สิ่งที่ควรและไม่ควรทำก่อนเริ่มธุรกิจ

สิ่งที่ควรและไม่ควรทำก่อนเริ่มธุรกิจ

By Tim Pita

“คนทุกคนเกิดมาเพื่อเป็นเถ้าแก่หรือเปล่าครับ?” เด็กหนุ่มใส่แว่นดูเรียบร้อย ยกมือถามผมในสัมมนาแห่งหนึ่ง ไม่ใช่แค่เด็กหนุ่มคนนี้คนเดียว แต่เกือบทุกที่ที่ผมไปก็มักจะเจอความไม่แน่ใจ ความลังเลอยู่ในแววตาของรุ่นน้องเหล่านี้

“คุณแม่อยากให้หนูทำงานบริษัท แต่หนูอยากเปิดร้านเบเกอรี่กับเพื่อน” หรือร้านจักรยาน หรือร้านแผ่นเสียง หรือโรงงานของตัวเอง คำถามเหล่านี้ ผมตอบน้องๆ ไปว่าไม่ใช่ทุกคนที่เหมาะจะเป็นเถ้าแก่ เจ้าของธุรกิจ และไม่ใช่ทุกคนที่เหมาะจะเป็นมือปืนรับจ้าง นัยสำคัญอยู่ที่ว่าเราควรจะเป็นคนตัดสินใจเองว่าเราเหมาะกับอะไร ไม่ใช่ให้ใครมาบอกว่าเราทำไม่ได้ หรือเหมาะกับอะไร ไม่ว่าจะเป็นใครก็ตาม


คิดเพื่อตัวเอง เลือกชีวิตของตัวเอง




และนี้คงเป็นสิ่งแรกที่คุณควรทำและไม่ควรทำก่อนเริ่มธุรกิจ สิ่งที่ควรทำก็คือคิดเพื่อตัวเอง (Think for yourself) ค้นหาให้เจอว่าตัวเองเหมาะจะเป็นเถ้าแก่หรือเปล่าพร้อมจะถอดสูท ใส่เสื้อยืด ขาสั้นไปเร่ขายของหรือเปล่า และถ้าธุรกิจไปไม่ได้อย่างที่ใจคิดคุณยังรักที่จะทำมันอยู่หรือเปล่า อาจจะเป็นเทรนด์ของน้องๆ สมัยนี้ว่าอยากจะเป็นเถ้าแก่เจ้าของกิจการ ซึ่งก็ไม่ผิดแต่คนที่ไม่เหมาะอาจเป็นมือปืนรับจ้าง ผู้บริหาร ผู้จัดการ จนถึงซีอีโอ ซึ่งก็ไม่ผิดเช่นกัน และไม่ได้เท่น้อยกว่ากันเลย
สิ่งแรกที่ไม่ควรทำก่อนเริ่มธุรกิจ ก็คืออย่าให้ใครมาบอกว่าเราควรจะเป็นอะไรหรือไม่ควรจะเป็นอะไร ด้วยความเคารพนะครับ ไม่ว่าจะเป็นคุณพ่อ หรือคุณแม่ ครูของเรา เพื่อนของเรา คนรอบข้าง ไม่ใช่เราไม่เคารพเขา แค่เราควร สิ่งแรกที่ไม่ควรทำก่อนเริ่มธุรกิจ ก็คืออย่าให้ใครมาบอกว่าเราควรจะเป็นอะไรหรือไม่ควรจะเป็นอะไร ด้วยความเคารพนะครับ ไม่ว่าจะเป็นคุณพ่อ หรือคุณแม่ ครูของเรา เพื่อนของเรา คนรอบข้าง ไม่ใช่เราไม่เคารพเขา แค่เราควร “ฟังแต่ยังไม่เชื่อ” ฟังด้วยความเคารพ ความนอบน้อมอย่างจริงใจ แล้วนำมาประกอบการตัดสินใจ และนำมาสะท้อนตัวเรา ทดสอบตัวเราว่าเราชอบอย่างที่เราเชื่อว่าชอบจริงไหม? ผมไม่ได้มาสอนทุกท่านให้ดื้อนะครับ แต่อยากให้ทุกคน “สุภาพแต่เข้มแข็ง” เชื่อมั่นในตัวเองแต่พร้อมรับฟัง คำติชม และอดทนพอที่จะอธิบายให้คนรอบข้างฟังถึงเหตุผลของเราแม้เขาไม่เห็น ฟังด้วยความเคารพ ความนอบน้อมอย่างจริงใจ แล้วนำมาประกอบการตัดสินใจ และนำมาสะท้อนตัวเรา ทดสอบตัวเราว่าเราชอบอย่างที่เราเชื่อว่าชอบจริงไหม? ผมไม่ได้มาสอนทุกท่านให้ดื้อนะครับ แต่อยากให้ทุกคน “สุภาพแต่เข้มแข็ง” เชื่อมั่นในตัวเองแต่พร้อมรับฟัง คำติชม และอดทนพอที่จะอธิบายให้คนรอบข้างฟังถึงเหตุผลของเราแม้เขาไม่เห็น
ผู้ประสบความสำเร็จหลายท่านที่ผมเคยพูดคุยด้วยทั้งไทยและเทศ ระดับโลก ระดับชาติ ระดับจังหวัด ไม่ว่าจะเป็นคอนดักเตอร์ นักแสดง เจ้าของ ร้านอาหาร นักลงทุน คุณหมอที่ประสบความสำเร็จมากๆ มักมีอะไรคล้ายๆ กันตรงที่มักมีคนคอยทำร้ายความฝันด้วยคำว่า “เป็นไปไม่ได้หรอก” “น่าจะยาก” “เด็กเกินไป” “ไม่เหมาะ” แต่คนเหล่านี้มีอีกอย่างที่เหมือนกันอย่างแน่วแน่ คือ การที่เขาตัดสินใจเอง เสี่ยงเอง ยอมเจ็บเอง และสำเร็จเองด้วย มองคำวิพากวิจารณ์ เป็นบททดสอบว่าเขารักในสิ่งที่เขาทำพอไหม? คนเรานี้เชื่อว่า ถ้าเขาไม่รักสิ่งที่เขาทำจริง เขาจะไม่อดทนและโอนอ่อนต่อกระแสสังคม คนเรานี้เชื่อว่า ถ้าเขาไม่รักสิ่งที่เขาทำจริง เชื่อว่าถ้าเขาเจ๊งหรือขายไม่ดี เขาก็จะเปลี่ยนชีวิตให้สมถะลง และจะทำในสิ่งที่เขารักต่อไป เขาเหล่านี้คือ “ศิลปิน”
ส่วนตัวผมเคยเป็นมือปืนรับจ้าง ทั้งไทย ทั้งเทศ ทั้งเอกชน ทั้งราชการ ก่อนมาทำธุรกิจของตนเอง พอจะรู้ข้อดี ข้อเสีย ความแตกต่างของงาน และตอนเริ่มธุรกิจก็โดนคนอื่น “ตัดสินใจ” ให้ว่าเราเหมาะที่จะทำธุรกิจหรือไม่ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นไปในแง่ลบเกือบร้อยเปอร์เซ็นต์ จากผู้ที่รักเราและไม่หวังดีกับเรา
คนบางคนโชคดีรู้เลยว่าตัวเองเกิดมาเหมาะกับอะไร ถ้าบางคน เช่น ตัวผม เป็นต้น เกิดมาไม่แน่ใจก็ต้องลองผิดลองถูกให้รู้ก่อน อีกอย่างถ้ารู้ว่าตัวเองไม่เหมาะ แต่ใจมันร้อนอยากทำ ก็ต้องลองดู แค่ต้องเข้มแข็งกับผลลัพท์เท่านั้น


เข้าข้างตัวเองมากเกินไป หรือกลัวล้มเหลวมากเกินไป




เท่าที่เคยเจอมาคนกำลังจะเป็นเถ้าแก่มีอยู่ 2 ประเภท คือ แบบมั่นใจสุดๆ กับแบบกลัวสุดๆ กลางๆ ไม่ค่อยจะมี เรื่องนี้เป็นเรื่องของจิตวิทยา เวลาเราเข้าข้างตัวเองมากเกินไป ภาวะนี้ฝรั่งเรียก “Selective Bias” หรือ ความเอนเอียงจากการเลือก เลือกดูแต่ข้อมูลที่ถูกใจเราคล้ายๆ กับศัพท์วัยรุ่น “มโน” นะแหละครับ แต่ถูกกว่ามโนไม่ได้นั่งเทียนเขียน ก็หาข้อมูลทุกเรื่องแต่เลือกที่จะอ่าน เลือกที่จะจำแค่สิ่งที่ให้กำลังใจเรา ถูกใจเรา
อีกประเภท คือ กลัวล้มเหลวไปหมดทุกอย่าง เป็นภาวะ “Selective Bias” ไปในทางแง่ลบซะหมด จริงๆ ในใจก็เลือกแล้วว่าอยากทำร้านอาหาร ตั้งโรงงาน แต่ลนไปหมด แค่เวลาพรีเซนต์ไอเดียให้ฟังก็รู้แล้วว่าไม่มั่นใจ จริงๆ แล้วก็โทษกันไม่ได้ เพราะจะหาทางสายกลางในชีวิตแม้แต่โลกธุรกิจ ก็หาสมดุลได้ยากในครั้งแรกๆ แต่คิดการใหญ่ใจต้องนิ่งครับ
สิ่งที่ควรทำก่อนเริ่มธุรกิจ คือ
การหาความสมดุลระหว่างหัวสมองและหัวใจ
“Follow your heart but take your brain with you”
หลายคนคงจะเคยได้ยินประโยคนี้อยู่บ้างแต่อาจจะนึกไม่ออกว่าในการปฏิบัติ คืออะไร

วิสัยทัศน์สู่ความสำเร็จ และมีแผนสองเสมอ



ตอนนี้คนที่อ่านบทความนี้อยู่อาจจะเบื่อๆ อยู่ มาเล่นเกมกันไหมครับ? ขย้ำกระดาษปาใส่ถังขยะในออฟฟิศ ผมทำประจำ กระดาษที่ไม่ต้อง Recycle แล้วต้องขย้ำทิ้ง ผมจะเล่นบาสเล่นในห้องทันที เมื่อไรที่ผมคิดว่าต้องเขวี้ยงลง มันก็มักจะลง เมื่อไรที่ผมเริ่มสงสัยตัวเองมันก็ไม่ลงทันที แรงปรารถนาของจิตมีพลังมาก ถ้าคิดและโฟกัสไปว่าต้องสำเร็จ โอกาสจะสำเร็จก็จะมีมากขึ้น เรียกว่าอยู่ในโซน วิธีนี้เรียกว่า “Visualizing success” นักกอล์ฟ นักบาส ระดับโลกใช้กันประจำ เหมือนเล่นหมากรุก คิดไว้ล่วงหน้าเป็นฉากๆ ว่าถ้าทำอย่างนี้ และจะเกิดอะไรขึ้น แล้วเราจะทำอะไรต่อไป แล้วจะเกิดการตอบโต้อย่งไร ซึ่งพวกนี้ต่างจากพวกเข้าข้างตัวเองตรงที่เขาคิดว่ามีการตอบโต้ ซึ่งไม่หมูแล้วเราจะทำอย่างไรต่อไป มีแผนรองรับต่างจากพวกเข้าข้างตัวเองที่คิดว่าทุกอย่างจะต้องง่ายและสำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดีเสมอ
เมื่อริเริ่มที่จะทำธุรกิจแล้ว เมื่อเข้าสู่แง่ปฏิบัติผมจะใช้ใจคิด ใช้สามัญสำนึก ใช้ความกล้า ตัดสินใจก่อนว่าจะทำแบบไหน ความหวังอะไรได้บ้าง คิดแบบไม่มีเงื่อนไขมาจินตนาการ หลังจากนั้นค่อยมาใช้สมองมา “What if” ถ้านี้เกิดขึ้น ถ้านั้นเกิดขึ้น ถ้าวัตถุดิบไม่มี ถ้าพนักงานไม่พอ เราจะทำอย่างไร จนถึงถ้าสำเร็จ ทำยังไงให้ติดลมบน ถ้าไม่สำเร็จ แผนสองหรือวิธีลงจากหลังเสือคืออะไร แยกความคิดออกเป็น 2 ก่อน เพียงแค่นี้ ถ้าเราเตรียมตัวพร้อมพอ รู้จักตัวเองดีพอ มีทางหนีทีไล่ หรือทำใจพร้อมจะลุยไปเรื่อย ถึงแม้จะไม่สำเร็จในเร็ววัน พร้อมอดทน ทำงานหนัก ไม่ยอมแพ้ อย่าบ่น สนุกเข้าไว้ วันนั้นเราก็จะนิ่งพอและทำงานได้อย่างมีความสุข ผมขอฝากข้อคิดสั้นๆ ในบทความนี้ หวังว่าจะเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยส่งเสริมแรงผลักดันในตัวคุณนะครับ
ขอบคุณข้อมูลจาก: -
ลงทะเบียนรับข่าวสาร
บริการส่งข้อมูลความรู้ ให้ลูกค้าธุรกิจผ่านอีเมล์
บริการจัดส่งบทวิเคราะห์และข้อมูลข่าวสารทางธุรกิจผ่านทาง E-mail
  • บทวิเคราะห์เศรษฐกิจรายสัปดาห์จากศูนย์วิจัยกรุงศรี
  • ผลการสำรวจดัชนีภาวะธุรกิจ SME รายไตรมาส โดยกรุงศรี
  • ข่าวสาร และกิจกรรมของธนาคาร
  • บริการทางการเงิน และโปรโมชั่นใหม่ๆ ของธนาคาร
Follow us on
ลงทะเบียนรับข่าวสาร
บริการส่งข้อมูลความรู้ ให้ลูกค้าธุรกิจผ่านอีเมล์
บริการจัดส่งบทวิเคราะห์และข้อมูลข่าวสารทางธุรกิจผ่านทาง E-mail
  • บทวิเคราะห์เศรษฐกิจรายสัปดาห์จากศูนย์วิจัยกรุงศรี
  • ผลการสำรวจดัชนีภาวะธุรกิจ SME รายไตรมาส โดยกรุงศรี
  • ข่าวสาร และกิจกรรมของธนาคาร
  • บริการทางการเงิน และโปรโมชั่นใหม่ๆ ของธนาคาร
Powered by
© 2564 ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน)
Follow