพื่อให้เพียงพอต่อความต้องการชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า เพราะปกติรถจะต้องเสียบชาร์จกว่าแบตเตอรี่จะเต็มก็กินเวลานาน ต่างจากรถยนต์น้ำมันที่ใช้เวลาเติมน้อยกว่า
นี่อาจเป็นโอกาสดี ๆ ที่เราสามารถสร้างธุรกิจที่เกี่ยวกับสถานีชาร์จรถไฟฟ้าได้ก่อนใคร ๆ แต่พอมาคิดทำเป็นธุรกิจย่อมมีหลายอย่างที่จะต้องวางแผน วันนี้เรามีไอเดียดี ๆ ในการสร้างธุรกิจสถานีชาร์จรถไฟฟ้าให้กับทุกคนที่สนใจ จะมีเรื่องอะไรที่คนอยากเริ่มต้นธุรกิจนี้ต้องรู้ไว้ เตรียมตัวให้พร้อม แล้วไปลุยสร้างธุรกิจพร้อมกันกับเราเลย
สถานีชาร์จรถไฟฟ้า อยากลงทุนต้องเตรียมอะไรบ้าง?

สถานีชาร์จรถไฟฟ้า อยากลงทุนต้องเตรียมอะไรบ้าง?

การเตรียมตัวสำหรับธุรกิจสถานีชาร์จรถไฟฟ้านั้นง่าย ๆ คือ “เงินทุน” และ “สถานที่” ถึงจะมีแค่สองสิ่งแต่รายละเอียดในสำหรับธุรกิจนี้นั้นมีกว่านี้แน่นอน ที่บอกว่าใช้เงินทุน มันปกติอยู่แล้วไม่ว่าจะทำธุรกิจอะไรเงินทุนเป็นสิ่งสำคัญ แต่เงินทุนสำหรับธุรกิจสถานีชาร์จรถไฟฟ้า อาจต้องใช้เยอะสักหน่อยในช่วงเริ่มต้น เพราะเราจะต้องใช้ไปกับการลงทุนในที่ชาร์จรถไฟฟ้า ที่แต่ละแบบ แต่ละยี่ห้อก็มีราคาที่ต้องจ่ายแตกต่างกันไป

โดยปกติที่ชาร์จรถไฟฟ้าจะมีด้วยกัน 2 แบบคือ แบบ AC คือที่ชาร์จรถไฟฟ้ากระแสสลับ จะใช้เวลาประมาณ 5-7 ชั่วโมง โดยสามารถชาร์จได้สูงสุดที่ 22 กิโลวัตต์ และแบบ DC หรือการชาร์จรถไฟฟ้าแบบกระแสตรง อันนี้จะชาร์จได้อย่างรวดเร็วจะสามารถชาร์จได้สูงสุดที่ 250 กิโลวัตต์ ใช้เวลาชาร์จประมาณ 1-2 ชั่วโมง ขึ้นอยู่กับรถยนต์ไฟฟ้าของแต่ละคัน และยี่ห้อของที่ชาร์จรถไฟฟ้า และอีกหนึ่งสิ่งที่เราต้องเตรียมคือ สถานที่ เพราะสถานีชาร์จรถไฟฟ้าต้องมีพื้นที่ให้จอดรถอยู่แล้ว หากใครมีที่ดิน หรือมีธุรกิจเดิม มีพื้นที่กว้างอันนี้จะได้เปรียบสักหน่อย เพราะสามารถตั้งตู้ชาร์จรถไฟฟ้าได้เยอะ และรองรับคนเข้ามาใช้บริการได้หลายคัน

นอกจากนี้ยังมีค่าใช้จ่ายในการวางระบบติดตั้งที่ชาร์จรถไฟฟ้า อย่างเช่น การเปลี่ยนมิเตอร์ไฟให้รองรับการจ่ายไฟได้ในระดับสูง ค่าสายไฟในการเดินระบบต่าง ๆ และอยากประหยัดต้นทุนในระยะยาวอาจเพิ่มการติดตั้งโซล่าเซลล์ เพื่อช่วยผลิตกระแสไฟฟ้าในช่วงกลางวัน รวมแล้วอาจต้องเตรียมเงินเผื่อไว้สำหรับเงินลงทุนสถานีชาร์จรถไฟฟ้าราคาประมาณ 1-2 ล้านบาท ถึงแม้จะใช้เงินลงทุนที่สูงสักหน่อย แต่ธุรกิจสถานีชาร์จรถไฟฟ้าสามารถคืนทุนได้ในระยะเวลาไม่กี่ปี เพราะอุปกรณ์ชาร์จรถไฟฟ้ามีอายุการใช้งานราว 10-20 ปี และในตอนนี้มีความต้องการหาสถานีชาร์จรถไฟฟ้ามากขึ้น เพียงแค่สร้างเสร็จ ก็มีลูกค้าจ่อคิวรอใช้บริการชัวร์

ถ้าใครที่มีฝันอยากเริ่มต้นธุรกิจสถานีชาร์จรถไฟฟ้าแต่ยังขาดเงินทุน ก็สามารถมองหาสินเชื่อเพื่อประกอบธุรกิจ SME ทางธนาคารกรุงศรีก็มีสินเชื่อแบบนี้ ช่วยสานฝันให้เจ้าของธุรกิจหน้าใหม่ด้วยเหมือนกัน สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับสินเชื่อเพื่อประกอบธุรกิจ SME ตรงนี้ได้เลย

เลือกทำเลอย่างไร? ถ้าอยากเปิดธุรกิจสถานีชาร์จรถไฟฟ้า

เรื่องของทำเลเป็นอีกหนึ่งสิ่งที่คนทำธุรกิจต้องให้ความสำคัญเหมือนกันนั่นเพราะว่า หากธุรกิจสถานีชาร์จรถไฟฟ้าของเราตั้งอยู่ในพื้นที่เดินทางไปยาก ลึกลับ ต่อให้ดีแค่ไหนอาจไม่ดึงดูดลูกค้านัก เรื่องของทำเลธุรกิจหากจะเปิดธุรกิจทั้งที อาจเอาไอเดียดังต่อไปนี้ลองไปปรับใช้กันได้
เลือกทำเลอย่างไร? ถ้าอยากเปิดธุรกิจสถานีชาร์จรถไฟฟ้า

ทำเลอยู่ในจุดใกล้ขาออกไปต่างจังหวัด

หลายคนอาจแย้งว่า ทำไมไม่หาที่กลางเมืองล่ะ คนใช้รถเยอะนะ จากพฤติกรรมของคนใช้รถไฟฟ้าในเมืองส่วนใหญ่มักมีที่ชาร์จรถอยู่แล้วที่บ้าน แล้วหนึ่งรอบการชาร์จก็สามารถวิ่งได้หลายร้อยกิโลเมตร ทำให้การขับรถไปทำงานในเมืองอาจทำให้มีลูกค้าน้อยกว่าที่คิด แต่การเลือกทำเลมาในจุดรอบนอกที่เป็นจุดทางออกไปสู่ต่างจังหวัดนี่ทำให้เรามีลูกค้าเพิ่มขึ้น

เพราะตอนนี้ในต่างจังหวัดจำนวนของสถานีชาร์จรถไฟฟ้ายังค่อนข้างน้อย หลายคนที่อยากไปเที่ยวต้องมองหาจุดสตาร์ทชาร์จรถไฟฟ้าให้พร้อม โดยทำเลน่าสนใจอย่างเช่น ทางออกสู่ภาคใต้ บริเวณถนนพระราม 2 หรือช่วงสมุทรสาคร หรือโซนรังสิตทางออกไปภาคเหนือและภาคอีสาน ถ้าใครอยากทำธุรกิจสถานีชาร์จรถไฟฟ้า ตรงนี้ล่ะเป็นจุดยุทธศาสตร์ที่น่าสนใจเลย

จากไอเดียที่ว่ามานี้เลยเป็นโอกาสในธุรกิจสถานีชาร์จรถไฟฟ้าของเรา เพราะยังไงผู้คนต้องใช้ และถ้าเรามีตู้ชาร์จรถไฟฟ้าให้บริการพร้อม 24 ชั่วโมง ยังไงลูกค้าก็มุ่งมาใช้บริการอย่างแน่นอน
อยากเปิดธุรกิจสถานีชาร์จรถไฟฟ้า เลือกทำเลอย่างไร?

อยู่ใกล้ถนนเส้นหลัก พร้อมเลี้ยวเข้ามาได้ทันที

สำหรับเรื่องนี้ก็น่าสนใจเหมือนกัน นั่นเพราะว่าส่วนใหญ่คนขับรถยนต์ไฟฟ้ามักจะมองหาสถานีชาร์จในช่วงที่แบตเตอรี่เหลือไม่มาก ถ้าสถานีชาร์จรถไฟฟ้าของเราอยู่ติดถนนหลัก มีทางเข้าจอดง่าย ก็จะเป็นตัวเลือกที่ลูกค้าเข้ามาใช้บริการ ไม่จำเป็นว่าจะตั้งอยู่ในเมืองใหญ่เพียงเท่านั้น และสามารถเอาไอเดียนี้ไปทำในต่างจังหวัดก็ได้ หรือจะเป็นรอยต่อของจังหวัดที่แต่เดิมมีสถานีชาร์จรถไฟฟ้าค่อนข้างน้อย

โดยตัวอย่างทำเลที่น่าสนใจ เช่น ถนนที่อยู่ใกล้ทางด่วน เพื่อดึงดูดให้เจ้าของรถมาชาร์จไฟให้พร้อมก่อนใช้ทางด่วน หรือบริเวณถนนเพชรเกษม ลงสู่ภาคใต้ หรือถนนมิตรภาพ ขึ้นไปภาคอีสาน ที่มีรถวิ่งตลอดเวลาทั้งวัน การมีสถานีชาร์จรถไฟฟ้าไปตั้งอยู่ตรงนั้น เรียกได้ว่าลูกค้าต้องเข้ามาใช้บริการไม่ขาดสายชัวร์

ธุรกิจไหน? ที่เหมาะกับการทำสถานีชาร์จรถไฟฟ้า

การทำสถานีชาร์จรถไฟฟ้าไม่จำเป็นต้องสร้างขึ้นมาใหม่เพียงอย่างเดียว แต่เราสามารถต่อยอดจากธุรกิจเดิมที่เรามีอยู่แล้วขึ้นมาได้ แล้วธุรกิจแบบไหนในตอนนี้ที่เหมาะกับการนำที่ชาร์จรถไฟฟ้ามาช่วยหนุนธุรกิจบ้าง
ธุรกิจโรงแรมรายวันกับที่ชาร์จรถไฟฟ้า
ขอขอบคุณรูปภาพ จาก EV Lifestyle Thailand

1. ธุรกิจโรงแรมรายวัน

หลายคนต้องมีเอ๊ะกันบ้าง เพราะธุรกิจรายวัน หรือที่ใครหลายคนเรียกติดปากกันว่า ม่านรูด เชื่อไหมว่าธุรกิจโรงแรมรายวันนี้สามารถเพิ่มกำไรด้วยการมีสถานีชาร์จรถไฟฟ้า เพราะว่าแต่ละห้องก็สามารถจอดรถได้อยู่แล้ว และสามารถจอดรถได้อย่างเป็นส่วนตัว และถ้าหากเราพักผ่อนอย่างน้อย ๆ รถยนต์ของลูกค้าเมื่อเข้าพักจนถึงเช็กเอาท์ อย่างไรก็ชาร์จได้เต็ม และราคาต้นทุนของธุรกิจสถานีชาร์จรถไฟฟ้าก็ถูกกว่าการติดตั้งตู้ชาร์จใหญ่ ๆ อีกด้วย เพราะสามารถใช้ที่ชาร์จติดตั้งตามบ้านพักอาศัยทั่วไปได้ แถมชาร์จตลอดวันก็เสียค่าไฟเพียงหลักร้อย ส่วนใหญ่ก็คิดรวมกับค่าห้องพักอยู่แล้ว และเราสามารถโปรโมทโรงแรมของเราเพื่อดึงดูดให้คนใช้รถไฟฟ้าที่ต้องขับเดินทางข้ามจังหวัดให้ใช้บริการของเราได้อีก เรียกได้ว่าไอเดียนี้ช่วยเพิ่มลูกค้าได้ดีสุด ๆ
ธุรกิจร้านอาหารกับที่ชาร์จรถไฟฟ้า

2. ธุรกิจร้านอาหาร

และนี่ก็เป็นอีกหนึ่งธุรกิจที่สามารถปรับตัวสร้างสถานีชาร์จรถไฟฟ้าได้เหมือนกัน เพราะปกติหากจะชาร์จรถไฟฟ้า มักใช้เวลาหลักชั่วโมงกันอยู่แล้ว และเราจะไปไหนหลายคนเลยเลือกที่จะไปหาของอร่อย ๆ ทานเพื่อรอเวลาชาร์จรถไฟฟ้า หากธุรกิจของเราทำร้านอาหาร มีพื้นที่สักหน่อยอาจลงทุนแบ่งพื้นที่ทำสถานีชาร์จรถไฟฟ้าเพื่อดึงดูดคนเข้ามาใช้บริการในธุรกิจอื่น ๆ ของเรา ชาร์จรถไฟฟ้าเราก็ได้เงิน ลูกค้าไม่มีอะไรทำก็สั่งอาหารระหว่างรอ เห็นไหมว่าเราได้กำไรถึง 2 ต่อเลยทีเดียว หากใครทำธุรกิจร้านอาหาร ก็สามารถเอาไอเดียนี้ไปต่อยอดได้เลย
ธุรกิจที่จอดรถรายชั่วโมงกับที่ชาร์จรถไฟฟ้า

3. ธุรกิจที่จอดรถรายชั่วโมง

สำหรับธุรกิจนี้หลายคนมักเรียกว่าเป็นเสือนอนกิน เพราะเปิดรับฝากรถ ไม่ต้องทำอะไรมากก็ได้เงิน แต่ถ้าหากอยากมีกำไรให้มากกว่าเดิม กลายเป็นเสืออ้วนนอนรับเงินแบบเต็มตัว การทำโซนสถานีชาร์จรถไฟฟ้าก็น่าสนใจไม่น้อย เพราะว่าส่วนใหญ่ที่จอดรถรายชั่วโมงมักอยู่ใกล้พื้นที่ท่องเที่ยวที่คนเยอะ ๆ คนขับรถยนต์ไฟฟ้าก็มักจะแชร์เรื่องราวการท่องเที่ยวลงในกลุ่มโซเชียลกันบ่อย ๆ แล้วหากว่าธุรกิจที่จอดรถของเราทำสถานีชาร์จรถไฟฟ้า นอกจากเราจะได้ค่าจอดรถที่นับเป็นชั่วโมง เรายังได้ค่าชาร์จรถไฟฟ้าไปพร้อมกันด้วย ต้นทุนธุรกิจของเราก็มีเพียงแค่ตู้ชาร์จรถไฟฟ้า และก็จ้างพนักงานที่มีความรู้เรื่องของการใช้ระบบชาร์จมาสักหน่อย รับรองธุรกิจนี้ช่วยสร้างผลตอบแทนแบบที่คาดไม่ถึงเลยล่ะ แถมยังคืนทุนได้ไวกว่าเดิม รับเงินยาว ๆ ไปได้อีกนาน
และนี่ก็เป็นไอเดียสำหรับการสร้างธุรกิจสถานีชาร์จรถไฟฟ้า หากใครมีฝัน หรืออยากทำธุรกิจสถานีชาร์จรถไฟฟ้า สามารถเอาไอเดียจากเราไปต่อยอดได้เลย เพราะโอกาสสำเร็จของธุรกิจมักตกอยู่ในมือของคนที่เริ่มได้ก่อนใคร หากใครชอบเรื่องราวเกี่ยวกับธุรกิจแบบนี้ อย่าลืมติดตามเรื่องอื่น ๆ จากเราได้เลย รับรองว่าจะมีเรื่องดี ๆ เทรนด์ธุรกิจใหม่ ๆ อย่าลืมติดตามน้า~
ขอบคุณข้อมูลจาก: -
ลงทะเบียนรับข่าวสาร
บริการส่งข้อมูลความรู้ ให้ลูกค้าธุรกิจผ่านอีเมล์
บริการจัดส่งบทวิเคราะห์และข้อมูลข่าวสารทางธุรกิจผ่านทาง E-mail
  • บทวิเคราะห์เศรษฐกิจรายสัปดาห์จากศูนย์วิจัยกรุงศรี
  • ผลการสำรวจดัชนีภาวะธุรกิจ SME รายไตรมาส โดยกรุงศรี
  • ข่าวสาร และกิจกรรมของธนาคาร
  • บริการทางการเงิน และโปรโมชั่นใหม่ๆ ของธนาคาร
Follow us on
ลงทะเบียนรับข่าวสาร
บริการส่งข้อมูลความรู้ ให้ลูกค้าธุรกิจผ่านอีเมล์
บริการจัดส่งบทวิเคราะห์และข้อมูลข่าวสารทางธุรกิจผ่านทาง E-mail
  • บทวิเคราะห์เศรษฐกิจรายสัปดาห์จากศูนย์วิจัยกรุงศรี
  • ผลการสำรวจดัชนีภาวะธุรกิจ SME รายไตรมาส โดยกรุงศรี
  • ข่าวสาร และกิจกรรมของธนาคาร
  • บริการทางการเงิน และโปรโมชั่นใหม่ๆ ของธนาคาร
Powered by
© 2567 ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน)
Follow