QR Code ในญี่ปุ่น ไอเดียดี ๆ ที่ช่วยหนุนธุรกิจ

QR Code ในญี่ปุ่น ไอเดียดี ๆ ที่ช่วยหนุนธุรกิจ

By เกตุวดี Marumura

แผ่นป้ายเล็ก ๆ อย่าง QR Code ช่วยให้ร้านค้าและแบรนด์ต่าง ๆ ของญี่ปุ่นเติบโตและก้าวต่อไปได้อย่างไร ไอเดียดี ๆ อย่างนี้ต้องติดตาม

คุณผู้อ่านทราบไหมคะ ญี่ปุ่นเป็นประเทศแรกในโลกที่คิดค้นระบบ QR Code ขึ้นมา
เจ้าแรกที่คิด คือ บริษัท Denso Wave ทางบริษัทประดิษฐ์ขึ้นในปีค.ศ.1994 เพื่อนำมาใช้กับอุตสาหกรรมรถยนต์ เนื่องจากเครื่องสามารถอ่านข้อมูลได้เร็ว และเก็บข้อมูลได้มากกว่าบาร์โค้ด จากนั้น บริษัทญี่ปุ่นรายอื่น ๆ ก็เริ่มใช้ QR Code มากขึ้น โดยมากเอาไว้สแกนข้อมูลสินค้าหรือใส่ในโปสเตอร์โฆษณาเพื่อให้ลิงก์ไปหน้าเว็บได้ง่าย ๆ
เมื่อเวลาผ่านมายี่สิบปี บริษัทญี่ปุ่นก็เริ่มนำ QR Code มาใช้ในด้านอื่นมากขึ้น ลองมาดูกันนะคะ QR Code ญี่ปุ่น พัฒนาไปอย่างไร

1. เป็นแหล่งข้อมูล

ร้าน DIY Factory Osaka เป็นร้านจำหน่ายอุปกรณ์ DIY เช่น กระป๋องสี แผ่นไม้ สว่าน ทางบริษัทจะวางแผ่นป้าย QR Code เล็ก ๆ นี้ไว้ เมื่อใช้โทรศัพท์มือถือสแกน ก็จะเห็นคลิปสั้น ๆ ที่แสดงวิธีใช้สินค้านั้น ๆ ได้เลย
QR Code ในญี่ปุ่น ไอเดียดี ๆ ที่ช่วยหนุนธุรกิจ
เครดิตภาพ: image gihyo
QR Code ในญี่ปุ่น ไอเดียดี ๆ ที่ช่วยหนุนธุรกิจ
ภาพสินค้าหลอดไฟ LED ชนิดต่าง ๆ
เครดิตภาพ: image gihyo
โดยปกติลูกค้าต้องเสิร์ชเองว่า สินค้าคืออะไร กรณีที่แย่กว่า คือ ลูกค้าเดินผ่านชั้นวางสินค้านั้นไปเลยเนื่องจากไม่เข้าใจว่า สินค้านั้นมีไว้ใช้ทำอะไร
ป้าย QR Code นี้ จึงทรงพลังมากในการแนะนำสินค้าใหม่หรือสินค้าที่ลูกค้าแทบไม่มีความรู้มาก่อน เช่น สเปรย์พ่นแลคเกอร์ หรือหลอดไฟ LED ที่นำไปใช้ประดับเป็นสีต่าง ๆ ได้ ทำให้ลูกค้าหยุดอ่านและดูคลิปต่อได้ พร้อมทั้งเข้าใจวิธีนำไปใช้และคุณสมบัติได้เลย
ป้ายนี้จึงสามารถสร้างทั้ง Attention -> Interest -> Desire และอาจนำไปสู่ Action หรือการลงมือซื้อได้เลย

2. ช่วยลูกค้าประหยัดเวลา

Town Wi-Fi บริษัทให้เช่าสัญญาณ Wi-Fi ที่สนามบินฮาเนดะนั้น ประสบปัญหาลูกค้ามาติดต่อเช่า Wi-Fi พร้อมกันเป็นจำนวนมาก คิวยาว ลูกค้าต้องรอนาน
ทางบริษัทจึงแก้ปัญหาด้วยการให้ลูกค้าที่สมัครล่วงหน้าทางอินเทอร์เน็ต สามารถรับ QR Code เพื่อใช้เป็นรหัสปลดล็อคเกอร์ที่ใส่ Pocket Wi-Fi ได้เลย
QR Code ในญี่ปุ่น ไอเดียดี ๆ ที่ช่วยหนุนธุรกิจ
เครดิตภาพ: townwifi
ลูกค้าสามารถรับ Wi-Fi ไปใช้ได้ภายใน 10 วินาทีโดยไม่ต้องรอคิวใด ๆ ขณะเดียวกัน บริษัทก็สามารถรองรับลูกค้าได้มากขึ้น โดยไม่ต้องเพิ่มจำนวนพนักงานที่ดูแล
อีกบริษัทหนึ่งที่ใช้คอนเซ็ปต์คล้ายกันนี้ในการอำนวยความสะดวกลูกค้า คือ Japan Taxi บริษัทแท็กซี่รายใหญ่ในญี่ปุ่น
โดยปกติแล้ว ลูกค้าที่ขึ้นแท็กซี่มักจะเป็นมนุษย์เงินเดือนที่เร่งรีบไปประชุม ปัญหา คือ กว่าจะถึงจุดหมายปลายทาง กว่าจะหยิบเงินทอนเงิน ทำให้ลูกค้าเสียเวลามาก บริษัท Japan Taxi จึงออกแอปพลิเคชัน Japan Taxi Wallet แอปฯ ที่ทำให้ลูกค้าสามารถชำระค่าแท็กซี่ก่อนถึงที่หมายได้
ลูกค้าเพียงแค่ดาวน์โหลดแอปฯ กรอกข้อมูลบัตรเครดิตไว้ล่วงหน้า ระหว่างนั่งไป จอ Panel ที่ติดอยู่ด้านหลังเบาะ จะแสดง QR Code ลูกค้าแค่เปิดแอฯ สแกน QR Code ก็เสร็จสิ้นการชำระเงิน ระบบจะคำนวณเส้นทางไปจุดหมายปลายทางและค่าแท็กซี่ให้โดยอัตโนมัติ เหมาะสำหรับลูกค้าที่รีบ หรือมีสัมภาระเยอะนั่นเอง เป็น QR For Payment แบบใหม่ที่สะดวกทั้งลูกค้าและคนขับจริง ๆ ค่ะ

3. สร้างความพิศวงและดึงดูดความสนใจ

โลกทวิตเตอร์ญี่ปุ่นฮือฮากับภาพชายพิศวงผู้แบกเป้ซึ่งมี QR Code ตัวเบ้อเริ่มติดอยู่
QR Code ในญี่ปุ่น ไอเดียดี ๆ ที่ช่วยหนุนธุรกิจ
เครดิตภาพ: twitter

QR Code ในญี่ปุ่น ไอเดียดี ๆ ที่ช่วยหนุนธุรกิจ
เมื่อลองสแกนดู กลายเป็นโฆษณาแอปพลิเคชันเกมของบริษัท Bandai นั่นเอง เป็นการผสมผสานความ Digital ของ QR Code เข้ากับความ Analog แบบให้คนแบกเป้เดินไปยังที่ต่าง ๆ ดีค่ะ
QR Code ในญี่ปุ่น ไอเดียดี ๆ ที่ช่วยหนุนธุรกิจ
ตัวอย่าง “โฆษณา” ที่ดึงความสนใจแบบใหม่แบบที่ลูกค้าไม่สามารถเดาได้ว่าคืออะไร
เครดิตภาพ: virates
ในยุคที่เราสามารถสร้าง QR Code กันได้เองแล้วตามเว็บต่าง ๆ ฟรี QR Code อาจเป็นอีกหนึ่งเครื่องมือที่ทำให้ลูกค้าเข้าถึงข้อมูลสินค้าได้ง่าย ลดระยะเวลาการรอรับบริการ ตลอดจนสร้างกระแสได้เช่นกัน ลองดูเผื่อใช้กับองค์กรของท่านได้นะคะ
ขอบคุณข้อมูลจาก: -
ลงทะเบียนรับข่าวสาร
บริการส่งข้อมูลความรู้ ให้ลูกค้าธุรกิจผ่านอีเมล์
บริการจัดส่งบทวิเคราะห์และข้อมูลข่าวสารทางธุรกิจผ่านทาง E-mail
  • บทวิเคราะห์เศรษฐกิจรายสัปดาห์จากศูนย์วิจัยกรุงศรี
  • ผลการสำรวจดัชนีภาวะธุรกิจ SME รายไตรมาส โดยกรุงศรี
  • ข่าวสาร และกิจกรรมของธนาคาร
  • บริการทางการเงิน และโปรโมชั่นใหม่ๆ ของธนาคาร
Follow us on
ลงทะเบียนรับข่าวสาร
บริการส่งข้อมูลความรู้ ให้ลูกค้าธุรกิจผ่านอีเมล์
บริการจัดส่งบทวิเคราะห์และข้อมูลข่าวสารทางธุรกิจผ่านทาง E-mail
  • บทวิเคราะห์เศรษฐกิจรายสัปดาห์จากศูนย์วิจัยกรุงศรี
  • ผลการสำรวจดัชนีภาวะธุรกิจ SME รายไตรมาส โดยกรุงศรี
  • ข่าวสาร และกิจกรรมของธนาคาร
  • บริการทางการเงิน และโปรโมชั่นใหม่ๆ ของธนาคาร
Powered by
© 2564 ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน)
Follow