
ยิ่งรายได้มากขึ้นเท่าไหร่ ภาระด้านภาษีของแต่ละคนก็ยิ่งเพิ่มมากขึ้นเท่านั้น จะดีกว่ามั้ยถ้าหากเรามีการคำนวณและวางแผนภาษีล่วงหน้า ตามสิทธิ์ที่ตนเองมีอยู่นั้นเราจะประหยัดภาษีที่ต้องจ่ายในแต่ละปีได้อย่างไร
ปัจจัยการคำนวณภาษี Step by Step
ประเด็นแรกที่ต้องรู้ก่อนเลยสำหรับการคำนวณภาษี คือปัจจัยต่างๆ ที่มีผลกระทบกับการจ่ายภาษีครับ แม้ว่าสุดท้ายทางฝั่งสรรพากรจะมีการคำนวณตัวเลขต่างๆ ให้อยู่แล้ว แต่ผู้เสียภาษีเองก็ควรมีการคำนวณขั้นต้นให้เป็น เพื่อสามารถตรวจสอบการเสียภาษีตามจริงได้ครบถ้วน
ซึ่งปัจจัยที่เราต้องใส่ใจมีดังนี้
Step 1 คำนวณรายได้สุทธิ
ขั้นตอนแรกในการ
วางแผนเพื่อประหยัดภาษี คือการคำนวณรายได้สุทธิของตัวเอง ด้วยการนำรายได้ตลอดปี หักค่าใช้จ่าย แยกตามประเภทรายได้ต่างๆ ซึ่งสามารถเปรียบเทียบได้ง่ายมากขึ้นหากมีการทำรายรับรายจ่ายอย่างถูกต้อง
ซึ่งรายได้สุทธิจะสามารถคำนวณได้จาก : เงินได้ - ค่าใช้จ่าย - ค่าลดหย่อน โดยเราจะใช้รายได้สุทธินี้เพื่อคำนวณภาษีที่ต้องจ่ายจริงในแต่ละเดือน โดยคำนวณเปรียบเทียบกับตารางขั้นภาษีด้านล่าง
อัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
ขั้นเงินได้สุทธิตั้งแต่ |
เงินได้สุทธิจำนวนสูงสุดของขั้น |
อัตราภาษี |
ภาษีสูงสุดในแต่ละขั้นเงินได้ |
ภาษีสะสมสูงสุดของขั้น |
0 - 150,000 |
150,000 |
5 |
ยกเว้น* |
0 |
เกิน 150,000 - 300,000 |
150,000 |
5 |
7,500 |
7,500 |
เกิน 300,000 - 500,000 |
200,000 |
10 |
20,000 |
27,500 |
เกิน 500,000 - 750,000 |
250,000 |
15 |
37,500 |
65,000 |
เกิน 750,000 - 1,000,000 |
250,000 |
20 |
50,000 |
115,000 |
เกิน 1,000,000 - 2,000,000 |
1,000,000 |
25 |
250,000 |
365,000 |
เกิน 2,000,000 - 5,000,000 |
3,000,000 |
30 |
900,000 |
1,265,000 |
เกิน 5,000,000 บาท ขึ้นไป |
- |
35 |
- |
- |
ที่มา :
www.rd.go.th
แน่นอนว่าในบางครั้งรายได้หลักแสนของเรา ก็มีบางส่วนที่อาจมีการหักภาษีไปแล้ว หรือได้รับการงดเว้นภาษีตามประกาศในปีนั้นๆ สิ่งที่สมควรทำต่อไปคือดำเนินการตรวจสอบประเภทของเงินได้ให้ถูกต้อง ก่อนจะทำการคำนวณภาษีเงินได้ต่อไปครับ
Step 2 ตรวจสอบเงินได้พึงประเมิน
ทำไมต้องตรวจสอบเงินได้พึงประเมิน ? สาเหตุเป็นเพราะการคำนวณภาษีจะมีการแบ่งเงินได้เป็นประเภทตามกฎหมาย และมีการหักค่าใช้จ่ายรวมถึงมีข้อจำกัดเพิ่มเติมในการเสียภาษีตามรูปแบบของรายได้นั้นๆ ครับ
โดยสามารถแบ่งออกได้เป็น 8 ประเภทหลักๆ คือ
ประเภทของเงินได้พึงประเมิน
เงินได้พึงประเมิน |
อัตราที่หักได้ |
หักเหมา |
หักตามจริง |
ค่าจ้างแรงงาน |
50% แต่ไม่เกิน 100,000 บาท |
/ |
X |
ค่าจ้างที่รับเป็นครั้งๆ |
50% แต่ไม่เกิน 100,000 บาท |
/ |
X |
ค่าลิขสิทธิ์ |
50% แต่ไม่เกิน 100,000 บาท |
/ |
/ |
ดอกเบี้ย เงินปันผล |
ไม่สามารถนำมาหักค่าใช้จ่ายได้ |
X |
X |
ค่าเช่า |
10% - 30% ตามรูปแบบที่กฎหมายกำหนด |
/ |
/ |
ค่าวิชาชีพอิสระ |
30% - 60% ตามความยากง่ายของวิชาชีพ |
/ |
/ |
ค่ารับเหมา |
60% ของเงินได้ หรือตามที่จ่ายจริง |
/ |
/ |
เงินได้อื่นๆ |
40% - 60% ขึ้นอยู่กับประเภทของเงินได้ |
/ |
/ |
- เงินได้พึงประเมินประเภทที่ 1 ค่าจ้างแรงงาน เช่น เงินเดือนพนักงาน โบนัส บำเหน็จบำนาญ รวมถึงสวัสดิการอื่นๆ สามารถนำมาหักค่าใช้จ่ายได้ 50% แต่ไม่เกิน 100,000 บาท
- เงินได้พึงประเมินประเภทที่ 2 ค่าจ้างการรับทำงาน ที่มีการรับเป็นครั้งๆ ไป เช่น ค่านายหน้า ค่าส่วนลด เบี้ยประชุม เป็นต้น สามารถนำมาหักค่าใช้จ่ายได้ 50% แต่ไม่เกิน 100,000 บาท แต่ถ้ามีเงินได้ทั้งประเภท 1 และ 2 ควรนำมาคิดรวมกัน และ หักค่าใช้จ่ายได้ 50% แต่ไม่เกิน 100,000 บาท
- เงินได้พึงประเมินประเภทที่ 3 ค่าความนิยมหรือค่ากู๊ดวิล ค่าลิขสิทธ์หรือทรัพย์สินทางปัญญา หักค่าใช้จ่ายได้ 50% แต่ไม่เกิน 100,000 บาท หรือตามจริง
- เงินได้พึงประเมินประเภทที่ 4 ดอกเบี้ย เงินปันผล ผลประโยชน์ต่างๆ ที่ได้จากการลงทุน ไม่สามารถนำมาหักค่าใช้จ่ายได้
- เงินได้พึงประเมินประเภทที่ 5 เงินที่ได้จากการให้เช่าทรัพย์สิน โดยมีการแบ่งประเภทย่อยไปตามรูปแบบการให้เช่า ตั้งแต่ 10%-30% ตามรูปแบบที่กฎหมายกำหนด
- เงินได้พึงประเมินประเภทที่ 6 ค่าวิชาชีพอิสระ เช่น อาชีพด้านกฎหมาย วิศวกรรม มีการหัก 30% ประกอบโครศิลป์ 60%
- เงินได้พึงประเมินประเภทที่ 7 เงินที่ได้จากการรับเหมารวมค่าแรงและค่าของ เช่นรับเหมาก่อสร้าง สามารถหักค่าใช้จ่ายได้ 60% ของเงินได้ หรือตามที่จ่ายจริง
- เงินได้พึงประเมินประเภทที่ 8 เงินได้อื่นๆ ที่ไม่เข้าข่ายข้อ 1-7 เช่น การขายอสังหาริมทรัพย์ เงินได้จากอุตสาหกรรมต่างๆ เป็นต้น
สามารถดูเพิ่มเติมได้ที่
รายได้พึงประเมินจากกรมสรรพากร
Step 3 ค่าลดหย่อนปี 62
นอกเหนือจากการลดหย่อนที่เกิดจากจังหวะชีวิต เช่น การมีลูก การผ่อนบ้าน หรือประกันสังคมตามที่กฎหมายกำหนดแล้ว ผู้เสียภาษียังสามารถเลือกที่จะลงทุนเพื่อใช้สิทธิลดหย่อนเพิ่มเติมได้ รวมถึงเป็นการกระจายความเสี่ยงในชีวิตด้วย
สำหรับค่าลดหย่อนส่วนตัวที่เพิ่มขึ้นมาในปี 2562 จะมีดังต่อไปนี้
ลดหย่อนภาษีเพิ่มได้ง่ายๆ ด้วยการลงทุน
LTF (กองทุนรวมหุ้นระยะยาว)
กองทุนรวมที่ลงทุนในหุ้น (ไม่น้อยกว่า 65% ของมูลค่ากองทุน) โดยมีรูปแบบการลงทุนในแต่ละอุตสาหกรรมแตกต่างกันออกไปตามหนังสือชี้ชวน
กองทุน LIF สามารถนำมาหักลดหย่อนภาษีได้ แต่ไม่เกิน 15% ของเงินได้ที่ต้องเสียภาษี (ไม่เกิน 150,000 บาท) และต้องถือหน่วยลงทุนอย่างน้อย 7 ปีปฏิทิน
LTF ลงได้ถึงปี 2562 เท่านั้น
RMF (กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ)
เน้นการลงทุนระยะยาว เหมาะสำหรับคนที่อยากมีทุนรอในยามเกษียณ มีการลงทุนหลากหลาย ตั้งแต่พันธบัตรรัฐบาลไปจนถึงทองคำ
สามารถสับเปลี่ยนกองทุนได้ตามสถานการณ์ แต่ต้องมีการลงทุนอย่างต่อเนื่องทุกปี ขายคืนได้เมื่ออายุ 55 ปีและลงทุนไม่น้อยกว่า 5 ปี
กองทุน RMF สามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้ โดยรวมกับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพและแบบประกันชีวิตแบบบำนาญ ลดหย่อนไม่เกิน 15% และไม่เกิน 500,000 บาท
ประกันออมทรัพย์
เป็นประกันที่ออกแบบให้ผู้ถือกรมธรรม์ออมเงิน และมีความคุ้มครองตามรูปแบบของประกัน การออมเงินจะมีการจ่ายคืนตามระยะเวลาที่กำหนดไว้ในสัญญา และในกรณีที่ผู้ถือกรมธรรม์เสียชีวิต ก็จะได้เงินเอาประกันตามที่สัญญากำหนดไว้
ประกันออมทรัพย์ที่อายุมากกว่า 10 ปี สามารถลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 100,000 บาทตามจำนวนปีที่มีการทำประกัน
ประกันบำนาญ
เป็นประกันที่เน้นผลตอบแทนจากประกันในรูปแบบเงินคืน มากกว่าเน้นความคุ้มครอง ซึ่งจะดำเนินการจ่ายเงินในรูปแบบเดียวกับเงินบำนาญหลังผู้ถือกรมธรรม์เกษียณ เหมาะสำหรับผู้ที่อยากมีเงินไว้ใช้ระยะยาวในบั้นปลายชีวิต
เบี้ยประกันแบบบำนาญสามารถลดหย่อนภาษีได้ไม่เกิน 15% ของเงินได้ที่ต้องเสียภาษี สูงสุดไม่เกิน 200,000 บาท หากรวมกับกองทุน RMF และกองทุนสำรองเลี้ยงชีพจะลดหย่อนได้ไม่เกิน 500,000 บาท
ประกันตลอดชีพ
เน้นความคุ้มครองมากกว่าผลตอบแทนจากประกัน ซึ่งผู้ถือกรมธรรม์จะต้องจ่ายเบี้ยประกันเป็นระยะเวลาหนึ่ง ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของกรมธรรม์นั้นๆ แลกกับการคุ้มครองชีวิตระยะยาว
ประกันชีวิตตลอดชีพจะสามารถนำมาลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 100,000 บาท
ยกตัวอย่างการลงทุน
นาย ก. มีรายรับปีละ 1,200,000 บาท มีการจ่ายประกันสังคม 9,000 บาท ไม่ได้มีการลดหย่อนภาษีอื่นๆ นาย ก.จะสามารถประหยัดภาษีได้อย่างไรบ้าง
นาย ก.สามารถวางแผนภาษีได้โดยการซื้อกองทุน LTF ซึ่งจะสามารถประหยัดภาษีได้ 15% แต่ไม่เกิน 500,000 บาท โดยสามารถเปรียบเทียบการไม่ลงทุนและการลงทุนได้ตามตารางด้านล่างนี้
|
ไม่มีการวางแผนภาษี |
มีการวางแผน(ซื้อ LTF) |
เงินได้ |
1,200,000 |
1,200,000 |
ลงทุน LTF |
- |
180,000 |
อัตราภาษี |
25% |
20% |
ต้องเสียภาษี |
122,750 |
85,200 |
อัตราภาษีที่แท้จริง |
10.23 |
7.10% |
ประหยัดภาษี |
- |
37,550 |
จะเห็นได้เลยว่าเพียงแค่การวางแผนภาษีโดยการซื้อกองทุน LTF ที่ช่วยในการลดภาษี สามารถประหยัดไปได้ถึง 37,550 บาทเลยทีเดียว
วางแผนภาษี การจัดการเงินได้ที่ดีในระยะยาว
สำหรับการวางแผนระยะยาวเพียงแค่การลดหย่อนตามปกติอาจไม่สามารถช่วยเหลือได้เพียงพอ ดังนั้นจึงต้องพิจารณาช่องทางอื่นในการวางแผนภาษี เช่น
- เพิ่มหน่วยภาษี หรือคือการจัดตั้งคณะบุคคลหรือบริษัทขึ้นมาเพื่อกระจายหน่วยภาษีออก ในกรณีทำธุรกิจร่วมกันยังสามารถใช้สิทธิต่างๆ เกี่ยวกับการตั้งบริษัทในการลดหย่อนภาษีได้อีกด้วย
- การจัดประเภทเงินได้ ตรวจสอบให้ดีว่ารายรับทั้งหมดของเรามาจากช่องทางใดบ้างผ่านทางการตรวจสอบรายรับรายจ่าย รายรับจากเงินได้บางประเภทอาจทำให้เสียภาษีโดยรวมมากกว่าเนื่องจากไม่ผ่านการลดหย่อน ควรเปลี่ยนทิศทางการทำธุรกิจหรือลงทุนสักเล็กน้อย
- เพิ่มค่าลดหย่อน หรือคือหาทางลดหย่อนเพิ่มเติมต่างๆ นอกเหนือจากที่เคยในแต่ละปี เช่น บริจาคเงินเพื่อสังคมและส่วนรวม ลงทุนในกองทุน LTF RMF ให้มากขึ้นเพื่อที่จะสามารถใช้ตัวเลขดังกล่าวมาลดหย่อนได้
ภาษีเป็นสิ่งที่ทุกคนต้องเสีย แต่การเสียภาษีที่ดีที่สุดคือการรู้ว่าเราเสียภาษีนั้นเหมาะสมกับรายรับตัวเองหรือไม่ และสามารถประหยัดภาษีที่ต้องจ่ายได้ในทางใดบ้าง
หากคุณมีความสงสัยเพิ่มเติมเกี่ยวกับภาษีและการคำนวณ หรืออยากวางแผนการเงินในรูปแบบต่างๆเพื่อเพิ่มความมั่นคงในชีวิต สามารถติดต่อเรา ทีมงาน Plan your money ได้ที่ Plan your money หรือที่เบอร์ 1572 กด 5