Business Matching จับคู่ คู่หู ไปด้วยกัน รุ่งด้วยกัน

Business Matching จับคู่ คู่หู ไปด้วยกัน รุ่งด้วยกัน

By Krungsri Guru

การดำเนินธุรกิจที่ดี ผู้บริหารหรือเจ้าของกิจการต้องรู้จัก “งัด” เอากลยุทธ์ดี ๆ ที่จะช่วยส่งเสริมและขับเคลื่อนกิจการให้เติบโตไปข้างหน้าได้อย่างมั่นคงและสดใส การทำ Business Matching หรือจับคู่ธุรกิจ ถือเป็นหนึ่งใน “กลยุทธ์” ที่จะช่วยให้ธุรกิจก้าวต่อไปอย่างมีคุณภาพ เรามาดูกันว่า แนวคิดการทำ Business Matching ดีอย่างไรและมีข้อได้เปรียบอะไรบ้าง

 

ประการแรก

“การทำ Business Matching จะช่วยต่อเติมในสิ่งที่ยังขาดซึ่งกันและกัน”


บางครั้งการลงทุนทำอะไรใหม่ ๆ ก็เป็นเรื่องที่ยากและต้องใช้เงินลงทุนจำนวนมาก แต่หากเราจับคู่ธุรกิจที่ส่งเสริมซึ่งกันและกัน ก็จะช่วยลดภาระ ลดต้นทุนทางการเงินไปได้มากมาย
ยกตัวอย่างเช่น เราเป็นธุรกิจประกอบกิจการร้านอาหารที่มีจำนวนสาขาไม่มากนัก ทำให้บริการลูกค้าได้ไม่ทั่วถึง อย่างลูกค้าบางคนอยากทานอาหาร แต่ก็ไม่อยากเดินทางไปที่ร้าน หากเราคิดจับคู่ธุรกิจกับบริการที่รับจัดส่งสินค้าตามบ้าน โดยปล่อยให้การจัดส่งและเก็บเงินเป็นหน้าที่ของคู่ธุรกิจของเราแทน ทำแบบนี้เท่ากับเราสามารถเพิ่ม “ฐานลูกค้า” มากขึ้น โดยที่ใช้ต้นทุนต่ำ ถ้าอาหารร้านของเรามีรสอร่อยดีอยู่แล้ว การกระจายสินค้าออกไปในวงกว้างจะช่วยให้ร้านเราเป็นที่รู้จักมากขึ้น ในขณะเดียวกันก็ช่วยเพิ่มฐานลูกค้าไปในตัวครับ
 

ประการที่สอง

“การทำ Business Matching ช่วยเปิดตลาดต่างประเทศ”


Business Matching หรือการจับคู่ธุรกิจนั้นถูกนำมาใช้ในแวดวงของนักธุรกิจที่ต้องการขายสินค้าของตนเองในตลาดต่างประเทศ จนนักธุรกิจหลาย ๆ คนถือว่าการทำ Business Matching เป็น “สูตรสำเร็จ” ที่ช่วยในการบุกเบิกตลาดต่างประเทศกันเลยทีเดียว โดยเฉพาะอย่างยิ่ง SME ที่ยังมีเครือข่ายไม่กว้างขวาง
โดยการทำ Business Matching สำหรับกิจการที่ต้องการขายสินค้าของตนในต่างประเทศ ก้าวแรกก็ต้องเลือกบริษัทท้องถิ่นเพื่อร่วมทุน โดยเข้าไปนำเสนอกิจการของเราผ่านงานแสดงสินค้าต่าง ๆ เพื่อหาคู่ค้า ที่จะทำตลาดในพื้นที่นั้น ๆ เมื่อเราได้คู่ค้ามาแล้วก็ต้องเลือกให้ Match กับกิจการของเรามากที่สุด
 

ประการที่สาม

“การทำ Business Matching จะช่วยเพิ่มความแข็งแกร่งทางการเงินให้กับเราและคู่ค้า”


ข้อดีอีกประการของการทำ Business Matching ก็คือ การที่เราสามารถเสริมความแข็งแกร่งทางการเงินให้แก่กันได้ ยกตัวอย่างเช่น หากเราคิดจะทำธุรกิจในต่างประเทศ ถ้าเราใช้แหล่งเงินทุนในประเทศของเราเอง เราอาจประสบกับปัญหา “อัตราแลกเปลี่ยน” ที่ควบคุมได้ยาก แต่หากเราไปเจรจากับ “แหล่งทุน” ที่ประเทศนั้น ๆ ต้นทุนความเสี่ยงในเรื่องของอัตราแลกเปลี่ยนก็จะลดลงไปอย่างมากนั่นเอง
ข้อดีของการเสริมความแข็งแกร่งด้านการเงินให้กับเราและคู่ค้าของเรา จะช่วยทำให้ “สภาพคล่อง” ของกิจการเราดีขึ้น และถ้าหากเราขาดเงินทุนในการทำกิจการต่างประเทศจริง ๆ เราก็ยังมีทางเลือกในการเสริมสภาพคล่องจากแหล่งเงินทุนในประเทศเราได้เหมือนเดิมครับ
กล่าวโดยสรุปของการทำ Business Matching สำหรับธุรกิจยุคใหม่ โดยเฉพาะ SME หรือแม้แต่ธุรกิจ Startup สำหรับผมแล้วถือว่าเป็นเรื่องที่ “จำเป็น” เพื่อให้เกิดการขยายตัวของกิจการ และเราสามารถขอคำปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญทั้งด้านธุรกิจ และการเงินได้ที่ Plearn เพลิน by Krungsri Guru หรือที่เว็บไซต์ Krungsri นะครับ
ขอบคุณข้อมูลจาก: -
ลงทะเบียนรับข่าวสาร
บริการส่งข้อมูลความรู้ ให้ลูกค้าธุรกิจผ่านอีเมล์
บริการจัดส่งบทวิเคราะห์และข้อมูลข่าวสารทางธุรกิจผ่านทาง E-mail
  • บทวิเคราะห์เศรษฐกิจรายสัปดาห์จากศูนย์วิจัยกรุงศรี
  • ผลการสำรวจดัชนีภาวะธุรกิจ SME รายไตรมาส โดยกรุงศรี
  • ข่าวสาร และกิจกรรมของธนาคาร
  • บริการทางการเงิน และโปรโมชั่นใหม่ๆ ของธนาคาร
Follow us on
ลงทะเบียนรับข่าวสาร
บริการส่งข้อมูลความรู้ ให้ลูกค้าธุรกิจผ่านอีเมล์
บริการจัดส่งบทวิเคราะห์และข้อมูลข่าวสารทางธุรกิจผ่านทาง E-mail
  • บทวิเคราะห์เศรษฐกิจรายสัปดาห์จากศูนย์วิจัยกรุงศรี
  • ผลการสำรวจดัชนีภาวะธุรกิจ SME รายไตรมาส โดยกรุงศรี
  • ข่าวสาร และกิจกรรมของธนาคาร
  • บริการทางการเงิน และโปรโมชั่นใหม่ๆ ของธนาคาร
Powered by
© 2567 ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน)
Follow