“ขอสินเชื่อ” คำที่หลาย ๆ คนได้ยินแล้วนึกถึงแต่การขออนุมัติที่ยุ่งยาก ต้องใช้เอกสาร หลักฐานต่าง ๆ มากมาย แต่ปัจจุบันนี้เรามาลบความเชื่อแบบเดิม ๆ เหล่านั้นทิ้งไป เพราะด้วยยุคสมัยที่มีเทคโนโลยีเข้ามาทำให้ทุกเรื่องราวการเงินเป็นเรื่องง่ายมากยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะ โอน เติม จ่าย ก็สามารถทำได้เพียงแค่มีสมาร์ทโฟนเครื่องเดียวเท่านั้น ซึ่งเทคโนโลยีเหล่านี้ก็ส่งผลให้เรื่องยาก ๆ อย่างการขอสินเชื่อ ถูกทำให้เป็นเรื่องง่ายในชื่อ “
สินเชื่อออนไลน์”
วันนี้เราขอพาทุกคนไปรู้จักกับ “สินเชื่อออนไลน์” กันมากขึ้น และเพื่อไม่ให้พลาดอีกหนึ่งตัวเลือกดี ๆ ในการขอสินเชื่อ เราขอเชิญชวนทุกท่านให้อ่านบทความนี้จนจบ
“สินเชื่อออนไลน์” หรือที่เรียกกันในภาษาสากลว่า Digital Lending เปรียบเสมือนการกู้ออนไลน์ผ่านแพลตฟอร์มสินเชื่อออนไลน์ต่าง ๆ หรือเหมือนกับสินเชื่อ Krungsri iFIN จากธนาคารกรุงศรีนั่นเอง แต่สินเชื่อออนไลน์นั้น ยังมีอีกความน่าสนใจที่ต่างกันออกไป เพราะไม่ได้มีเพียงแต่ธนาคารเท่านั้น ยังมีหลายแพลตฟอร์มใหญ่ ๆ ที่สามารถเปิดให้บุคคลทั่วไปสามารถ
ขอสินเชื่อออนไลน์เพื่อใช้บริการในแพลตฟอร์ม อาทิ แพลตฟอร์มซื้อขายสินค้า อีกทั้ง “สินเชื่อออนไลน์” ไม่ได้มีเพียงแต่การกู้เงิน เพราะบางแพลตฟอร์ม จะให้แปลงจากเงินเป็นการให้เครดิต หรือวงเงินการใช้บริการภายในแพลตฟอร์ม
หลาย ๆ คนคงเข้าใจกับสินเชื่อออนไลน์มากขึ้น แต่ด้านบนเป็นเพียงการยกตัวอย่างเล็ก ๆ เท่านั้น เพราะจริง ๆ แล้วสินเชื่อออนไลน์มีมากมายหลายรูปแบบ เราจะพาคุณไปรู้จัก “รูปแบบของสินเชื่อออนไลน์” กันก่อน
รูปแบบของสินเชื่อออนไลน์ถูกแบ่งออกเป็น 7 แบบ
1. แบบ Online Lender
คือ การปล่อยกู้ผ่านช่องทาง Digital ทั้งหมดตั้งแต่การตรวจสอบประวัติผู้กู้ โดยใช้ Data ที่มีในระบบ เช่น ประวัติเครดิตบูโรเป็นยังไง เป็นลูกหนี้ที่ดีหรือไม่ มีการชำระเงินคืนตรงเวลาหรือผิดนัดบ่อยหรือเปล่า โดยจะเอาข้อมูลทั้งหมดนี้มาประกอบการตัดสินใจ แล้วให้เจ้าหน้าที่หรือระบบ AI เป็นผู้ตัดสินว่า หากเราขอสินเชื่อควรได้รับการอนุมัติหรือไม่
2. แบบ P2P Lending Platform
คือ การจับคู่ระหว่างผู้ขอสินเชื่อออนไลน์และเจ้าของเงินโดยตรง โดยไม่ต้องผ่านคนกลางอย่างธนาคาร และใช้ Platform เป็นตัวเชื่อมทั้งสองฝ่ายเข้าหากันได้เลย ดังนั้นข้อดีหลัก ๆ ของระบบแบบนี้คือ ผู้ขอสินเชื่อจะได้เข้าถึงแหล่งเงินกู้ยืมได้มากขึ้น และมีทางเลือกในการลงทุนมากขึ้น เพราะไม่มีข้อจำกัดบางอย่างแบบเดิมที่ธนาคารมี แต่ข้อสังเกตของระบบนี้คือ อาจมีดอกเบี้ยที่สูงกว่าการขอสินเชื่อจากธนาคาร เพราะเจ้าของเงินทุนที่เราขอสินเชื่อจะเป็นผู้กำหนดอัตราดอกเบี้ยเอง
3. แบบ E-Commerce and Social Platform
คือ การที่ Platform E-Commerce หรือ Social Media เมื่อแอปฯ ที่เราเคยใช้เล่นสนุกหรือใช้ช้อปปิ้ง มีบริการปล่อยสินเชื่อออนไลน์ให้กับลูกค้าที่เข้ามาใช้ โดยจะใช้ Data ที่เก็บไว้อยู่แล้วเป็นคนประเมินเรื่องของวงเงินที่ปล่อยได้ และดอกเบี้ยของการปล่อยสินเชื่อแต่ละครั้ง ส่วนใหญ่สินเชื่อแบบนี้มักจะปล่อยให้เป็นรูปแบบของเครดิต เพื่อหวังให้นำมาใช้หมุนเวียนใน Platform
4. แบบ Marketplace Platform
มีความคล้ายระบบ
P2P Platform แต่จะต่างกันตรงที่ผู้ขอสินเชื่อออนไลน์แบบนี้ จะใช้ในการทำธุรกิจมากกว่า ส่วน P2P มักจะเป็นรายย่อยขอสินเชื่อส่วนบุคคล โดย Marketplace Platform จะเป็นตรงกลางระหว่างผู้ขอสินเชื่อและเจ้าของเงินทุน เมื่อเรายื่นความต้องการสินเชื่อเข้าไปในระบบ ทางแพลตฟอร์มสินเชื่อออนไลน์เองก็จะเป็นผู้ดำเนินเอกสารให้เราทุกขั้นตอน เราเพียงแค่รอทำข้อสัญญาในตอนท้ายเท่านั้นเอง
5. แบบ Supply Chain Lender
ทำความเข้าใจง่าย ๆ คือ สินเชื่อใช้หมุนเวียนในธุรกิจ ที่ทางสถาบันการเงินหรือธนาคารจะเข้ามาเป็นตัวกลางระหว่างเราและซัพพลายเออร์ขนาดใหญ่ โดยที่เราจะต้องส่ง Invoice ในธุรกิจมาแลกเปลี่ยนกับเงินทุนจากเจ้าของเงินทุน ในอัตราอาจต่ำกว่าท้องตลาด แต่แลกกับเงินสินเชื่อเป็นก้อน เพื่อใช้ในการหมุนเวียนธุรกิจ โดยส่วนใหญ่แล้วสินเชื่อรูปแบบนี้เป็นที่นิยมเพราะส่วนใหญ่แล้วบางธุรกิจขาดกระแสเงินสดไม่ได้
6. แบบ Mobile Money Lender
คือ รูปแบบที่ธนาคารจับมือร่วมกับเครือข่ายมือถือเพื่อปล่อยสินเชื่อ Online ให้กับลูกค้า เพราะแต่ละเครือข่ายมือถือต่างก็มีลูกค้าที่มีจำนวนมากอยู่แล้ว อีกทั้งถ้าเรามองไปถึงในต่างประเทศเอง บางประเทศนั้นมีเครือข่ายมือถือเพียง 1-2 เจ้าเท่านั้น ซึ่งหากธนาคารร่วมมือกับเครือข่ายมือถือแบบนี้ก็จะยิ่งช่วยเพิ่มโอกาสให้กับคนทั่วไปเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้ง่ายขึ้น เพราะไม่ว่าใครยุคนี้ก็มีสมาร์ทโฟนด้วยกันทั้งนั้น
7. แบบ Tech-Enabled Lender
คือ รูปแบบการขอสินเชื่อออนไลน์ที่เราคุ้นเคยกันอย่างดี เช่น การไปขอสินเชื่อที่ธนาคาร หรือสถาบันการเงินต่าง ๆ แต่ต่างกันตรงที่รูปแบบนี้จะมีการนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยให้การปล่อยสินเชื่อได้ง่ายขึ้น อย่างเช่น การนำ AI เข้ามาช่วยวิเคราะห์เอกสาร และทำการประเมินวงเงินของผู้ขอสินเชื่อ ทำให้ผู้ยื่นขอสินเชื่อได้รับการอนุมัติเงินทุนได้ไวมากขึ้นกว่าการขอสินเชื่อแบบเดิม
ต่อมาเรามาดูกันที่เหตุผลดี ๆ ที่ทำให้การขอสินเชื่อออนไลน์ได้เป็นที่สนใจของเรา เพราะทุกการขอสินเชื่อออนไลน์เป็นเรื่องง่ายและน่าเชื่อถือ
โดยเราจะแบ่งการขอสินเชื่อออนไลน์ที่มีความสะดวกและน่าเชื่อถือออกเป็น 4 ข้อ
- เราสามารถทำรายการขอสินเชื่อผ่านโทรศัพท์มือถือได้ง่าย ๆ จากแอปฯ ธนาคารที่เราใช้อยู่ยกตัวอย่าง KMA จากธนาคารกรุงศรี
- ไม่จำเป็นว่าต้องไปขอทำธุรกรรมที่ธนาคารหรือที่ต่าง ๆ เท่านั้นเพียงแค่เรา Digital ID หรือที่เรียกว่าบัตรประชาชนในโลกดิจิทัลก็สามารถยืนยันตัวตนได้แล้ว
- เอกสารข้อมูลที่ต้องการ เราเพียงแค่แปลงเป็นไฟล์เดียวในคอมพิวเตอร์แล้วส่งต่อให้เจ้าหน้าที่ที่ต้องการข้อมูล ก็สามารถใช้ข้อมูลเหล่านี้ได้เลย ไม่ต้องทำให้ยุ่งยากหลายขั้นตอน
- ทุกการขอสินเชื่อจะมีกฎหมายให้ความคุ้มครองคนที่เป็นเจ้าของข้อมูลตัวจริงอยู่ เราสามารถหายกังวลกับตรงนี้ได้ แต่ถ้าหากใครยังไม่หายกังวลกับเรื่องสินเชื่อออนไลน์ได้เงินจริงหรือไม่ แล้วเราจะโดนหลอกไหม เรามาเสริมความน่าเชื่อถือด้วยเรื่องราวต่อจากนี้กัน จริง ๆ แล้วประเทศไทยเราเองมีข้อกำหนดที่เสริมความคุ้มครองในส่วนตรงนี้อยู่ โดยข้อกำหนดเหล่านี้ผู้ให้บริการสินเชื่อจะต้องปฏิบัติตามเพื่อคุ้มครองและสร้างความมั่นใจให้กับผู้ขอสินเชื่อทุกราย
โดยผู้ให้บริการสินเชื่อจะต้องทำตามข้อกำหนดเหล่านี้ให้กับผู้ขอสินเชื่อ ดังนี้
- ผู้ให้บริการต้องจัดทำและใช้ช่องทางการเบิกจ่าย/รับชำระคืนสินเชื่อผ่านช่องทางดิจิทัลเป็นหลัก อาทิ การตัดบัญชีอัตโนมัติ การโอนเงินโดยใช้ e-Money เพื่อจะเป็นประโยชน์ต่อการเก็บข้อมูลบนโลกดิจิทัลของผู้ใช้บริการทางการเงิน
- ผู้ให้บริการต้องเปิดเผยข้อมูลผ่านช่องทางดิจิทัลที่ผู้ใช้บริการสามารถตรวจสอบได้สะดวกรวดเร็ว เช่น ข้อมูลอัตราดอกเบี้ย เบี้ยปรับ ค่าบริการ และค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
- ผู้ให้บริการต้องส่งเสริมให้ใช้เทคโนโลยีในขั้นตอนการสมัครใช้บริการสินเชื่อ (ช่องทางออนไลน์/Mobile Application) และกระบวนการตรวจสอบตัวตนทางอิเล็กทรอนิกส์ให้ดีอย่างยิ่ง
- ผู้ให้บริการต้องมีการเตรียมการสำหรับการโอนข้อมูลผู้บริโภค เนื่องจากเป็น “สิทธิในการโอนย้ายข้อมูล” (Right to data portability) ภายใต้กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ที่กำหนดให้เจ้าของข้อมูลมีสิทธิในการได้รับข้อมูลของตนที่เคยให้แก่ผู้ควบคุมข้อมูล ดังนั้น ผู้ขอสินเชื่อจึงมีสิทธิ์ในการร้องขอให้โอนข้อมูลของตนไปยังผู้ประกอบการอีกรายได้ตามกฎหมาย
ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกันแล้วการขอสินเชื่อออนไลน์สะดวกกว่าการขอสินเชื่อแบบเดิมขึ้น รวมถึงความปลอดภัยและความคุ้มครองที่ดี และสำหรับใครที่กำลังมองหาสินเชื่อออนไลน์ที่สะดวกอนุมัติไว ของ่ายในไม่กี่ขั้นตอน เราขอแนะนำ
สินเชื่อ Krungsri iFIN จากธนาคารกรุงศรี ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหน ก็ทำเองได้ทุกขั้นตอนบนมือถือ ผ่านแอปพลิเคชั่น krungsri app นั่นเอง ถึงแม้ว่าเรื่องราวของสินเชื่อออนไลน์จะมีแต่เรื่องราวความน่าสนใจเข้ากับยุคสมัยดิจิทัล แต่ใครจะไปคิดว่าสินเชื่อเหล่านี้สร้างข้อดีสู่วงกว้างให้กับคนหมู่มาก รวมถึงบางกลุ่มคนที่ยังไม่สามารถเข้าถึงสินเชื่อได้เพราะมีข้อจำกัดในการวิเคราะห์ข้อมูลเครดิตในแบบเดิม ก็สามารถทำให้ง่ายขึ้น เราขอฝากไว้ว่า “ทุกแผนการเงินของเราจะสำเร็จได้ หากเราเลือกสินเชื่อที่เหมาะสม ไปพร้อมกับการวางแผน รู้จักใช้ สบายใจแน่นอน”