อิทธิพล R&D กับมูลค่าเพิ่มที่แตกต่าง

อิทธิพล R&D กับมูลค่าเพิ่มที่แตกต่าง

By Krungsri GURU SME

เมื่อ “นวัตกรรม”กลายเป็นปัจจัยหลักแห่งความอยู่รอดและความสำเร็จ ด้วยเหตุนี้ การลงทุนทางด้านการวิจัยและพัฒนาหรือ R&D (Research & Development: R&D) เพื่อค้นหา “นวัตกรรม” จึงเป็นสิ่งจำเป็นสู่มูลค่าเพิ่มที่แตกต่างในสินค้าและบริการ ยิ่งในยุคที่โลกเปลี่ยนแปลงไปคู่แข่งในตลาดมีมากขึ้น และแต่ละรายก็งัดกลยุทธ์ขึ้นมาแข่งในรูปแบบที่หลากหลาย การเตรียมความพร้อมด้วยการให้ความสำคัญด้านการวิจัยและพัฒนา แทบทุกกิจการที่รอดพ้นวิกฤติมาได้ ส่วนหนึ่งเพราะให้ความสำคัญด้านการวิจัยและพัฒนา ที่นำพาไปสู่การเปลี่ยนแปลงรูปแบบการทำงานอย่างสิ้นเชิง อีกทั้งยังเป็นกุญแจนำไปสู่ความสำเร็จอื่นๆ อีกมากมาย ดังนี้

  • การวิจัยและพัฒนาทำให้รู้ถึงเทรนด์ตลาด เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันทั้งในประเทศและต่างประเทศในกรณีที่บริษัทได้ขยายฐานการตลาดออกสู่ต่างประเทศ ที่สำคัญอีกประการคือ ผลของการวิจัยและพัฒนายังเปรียบเสมือนเป็นใบรับรองคุณภาพที่เกี่ยวข้องตามกฎระเบียบหรือข้อกำหนดของคู่ค้าระหว่างประเทศ
  • การวิจัยและพัฒนานำไปสู่การพัฒนาโปรดักส์ที่ดีมีคุณภาพ ใช้เทคโนโลยีการผลิตที่ทันสมัย ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต ซึ่งอาจทำให้สามารถลดต้นทุนการผลิต ช่วยประหยัดต้นทุน
  • การวิจัยและการพัฒนานำไปสู่การบริการที่ดีของทีมงานที่พร้อมตอบโจทย์ลูกค้าได้อย่างรวดเร็ว
  • การวิจัยและพัฒนานำไปสู่การแตกไลน์ผลิตภัณฑ์ใหม่ในอนาคต ซึ่งนั่นเท่ากับว่าเป็นการขยายฐานตลาดสู่กลุ่มผู้บริโภคใหม่
  • การวิจัยและพัฒนาทำให้สามารถลดแรงกดดันการเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้กล่าวคือ ในการยืนขอสินเชื่อจากสถาบันการเงินสามารถที่จะอ้างอิงถึงผลงานการวิจัยและพัฒนาได้
  • การวิจัยและพัฒนานำไปสู่ความเข้มแข็งที่ยั่งยืนที่อาจนำธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็กอันเป็นฐานที่สำคัญซึ่งนำไปสู่ธุรกิจขนาดใหญ่ต่อไป
นั่นเป็นผลสรุปที่ได้จากการลงทุนวิจัยและพัฒนา ซึ่งอาจไม่ใช่เครื่องการันตีความสำเร็จหรือความมั่งคั่งในการทำธุรกิจได้ทั้งหมด เพราะยังต้องคำนึงถึงประสิทธิผลของการทำวิจัยและพัฒนาด้วยว่าจะนำไปสู่การทำการตลาดและเกิดการตอบรับจากตลาดผู้บริโภคได้หรือไม่ และการลงทุนด้านการพัฒนาและวิจัยเป็นลักษณะการลงทุนระยะยาวไม่สามารถหวังผลได้ทันที ผู้บริหารในกิจการนั้นจะต้องมีวิสัยทัศน์ดี พอที่จะคาดการณ์อนาคตได้ว่าแนวโน้มใดจะเกิดขึ้น และควรลงทุนไปในด้านใดจึงจะเหมาะสมด้วย
...ที่สำคัญ การวิจัยและพัฒนาที่ดีทุกคนในองค์กรสามารถมีส่วนร่วมได้…!!!
ขอบคุณข้อมูลจาก: -
ลงทะเบียนรับข่าวสาร
บริการส่งข้อมูลความรู้ ให้ลูกค้าธุรกิจผ่านอีเมล์
บริการจัดส่งบทวิเคราะห์และข้อมูลข่าวสารทางธุรกิจผ่านทาง E-mail
  • บทวิเคราะห์เศรษฐกิจรายสัปดาห์จากศูนย์วิจัยกรุงศรี
  • ผลการสำรวจดัชนีภาวะธุรกิจ SME รายไตรมาส โดยกรุงศรี
  • ข่าวสาร และกิจกรรมของธนาคาร
  • บริการทางการเงิน และโปรโมชั่นใหม่ๆ ของธนาคาร
Follow us on
ลงทะเบียนรับข่าวสาร
บริการส่งข้อมูลความรู้ ให้ลูกค้าธุรกิจผ่านอีเมล์
บริการจัดส่งบทวิเคราะห์และข้อมูลข่าวสารทางธุรกิจผ่านทาง E-mail
  • บทวิเคราะห์เศรษฐกิจรายสัปดาห์จากศูนย์วิจัยกรุงศรี
  • ผลการสำรวจดัชนีภาวะธุรกิจ SME รายไตรมาส โดยกรุงศรี
  • ข่าวสาร และกิจกรรมของธนาคาร
  • บริการทางการเงิน และโปรโมชั่นใหม่ๆ ของธนาคาร
Powered by
© 2564 ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน)
Follow