7 เคล็ดลับ เลือก SSF ปันผล ติดพอร์ตอย่างไรให้คุ้มสุดๆ
รอบรู้เรื่องภาษี
icon-Facebook icon-Twitter icon-line

7 เคล็ดลับ เลือก SSF ปันผล ติดพอร์ตอย่างไรให้คุ้มสุดๆ

icon-access-time Posted On 27 ธันวาคม 2564
by Krungsri The COACH

SSF ปันผล คือ กองทุนรวมเพื่อการออมที่มุ่งหวังให้ประชาชนในประเทศสามารถออมเงินในระยะยาวมากขึ้น โดยมีเงินปันผลงอกเงยออกมาระหว่างการลงทุน เราสามารถนำเงินดังกล่าวมาใช้จ่ายหรือลงทุนต่อยอดได้ ในขณะเดียวกัน ก็ต้องจ่ายภาษีปันผลในอัตรา 10% ด้วย


คุณสมบัติของ SSF นั้นนอกจากที่จะให้ความสำคัญกับการออมระยะยาว (ถือหน่วยลงทุนไม่น้อยกว่า 10 ปี) แล้ว ยังสามารถนำสัดส่วนเงินลงทุนนั้นไปลดหย่อนภาษีได้ตามที่กฏหมายกำหนดอีกด้วย

แล้วเราจะเลือก SSF อย่างไรให้เหมาะกับตัวเอง ที่นี่มีคำตอบ!


SSF ปันผลเลือกอย่างไรให้เหมาะกับคุณ

การเลือก SSF ที่มีคุณภาพจะต้องอ้างอิงจากปัจจัยภายนอกและภายในของผู้ลงทุน โดยเราได้สรุปรวมไว้ด้วยกัน 7 ปัจจัยเพื่อการพิจารณา ดังนี้
 
7 เคล็ดลับ เลือก “SSF ปันผล” ติดพอร์ตอย่างไรให้คุ้มสุดๆ!!
 
  1. พิจารณาจากความเสี่ยงของตนเอง
    สิ่งแรกที่ต้องคำนึงก่อนการลงทุนทุกประเภท คือ “ความเสี่ยง” ที่รับได้ เพราะการลงทุนทุกประเภทมีสิทธิ์จะสูญเสียเงินต้นเสมอ ต่างกันแค่ว่าการลงทุนบางประเภทอาจมีโอกาสเสียมาก การลงทุนบางประเภทอาจมีโอกาสเสียน้อย

    โดยปัจจัยที่ถูกนำมาคิดค่าความเสี่ยง ได้แก่
    • อายุ
    • ประสบการณ์การลงทุน
    • เงินลงทุน
    • สินทรัพย์ที่มี
    • รายได้
    • ผลตอบแทนที่ต้องการ
    • การขาดทุนที่ยอมรับได้

    ยิ่งคุณอายุยังน้อย มีกำลังทรัพย์และมีประสบการณ์ ก็ยิ่งรับความเสี่ยงได้มากเท่านั้น และเราก็นำความเสี่ยงดังกล่าวมาคำนวณหากองทุนที่เหมาะสมต่อไป

    กองทุน SSF แต่ละตัวก็จะมีความเสี่ยงแตกต่างกันออกไปตามลักษณะของการลงทุน เช่น ลงทุนในกองทุนต่างประเทศ ความเสี่ยงก็จะแปรผันตามสถานการณ์โลกรวมถึงการเปลี่ยนแปลงของค่าเงิน ลงทุนในแบรนด์ใหญ่ ความเสี่ยงก็จะเปลี่ยนแปลงตามเทรนด์และเทคโนโลยี รวมทั้งการทำงานของแบรนด์ดังกล่าว

    โดยคุณสามารถทดแบบทดสอบความเสี่ยงได้ที่แบบทดสอบระดับความเสี่ยงเพื่อการลงทุน

  2. ความรู้ด้านการลงทุนพร้อมขนาดไหน
    ทุกการลงทุนย่อมต้องศึกษาหาความรู้และประสบการณ์ก่อนการลงทุน SSF โดยเฉพาะกองทุนที่มีความเสี่ยงสูง ผู้ลงทุนอาจต้องพิจารณาความรู้ด้านการลงทุนเพิ่มเติม เช่น ช่วงเวลาที่เหมาะสมกับการลงทุน การปรับพอร์ตเพื่อรับความเสี่ยงเพิ่มเติม เป็นต้น

    หากคุณเพิ่งจะมีการลงทุนเป็นครั้งแรก อาจเริ่มต้นที่ SSF ความเสี่ยงต่ำหรือความเสี่ยงปานกลาง แล้วทำการศึกษาพร้อมขยับไปยังกองทุนที่มีความเสี่ยงสูงขึ้นได้ในอนาคต
7 เคล็ดลับ เลือก “SSF ปันผล” ติดพอร์ตอย่างไรให้คุ้มสุดๆ!!
 
  1. กองทุนอื่นๆ ในพอร์ตเป็นอย่างไรบ้าง
    ข้อนี้สำหรับนักลงทุนที่มีการเริ่มต้นลงทุนมาบ้างแล้วหรือกำลังจะลงทุนว่า สัดส่วนการลงทุนอื่นๆ ในพอร์ตมีการลงทุนอะไรบ้าง เช่น กองทุนเทคโนโลยี กองทุนที่ลงทุนในหุ้นไทย กองทุนที่ลงทุนในหุ้นต่างประเทศ หรือกองทุนรูปแบบอื่นๆ

    จากนั้น นำมาคำนวณสัดส่วนว่าหากมีการแบ่งเงินมาลงในกองทุน SSF จะเพิ่มประสิทธิภาพการลงทุนโดยรวมมากน้อยแค่ไหน

    สัดส่วนที่เหมาะสมของกองทุน SSF ปันผลนั้นไม่ตายตัวขึ้นอยู่กับจุดประสงค์ของผู้ลงทุน หากต้องการลดหย่อนภาษีอย่างเต็มประสิทธิภาพ การมี SSF ถึง 30% ของพอร์ตก็เป็นเรื่องที่คุ้มค่า
 
  1. นโยบายการลงทุนของ SSF
    SSF แต่ละกองย่อมมีนโยบายการลงทุนที่แตกต่างกันออกไป และจะส่งผลถึงความเสี่ยงและโอกาสที่จะได้รับผลตอบแทนที่สูงขึ้นด้วย เช่น KFGGSSF ที่ลงทุนในกองทุนต่างประเทศซึ่งลงทุนในหุ้นทั่วโลกอีกต่อหนึ่ง หรือ KFCLIMASSF ที่ลงทุนในกองทุนต่างประเทศซึ่งลงทุนในบริษัทที่แก้ไขปัญหาเกี่ยวกับภาวะโลกร้อน

    ทางผู้ลงทุนควรศึกษานโยบายการลงทุนของ SSF ที่ตนเองต้องการ พร้อมติดตามเทรนด์ต่างๆ ที่มีโอกาสเติบโต เช่น เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อมเพื่อการลงทุนที่ยั่งยืนยิ่งขึ้น
 
  1. นโยบายการปันผลของ SSF
    SSF ปันผลแต่ละกองจะมีนโยบายการปันผลอยู่ ซึ่งอาจจะเหมือนหรือแตกต่างกันออกไปก็ได้ เช่น KFGBRANSSF จะจ่ายปันผลได้เมื่อกองทุนมีกำไรสะสมและจะต้องไม่ทำให้กองทุนมีผลขาดทุนสะสมในรอบระยะเวลาบัญชีที่มีการจ่ายเงินปันผลนั้น

    ผู้ลงทุนควรศึกษาเงื่อนไขการปันผล รวมถึงรอบจ่ายเงินปันผลให้ถี่ถ้วน เพื่อให้การลงทุนของคุณมีความราบรื่นยิ่งขึ้น
7 เคล็ดลับ เลือก “SSF ปันผล” ติดพอร์ตอย่างไรให้คุ้มสุดๆ!!
 
  1. วางแผนภาษีให้ดีก่อนซื้อ
    หลายคนอาจเห็นว่า มีคอนเทนต์มากมายช่วงสิ้นปีเกี่ยวกับ SSF เนื่องจากช่วงนี้เป็นช่วงที่คนจำนวนมากมีการคำนวณภาษีเงินได้กันนั่นเอง และ SSF ก็เป็นตัวช่วยชั้นเยี่ยมสำหรับการลดหย่อนภาษี (ลดหย่อนสูงสุดไม่เกิน 30% ของเงินได้และไม่เกิน 200,000 บาท)

    ดังนั้น ก่อนเลือก SSF ควรมีการคำนวณภาษีเงินได้ของตัวเองว่าต้องจ่ายเท่าไหร่ มีการลดหย่อนประเภทไหนอยู่แล้วบ้าง เพื่อให้การลงทุนใน SSF นั้นมีประสิทธิภาพมากที่สุด
 
  1. ข้อจำกัดอื่นๆ ในการลงทุน
    รายรับ รายจ่าย เงินลงทุนที่เหมาะสมสำหรับตัวเอง เงินลงทุนขั้นต่ำในแต่ละกองทุนล้วนเป็นสิ่งที่เรียกว่า “ข้อจำกัด” ในการลงทุนแทบทั้งสิ้น ไม่ว่าคุณจะลงทุนใน SSF หรือกองทุนอื่นๆ ควรมีการสำรวจรายรับรายจ่ายและเงินลงทุนที่เหมาะสมและมีการวางแผนการเงิน ใช้เงินเย็นในการลงทุน เพื่อให้การลงทุนของคุณไม่ส่งผลกระทบต่อชีวิตประจำวัน


SSF ปันผลน่าสนใจควรมีไว้ติดพอร์ต

KFGGSSF

ระดับความเสี่ยง: 6 เสี่ยงสูง

กองทุนกรุงศรีโกลบอลโกรทเพื่อการออม (KFGGSSF) เป็นกองทุน SSF ปันผลที่ลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุนรวมต่างประเทศ Baillie Gifford Worldwide Long Term Global Growth Fund, Class B USD Acc (กองทุนหลัก) ซึ่งบริหารจัดการโดยบริษัท Baillie Gifford Worldwide Funds PLC โดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่า 80% ของ NAV

ความน่าสนใจของ KFGGSSF คือ กองทุนหลักมีนโยบายลงทุนในตราสารทุนทั่วโลก ซึ่งเป็นหุ้นที่มีศักยภาพในการเติบโตสูง และจดทะเบียนซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ที่กำกับดูแลโดยทางการ (Regulated Market) โดยมีตัวอย่างของหุ้นที่หลายคนน่าจะคุ้นเคย คือ Tesla, Amazon.com, Moderna และ NVIDIA

สำหรับคนที่ต้องการลงทุนกองทุนต่างประเทศโดยเฉพาะหุ้นเทคโนโลยีและบริษัทที่มีการเติบโตอย่างรวดเร็ว KFGGSSF เป็นกองทุนที่ตอบโจทย์อย่างยิ่ง

สามารถอ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ หนังสือชี้ชวน KFGGSSF
 

KFCLIMASSF

ระดับความเสี่ยง: 6 เสี่ยงสูง

กองทุนกรุงศรี ESG Climate Tech เพื่อการออม (KFCLIMASSF) เป็นกองทุน SSF ปันผลที่ลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุนรวมต่างประเทศชื่อ DWS Invest ESG Climate Tech, Class USD TFC (กองทุนหลัก) ซึ่งบริหารจัดการโดยบริษัท DWS Investment S.A. โดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่า 80% ของ NAV

ความโดดเด่นของกองทุนหลัก คือ การให้ความสำคัญกับเทรนด์ด้านสิ่งแวดล้อมและภาวะโลกร้อนที่มีนโยบายลงทุนในตราสารทุนและ/หรือหลักทรัพย์อื่นๆ ของบริษัททั่วโลกที่มีธุรกิจหลักเกี่ยวกับการควบคุมหรือลดการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลกหรือผลกระทบอื่นที่เกี่ยวข้อง ซึ่งนำเสนอผลิตภัณฑ์ บริการ และแนวทางการแก้ไขปัญหาที่ช่วยในการลดมลพิษโดยการสร้างพลังงานสะอาด การใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงบริษัทที่มีธุรกิจเกี่ยวกับการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมและสังคม

โดย KFCLIMASSF จะมีสัดส่วนการลงทุนในประเทศสหรัฐอเมริกาเป็นส่วนใหญ่ โดยมีตัวอย่างบริษัท คือ Darling, Microsoft, VMware และ First Solar

สามารถอ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ หนังสือชี้ชวน KFCLIMASSF
 

KFGBRANSSF

ระดับความเสี่ยง: 6 เสี่ยงสูง

กรุงศรีโกลบอลแบรนด์อิควิตี้ปันผลเพื่อการออม (KFGBRANSSF) เป็นกองทุน SSF ปันผลที่ลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุนรวมต่างประเทศชื่อ Morgan Stanley Investment Funds - Global Brands Fund, Class ZX (กองทุนหลัก) โดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่า 80% ของ NAV

กองทุนหลักของ KFGBRANSSF มีนโยบายลงทุนในหุ้นของบริษัทต่างๆ ในประเทศที่พัฒนาแล้วทั่วโลก ซึ่งประสบผลสำเร็จหรือมีชื่อเสียงใน Brand โดยพิจารณาจาก Intangible Assets เช่น การมีเครื่องหมายการค้าเป็นที่รู้จักทั่วโลก การเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์สินค้า หรือกลวิธีการจัดจำหน่าย เป็นต้น ทำให้เหมาะกับคนที่ต้องการลงทุนกับบริษัทใหญ่ที่มีชื่อเสียงในระดับสากล

ตัวอย่างการลงทุนของกองทุนหลัก เช่น Microsoft, Philip Morris และ Accenture

สามารถอ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ หนังสือชี้ชวน KFGBRANSSF

คำเตือน
  • ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน ความเสี่ยง และศึกษาสิทธิประโยชน์ทางภาษีในคู่มือการลงทุนก่อนตัดสินใจลงทุน
  • SSF เป็นกองทุนที่ส่งเสริมการออม ทั้งนี้ ผู้ถือหน่วยลงทุนจะไม่ได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษี หากไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขการลงทุน

สรุป
ไม่ว่าจะเป็นกองทุน SSF ปันผลหรือไม่ปันผล ก็เป็นตัวเลือกที่น่าสนใจควรติดพอร์ตไว้รับสิ้นปี เพราะนอกจากจะสามารถสร้างผลตอบแทนได้แล้วยังมีการลดหย่อนภาษีได้อีกด้วย ทำให้การวางแผนลงทุนและวางแผนภาษีของคุณมีคุณภาพยิ่งขึ้นอย่างมากเลยทีเดียว

หากคุณมีคำถามเกี่ยวกับ SSF ปันผลและไม่ปันผล การลงทุนในกองทุน หรือต้องการปรึกษาเรื่องการวางแผนการลงทุนผ่านช่องทางฮอตไลน์ได้ที่ 02-296-5959 จันทร์ - ศุกร์ 9.00 น. - 17.00 น. หรือฝากข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับได้ที่ติดต่อเราครับ
บทความโดย
สิรภัทร เกาฏีระ CFP®
กลุ่มบริการที่ปรึกษาทางการเงินส่วนบุคคล
ธนาคารกรุงศรีอยุธยา
pym logo
ผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง
บทความที่เกี่ยวข้อง
พิมพ์สิ่งที่ต้องการค้นหา