ท่องโลกโซเชียลยังไง? ให้ข้อมูลของเราปลอดภัย

ท่องโลกโซเชียลยังไง? ให้ข้อมูลของเราปลอดภัย

By Krungsri Plearn Plearn
ปัจจุบันปฏิเสธไม่ได้เลยว่า “โลกโซเชียล” สำคัญสำหรับเราขนาดไหน เพราะในทุก ๆ เช้าที่ตื่นมาหลายคนเป็นต้องหยิบโทรศัพท์ขึ้นมาเพื่อเช็กโซเชียลก่อนเป็นอย่างแรก และแน่นอนว่าหากเราลองคิดตามเราก็จะรู้ว่าโลกโซเชียลมีผลกับชีวิตประจำวันเราขนาดไหน เช่น การสั่งอาหาร การสั่งสินค้า หรือแม้แต่การอ่านข่าวสารต่าง ๆ ที่สามารถทำให้เราเข้าถึงข้อมูลได้ไวกว่าช่องทางอื่น ๆ
ท่องโลกโซเชียลยังไง? ให้ข้อมูลของเราปลอดภัย
แต่เราเองต้องไม่ลืมว่าการที่เราใช้งานโซเชียลมีเดียบ่อย ๆ นั้นบางครั้งก็มีการบันทึก “ข้อมูล” หรือที่เรียกว่า DATA ของเราเอาไว้
อ่านมาถึงตรงนี้หลาย ๆ คนคงกำลังสงสัยว่า..

เราสามารถท่องโซเชียลโดยที่ข้อมูลของเรายังปลอดภัยได้ไหม?

เพราะเราคงไม่อยากให้ข้อมูลส่วนตัวต่าง ๆ ถูกเผยแพร่ไป ซึ่งในความเป็นจริงแล้วเราสามารถปกป้องข้อมูลและเพิ่มความปลอดภัยของข้อมูลของเราได้ แต่เราต้องมาเรียนรู้วิธีท่องโซเชียลให้ปลอดภัยเสียก่อน บทความนี้จึงอยากพาทุก ๆ คนไปรู้จักกับ “วิธีท่องโลกโซเชียลยังไง? ให้ DATA ของเราปลอดภัย” กัน

เริ่มแรกเลยเรามาทำความรู้จักเกี่ยวกับ “ข้อมูล” หรือ “DATA” กันก่อน

ข้อมูล (DATA) คือ ข้อเท็จจริงในเรื่องต่าง ๆ ที่มาในรูปแบบ ภาพ ตัวเลข ตัวอักษร และอื่น ๆ ที่ยังไม่ผ่านการประมวลผล ยกตัวอย่างเช่น ข้อมูลเบอร์โทรศัพท์ หรือ E-mail ของเราที่มิจฉาชีพสามารถใช้ติดต่อมาหาเราได้ แน่นอนว่าหลายคนเคยสงสัยแน่ ๆ ว่าแล้วคนเหล่านั้นนำข้อมูลส่วนตัวเรามาจากไหน ถ้าจะบอกกันจริง ๆ คงต้องอ่านกันอีกยาว แต่ส่วนใหญ่แล้วมิจฉาชีพจะได้ข้อมูลไปก็เพราะเราใช้โซเชียลโดยไม่ได้ระมัดระวัง ใส่เบอร์โทรหรืออีเมลลงไปโดยที่เราไม่ตั้งใจ เพราะฉะนั้นเราต้องมารู้ถึงประเภทของข้อมูลที่เราควรป้องกันไว้ก่อน

ประเภทของข้อมูลที่เราควรป้องกันไว้

  • เลขบัตรประชาชน
  • เลขทะเบียนบ้าน
  • เบอร์โทรศัพท์
  • E-mail ส่วนตัว
  • วันเกิด
  • ประวัติการค้นหาจากการท่องเว็บไซต์ (ควรใช้โหมดค้นหาแบบไม่จดจำตัวตน)
  • ข้อมูลบนโปรไฟล์โซเชียลมีเดีย
  • เพจที่เราติดตาม หรือคอมเมนต์
  • คำร้องออนไลน์ที่เราเคยลงชื่อไว้
และเมื่อเรารู้ถึงข้อมูลที่เราควรปกป้องไว้แล้วเราก็มารู้ถึงวิธีการท่องโซเชียลให้ข้อมูลของเรามีความปลอดภัยกันต่อเลย
ท่องโลกโซเชียลยังไง? ให้ข้อมูลของเราปลอดภัย
 

โดยเราจะแบ่งหลัก ๆ ออกเป็น 7 วิธี

1. ตั้งรหัสผ่านที่เรารู้คนเดียว

หลาย ๆ คนอาจจะเคยพบเจอคนรอบข้างที่โดนแฮ็กบัญชีผู้ใช้ส่วนตัวบนแพลตฟอร์มต่าง ๆ แน่นอนว่าการตั้งรหัสผ่านที่เรารู้คนเดียวไว้จะช่วยให้อุ่นใจกว่า รวมถึงการตั้งรหัสผ่านที่ยากขึ้น แต่เราสามารถจำได้ด้วยตัวเราเองก็จะเพิ่มความปลอดภัยให้ข้อมูลของเรามากขึ้น

2. ตั้งสติในการเสพข่าว

เราอาจจะเห็นได้ชัดจากเพจต่าง ๆ ที่เมื่อเวลามีข่าวดังที่คนสนใจก็จะเกิดการคอมเมนต์มากมาย แต่ใครจะไปรู้ในคอมเมนต์เหล่านั้นอาจเป็นการเปิดเผยข้อมูลส่วนตัวของเราออกไปได้ เพราะฉะนั้นแล้วหากเรามีสติ และเสพข่าวอย่างไม่ใส่อารมณ์ คอมเมนต์ และกดแชร์เท่าที่จำเป็นก็จะช่วยรักษาข้อมูลของเราไว้ได้ไม่มากก็น้อย

3. ไม่ควรแสดงความรู้สึกต่าง ๆ ไว้บนโลกโซเชียลของเรามากนัก

หลายคนมักโพสต์ความรู้สึกแบบรัว ๆ ไม่ว่าจะเป็นการทะเลาะกับแฟน หรืองอนเพื่อน เบื่องาน และอื่น ๆ เรียกได้ว่าทุกอารมณ์ถูกแจ้งเตือนเพื่อนบนโซเชียลตลอด การโพสต์บ่อย ๆ บางครั้งอาจมีข้อมูลส่วนตัวของเราหลุดออกไปได้ แต่ก็ใช่ว่าเราจะไม่สามารถโพสต์อะไรได้เลย เราสามารถโพสต์ได้หากเราไตร่ตรองแล้วว่าไม่กระทบกับข้อมูลส่วนตัวของเรามากนัก และเราไม่ได้โพสต์บ่อย ๆ นั่นเอง
ท่องโลกโซเชียลยังไง? ให้ข้อมูลของเราปลอดภัย

4. โซเชียลไม่มีความเป็นส่วนตัว

เราต้องคำนึงถึงคำนี้ไว้ให้มาก ๆ เพราะถึงแม้ว่าการที่เราจะโพสต์รูปภาพ หรือโพสต์ข้อความต่าง ๆ ที่สามารถเห็นได้เฉพาะเพื่อนของเราบนโลกโซเชียล แต่เราก็ต้องไม่ลืมว่าพวกเขาเหล่านั้นก็สามารถแคป หรือเซฟเรื่องราวของเราไว้ได้เช่นกัน

5. เปิดเผยข้อมูลส่วนตัวของเราให้น้อยที่สุด

เราไม่ควรโพสต์ข้อมูลสำคัญที่เกี่ยวกับตัวเรามากนัก โดยเฉพาะ เลขบัตรประชาชน หรือเบอร์โทรศัพท์ หรือแม้แต่การโพสต์ภาพถ่ายบ้านของเราเอง ลองคิดตามดูว่าหากเราโพสต์ภาพถ่ายบ้านของเราพร้อมทั้งเช็คอินโลเคชั่น แน่นอนว่าโพสต์เหล่านี้จะถูกรวมอยู่บนคลังภาพและขึ้นอยู่ในข้อมูลมือถือของใครหลาย ๆ คน นี่เองอาจทำให้เราไม่ปลอดภัยได้

6. จดบันทึกประวัติใช้งานการเงิน

ข้อนี้สำคัญมาก เพราะเรื่องเงินไม่เข้าใครออกใครแน่นอน เราควรจดบันทึกรายรับ-รายจ่ายของเราอยู่เสมอ เพื่อป้องกันเงินสูญหายโดยที่เราไม่ได้ใช้แบบไม่รู้ตัว และที่สำคัญไม่ควรผูกเลขบัตรเครดิต เลขบัญชีธนาคาร ลงในเว็บไซต์ช้อปปิ้งออนไลน์ หรือเว็บไซต์โซเชียลต่าง ๆ เพราะแน่นอนว่าเราไม่รู้อนาคต เราอาจจะโดนแฮ็กบัญชีในภายหลังก็ได้

7. หลีกเลี่ยงการใช้ Wi-Fi สาธารณะ

เราควรพยายามหลีกเลี่ยงการใช้ Wi-Fi สาธารณะ และเน้นการใช้อินเทอร์เน็ตจากเครือข่ายมือถือของตัวเองเพื่อเพิ่มความปลอดภัย และป้องกันข้อมูลมือถือ เพราะเราไม่สามารถรู้ได้เลยว่าเครือข่าย Wi-Fi สาธารณะฟรีนั้นปลอดภัยจริงหรือไม่ หากไม่มีทางเลือกจริง ๆ ควรใช้ VPN (Virtual Private Networks) ด้วย เพื่อให้แน่ใจว่าการใช้งานทั้งหมดจะปลอดภัย ตั้งแต่การใช้แอปพลิเคชัน Internet Banking หรือธนาคารออนไลน์ ไปจนถึงข้อความส่วนตัวที่เราใช้ในชีวิตประจำวันของเรานั่นเอง
และนี่ก็เป็นวิธีการท่องโซเชียลของเราให้ปลอดภัยมากยิ่งขึ้น อย่างไรก็ตามเราเองก็สามารถท่องโซเชียลอย่างสนุก พร้อมทั้งป้องกันความปลอดภัยของข้อมูลเราไว้ได้เช่นกัน เพียงแค่เราเพิ่มความระมัดระวัง และทำเป็นประจำจนคุ้นเคย ความเป็นส่วนตัวของเราก็จะไม่ถูกมิจฉาชีพสามารถขโมยไปจากเราได้
ขอบคุณข้อมูลจาก: -
ลงทะเบียนรับข่าวสาร
บริการส่งข้อมูลความรู้ ให้ลูกค้าธุรกิจผ่านอีเมล์
บริการจัดส่งบทวิเคราะห์และข้อมูลข่าวสารทางธุรกิจผ่านทาง E-mail
  • บทวิเคราะห์เศรษฐกิจรายสัปดาห์จากศูนย์วิจัยกรุงศรี
  • ผลการสำรวจดัชนีภาวะธุรกิจ SME รายไตรมาส โดยกรุงศรี
  • ข่าวสาร และกิจกรรมของธนาคาร
  • บริการทางการเงิน และโปรโมชั่นใหม่ๆ ของธนาคาร
Follow us on
ลงทะเบียนรับข่าวสาร
บริการส่งข้อมูลความรู้ ให้ลูกค้าธุรกิจผ่านอีเมล์
บริการจัดส่งบทวิเคราะห์และข้อมูลข่าวสารทางธุรกิจผ่านทาง E-mail
  • บทวิเคราะห์เศรษฐกิจรายสัปดาห์จากศูนย์วิจัยกรุงศรี
  • ผลการสำรวจดัชนีภาวะธุรกิจ SME รายไตรมาส โดยกรุงศรี
  • ข่าวสาร และกิจกรรมของธนาคาร
  • บริการทางการเงิน และโปรโมชั่นใหม่ๆ ของธนาคาร
Powered by
© 2567 ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน)
Follow