ปัญหาการเงินแก้ได้ง่ายๆ...แค่อย่าปิดตัวเอง

ปัญหาการเงินแก้ได้ง่ายๆ...แค่อย่าปิดตัวเอง

By Krungsri GURU SME

การเลือกทำในสิ่งที่รัก และรักในสิ่งที่ทำ แม้จะเป็นการทำธุรกิจขนาดเล็กๆแต่เมื่อเลือกที่จะทำแล้วก็ต้องคิดให้ถ้วนถี่เพื่อนำพาก้าวที่เล็กๆ สู่เส้นชัย นำพาธุรกิจไปรอดไม่ล้มระหว่างทางก่อน และถึงแม้ธุรกิจมีปัญหาด้านการเงิน ซึ่งถือเป็นเรื่องใหญ่ แต่ก็มีทางแก้ เพียงแต่อย่าปิดกั้นตัวเอง

 

เข้าใจในโมเดลธุรกิจ:

 
ในการทำธุรกิจทุกประเภทเรื่องเงินเป็นเรื่องใหญ่ หากมีเงินธุรกิจย่อมเดินหน้าได้อย่างไม่ติดขัด การเข้าในโมเดลธุรกิจหรือการเข้า-ออกของเงิน เป็นสิ่งจำเป็นและสำคัญที่จะช่วยให้ธุรกิจก้าวสู่ความสำเร็จ การหาเงินเพิ่มให้กับธุรกิจในช่วงเวลาต่างๆ ก็สำคัญ และหนึ่งในนั้นก็คือ การจัดแคมเปญหรือโปรโมชั่นทางการตลาดเข้ามาเสริม และควรใช้ประโยชน์จากสื่อเพื่อช่วยกระจายข้อมูลข่าวสารในการจัดกิจกรรม นอกจากสื่อหลักๆ ดั้งเดิมสื่อโซเชียลมีเดียเป็นช่องทางสำคัญที่ประหยัดค่าโฆษณาและการประชาสัมพันธ์ธุรกิจยังสามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้โดยตรง
กรณีที่ธุรกิจอยู่ต่างจังหวัด ควรเลือกใช้สื่อท้องถิ่น และการสร้างความรู้สึกหรือสร้างสัมพันธ์ที่ดีกับสื่อเป็นหัวใจสำคัญเพราะหากสื่อนั้นมีความรู้สึกที่ดีกับสินค้าหรือกับบริษัทแล้วเขาก็พร้อมที่จะแนะนำสินค้าให้คนในท้องถิ่นรู้จักและพร้อมที่จะเต็มใจช่วยประชาสัมพันธ์แนะนำสินค้าหรือกิจกรรมแคมเปญการตลาดต่างๆ

ทุ่มเทเต็มร้อยกับสิ่งที่ทำ :

 
ยิ่งเป็นธุรกิจขนาดเล็ก ทุนรอนมีจำกัด ผู้ประกอบการหรือเจ้าของยิ่งต้องสวมหัวใจสิงห์ทำงานในหลายบทบาท ทั้งนักบริหาร นักการตลาด นักประชาสัมพันธ์ นักการเงิน-นักบัญชี หรืออื่นๆ หลายอย่างหากจำเป็นก็อาจต้องทำ ทุกบทบาทที่ทำอาจทำให้เหนื่อยล้าแต่ต้องทำเพื่อให้ธุรกิจเป็นรูปเป็นร่าง เมื่อผู้บริหารที่เป็นเจ้าของมีความรู้ ความสามารถ มีความขยัน อดทน และความเข้าใจในธุรกิจ นั่นก็เป็นหัวใจที่นำพาธุรกิจไต่ขั้นสู่ความสำเร็จได้ เพราะหากมีเงินมากมายแต่เจ้าของหรือผู้บริหารไม่เข้าใจ ไม่มีความรู้ ไม่ทุ่มเทแรงกายแรงใจให้กับธุรกิจมากพอแล้วธุรกิจก็อาจล้มเหลวได้เช่นกัน
พูดง่ายๆ ในการทำธุรกิจอาจต้องทำงานหนักทุกๆ วันและทั้งวันเพื่อให้ธุรกิจเติบโตและมั่นคง แต่ในบางกรณีอาจจะแบ่งเบาให้ทีมงานหรือพนักงานในระดับชั้นที่รับผิดชอบ ซึ่งนักบริหารจะต้องกล้าที่จะบอกทุกคนว่าเรากำลังจะทำอะไร

ถามผู้รู้-มีประสบการณ์ :

 
เมื่อธุรกิจเริ่มมีปัญหา ลองหาญาติมิตรหรือขอความช่วยเหลือจากผู้ประกอบการรายอื่นๆ ที่มีประสบการณ์เพื่อจะได้แนวคิดดีๆ ในการแก้ไขปัญหามาปรับใช้กับธุรกิจได้อย่างทันท่วงที การทำธุรกิจให้ประสบความสำเร็จในบางครั้งก็จำเป็นต้องขอความช่วยเหลือหรือพึ่งคนอื่น หรืออาจหาคู่ค้าหรือมีผู้ถือหุ้นเพิ่ม เพราะผู้ถือหุ้นใหม่ที่เข้ามาจะช่วยด้านเงินทุน หรือช่วยทำการตลาดเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้า แต่สิ่งที่สำคัญในประเด็นการหาคู่ค้าหรือหุ้นส่วนเพิ่มนั้นจะต้องเลือกคู่ค้าที่ไว้ใจได้

หยุดจ่ายที่ไม่จำเป็น :

 
การประหยัด รู้จักใช้จ่าย พฤติกรรมการใช้จ่ายต่างๆ เหล่านี้สามารถชี้อนาคตของธุรกิจได้ว่าจะเติบโตรุ่งโรจน์หรือล้มเหลว ควรเลือกซื้ออุปกรณ์หรือสิ่งของที่จำเป็นต่อธุรกิจ ในการซื้ออุปกรณ์ต่างๆ อาจใช้บัตรสมาชิกหรือบัตรที่มีส่วนลดด้วยเพื่อได้ซื้อสินค้าราคาถูก แน่นอนว่าการซื้อของใช้ในออฟฟิศเป็นเรื่องจำเป็น แต่ในการซื้อรวดเดียวทั้งหมดด้วยเงินล่วงหน้า ซึ่งนั่นเป็นวิธีการที่ไม่ถูกต้อง ทำให้เงินจม ทั้งๆ ที่สิ่งของที่ใช้ในออฟฟิศนั้นอาจจะเป็นลักษณะทยอยซื้อก็ได้ หรือใกล้หมดแล้วค่อยซื้อในครั้งต่อไป

ตั้งสติพร้อมมาตรการรัดเข็มขัด: :

 
ในการทำธุรกิจกระแสเงินสดมีความสำคัญ ถ้าเป็นไปได้ให้เลือกเก็บเงินล่วงหน้าจากคู่ค้าหรือลูกค้า และไม่ควรคาดหวังว่าจะได้รับเงินตรงเวลา คำนวณรายจ่าย (คงที่) ในแต่ละเดือนและจดบันทึกในปฏิทิน ใช้วิธีการหักเงินผ่านระบบบัญชีเพื่อป้องกันเงินรั่วไหลและสะดวกต่อการตรวจสอบ
และที่สำคัญเมื่อเผชิญสภาวะการเงินขาดมือ ตั้งสติประเมินแหล่งที่มาของรายรับแต่ละช่วงเวลาที่ได้รับและพร้อมตั้งรับด้วยการบริหารธุรกิจแบบรัดเข็มขัด
นั่นเป็น 5 เคล็ด(ไม่)ลับในการรับมือกับการเริ่มต้นธุรกิจขนาดเล็ก แม้ไม่ใช่เรื่องที่ทำได้ง่ายๆ แต่ก็ไม่ยากจนเกินไปที่จะลงมือทำการเริ่มต้นลงมือทำก่อนที่จะเกิดปัญหา นั่นเท่ากับว่าผู้เริ่มเดินนำหน้าคนอื่นๆ ไปแล้วอย่างน้อยหนึ่งก้าว อย่าลืมว่าทุก “วิกฤติ” ย่อมมี “โอกาส” ก้าว หากแต่เมื่อยามเกิดปัญหาก็อย่าปิดตัวเอง
ทุก “วิกฤติ” ย่อมมี “โอกาส” ก้าว
ขอบคุณข้อมูลจาก: -
ลงทะเบียนรับข่าวสาร
บริการส่งข้อมูลความรู้ ให้ลูกค้าธุรกิจผ่านอีเมล์
บริการจัดส่งบทวิเคราะห์และข้อมูลข่าวสารทางธุรกิจผ่านทาง E-mail
  • บทวิเคราะห์เศรษฐกิจรายสัปดาห์จากศูนย์วิจัยกรุงศรี
  • ผลการสำรวจดัชนีภาวะธุรกิจ SME รายไตรมาส โดยกรุงศรี
  • ข่าวสาร และกิจกรรมของธนาคาร
  • บริการทางการเงิน และโปรโมชั่นใหม่ๆ ของธนาคาร
Follow us on
ลงทะเบียนรับข่าวสาร
บริการส่งข้อมูลความรู้ ให้ลูกค้าธุรกิจผ่านอีเมล์
บริการจัดส่งบทวิเคราะห์และข้อมูลข่าวสารทางธุรกิจผ่านทาง E-mail
  • บทวิเคราะห์เศรษฐกิจรายสัปดาห์จากศูนย์วิจัยกรุงศรี
  • ผลการสำรวจดัชนีภาวะธุรกิจ SME รายไตรมาส โดยกรุงศรี
  • ข่าวสาร และกิจกรรมของธนาคาร
  • บริการทางการเงิน และโปรโมชั่นใหม่ๆ ของธนาคาร
Powered by
© 2564 ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน)
Follow