ทุกคนคงเคยได้ยินประโยคที่ว่า “ความไม่แน่นอนคือความแน่นอน” ซึ่งสามารถเอาไปใช้ได้กับทุกเรื่องในชีวิตของเรา รวมถึงเรื่องเงิน ๆ ทอง ๆ ของเราด้วย หากเปรียบกับชีวิตของมนุษย์เรา บางคนอาจเคยเจอกับบางช่วงเวลาของชีวิตที่เรารู้สึกว่าชีวิตของเรากำลังอยู่ในช่วงขาขึ้น และรุ่งเรืองสุด ๆ ทำอะไรก็ประสบความสำเร็จ แต่พอเวลาผ่านไปเพียงแค่ 3 วัน ก็กลับต้องพบเจอกับวันที่ผิดหวัง ทำอะไรก็ล้มเหลวไปหมด เช่นเดียวกันกับเศรษฐกิจเองก็ย่อมมีวงจรที่มีทั้งขึ้นและลงเช่นกัน
ในอดีตที่ผ่านมา วงจรของเศรษฐกิจหนึ่งรอบ นับตั้งแต่ช่วงเริ่มต้นขยายตัว รุ่งเรือง ถดถอย ไปจนถึงช่วงวิกฤตนั้น ใช้ระยะเวลาประมาณ 8-10 ปี แต่ก็ไม่มีใครที่สามารถคาดการณ์ได้อย่างถูกต้องและแม่นยำซะทีเดียวว่าวิกฤตนั้นจะเกิดขึ้นเมื่อไร แม้แต่สิ่งที่กำลังเกิดขึ้น อย่างการระบาดของไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ (Covid-19) ซึ่งส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไปทั่วโลก ก็ไม่มีใครสามารถคาดการณ์ได้ล่วงหน้าว่ามันจะเกิดขึ้น ซ้ำร้ายยังไม่รู้ด้วยซ้ำว่าจะกินเวลาไปอีกนานแค่ไหน แล้วเราต้องเตรียมตัวรับมือและ
วางแผนการเงินอย่างไรเพื่อที่จะสามารถผ่านวิกฤตในแต่ละครั้งไปให้ได้ เรามาดูไปพร้อม ๆ กัน
1. เตรียมเงินสำรองฉุกเฉิน 3-6 เดือน
แน่นอนว่าในช่วง
วิกฤตเศรษฐกิจแบบนี้ อาจจะมีหลายเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น แล้วทำให้ชีวิตของเรานั้นต้องสะดุด ขาดรายได้ และเกิดอุปสรรคในการดำเนินชีวิต ซึ่งรายจ่ายของเราทั้งหมดนั้น จะกลายเป็นภาระที่เราต้องแบกรับมัน เพราะฉะนั้น หากเรามี
เงินออมสำรองฉุกเฉินเตรียมไว้ ก็ช่วยให้เราพอที่จะพยุงตัวเองให้ผ่านเรื่องราวต่าง ๆ มาได้ โดยที่ไม่ลำบากจนเกินไป ในทางตรงกันข้าม หากเราไม่มีเงินสำรองไว้เลย ก็อาจจะทำให้เกิดภาระ
หนี้สินที่เกิดจากการหยิบยืมมาใช้จ่ายในชีวิตประจำวันตามมาอย่างแน่นอน ดังนั้นเราจึงควรมีเงินเก็บไว้อย่างน้อย 3 - 6 เท่าของค่าใช้จ่ายต่อเดือน
2. ลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงต่ำ
อย่างที่เราเคยได้ยินกันว่า “การลงทุนมีความเสี่ยง แต่ไม่ลงทุน มีความเสี่ยงยิ่งกว่า” ดังนั้นการฝากเงินไว้กับ
บัญชีออมทรัพย์เฉย ๆ นั้นให้ดอกเบี้ยที่ต่ำมาก ในช่วงวิกฤตแบบนี้จะลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงอย่างหุ้น ก็เป็นเรื่องที่ยากพอตัว เพราะฉะนั้นการมองหาการลงทุนในสินทรัพย์ที่เสี่ยงต่ำจึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการลงทุน เช่น
พันธบัตรรัฐบาล กองทุนตราสารหนี้ ที่มีโอกาสให้ผลตอบแทนสม่ำเสมอแม้ในช่วงวิกฤติ แต่
เงินฝาก หรือ กองทุนตราสารหนี้ แบบไหนจะดีกว่ากันนั้นก็ต้องขึ้นอยู่กับความเสี่ยงที่เรารับได้ด้วย ลองเข้าประเมินความเสี่ยงได้
ที่นี่
3. หารายได้ให้มากกว่า 1 ช่องทาง
เมื่อเกิดภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ อาชีพหลักที่เราทำอยู่นั้นย่อมได้รับผลกระทบตามไปด้วย ซึ่งอาจรุนแรงถึงขั้นที่มีการให้พนักงานออกจากงาน เพราะฉะนั้นการเตรียมตัวโดยการหาแหล่งรายได้อื่น ๆ ให้มากกว่า 1 ช่องทางไว้รองรับ ก็จะช่วยสร้างความอุ่นใจให้กับเราได้มากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการ
ขายของออนไลน์ รับจ้าง
ฟรีแลนซ์ หรืออาชีพอะไรก็ได้ตามที่เราถนัด อย่างน้อยก็ยังพอให้มีรายได้เข้ามาบ้าง ไม่ใช่มีแต่รายจ่ายที่ออกไปอย่างเดียว
4. ปรับพอร์ตการลงทุนและติดตามอย่างใกล้ชิด
ถึงแม้
ตลาดหุ้นที่เราลงทุนไว้จะตกฮวบ แต่หากเรามีการลงทุนไปในหลายอุตสาหกรรม และหลากหลายสินทรัพย์ ก็ถือว่าเราได้กระจายความเสี่ยงในการลงทุน แต่แน่นอนเมื่อเกิดวิกฤตขึ้น ต่อให้เราจะกระจายการลงทุนได้ดีแค่ไหน พอร์ตของเราย่อมได้รับผลกระทบเช่นกัน แต่อย่าเพิ่งตกใจ จนรีบเทขายเด็ดขาด เพราะเมื่อผ่านพ้นช่วงวิกฤตไปแล้ว เศรษฐกิจโลกกลับเข้าสู่ภาวะปกติ ในระยะยาวพอร์ตการลงทุนของเราก็จะฟื้นกลับขึ้นมาได้อีกครั้ง ดังนั้นหากเราเข้าใจหลักการในการลงทุนแล้ว ก็ไม่จำเป็นต้องกังวลกับผลกระทบในระยะสั้นเลย
ดังนั้นวิธีการรับมือกับวิกฤตเศรษฐกิจที่ดีที่สุด คือ การมีแผนรับมือไว้ล่วงหน้าอยู่เสมอ รู้จักการใช้เงินอย่างรอบคอบ ตัดสินใจลงทุนอย่างมีเหตุผล ก่อหนี้ไร้ประโยชน์ให้น้อยที่สุด โดยเฉพาะหนี้บริโภค และสุดท้ายคือใช้ชีวิตอย่างไม่ประมาท เพราะชีวิตคนเราอาจมีเรื่องที่ไม่คาดฝันเกิดขึ้นเสมอ อย่าปล่อยให้ความประมาทในวันนี้มาทำลายโอกาสที่จะมีความสุขในวันข้างหน้าของเรา วันนี้ลองถามตัวเองกันดูว่า คุณมีร่มที่จะพาคุณฝ่าพายุฝนแล้วหรือยัง?
หากคุณไม่มั่นใจว่าสุขภาพการเงินของคุณแข็งแรงดี! มาตรวจสุขภาพทางการเงิน หรือ ปรึกษากรุงศรี Plan Your Money โทร 1572 กด 5 เพื่อเตรียมพร้อมผ่าน ช่วงวิกฤตเศรษฐกิจไปด้วยกัน