เช็กลิสต์ข้อต้องรู้ก่อนจะเริ่มขายอาหารออนไลน์

เช็กลิสต์ข้อต้องรู้ก่อนจะเริ่มขายอาหารออนไลน์

By Krungsri Plearn Plearn

กระแสธุรกิจบนโลกออนไลน์มีแต่จะมาแรงขึ้นเรื่อย ๆ สร้างปรากฏการณ์ได้ภายในชั่วข้ามคืน และเกิดเป็นธุรกิจแนวใหม่ต่าง ๆ ผุดขึ้นมาจากไอเดียที่สร้างสรรค์ คงยากที่จะปฏิเสธว่าอิทธิพลของสื่อออนไลน์ส่งผลต่อชีวิตในทุก ๆ ด้าน รวมถึงธุรกิจขายอาหารออนไลน์ที่ช่วงนี้มาแรงสุด ๆ จนฉุดไม่อยู่ ด้วยยอดสั่งที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง หลายคนอาจกำลังมองหาช่องทางในการทำธุรกิจอาหารออนไลน์ มาดูเช็กลิสต์ข้อต้องรู้ก่อนเปิดธุรกิจนี้กัน

เราขายอะไร?


สิ่งแรกที่ต้องคำนึงถึงคือ เราจะขายอะไร เพราะไม่ใช่อาหารทุกชนิดที่จะขายออนไลน์ได้ เนื่องจากข้อจำกัดในการขนส่งบ้าง รสชาติอาหารหลังจากปรุงเสร็จบ้าง หรือวัตถุดิบบางชนิดก็เก็บได้ไม่นานอย่างที่คิด ซึ่งประเภทของอาหารก็แตกต่างกันไป มีตั้งแต่อาหารสด อาหารแห้ง อาหารปรุงสำเร็จ เบเกอรี่ อีกปัจจัยหนึ่งที่สำคัญคือ อาหารของเราต้องมีเอกลักษณ์และแตกต่างจากเจ้าอื่น เนื่องจากลูกค้ามีตัวเลือกเยอะมาก จึงจำเป็นที่จะต้องสร้างเรื่องราวให้กับอาหาร ให้ดูมีความน่าสนใจเพื่อดึงดูดให้ลูกค้าอยากซื้อ

ราคาเท่าไหร่ดี


ราคาที่เหมาะสมกับคุณภาพของอาหาร เป็นอีกปัจจัยที่ทำให้ลูกค้าตัดสินใจซื้อ นอกจากค่าอาหารแล้ว ยังมีในส่วนของค่าจัดส่งที่ต้องคำนึงด้วย กรณีที่ขายเฉพาะบางพื้นที่ ใช้เวลาจัดส่งไม่นาน เมื่อรวมค่าส่งแล้วไม่ควรแพงไปกว่าการที่ลูกค้าเดินทางไปซื้อเอง เพื่อให้ลูกค้ารู้สึกว่าจะเดินทางไปทานที่ร้าน หรือสั่งออนไลน์ก็คุ้มค่าพอ ๆ กัน
 
เช็กลิสต์ข้อต้องรู้ก่อนจะเริ่มขายอาหารออนไลน์

รูปแบบบรรจุภัณฑ์


หน้าตาของอาหารถือเป็นสิ่งที่ชวนให้เกิดความอยากรับประทาน อยากสั่งซื้อก็จริง แต่ในส่วนของรูปแบบบรรจุภัณฑ์เป็นอีกสิ่งที่ไม่ควรมองข้าม ต้องดูดี สะอาด ปลอดภัย สามารถนำไปอุ่นได้ทั้ง บรรจุภัณฑ์ ทำให้ง่ายและสะดวกต่อลูกค้า และยิ่งถ้าเป็นบรรจุภัณฑ์ที่ย่อยสลายได้ง่าย เป็นมิตรกับ สิ่งแวดล้อม จะยิ่งทำให้ผู้บริโภคได้เห็นถึงความใส่ใจในการเลือกบรรจุภัณฑ์เพื่อผู้บริโภคและเพื่อ สิ่งแวดล้อมอีกด้วย
 
เช็กลิสต์ข้อต้องรู้ก่อนจะเริ่มขายอาหารออนไลน์

การชำระเงิน


ทุกวันนี้มีระบบการชำระเงินหลากหลายรูปแบบมาก มีให้เลือกทั้งแบบชำระก่อนแล้วค่อยส่ง เก็บเงินปลายทาง โอนเงิน ตัดบัตรเครดิต/เดบิต ยิ่งมีช่องทางการชำระเงินที่หลากหลาย ก็เป็นส่วนหนึ่งในการเพิ่มโอกาสในการขายมากขึ้น ถือเป็นการอำนวยความสะดวกให้ทั้งสองฝ่าย เรียกได้ว่าวินวินทั้งผู้ซื้อและผู้ขายเลยทีเดียว

ช่องทางการขาย


ในปัจจุบันมีให้เลือกหลากหลาย ขึ้นอยู่กับความพึงพอใจของผู้ขาย ทั้งนี้ควรเลือกช่องทางการติดต่อโดยคำนึงถึงความสะดวกและรวดเร็ว เนื่องจากมีการพูดคุยกับลูกค้าเป็นจำนวนมาก หากใช้ช่องทางที่เยอะเกินไปจนไม่สามารถจัดการได้ อาจทำให้เกิดข้อผิดพลาด เช่น รับออเดอร์ไม่ทัน ตอบคำถามลูกค้าล่าช้า แต่ก็ไม่ควรใช้แค่ช่องทางเดียวในการจัดจำหน่ายหรือแสดงรูปอาหารของเรา ช่องทางการขายออนไลน์มีมากมาย เช่น…
  • Facebook
    จัดเป็นช่องทางหลักสำหรับการโปรโมทร้าน รับลูกค้าใหม่ เอาไว้ลงคอนเทนต์เกี่ยวกับเมนูอาหารที่เราพร้อมเสิร์ฟให้กับผู้บริโภค หรือลงภาพตัวอย่างอาหาร รวมไปถึงโปรโมทโปรโมชั่นต่าง ๆ และยังสามารถลงโฆษณาได้อีกด้วย
  • Instagram
    ช่องทางนี้เหมาะกับรูปภาพที่สวยมาก ๆ เพื่อดึงดูดลูกค้า อย่างเช่นร้านเบเกอรี่ เพราะการถ่ายภาพเบเกอรี่ออกมาให้สวย จัด Compose ภาพจะง่ายกว่าอาหารคาว และแน่นอนว่าตอนนี้ไอจีก็สามารถลงโฆษณาได้แล้วเหมือนกัน
  • Line
    ช่องทางนี้เน้นรับลูกค้าเก่า ไว้โปรโมท กระจายโปรโมชั่นต่าง ๆ และสามารถรับออเดอร์ในนี้ได้ด้วย ช่วยลดขั้นตอนบางอย่างจากช่องทางอื่น ๆ ได้ดีเลยทีเดียว
  • Food Delivery
    ปัจจุบันเราจะเห็นช่องทางการสั่ง Food Delivery มากมาย ซึ่งถ้าเรามีร้านอาหารเป็นของตัวเอง เราก็สามารถเข้าไปเป็น Partner กับช่องทางเดลิเวอรี่เหล่านี้ได้ เช่น
    • Line Man : สามารถเปิดร้านบน Line Man ฟรี จะลงทะเบียนผ่านลิงก์ด้านล่างนี้ หรือใช้แอปฯ Wongnai Merchant App (WMA) และรับออเดอร์เดลิเวอรีของ LINE MAN ผ่านทางแอปฯ ได้เลยทันที

    • Grab : จะคิดค่าคอมมิชชั่น 30% จากรายการอาหารที่ถูกสั่งผ่าน Grab และต้องใช้สมาร์ทโฟนระบบแอนดรอยด์และอีเมลที่เป็น @gmail สำหรับดาวน์โหลดและลงทะเบียนเข้าแอปฯ ร้านค้า (GrabFood Merchant App) เพื่อรับคำสั่งซื้อ

    • Get : จะมีการคิดค่าคอมมิชชั่น 30% จากรายการอาหารที่ถูกสั่งซื้อเช่นเดียวกับ Grab แต่ใช้ระบบ GoBiz ในการรับออเดอร์ เช็กยอดขาย หรือแก้ไขร้าน, เมนูในร้าน และต้องใช้ สมาร์ทโฟนหรือแท็บเล็ตระบบแอนดรอยด์เท่านั้น

    • Food Panda : จะมีการคิดค่าคอมมิชชั่น 30% จากรายการอาหารที่ถูกสั่งซื้อ และมีนโยบายการันตีราคา ร้านอาหารจึงไม่สามารถปรับขึ้นราคาอาหารจากปกติได้นั่นเอง
       

ระยะเวลาในการจัดส่งและเก็บรักษา


ในกรณีคุณเปิดร้านขายอาหารสดหรืออาหารที่ผ่านการปรุงแล้ว ก็ควรต้องคำนึงถึงเรื่องเวลาที่ใช้ในการจัดส่งรวมถึงเวลาในการเก็บรักษา อาหารบางประเภทต้องรับประทานขณะอุ่น ๆ เพราะอาจทำให้รสชาติดร็อปลง อย่างน้อยควรแนบคำแนะนำวิธีการอุ่นให้แก่ลูกค้าโดยที่ยังคงรสชาติของอาหารตามเดิม ก็อาจได้ใจลูกค้าเพิ่มก็ได้

สุดท้ายนี้นอกจากเรื่องคุณภาพอาหาร รวมไปถึงบริการต่าง ๆ ที่เป็นหัวใจสำคัญช่วยให้ธุรกิจเติบโตได้ไม่ยากแล้ว การบริการหลังการขายก็สำคัญเช่นกัน ถ้าลูกค้าประทับใจ เขาจะบอกต่อกับกลุ่มเพื่อนของเขาไปเรื่อย ๆ บอกเลยว่ามันคุ้มยิ่งกว่าการลงโฆษณา แถมได้สร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับธุรกิจของเราอีกด้วย

ที่มา :
ขอบคุณข้อมูลจาก: -
ลงทะเบียนรับข่าวสาร
บริการส่งข้อมูลความรู้ ให้ลูกค้าธุรกิจผ่านอีเมล์
บริการจัดส่งบทวิเคราะห์และข้อมูลข่าวสารทางธุรกิจผ่านทาง E-mail
  • บทวิเคราะห์เศรษฐกิจรายสัปดาห์จากศูนย์วิจัยกรุงศรี
  • ผลการสำรวจดัชนีภาวะธุรกิจ SME รายไตรมาส โดยกรุงศรี
  • ข่าวสาร และกิจกรรมของธนาคาร
  • บริการทางการเงิน และโปรโมชั่นใหม่ๆ ของธนาคาร
Follow us on
ลงทะเบียนรับข่าวสาร
บริการส่งข้อมูลความรู้ ให้ลูกค้าธุรกิจผ่านอีเมล์
บริการจัดส่งบทวิเคราะห์และข้อมูลข่าวสารทางธุรกิจผ่านทาง E-mail
  • บทวิเคราะห์เศรษฐกิจรายสัปดาห์จากศูนย์วิจัยกรุงศรี
  • ผลการสำรวจดัชนีภาวะธุรกิจ SME รายไตรมาส โดยกรุงศรี
  • ข่าวสาร และกิจกรรมของธนาคาร
  • บริการทางการเงิน และโปรโมชั่นใหม่ๆ ของธนาคาร
Powered by
© 2567 ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน)
Follow