อยากมี Credit Score ดีต้องทำยังไง?
รอบรู้เรื่องยืมเงิน
icon-Facebook icon-Twitter icon-line

อยากมี Credit Score ดีต้องทำยังไง?

icon-access-time Posted On 13 พฤษภาคม 2566
by Krungsri The COACH
ใครที่กำลังคิดจะขอกู้สินเชื่อส่วนบุคคล สินเชื่อบ้าน หรือสินเชื่ออื่น ๆ อาจจะต้องการเช็กเครดิตบูโรของตัวเองว่าเครดิตเราดีพอรึยังในการที่จะไปขอกู้สินเชื่อต่าง ๆ เราดูมีความน่าเชื่อถือมากพอที่สถาบันการเงินจะปล่อยกู้ให้ไหม วันนี้เรามาทำความรู้จัก Credit Score กันว่าสิ่งนี้คืออะไรมีผลต่อการขอสินเชื่อมากน้อยแค่ไหน
Credit score

Credit Score คืออะไร?

Credit Score หรือคะแนนเครดิต เป็นหนึ่งในสิ่งที่สถาบันการเงินมักใช้ประเมินความสามารถในการชำระหนี้ของผู้ขอสินเชื่อ ว่าจะให้ผ่านหรือไม่ผ่านดี เพราะถ้าเรา Credit Score ต่ำ โอกาสที่จะขอสินเชื่อและผ่านก็จะต่ำตามไปด้วย เปรียบให้เข้าใจง่าย ๆ ก็เหมือนเราส่งงานไม่ตรงเวลา ตัวอย่างเช่น นาย ก. ส่งงานช้ากว่ากำหนด 4 เดือน กับ นาย ข. ส่งงานตรงเวลาทุกครั้งไม่เคยขาด แน่นอนว่าคะแนน Credit Score ของนาย ข. ย่อมดีกว่าและถ้าอยากขอกู้สถาบันการเงินก็จะมองว่า นาย ข. มีความน่าเชื่อถือ และอยากจะปล่อยกู้ให้นั่นเอง เพราะฉะนั้นเราควรจะรักษา Credit Score ให้ดีเลยล่ะ

ใครคือคนให้ Credit Score เรานะ?

ในความจริงแล้ว NCB: National credit Bureau เป็นผู้ที่ถือข้อมูลเครดิตของลูกค้าไว้ทั้งหมด โดยที่ NCB จะมีการทำ credit scoring ไว้ส่วนหนึ่ง แต่ธนาคารผู้ให้สินเชื่อจะไม่ได้เอา Credit Score ที่ NCB ทำไว้มาใช้แต่จะเอาข้อมูลที่ใช้ทำ credit score มาผสมใหม่ ให้เป็นของธนาคารนั้น ๆ เอง


ตัวอย่างเช่นของการคิด Credit Score ของธนาคารกรุงศรีอยุธยา

(สัดส่วนของ Credit Score คือ 80% ของ NCB และ 20% คือข้อมูลเครดิตทางการเงินของเรา)

ดังนั้นลูกค้าบางรายอาจจะไปเช็ก NCB score แล้วดีใจว่า Credit Score เราดูดีจังเลย แต่เมื่อถึงเวลาที่ต้องมายื่นสินเชื่อกับธนาคารอาจไม่เป็นอย่างที่คาดหวังไว้ เพราะ Credit Score ของธนาคารมักเข้มงวดกว่า

ดังนั้น Credit Score จะแตกต่างกันออกไปตามแต่นโยบายของธนาคารนั้น ๆ แต่แหล่งที่มานั้นก็คือมาจาก NCB: National credit Bureau แหล่งเดียวกันนั้นเอง

Credit score ดีไม่ดีธนาคารเขาดูอะไรบ้างนะ?

80% ที่ธนาคารจะดูเลยก็คือ
  • ยอดหนี้คงเหลือ/ยอดวงเงินที่ใช้ เทียบกับวงเงินสินเชื่อ
  • ยอดหนี้คงเหลือ/ยอดวงเงินที่ใช้ รวมแต่ละประเภทสินเชื่อ
  • จำนวนบัญชีสินเชื่อที่เพิ่งเปิด
  • จำนวนเงินคงค้างล่าสุด
  • ความยาวของประวัติสินเชื่อ
  • จำนวนบัญชีที่มีประวัติชำระหนี้ที่ดี
  • ความยาวของบัญชีสินเชื่อที่มี
  • ความถี่ในการสมัครสินเชื่อใหม่

แต่ถ้าใครสนในอยากขอสินเชื่อแบบผ่านง่าย และขอสะดวกขอแนะนำสินเชื่อ Krungsri iFIN ยื่นกู้ง่ายจบในแอปเดียว
 
How important of credit score

Credit Score สำคัญยังไง?

อย่างที่ได้กล่าวไปข้างต้นว่า Credit Score เนี่ยใช้เป็นตัวชี้วัดตัวเราเองว่ามีความน่าเชื่อถือขนาดไหนในการที่สถาบันการเงินจะปล่อยกู้สินเชื่อให้ เรามาดูตัวอย่างเด็กจบใหม่ที่ใช้เงินสดมาตลอดทั้งชีวิต และคิดว่าเราไม่ได้ติดหนี้ และก็คงมี Credit Score ที่ดีแน่ ๆ แต่เดี๋ยวก่อนอย่าเพิ่งชะล่าใจไปเพราะไม่มีหนี้เลยใช้เงินสดตลอดก็ใช่ว่าจะกู้สินเชื่อผ่านนะ เพราะสถาบันการเงินจะรู้ไม่ได้เลยว่าต่อเดือนเราต้องจ่ายชำระอะไรบ้าง แต่ทางกลับกันการมีบัตรเครดิต และเราสร้างเครดิตให้กับตัวเองดี ๆ ด้วยการจ่ายครบ จ่ายเต็มทุกเดือนก็จะทำให้เรามีเครดิตที่ดี ถ้าในอนาคตข้างหน้าอยากจะขอกู้ซื้อบ้าน หรือสิ่งของที่เป็นชิ้นใหญ่ ๆ สถาบันการเงินก็จะพิจารณาให้เราผ่านได้ง่ายนั่นเอง

เมื่อเรารู้ถึงความสำคัญของ Credit Score ไปแล้วต่อไปก็ไปกันเลยว่าเราจะสร้าง Credit Score ให้ดีได้ยังไงมีวิธีการยังไงบ้างตามไปดูกันเลย…
 
Ways to create good credit score

4 วิธีสร้าง Credit Score ให้ดี

1. เคลียร์หนี้เก่า ไม่สร้างหนี้ใหม่

ยอดหนี้ค้างชำระของหนี้เก่าเรานี่จะเป็นตัวบอกได้เลยว่าเรามีความสามารถที่จะชำระหนี้ได้ไหมในอนาคต ถ้าเอามาเทียบกับรายได้ที่เข้ามาในแต่ละเดือนของเรา และถ้าเรายังไม่หยุดสร้างหนี้ใหม่ และมียอดที่ค้างชำระสูงนั้น ก็จะแสดงให้เห็นว่าเราอาจจะมีสภาพคล่องไม่ค่อยดีนัก ซึ่งนี่ก็อาจทำให้สถาบันการเงินไม่ปล่อยสินเชื่อให้กับเรา และเราก็จะพลาดโอกาสในการที่จะได้สินเชื่อ เพราะฉะนั้นอย่าลืมเคลียร์หนี้เก่าให้เรียบร้อย และอย่าพยายามสร้างหนี้ก้อนใหม่
 

2. ชำระให้หนี้ตรงเวลา

อย่าลืมวันครบกำหนดชำระหนี้กันนะทุกคนเพราะเป็นสิ่งที่สำคัญมากเลย ในทุก ๆ รอบบิลจะมีระยะเวลาในการชำระหนี้อยู่ เราก็ควรที่จะชำระภายในกรอบเวลาที่เขากำหนดมาไว้ให้ แต่ถ้าเราชำระหนี้ไม่ตรงตามกรอบเวลาหนี้ ชำระล่าช้าไปกว่ากำหนดก็จะต้องเสียดอกเบี้ย และตรงนี้ล่ะที่สถาบันการเงินจะเอามาใช้เป็นเกณฑ์ตัดสินว่าเรามี Credit Score ดีมากน้อยแค่ไหนจากพฤติกรรมการชำระหนี้ของเราเอง

และถ้าเราไม่ยอมชำระหนี้ แถมยังรูดบัตรเพิ่มหนี้ใหม่เข้าไปอีก แน่นอนเลยว่าเครดิตเราก็จะยิ่งน้อยลงเรื่อย ๆ เพราะรายจ่ายมากกว่ารายได้นั่นเอง ฉะนั้นขึ้นอยู่กับพฤติกรรมของเราล้วน ๆ เลย ที่จะต้องสร้างวินัยการชำระหนี้ให้ได้ตรงกรอบเวลาที่สถาบันการเงินกำหนด
 
Pay the  bills
 

3. จ่ายให้เกินขั้นต่ำเข้าไว้

การชำระหนี้ให้ตรงตามกรอบเวลาถือเป็นเรื่องที่สำคัญฉันใด เช่นเดียวกัน การจ่ายให้เกินขั้นต่ำที่สถาบันการเงินกำหนดไว้ก็สำคัญฉันนั้น การจ่ายน้อยกว่าขั้นต่ำจะมีดอกเบี้ยที่เราต้องจ่ายเพิ่ม และมันบ่งชี้ให้เห็นเลยว่าเรายอมที่จะเสียดอกเบี้ยแพงเพราะสภาพคล่องเราไม่ดี เพราะถ้ามองในความเป็นจริงแล้วก็คงไม่มีใครอยากเสียดอกเบี้ยที่แพงขนาดนี้หรอกถูกไหม แต่ที่เรายอมจ่ายดอกเบี้ยเพราะเรามีปัญหาด้านการเงิน ซึ่งสถาบันการเงินมีโอกาสมองเห็นจุดนี้ของเราแน่นอน และถ้าจะขอสินเชื่อที่ใหญ่ ๆ เช่น สินเชื่อที่อยู่อาศัยก็มีโอกาสกู้ไม่ผ่านได้ ถ้าเรายังไม่ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการชำระน้อยกว่ายอดขั้นต่ำที่สถาบันการเงินกำหนด


4. อย่าขอสินเชื่อบ่อยเกินไป

จะทำการใหญ่ใจต้องนิ่ง เข้าใจเลยว่าของมันต้องมีของมันต้องใช้ แต่ถ้าเรามีแผนจะขอสินเชื่อบ้านในอนาคตเราต้องวางแผนให้ดีที่สุด เพราะถ้าเราขอสินเชื่อบ่อย ๆ ติดต่อกันภายในระยะเวลาสั้น ๆ และหลายที่ สถาบันการเงินอาจจะมองว่าเราร้อนเงินรึเปล่านะ และถ้าปล่อยสินเชื่อไปให้แล้วจะชำระไหวไหม ดังนั้นเมื่อสถาบันการเงินเกิดความสงสัยในใจ และหวั่นว่าถ้าปล่อยสินเชื่อให้แล้วหนี้ก้อนนั้นจะกลายเป็นหนี้เสียในอนาคต เราก็อาจจะอดได้บ้านในฝันเราไปได้เลยนะ และสำหรับใครที่กำลังมองหาสินเชื่อบ้านดี ๆ ขอแนะนำ สินเชื่อบ้านกรุงศรีเพื่อที่อยู่อาศัย ดอกเบี้ยบ้านต่ำ ก็ซื้อได้ทั้งมือหนึ่ง และมือสอง ได้วงเงินกู้สูงสุด 90% ของราคาประเมิน สบาย ๆ กับการผ่อนชำระนานได้นานสูงสุดถึง 30 ปี เข้าไปดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้เลย


สรุป

ถ้าใครกำลังวางแผนจะขอสินเชื่ออยู่ก็อย่าลืมเช็ก Credit Score ของตัวเองและหมั่นสร้าง Credit Score ให้ดีด้วยล่ะ เพราะถ้า Credit Score เราอยู่ในเกณฑ์ที่ดีไม่ว่าจะขอสินเชื่ออะไรก็ตามรับรองว่าผ่านฉลุยแน่นอน แต่ก็นั่นแหละทุกคน การมี Credit Score ก็แสดงให้เห็นถึงวินัย และพฤติกรรมการชำระหนี้ที่ดีของเราที่มีความเชื่อถือได้ ลองเอาวิธีทั้ง 4 การสร้าง Credit Score ให้ดีไปลองปรับใช้กันดูนะ
ผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง
บทความที่เกี่ยวข้อง
พิมพ์สิ่งที่ต้องการค้นหา