ฝากเงินให้ลูกในอนาคตแบบไหนดีที่สุด? ออมเงินผ่านธนาคาร ประกันออมทรัพย์ หรือกองทุนรวม
เพื่ออนาคตลูก
icon-Facebook icon-Twitter icon-line

ฝากเงินให้ลูกในอนาคตแบบไหนดีที่สุด? ออมเงินผ่านธนาคาร ประกันออมทรัพย์ หรือกองทุนรวม

icon-access-time Posted On 04 เมษายน 2566
By Krungsri The COACH
วิธีออมเงินหรือวิธีเก็บเงินมีมากมายหลากหลายวิธี ในปัจจุบันคนให้ความใส่ใจกับเรื่องการออมเงินมากขึ้น โดยเฉพาะช่วงภาวะเงินเฟ้อที่มีความรุนแรงมากขึ้นเรื่อย ๆ จำนวนเงินในบัญชีที่มีตัวเลขเท่าเดิมแต่มูลค่ากลับสวนทางลงในทุก ๆ ปี บวกกับเศรษฐกิจโลกที่มีความไม่แน่นอนทั้งจากภาวะสงคราม รวมทั้งความกังวลในอนาคตที่มีโอกาสเกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอย (Recession) หรือการชะลอตัวทางเศรษฐกิจทำให้ผู้คนเกิดความกังวลและมีการวางแผนทางการเงินอย่างเป็นระบบ ยิ่งใครเป็นหัวหน้าครอบครัวด้วยแล้วผลกระทบจากการไม่มีเงินออมหรือไม่มีการวางแผนทางการเงินจะยิ่งได้รับผลกระทบมากกว่าผู้ที่อยู่ตัวคนเดียว เพราะจะกระทบไปถึงสมาชิกในครอบครัวด้วย

ออมเงินเพื่อให้ได้ผลในระยะยาว

ออมเงินในระยะยาวให้ได้ผลตอบแทนที่ดีเป็นสิ่งที่ทุกคนปรารถนาอยากให้เป็นแบบนั้น แต่ในทางปฏิบัติก็ไม่ได้ง่ายอย่างที่คิด ยิ่งคนที่มีลูกด้วยแล้วการอยากให้ลูกมีอนาคตและพื้นฐานทางสังคมหรือทางการศึกษาที่ดี “เงิน” ยังไงก็เป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุด ดังนั้นพ่อแม่ที่อยากให้ลูกมีชีวิตที่ดีควรเริ่มวางแผนการออมเงินตั้งแต่วันนี้และหาวิธีเก็บเงินที่เหมาะกับตัวเองในปริมาณที่เหมาะสม เมื่อเรารู้วิธีออมเงินที่เหมาะสมและมีเป้าหมายในการออมเงินแล้ว จึงค่อยหาวิธีนำเงินในส่วนนั้นไปต่อยอด แต่จำนวนเงินที่เราวางแผนจะเก็บในแต่ละเดือนนั้นต้องไม่เกินตัวจนเกินไปจะได้ออมเงินให้ได้ผลในระยะยาวและวิธีเก็บเงินแบบไหนดีที่สุด?

รู้จักการทำรายรับรายจ่าย

ก่อนที่จะเราไปถึงเรื่องฝากเงินให้ลูก เรามาเรียนรู้วิธีเก็บเงินซึ่งมีหลายวิธี แต่จุดเริ่มต้นของทุกการออมเงินคือเราควรทำบัญชีรายรับรายจ่ายเพื่อให้เราเห็นภาพที่ชัดเจนว่าในแต่ละเดือนเรามีรายรับรายจ่ายจากช่องทางใดบ้าง ส่วนใดเป็นรายจ่ายสำคัญ รายจ่ายส่วนใดเป็นรายจ่ายฟุ่มเฟือยที่เราสามารถจะลดได้ บางครั้งเราอาจคิดว่าเราสามารถคำนวนรายรับรายจ่ายจากในความคิดได้ แต่การเขียนแจกแจงออกมาเราจะเห็นจำนวนเงิน ทั้งในเดือนนี้และรายรับรายจ่ายในอดีตที่ชัดเจน เช่น ถ้าเราตั้งเป้าหมายว่าจะออมเงินเดือนละ 1,000 บาท แล้วในบางเดือนเราไม่สามารถเก็บเงินได้ถึงเป้าที่เราตั้งไว้ได้ เราจะสามารถย้อนกลับมาดูบัญชีรายรับรายจ่ายของเราได้ว่าเราผิดพลาดตรงไหน สามารถตัดส่วนใดออกได้บ้างหรือเราควรเพิ่มในส่วนของรายรับเพื่อให้เป้าหมายในการมีเงินฝากให้ลูกของเรานั้นสำเร็จในทุก ๆ เดือน วิธีเก็บเงินมีเทคนิคมากมาย หลายคนต่างแชร์เทคนิคของตัวเอง แต่วิธีเก็บเงินแบบไหนล่ะ ที่ได้ผลดีที่สุด

เทคนิคการเก็บเงินด้วยวิธีต่างๆ

เทคนิคการเก็บเงิน

หักเงินออมก่อนใช้ เป็นวิธีเก็บเงินที่สร้างวินัยให้กับตัวเราได้เป็นอย่างดี เช่น เราตั้งเป้าหมายไว้ว่าจะออมเงิน 10 เปอร์เซ็นต์ของเงินเดือน เราก็หักเงินส่วนนั้นมาเก็บไว้ตั้งแต่ช่วงเงินเดือนออก แล้วค่อยนำที่เหลือไปใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน ข้อเสียคือหากเราบริหารจัดการเงินได้ไม่ดี ปลายเดือนอาจจะไม่พอใช้ได้

เงินที่เหลือเท่ากับเงินออม วิธีเก็บเงินแบบนี้เรียกง่าย ๆ ก็คือได้รายรับมาเท่าไหร่ใช้จ่ายจนถึงวันสุดท้ายจำนวนเงินเหลือเท่าไหร่ส่วนนั้นคือเงินออมของเรา ข้อเสียของวิธีนี้คือวินัยในการใช้เงินต้องมีสูงมาก และไม่สามารถควบคุมเงินออมในแต่ละเดือนได้

แบงค์ 50 คือเงินออม 1 ในวิธีเก็บเงินยอดฮิตในสมัยนี้ คือ หากเราได้แบงค์ 50 จากเงินทอนหรือช่องทางไหนก็ตามเราต้องหักมาออมเงินทันที ข้อเสียคืออาจจะเก็บเงินได้มากน้อยไม่เท่ากันในแต่ละเดือน อาจจะทำให้วางแผนการออมเงินได้ยาก

วิธีออมเงินยังมีอีกมากมายล้วนแล้วแต่มีข้อดีข้อเสีย คุณพ่อคุณแม่ที่มีเป้าหมายจะฝากเงินให้ลูกควรหาวิธีที่เข้ากับไลฟ์สไตล์ของเราให้มากที่สุด กำหนดจำนวนเงินขั้นต่ำในการออมก่อนนำเงินในส่วนนี้ไปต่อยอดสร้าง passive income ไม่ให้เงินของเราถูกด้อยค่าจากภาวะเงินเฟ้อ เพราะการฝากเงินให้ลูกเป็นการออมในระยะยาวเราต้องคำนึงถึงปัจจัยตรงนี้ด้วย

ฝากเงินให้ลูกระยะยาวให้ชนะเงินเฟ้อ

ฝากเงินให้ลูกคุณพ่อคุณแม่มักจะตั้งเป้าหมายไว้มากกว่าสิบปีอย่างแน่นอน ก่อนที่ลูกจะเติบโตเป็นผู้ใหญ่แล้วก้าวเข้าสู่สังคมด้วยสองขาของตัวเองได้ การหาวิธีออมเงินที่ให้โดนผลกระทบจากเงินเฟ้อน้อยที่สุดจึงเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างมาก เงินออมหลักแสนของเราในวันนี้อาจจะมีค่าเพียงหลักหมื่นในอีก 10 ปีข้างหน้า ค่าใช้จ่ายของลูกในอนาคตที่ทยอยปรับขึ้นในทุก ๆ ปี ค่าอาหาร ค่ารถ ค่าเทอม ค่าเสื้อผ้า ให้พูดจนยืดยาวกว่านี้ก็ไม่หมด เพราะเท่านี้ก็น่าจะเพียงพอให้ผู้ปกครองอย่างเราต้องตระหนักคิดที่จะหาวิธีออมเงินให้งอกเงย แต่ต้องมีความเสี่ยงในการเสียเงินต้นที่ต่ำเพื่อให้เงินถึงมือลูกอย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วย เช่น การฝากเงินให้ลูกแบบฝากประจำก็ต้องให้ดอกเบี้ยใกล้เคียงกับเปอร์เซ็นต์เงินเฟ้อให้ได้มากที่สุด

ฝากเงินให้ลูกระยะยาวแบบไหนดี

เงินฝากระยะยาว

ฝากเงินให้ลูกวิธีแรกที่เข้ามาในหัวเราคงหนีไม่พ้นการฝากประจำ แต่มีข้อแม้ที่สำคัญที่เราต้องนึกถึงคือต้องให้ดอกเบี้ยเงินออมได้ใกล้เคียงกับเงินเฟ้อให้มากที่สุด
 

เงินฝากประจำปลอดภาษี

เงินฝากประจำปลอดภาษี เป็นวิธีเก็บเงินที่สร้างวินัยการออมได้เป็นอย่างดี เอกสารสำหรับการเปิดบัญชีฝากเงินให้ลูกตั้งแต่แรกเกิด - อายุไม่เกิน 15 ปี ต้องใช้ สูติบัตร, สำเนาทะเบียนบ้านที่มีชื่อลูก และบัตรประชาชนของผู้ปกครองที่ต้องเปิดบัญชีเป็นผู้ฝากเงินให้ลูก เพียงเปิดบัญชีฝากขั้นต่ำเพียงแค่ 500 บาท และเราสามารถตั้งโอนเงินล่วงหน้าได้ป้องกันการลืมและเสียประโยชน์ได้ การฝากเดือนต่อ ๆ ไปต้องเป็นจำนวนเงินเท่ากับจำนวนเงินที่เราเปิดบัญชี โดยเงื่อนไขการฝากจะมีทั้งแบบ 24 และ 36 เดือน ที่สำคัญคือดอกเบี้ยจากการออมเงินที่เราได้นั้นไม่ถูกหักภาษีอีกด้วย
 

ประกันสะสมทรัพย์

ประกันสะสมทรัพย์ วิธีเก็บเงินที่ต้องจ่ายเบี้ยตามระยะเวลาที่กำหนดสัญญาก่อนที่เราจะได้เงินก้อน และหากเกิดเหตุไม่คาดฝันกับผู้จ่ายเบี้ยประกัน ลูกก็ยังได้รับความคุ้มครองต่อ จึงหมดห่วงปัญหาในส่วนนี้ได้วิธีออมเงินแบบนี้เหมาะกับผู้ที่รับความเสี่ยงได้น้อย หรือกังวลหากเกิดเหตุไม่คาดคิดในอนาคตซึ่งผู้จ่ายเบี้ยประกันสามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมเพื่อประกอบการตัดสินใจ วิธีเก็บเงินแบบนี้จะช่วยป้องกันการเสียเงินต้นได้ แต่สำหรับพ่อแม่ที่อยากได้ผลตอบแทนที่มากขึ้น ยังสามารถฝากเงินให้ลูกในรูปแบบกองทุนรวมก็มีความน่าสนใจเช่นกัน
 
ออมเงินผ่านกองทุนรวม

ออมเงินให้ลูกผ่านกองทุนรวม

กองทุนรวม คือการลงทุนรูปแบบหนึ่งที่รวมเงินจากนักลงทุนรายย่อย มาลงทุนผ่านบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) เพื่อไปลงทุนตามนโยบายของกองทุนนั้น ๆ และมีผู้จัดการกองทุนคอยกำกับดูแล โอกาสที่เงินออมของเราจะงอกเงยจะขึ้นอยู่กับความเก่งของผู้จัดการกองทุนและความเข้าใจในนโยบายของกองทุนที่เราเลือก ซึ่งมีอยู่หลายรูปแบบด้วยกัน

กองทุนรวมตราสารหนี้ คือ การออมเงินผ่านกองทุนที่นักลงทุนที่ถือตราสารมีสถานะเป็นเจ้าหนี้ และผู้ออกตราสารมีสถานะเป็นลูกหนี้ กรุงศรีสมาร์ทตราสารหนี้-สะสมมูลค่า (KFSMART-A) จะเน้นการลงทุนทั้งในและต่างประเทศ โดยมุ่งเน้นไปที่ตราสารที่ได้รับการรับรองจากรัฐบาล รัฐวิสาหกิจ และสถาบันการเงินที่มีความมั่นคงสูง

กองทุนรวมหุ้น คือ กองทุนรวมเพื่อการออม โดยมีรูปแบบการลงทุนผ่านหุ้นในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย วิธีออมเงินให้ได้ผลตอบแทนที่ดีจะขึ้นอยู่กับความเชี่ยวชาญของผู้จัดการกองทุน ซึ่ง กรุงศรี SET100-สะสมมูลค่า (KFS100-A) จะเน้นการลงทุนให้ได้ผลตอบแทนอิงไปกับดัชนีหุ้นในกลุ่ม SET100 ที่มีความมั่นคงสูง และผันผวนต่ำ

กองทุนแบบผสม กองทุนนี้จะนำเงินออมของคุณไปลงทุนในรูปแบบต่าง ๆ ทั้งในและต่างประเทศ โดยผ่านดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุนที่มีความเชี่ยวชาญสูง เราแนะนำอยู่ 3 กองทุนคือ
ทั้ง 3 กองทุนนี้เป็นกองทุนผสมเหมือนกันคือลงทุนใน ตราสารทุน ตราสารหนี้ สินค้าโภคภัณฑ์ ต่างกันที่รายละเอียดการลงทุนโดยทั้ง 3 กองทุนให้น้ำหนักในแต่ละการลงทุนไม่เท่ากันก็ขึ้นอยู่กับความต้องการของผู้ที่ต้องการออมเงินให้ลูกว่าอยากออมในกองทุนใดมากกว่ากัน

วิธีออมเงินในทุกกองทุนที่เราแนะนำใช้เงินขั้นต่ำเพียง 500 บาทเท่านั้น คราวนี้ก็ขึ้นอยู่กับการตัดสินใจและการศึกษาทำความเข้าใจในการฝากเงินให้ลูกในรูปแบบต่าง ๆ ว่ารับความเสี่ยงได้มากน้อยเพียงใด ผลตอบแทนที่ต้องการ นโยบายการลงทุนของแต่ละกองทุน เริ่มตั้งแต่วันนี้การออมเงินให้ลูกในระยะยาวของคุณจะมีความมั่นคง ได้ผลตอบแทนที่ดีเพื่อให้เจ้าตัวน้อยของคุณในวันนี้มีอนาคตที่สดใสในวันข้างหน้า

หากคุณต้องการปรึกษาหรือขอคำแนะนำเพิ่มเติมในด้านวางแผนทางการเงิน ทางธนาคารกรุงศรีมีผู้เชี่ยวชาญด้านการเงินและการลงทุนโดยเฉพาะ ที่สามารถปรึกษาผ่านช่องทางฮอตไลน์ได้ที่ 02-296-5959 จันทร์ - ศุกร์ เวลา 9.00 น. - 17.00 น. หรือฝากข้อมูลเพื่อให้ที่ปรึกษาทางด้านการเงินจากธนาคารกรุงศรี ติดต่อกลับ

ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน
  • ผลการดำเนินงานในอดีตของกองทุนรวม มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต
  • กองทุน KFSMART อาจลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งตราสารหนี้ที่มีอันดับความน่าเชื่อถือต่ำกว่าอันดับที่สามารถลงทุนได้ (Non-investment grade) หรือที่ไม่ได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือ (Unrated Bond) ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากการผิดนัดชำระหนี้ของผู้ออกตราสารซึ่งส่งผลให้ผู้ลงทุนขาดทุนจากการลงทุนบางส่วนหรือทั้งจำนวนได้ และในการขายคืนหน่วยลงทุนอาจไม่ได้รับเงินคืนตามที่ระบุไว้ในโครงการ
  • กองทุน KF1MILD / KF1MEAN / KF1MAX ป้องกันความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนตามดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุน จึงมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน ซึ่งอาจทำให้ผู้ลงทุนขาดทุนหรือได้รับกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน หรือได้รับเงินคืนต่ำกว่าเงินลงทุนเริ่มแรกได้

บทความโดย
สิรภัทร เกาฏีระ CFP®
กลุ่มบริการที่ปรึกษาทางการเงินส่วนบุคคล
ธนาคารกรุงศรีอยุธยา
pym logo
ผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง
บทความที่เกี่ยวข้อง
พิมพ์สิ่งที่ต้องการค้นหา