Co-working Space รายได้งามทั้งเจ้าของและลูกค้า

Co-working Space รายได้งามทั้งเจ้าของและลูกค้า

By Krungsri Academy

การทำงานแบบฟรีแลนซ์ หรือเป็นเจ้าของ Startup กำลังเป็นที่นิยมของคน Gen นี้ เพราะได้เป็นนายตัวเอง ได้จัดการเวลาและเงินได้ด้วยตัวเอง ซึ่งกว่าจะมาเป็นฟรีแลนซ์หรือเจ้าธุรกิจได้นั้นก็ไม่ใช่เรื่องง่าย ว่ากันว่า โลกของคนเหล่านี้ อยู่ได้ด้วยพลังแห่ง Connection และสถานที่ที่รวมเอาคนในสายงานใกล้เคียงกัน คอยเอื้อประโยชน์กัน ก็มักจะเป็นที่ Co-working Space นั่นเอง

Co-working Space ชื่อก็บอกอยู่แล้วว่าคือ สถานที่นั่งทำงานร่วมกันกับผู้อื่น แต่คนอื่นที่ว่านี้อาจจะเป็นคนที่ทำงานอยู่ในบริษัทเดียวกัน รู้จักกันหรือไม่ก็ได้ เพราะ Co-working Space เป็นพื้นที่สาธารณะที่เปิดให้คนนอกเข้ามาใช้บริการนั่งทำงาน มีโต๊ะและเก้าอี้ มีห้องประชุม มีที่กินข้าว มีอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง และที่สำคัญมี Connection เป็น 100 จึงไม่แปลกที่เราจะได้เห็นฟรีแลนซ์คนดัง หรือเจ้าของ Startup เจ๋ง ๆ อยู่ที่ Co-working Space เพราะที่แห่งนี้อุดมไปด้วยคนที่มีเอกลักษณ์ มีความเก่งกาจในสายงานของตัวเอง แต่ไม่อยากอยู่ภายใต้บริษัทอะไรเป็นพิเศษ

บัตรเดบิตโปรแน่น : “บัตรกรุงศรี เดบิต”

1. ทำเลดี ร้านสวย Facilities ครบถ้วน = ฟรีแลนซ์ และ Startup อยากมานั่งกันเยอะ
การที่ Co-working Space ตั้งอยู่บนทำเลที่ดีเดินทางง่าย เช่น ใกล้รถไฟฟ้า อยู่กลางใจเมือง มีที่จอดรถ รวมทั้งสถานที่กว้างขวางไม่อุดอู้ ตกแต่งสวยงาม บรรยากาศช่วยน่านั่งทำงาน รวมทั้งมีสิ่งอำนวยความสะดวกครบครัน ไม่ว่าจะเป็นโต๊ะเก้าอี้ที่นั่งสบาย อินเทอร์เน็ตความเร็วสูง แม้ต้นทุนจะสูงสักหน่อย และการคืนทุนและได้กำไรต้องใช้เวลาหลายปี แต่ปัจจัยเหล่านี้ก็ทำให้ฟรีแลนซ์ และ Startup แห่กันมาใช้บริการ มาสร้างคอนเนคชั่น และนั่งทำงานกันไม่ขาดสาย ทางที่ดี เจ้าของ Co-working Space ก็อย่าลืมที่จะหารายได้ทางอื่นด้วย เช่น เป็นเจ้าของ Startup อะไรเพิ่ม เพราะนอกจากจะได้รายได้จาก Coworking Space แล้ว ยังได้โอกาสหาคอนเนคชั่นคนมาช่วยทำงานอีกด้วย
2. Concept โดน = ฟรีแลนซ์ และ Startup สายนั้นมารวมตัวกัน
Co-working Space ควรมีคอนเซ็ปต์ชัดเจน เช่น ออกแบบเพื่อสาย Workshop สาย Design หรือสาย Fintech คอนเซ็ปต์จะเป็นสิ่งที่ช่วยตีการออกแบบและตกแต่งสถานที่ เช่น การออกแบบแนว Loft จะเหมาะกับผู้ใช้บริการที่อยู่ในสาย Design หรือออกแบบให้มีห้องประชุมและอุปกรณ์ทันสมัย อินเทอร์เน็ตความเร็วสูง สำหรับ Startup สาย Fintech เพราะการชัดเจนในคอนเซ็ปต์สำหรับผู้ใช้บริการ จะเป็นการสร้าง Royalty ให้กับผู้ใช้บริการได้ดี เมื่อเขารู้ว่ามาที่นี่แล้วเหมาะกับตนเอง ก็จะมาสมัครและใช้บริการรายปี
3. คิดโปรฯ ค่าบริการสมเหตุสมผล มีกิจกรรมสร้าง Connection = ฟรีแลนซ์ และ Startup บอกต่อ
สำหรับฟรีแลนซ์ และ Startup ที่มาใช้บริการ Co-working Space มักจะหาข้อมูลเปรียบเทียบหลาย ๆ ที่ ทั้งในเรื่องคอนเซ็ปต์ของสถานที่ สิ่งอำนวยความสะดวก การเดินทาง และที่สำคัญ “ค่าบริการ” ที่ควรมีให้เลือกหลายแบบ ทั้งแบบ 1 Day เพื่อการทดลอง หรือระยะยาวแบบ 3-12 เดือน พร้อมส่วนลดที่น่าพอใจ แล้วยังมีกิจกรรมสร้าง Connection มากมาย เช่น Workshop สำหรับ Designer หรือ Programmer และไม่ลืมที่จะใช้การโปรโมตผ่านโซเชียลมีเดีย ความครบครันแบบนี้ รับรองว่า ชาวฟรีแลนซ์ และ Startup ก็จะพร้อมใจกันมาใช้บริการและบอกต่อ กด Invite เพื่อนแน่นอน
4. ไม่ตกหล่น Service พิเศษ (อาหาร และเครื่องดื่ม) = ฟรีแลนซ์ และ Startup ไม่กังวลเรื่องของกิน
Co-working Space หลายเจ้าที่มีสิ่งอำนวยความสะดวกครบครัน แต่มักจะไกลแหล่งอาหารการกิน ซึ่งแตกต่างจากออฟฟิศโดยทั่วไป ที่ร้านค้าร้านอาหารมักจะรู้ว่าแถวนี้มีพนักงานออฟฟิศ จึงเลือกจะมาเปิดร้านกันมากมาย อีกสิ่งหนึ่งที่ Co-working Space จะเพิ่มบริการมาเติมช่องโหว่ตรงนี้ได้ คือ บริการรับสั่งอาหาร อาจจะเก็บค่าบริการเพิ่มคนละ 10-20 บาท คล้าย ๆ บริการ Delivery นั่นเอง หรืออาจจะปรับเพิ่มให้มีอาหารง่าย ๆ เช่น แซนด์วิช รวมทั้งเครื่องดื่มประเภทชา กาแฟต่าง ๆ เพราะสิ่งที่ขาดไม่ได้ของฟรีแลนซ์ และ Startup ก็คือ กาแฟนั่นเอง เพิ่มรายได้ให้เจ้าของ Co-working Space และไม่ขัดจังหวะการทำงานของผู้ใช้บริการ สร้างสรรค์งาน สร้างรายได้ สร้างคอนเนคชั่นได้ไม่ติดขัด
ภายใน 3-5 ปีที่ผ่านมา ธุรกิจ Co-working Space เกิดขึ้นในประเทศไทยมากมาย นับ 100 แห่ง เพราะเป็นธุรกิจที่เอื้อทั้งเจ้าของและผู้ใช้บริการ ซึ่งรายได้ที่กลับมาอาจไม่ได้สูงเหมือนลงทุนทำธุรกิจในแบบอื่น แต่นับเป็นการเริ่มต้นทำธุรกิจที่สร้าง Connection ได้ดี มีโอกาสที่ก้าวหรือพัฒนาขอบข่ายทางธุรกิจได้
ขอบคุณข้อมูลจาก: -
พิมพ์สิ่งที่ต้องการค้นหา