ลงทุนในน้ำมัน อีกหนึ่งสินทรัพย์เพื่อการเติบโตของพอร์ตการลงทุน

โดย สิรภัทร เกาฏีระ CFP® นักวางแผนการเงิน
01 ธันวาคม 2566
ลงทุนในน้ำมัน เพื่อการเติบโตของพอร์ตการลงทุน
การลงทุนในน้ำมันเป็นสินทรัพย์ที่นักลงทุนหลายคนอาจมองข้ามไป เนื่องจากอาจมองว่าน้ำมันเป็นสินทรัพย์ที่มีความผันผวนสูง ลงทุนยากเพราะมีปัจจัยแวดล้อมมากมายที่ทำให้เกิดความเคลื่อนไหวของราคา แต่การศึกษาถึงสินทรัพย์ที่มีความหลากหลายก็เป็นหนึ่งในคุณสมบัติที่นักลงทุนควรมี เพื่อเป็นการกระจายความเสี่ยงออกไป และเพิ่มศักยภาพให้กับพอร์ตได้มีโอกาสเติบโต ดังนั้นเพื่อให้การลงทุนน้ำมันเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่เหมาะสม ต้องเริ่มจากการขยายความเข้าใจให้ชัดเจนขึ้น สำหรับสินทรัพย์ประเภทนี้
 

ทำความรู้จักกับการลงทุนในน้ำมัน

สินค้าโภคภัณฑ์ (Commodity) ได้รับความนิยมจากนักลงทุนทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็นการลงทุนน้ำมัน ทองคำ หรือสินค้าเกษตรอื่น ๆ โดยเฉพาะน้ำมัน ที่ถือว่าเป็นสินค้าที่นักลงทุนส่วนใหญ่ให้ความสนใจมากเป็นพิเศษ เนื่องจากเป็นสิ่งที่อยู่ในชีวิตประจำวัน และทุกคนมักรับรู้ความเคลื่อนไหวของราคาได้ง่าย ไม่ว่าจะเป็นราคาน้ำมันดิบ หรือน้ำมันสำเร็จรูป ด้วยเหตุนี้จึงทำให้น้ำมันได้รับความนิยมเป็นลำดับต้น ๆ ของสินทรัพย์ทางเลือก

การลงทุนเพื่อสร้างผลตอบแทนในน้ำมัน จะใช้วิธีการซื้อขายสัญญาล่วงหน้า (Futures Contracts) ของราคาน้ำมันดิบ และเป้าหมายการลงทุนคือ ผลตอบแทนจากส่วนต่างการซื้อขายของราคาน้ำมัน ซึ่งแน่นอนว่ามีทั้งความซับซ้อน และมีความเสี่ยงสูง นักลงทุนจึงควรศึกษาและติดตามข่าวสารเศรษฐกิจและกราฟแนวโน้มการเคลื่อนไหวของราคาน้ำมัน
 

3 ปัจจัยหลัก ที่มักส่งผลกับราคาน้ำมันในปัจจุบันเสมอ

ความผันผวนและความไม่แน่นอนของราคาน้ำมัน ทำให้นักลงทุนจะต้องใช้ความรอบคอบและความระมัดระวังในการลงทุน โดยประเด็นที่ควรศึกษาคือ น้ำมันขึ้นราคาเพราะปัจจัยอะไร เพื่อนำข้อมูลที่ได้มาประเมินหาแนวโน้มว่ามีความน่าสนใจลงทุนหรือไม่ โดยปัจจัยหลักที่ส่งผลกระทบต่อราคาน้ำมันโดยตรง คือ
 

1. ปัจจัยเศรษฐกิจ อุปสงค์และอุปทาน

ภาวะเศรษฐกิจมีความเกี่ยวข้องกับอุปสงค์และอุปทานโดยตรง ด้วยหลักการพื้นฐานคือ เมื่อเศรษฐกิจดี ประชาชนมีรายได้ดี ความต้องการซื้อจะเพิ่มสูงขึ้น ราคาน้ำมันก็จะปรับตัวสูงขึ้นไปด้วย แต่ถ้าเศรษฐกิจไม่ดี ประชาชนมีรายได้ลดลง ความต้องการซื้อก็จะลดลง ราคาน้ำมันก็จะปรับลดลงไปด้วย เพราะน้ำมันคือวัตถุดิบที่เป็นต้นทุนของอุตสาหกรรมภาคการผลิต ทั้งสินค้าอุปโภคและบริโภค ความเคลื่อนไหวของราคาจึงปรับเปลี่ยนไปตามสภาพเศรษฐกิจ
 

2. ภาวะสงคราม

ตั้งแต่สงครามระหว่างประเทศรัสเซียกับประเทศยูเครน สู่การทำสงครามครั้งใหม่ระหว่างประเทศอิสราเอลและกลุ่มฮามาส ได้ส่งผลกระทบต่อราคาน้ำมันดิบเป็นอย่างมาก ทั้งมาตรการคว่ำบาตร ด้วยการไม่นำเข้าพลังงานจากประเทศรัสเซีย ซึ่งก็ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของยุโรปอย่างรุนแรง เนื่องจากเดิมทียุโรปก็ประสบปัญหาขาดแคลนพลังงานเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว หรือแม้แต่ประเทศอิสราเอลที่ไม่ได้เป็นผู้ผลิตน้ำมันรายใหญ่ก็จริง แต่ตลาดก็ยังมีความกังวลเกี่ยวกับความรุนแรงที่เพิ่มมากขึ้น ซึ่งอาจลุกลามไปสู่ตะวันออกกลางที่เป็นผู้ผลิตน้ำมันรายใหญ่ได้ ยังเป็นเรื่องที่ต้องติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด เพื่อให้แนวโน้มมีความชัดเจนมากกว่านี้
 

3. ค่าเงิน

ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ เป็นหนึ่งในปัจจัยที่สร้างความผันผวนให้กับราคาน้ำมันดิบ เนื่องจากการซื้อขายน้ำมันจากทั่วโลก จะใช้สกุลเงินดอลลาร์สหรัฐฯ เป็นหลัก ดังนั้นเมื่อค่าเงินอ่อนค่าลง ราคาน้ำมันจะปรับตัวสูงขึ้น และเมื่อประเทศสหรัฐอเมริกามีการปรับนโยบายทางการเงิน หรือมีการปรับอัตราดอกเบี้ย ที่ส่งผลต่อค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ ราคาน้ำมันก็จะปรับทิศทางตามไปด้วย และสำหรับนักลงทุนชาวไทย เมื่อต้องการลงทุนในน้ำมันต้องไม่ลืมที่จะสำรวจว่า ทิศทางของดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อเงินบาทไทยเป็นอย่างไร มีความผันผวนรุนแรงหรือไม่ เพื่อนำไปสู่การเลือกลงทุนที่จะต้องมีมาตรการป้องกันความเสี่ยงจากค่าเงินด้วย
 
3 ทางเลือกลงทุนในน้ำมัน
 

3 ทางเลือก ช่วยให้คุณลงทุนในน้ำมันได้ง่ายขึ้น

การลงทุนในน้ำมันเป็นการลงทุนที่มีความเสี่ยง แต่ในความเสี่ยงหากนักลงทุนมีการวางกลยุทธ์การลงทุนที่ดี ก็มีโอกาสสร้างผลตอบแทนให้เกิดขึ้นได้ โดยช่องทางการลงทุนน้ำมันมีให้เลือกหลายช่องทางด้วยกัน คือ
 

1. กองทุนรวมน้ำมัน

กองทุนรวมน้ำมันในปัจจุบัน จะเป็นกองทุนรวมที่มีนโยบายหลักเน้นลงทุนในกองทุนรวมน้ำมันต่างประเทศ ถือเป็นกองทุนที่มีความเสี่ยงสูง และมีเรื่องของอัตราแลกเปลี่ยนเข้ามาเกี่ยวข้องในการลงทุนด้วย ถือเป็นทางเลือกที่ใช้เพื่อกระจายความเสี่ยงให้พอร์ตการลงทุนได้
 

2. ETF

ETF กลุ่มพลังงาน เป็นการลงทุนที่มีลักษณะคล้ายกับกองทุนดัชนีกลุ่มพลังงาน แตกต่างกันตรงที่นักลงทุนจะสามารถทำการซื้อขาย ETF ในตลาดหลักทรัพย์ได้เหมือนกับหุ้นด้วยราคาแบบเรียลไทม์
 

3. หุ้น

เป็นการลงทุนน้ำมันในหุ้นกลุ่มพลังงาน เหมาะสำหรับนักลงทุนที่มีประสบการณ์ สามารถคัดเลือกหุ้นที่มีพื้นฐานดีแบบรายตัวได้
 
เริ่มต้นลงทุนกองทุนรวมน้ำมัน
 

เริ่มต้นลงทุนในน้ำมันได้ง่าย ๆ ผ่านกองทุนรวมน้ำมัน

สำหรับนักลงทุนที่ต้องการเริ่มต้นลงทุนในน้ำมัน สามารถเริ่มต้นได้ง่าย ๆ ผ่านกองทุนลงทุนน้ำมัน อย่างกองทุนเปิดกรุงศรีออยล์ (KF-OIL) เป็นกองทุนรวมที่ลงทุนผ่านกองทุนหลักชื่อ Invesco DB Oil ETF ที่มีนโยบายลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าของน้ำมันดิบ West Texas Intermediate (WTI) โดยมุ่งหวังให้ได้ผลตอบแทนที่ใกล้เคียงกับดัชนี DBIQ Optimum Yield Crude Oil Index Express Return โดยลงทุนเฉลี่ยในรอบปีไม่น้อยกว่า 80% ของ NAV

กองทุนนี้มีความเสี่ยงอยู่ในระดับ 8 คือมีความเสี่ยงสูงมาก และไม่มีนโยบายจ่ายเงินปันผล และมีนโยบายการป้องกันความเสี่ยงของอัตราแลกเปลี่ยนตามดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุน

การลงทุนในน้ำมัน สามารถใช้เป็นการลงทุนทางเลือก (Alternative Investment) ในพอร์ต เพื่อช่วยกระจายความเสี่ยงในสินทรัพย์ที่มีโอกาสสร้างผลตอบแทนสูงได้ แต่ทั้งนี้ก็มีความเสี่ยงสูงมากด้วยเช่นกัน นักลงทุนจึงควรลงทุนเมื่อมีความเข้าใจและหมั่นติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด หากสนใจลงทุนในกองทุนน้ำมันแต่ยังไม่แน่ใจว่าต้องลงทุนเป็นสัดส่วนเท่าไรของพอร์ต สามารถขอรับคำปรึกษาจากที่ปรึกษาทางการเงิน ที่มีความเชี่ยวชาญพิเศษด้านการเงินและการลงทุนจาก KRUNGSRI PRIME ได้ที่ช่องทางฮอตไลน์ 02-296-5959 ทุกวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 9.00 น.-17.00 น. หรือฝากข้อมูล เพื่อให้ทีมผู้เชี่ยวชาญจาก KRUNGSRI PRIME ติดต่อกลับก็ได้เช่นกัน

ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน ความเสี่ยง ก่อนตัดสินใจลงทุน
  • KF-OIL ลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุน Invesco DB Oil Fund ซึ่งเป็นกองทุนรวมอีทีเอฟ (Exchange Traded Fund) ที่จดทะเบียนซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์สหรัฐอเมริกา โดยกองทุนหลักมีนโยบายลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันดิบ West Texas Intermediate (WTI) เพื่อให้ได้รับผลตอบแทนใกล้เคียงกับผลตอบแทนของดัชนี DBIQ Optimum Yield Crude Oil Index Excess Return ซึ่งผลตอบแทนจากการลงทุนตามความเคลื่อนไหวของราคาสัญญาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันดิบ (Oil Futures) อาจไม่เท่ากับการเคลื่อนไหวของราคาน้ำมันที่เห็นที่จุดบริการน้ำมัน
  • KF-OIL อาจทำสัญญาป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนเงินในหลักทรัพย์สกุลเงินตราต่างประเทศที่กองทุนถืออยู่ โดยขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของบริษัทจัดการซึ่งอาจมีต้นทุนสำหรับการทำธุรกรรมฯ โดยทำให้ผลตอบแทนของกองทุนโดยรวมลดลงจากต้นทุนที่เพิ่มขึ้น และในกรณีที่ไม่ได้ทำสัญญาป้องกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยนเงิน ผู้ลงทุนอาจขาดทุนหรือได้รับผลกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนเงิน หรือได้รับเงินคืนต่ำกว่าเงินลงทุนเริ่มแรกได้
  • KF-OIL เป็นกองทุนรวมที่มีความเสี่ยงสูงหรือซับซ้อน ผู้ลงทุนควรขอคำแนะนำเพิ่มเติมก่อนทำการลงทุน
สนใจร่วมเป็นลูกค้า ด้วยการเลือก KRUNGSRI PRIME ต่อยอดเงินให้เติบโต​
KRUNGSRI PRIME ช่วยพาคุณไปสู่เป้าหมายทางการเงินได้เร็วขึ้น พร้อมเพิ่มความมั่งคั่งทางการเงิน และต่อยอดเงินล้านของคุณให้เติบโตสู่ล้านถัดๆไป นอกจากนี้ KRUNGSRI PRIME ยังมอบความพิเศษด้วยสิทธิ์ต่างๆทั้งด้านการเงินและไลฟ์สไตล์ที่ถูกคัดสรรมาให้แก่ลูกค้าคนพิเศษเช่นคุณ