เทคนิคชีวิตใหม่...คนสายเทค

เทคนิคชีวิตใหม่...คนสายเทค

By แซม ตันสกุล

จากสถานการณ์โควิดที่ระบาดไปทั่วโลก และถึงแม้ประเทศไทยจะอยู่ในช่วงเวลาที่ความเสี่ยงค่อนข้างน้อย แต่เราจะสังเกตได้ว่าการทำงานของทุก ๆ คนได้เปลี่ยนไปอย่างมาก ๆ เช่นกัน

ผมเองมีโอกาสได้คุมทีมเทคโนโลยี ของกรุงศรี คอนซูเมอร์ และเป็นกรรมการ หรือ นักลงทุนในหลาย startup ซึ่งได้เห็นการปรับตัวของเหล่าบรรดาพนักงานที่อยู่ในสายเทคโนโลยี ได้เห็นทั้งคนที่ทำได้ดี และคนที่มีปัญหาในการเปลี่ยนแปลง เอาเป็นว่าหลังจากนี้ ผมมีเคล็ดลับให้กับทุกคน ถ้าหากอยากจะประสบความสำเร็จในการทำงาน
ซึ่งมีดังต่อไปนี้ให้จำกันง่าย ๆ คือเทคนิคที่มีชื่อว่า LOFS
L : Learningปกติผมก็เชื่อว่าทุก ๆ คนก็เรียนรู้อยู่แล้ว แต่ต่อไปนี้แม้โควิดจะจบลง ทุกคนต้องพยายามเรียนมากขึ้น และเรียนให้มีความหมายมากขึ้นในแบบที่เราเรียกว่า Upskill ใครก็ตามที่แม้จะมี skill การเขียนโค้ดที่เก่งอยู่แล้ว อาจจะต้องเรียนเรื่อง Product Management เพิ่มขึ้น หรือคนที่ทำด้านบริหารโปรเจค (PO) ก็ควรจะเรียนด้าน User Experience หรือ UX เพิ่ม เหตุผลที่เราควรต้องเรียนเพิ่ม เนื่องจากต่อไปนี้ ไม่ว่าจะบริษัทใหญ่ หรือเล็ก จะต้องการพนักงานที่มี Multi Skill มากขึ้น ซึ่งในอนาคตใน Squad ของการทำเทคโนโลยี อาจจะไม่ต้องใช้คนเยอะและหากลดไปได้ครึ่งหนึ่ง บริษัทก็สามารถจะอยู่รอดแม้เจอวิกฤตไหนก็ตาม
O : Open Attitudeนี่คือหัวใจของการเป็นคนสายเทค หากใครมีทัศนคติต่อการทำงานที่ดี ก็จะทำให้เพื่อนร่วมงาน,หัวหน้างาน หรือ เพื่อน ๆ ในแผนกต่าง ๆ อยากคุยและทำงานด้วยอย่างมาก ผมขอยกตัวอย่างจากประสบการณ์ในการทำงานของการมีลูกน้องที่มีทัศนคติในเชิงลบ โดยที่ตัวเองอาจจะไม่เคยรู้มาก่อนเลยว่าตัวเองเป็น แต่จากการที่หลาย ๆ คนมา feedback ก็ทำให้ทราบว่าทีมได้เกิด Toxic (ยาพิษ) ขึ้นมาแล้ว เนื่องจากพนักงานท่านนี้อาจจะอยู่ในความสำเร็จเก่า ๆ ทำให้เกิดความมั่นใจ จนนำไปสอนลูกทีมต่อในทางที่ผิด เมื่อเป็นแบบนี้มานาน บางครั้งก็ยากเกินกว่าจะเปลี่ยน ซึ่งผมอยากจะเตือนคนสายเทค ว่าเราทำงานกับคนหมู่มาก และถึงแม้ เราจะมีนิสัยพูดไม่เก่ง (แต่พิมพ์เก่ง) ก็ขอให้ใช้การสื่อสารที่ตัวเองถนัดและจริงใจต่อเพื่อน ๆ เปิดรับฟังความคิดเห็น และตอบรับด้วยคำว่า "YES ผมทำได้" แล้วหากทำไม่ได้จริง ๆ ก็ควรหาวิธีหรือ Solution ให้กับคนที่มาปรึกษาเรา
F : Flexible ความยืดหยุ่นในการทำงานเป็นอะไรที่พูดถึงมากในช่วงโควิด เริ่มต้นจากการทำงานที่บ้าน (Work from Home) ที่สถานการณ์บังคับให้เราต้องอยู่บ้าน และในหลายบริษัทก็เห็นได้ว่าผลลัพธ์ หรือ Productivity ว่าทำได้ดีเหมือนกับทำในที่ทำงาน แต่หลายองค์กร ขอยกตัวอย่าง Finnomena ที่เป็น fintech startup ชื่อดัง ( กรุงศรี ฟินโนเวต ลงทุนในบริษัทนี้) ก็บอกว่าน้อง ๆ อยากกลับมาทำงานที่ออฟฟิส เพราะอยากเจอเพื่อน ๆ แต่สุดท้ายโมเดลที่เป็น Hybrid คือทำงานที่ออฟฟิศสัก 3-4 วันต่อสัปดาห์ และ Work from Anywhere สัก 1-2 วันก็กำลังจะเริ่มในหลาย ๆ ที่ เพื่อตอบโจทย์ทีมงานสายเทคที่ไม่อยากเดินทาง ดังนั้นไม่ว่าบริษัทเราจะมีนโยบายอย่างไร พนักงานสายเทคต้องปรับตัว และไม่ใช่เฉพาะเรื่องสถานที่ในการทำงาน แต่รวมไปถึงเนื้องานที่ต้องเข้าใจสภาวะหลังโควิดที่จะไม่เหมือนเดิม ธุรกิจจะต้องเปลี่ยนไป ต้องปรับตัวให้เร็วขึ้น งานอาจจะหนักขึ้น ผมขอแนะนำให้ทุกคนปรับตัวให้ได้ แล้วเราจะเป็น Hero ขององค์กรในที่สุด
S : Sustainable ต่อไปนี้การดำเนินธุรกิจจะไม่หวือหวาเหมือนสมัยก่อนอีกต่อไป การทำการค้าต้องมองถึงความยั่งยืน ไม่ฉาบฉวย และต้องมีการตอบแทนหรือช่วยเหลือสังคมมากขึ้น ธุรกิจของคนสายเทคเองก็ตามต้องเน้นปัจจัยนี้ให้มาก เพื่อที่จะอยู่รอดไม่ว่าจะเจอเหตุการณ์ไหนก็ตามในอนาคต ดังนั้นพนักงานอย่างพวกเราควรเข้าใจบริบทขององค์กร และมีส่วนร่วมที่จะเสนอความคิดเห็นในการหาทางออก ไม่ใช่เอะอะอะไรก็จะขอเพิ่มคน ขึ้นเงินเดือน หรือขอโบนัสเยอะ ๆ อีกต่อไป แต่ถ้าเราช่วยกันให้องค์กรผ่านวิกฤตได้ เราก็จะพิสูจน์ที่จะเป็นกำลังสำคัญต่อไป
ผมอยากจะฝากทีมงานสายเทคทุกๆ คนให้จำเรื่อง LOFS ให้ได้ ออกไปทำงานแล้วยึดเทคนิคไว้ ผมรับรองพวกคุณจะประสบความสำเร็จใจอนาคต และหากคุณคิดค่าคุณมี LOFS แล้วและหาโอกาสมาทำผลิตเทคโนโลยีทางการเงิน ท่านสามารถมาร่วมงานกับ ธ.กรุงศรี และกับผมได้เลย ผมและธนาคารรอพวกคุณอยู่
ขอบคุณข้อมูลจาก: -
ลงทะเบียนรับข่าวสาร
บริการส่งข้อมูลความรู้ ให้ลูกค้าธุรกิจผ่านอีเมล์
บริการจัดส่งบทวิเคราะห์และข้อมูลข่าวสารทางธุรกิจผ่านทาง E-mail
  • บทวิเคราะห์เศรษฐกิจรายสัปดาห์จากศูนย์วิจัยกรุงศรี
  • ผลการสำรวจดัชนีภาวะธุรกิจ SME รายไตรมาส โดยกรุงศรี
  • ข่าวสาร และกิจกรรมของธนาคาร
  • บริการทางการเงิน และโปรโมชั่นใหม่ๆ ของธนาคาร
Follow us on
ลงทะเบียนรับข่าวสาร
บริการส่งข้อมูลความรู้ ให้ลูกค้าธุรกิจผ่านอีเมล์
บริการจัดส่งบทวิเคราะห์และข้อมูลข่าวสารทางธุรกิจผ่านทาง E-mail
  • บทวิเคราะห์เศรษฐกิจรายสัปดาห์จากศูนย์วิจัยกรุงศรี
  • ผลการสำรวจดัชนีภาวะธุรกิจ SME รายไตรมาส โดยกรุงศรี
  • ข่าวสาร และกิจกรรมของธนาคาร
  • บริการทางการเงิน และโปรโมชั่นใหม่ๆ ของธนาคาร
Powered by
© 2564 ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน)
Follow