4 สิงหาคม 2565
กรุงเทพฯ (4 สิงหาคม 2565) –
กรุงศรี (ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) และบริษัทในเครือ) และ
แบล็คร็อค หนึ่งในบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนชั้นนำในโลก แนะสร้างโอกาสการลงทุนผ่านหุ้นนอกตลาดหรือ Private Equity เน้นเข้าบริหารจัดการในบริษัทมีศักยภาพเติบโตทั่วโลกในหลากหลายอุตสาหกรรม ลดความเสี่ยงจากความผันผวนของตลาดหุ้น ผ่าน
กองทุนเปิดกรุงศรีไพรเวทแคปปิตอลระยะยาว-ห้ามขายผู้ลงทุนรายย่อย (KFLTPC-UI) เปิดเสนอขายครั้งแรกระหว่างวันที่ 25 ก.ค. – 8 ส.ค. 65
นายวิน พรหมแพทย์, CFA ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ผู้บริหารสายงานลูกค้าไฮเน็ตเวิร์ธ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า “ท่ามกลางความผันผวนทางเศรษฐกิจจากผลกระทบของนโยบายการปรับดอกเบี้ยสกัดเงินเฟ้อซึ่งมีผลต่อตลาดหุ้น กรุงศรีมองว่าการลงทุนในสินทรัพย์ทางเลือกอย่าง Private Equity เป็นโอกาสที่น่าสนใจสำหรับนักลงทุน ซึ่งจะช่วยเสริมการลงทุนให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยหากเราดูตัวเลขสถิติย้อนหลังที่ทางกรุงศรีและแบล็คร็อคเห็นสอดคล้องกันคือโดยส่วนมากสินทรัพย์ทางเลือกจะให้ผลตอบแทนที่ผันผวนน้อยกว่าสินทรัพย์ประเภทอื่นๆ โดยเฉพาะหุ้น และมีค่าความสัมพันธ์ (Correlation) ต่ำเมื่อเทียบกับสินทรัพย์แบบเดิม นั่นหมายความว่าหากนักลงทุนสามารถเติมสินทรัพย์ทางเลือกเข้ามาในพอร์ตการลงทุนจะมีโอกาสลดความเสี่ยงและสร้างผลตอบแทนได้เพิ่มขึ้น ดังนั้นธนาคารกรุงศรีอยุธยา และ บลจ. กรุงศรี จึงได้เลือกนำเสนอกองทุนที่จะช่วยให้นักลงทุนเข้าถึงการลงทุนใน Private Equity คุณภาพสูง ภายใต้ชื่อ
กรุงศรีไพรเวทแคปปิตอลระยะยาว-ห้ามขายผู้ลงทุนรายย่อย (KFLTPC-UI) เป็นทางเลือกสำหรับนักลงทุน ที่สำคัญกองทุนนี้จะลงทุนผ่าน BlackRock Long Term Private Capital, SCSp ซึ่งเป็นกองทุนหลักของแบล็คร็อค พันธมิตรระดับโลกของกรุงศรี ที่มีความเชี่ยวชาญและประสบการณ์การลงทุนใน Private Equity มาอย่างยาวนานมาบริหารกองทุน ทั้งนี้ กองทุนหลัก ซึ่งก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2562 สามารถทำผลตอบแทนสะสมได้สูงถึง 1.52 เท่าของเงินลงทุน และในปีนี้ ท่ามกลางตลาดหุ้นที่ผันผวน กองทุนหลักทำผลตอบแทนในไตรมาสแรก ได้ -0.53% นับว่าทำได้ดีกว่าผลตอบแทนของหุ้นที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์”
นางสุภาพร ลีนะบรรจง กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน กรุงศรี จำกัด (บลจ. กรุงศรี) เปิดเผยว่า “กองทุนเปิดกรุงศรีไพรเวทแคปปิตอลระยะยาว-ห้ามขายผู้ลงทุนรายย่อย (KFLTPC-UI) ลงทุนผ่านกองทุนหลัก BlackRock Long Term Private Capital, SCSp ซึ่งมีเป้าหมายในการสร้างการเติบโตของเงินลงทุนจากการคัดเลือกบริษัทที่มีคุณภาพสูง ที่คาดว่าจะให้ผลตอบแทนต่อผู้ถือหุ้นอย่างสม่ำเสมอ”
“กองทุนหลักจะใช้กลยุทธ์การลงทุนโดยตรงและการเข้าไปมีอำนาจควบคุมหรือร่วมควบคุมในโครงสร้างการถือหุ้นของบริษัทในฐานะ ‘Active owner’ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถและสร้างมูลค่าของธุรกิจให้ดียิ่งขึ้นด้วยทีมงานที่แข็งแกร่งของแบล็คร็อคที่เชี่ยวชาญในการค้นหาบริษัท การวิเคราะห์ข้อมูลในเชิงลึก และการระดมแนวคิดในการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับบริษัท รวมทั้งมีพันธมิตรในหลากหลายอุตสาหกรรมที่จะช่วยให้คำปรึกษากับทีมผู้บริหารของบริษัทที่ลงทุน พอร์ตเป้าหมายของกองทุนคือการลงทุนใน 10-15 บริษัทที่มีศักยภาพในกลุ่มอุตสาหกรรม Consumer, Financial Services, Technology, Media and Telecom, Healthcare, Industrials และ Business Services โดยจะเน้นที่อเมริกาและยุโรปเป็นหลัก”
กองทุนเปิดกรุงศรีไพรเวทแคปปิตอลระยะยาว-ห้ามขายผู้ลงทุนรายย่อย หรือ KFLTPC-UI ถือเป็นทางเลือกที่เปิดโอกาสให้นักลงทุนรายใหญ่พิเศษที่มีคุณสมบัติตามเกณฑ์ของ กลต.ได้ร่วมลงทุนใน Private Equity ไปพร้อมกับนักลงทุนสถาบันเริ่มเสนอขายครั้งแรกระหว่างวันที่ 25 ก.ค. – 8 ส.ค. 65 นี้ ด้วยเงินลงทุนครั้งแรกขั้นต่ำ 1 ล้านบาท
สอบถามรายละเอียดข้อมูลกองทุนเพิ่มเติมพร้อมขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่ บลจ. กรุงศรี จำกัด โทร. 02-657-5757 เว็บไซต์
www.krungsriasset.com หรือ ธนาคารกรุงศรีอยุธยาทุกสาขา
- ควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทนและความเสี่ยง ก่อนตัดสินใจลงทุน
- ผลการดำเนินงานในอดีตของกองทุนรวมมิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต
- กองทุนนี้เป็นกองทุนรวมที่มีความเสี่ยงสูงหรือซับซ้อน ผู้ลงทุนควรขอคำแนะนำเพิ่มเติมก่อนทำการลงทุน
- กองทุนนี้ไม่ถูกจำกัดความเสี่ยงด้านการลงทุนเช่นเดียวกับกองทุนรวมทั่วไป จึงเหมาะกับผู้ลงทุนที่รับผลขาดทุนระดับสูงได้เท่านั้น
- ห้ามขายผู้ลงทุนรายย่อยกองทุนรวมสำหรับผู้ลงทุนสถาบันและผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษเท่านั้น กองทุนรวมที่มีความเสี่ยงสูงหรือมีความซับซ้อน
นโยบายการลงทุนของกองทุน KFLTPC-UI
- ลงทุนในกองทุนรวมต่างประเทศ BlackRock Long Term Private Capital, SCSp (กองทุนหลัก) โดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชี ≥ 80% ของ NAV
- ระดับความเสี่ยง 8+ เสี่ยงสูงอย่างมีนัยสำคัญ | กองทุนป้องกันความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนตามดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุน จึงมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน ซึ่งอาจทำให้ผู้ลงทุนขาดทุนหรือได้รับกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน/หรือได้รับเงินคืนต่ำกว่าเงินลงทุนเริ่มแรกได้ (โดยปกติกองทุนจะป้องกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยนเฉลี่ย 80% ของมูลค่าเงินลงทุนในต่างประเทศ)