Trump Tariffs สะเทือนห่วงโซ่อุปทานโลก ใครได้ ใครเสีย?

โดย สิรภัทร เกาฏีระ CFP® นักวางแผนการเงิน
12 มิถุนายน 2568
Trump Tariffs สะเทือนห่วงโซ่อุปทานโลก ใครได้ ใครเสีย?
นโยบายกีดกันการค้าของประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์ หรือ Trump Tariffs กำลังกลับมาเป็นประเด็นร้อนในเวทีเศรษฐกิจโลกอีกครั้ง เมื่อทรัมป์แสดงท่าทีชัดเจน พร้อมกลับมาผลักดันนโยบาย “America First” และมาตรการเรียกเก็บภาษีนำเข้าสินค้าอย่างเข้มข้นอีกระลอก แนวทางเช่นนี้ไม่เพียงส่งแรงสะเทือนไปยังคู่ค้ารายใหญ่ เช่น จีน แต่ยังส่งผลกระทบเป็นลูกโซ่ต่อ ห่วงโซ่อุปทานโลก (Global Supply Chain)

ในขณะเดียวกัน ตลาดเงิน ตลาดทุนกลับเผชิญความผันผวนอย่างต่อเนื่อง จากความไม่แน่นอนทางนโยบายการค้า ทำให้นักลงทุนจำเป็นต้องกลับมาทบทวนกลยุทธ์ รับมือกับแรงกระแทก และมองหาโอกาสใหม่ในโลกที่กำลังเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว
 

จุดเริ่มต้น Trade War สู่มาตรการกีดกันการค้า Trump Tariffs

สงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีนเริ่มต้นในปี 2018 เมื่อรัฐบาลภายใต้การนำของ โดนัลด์ ทรัมป์ ประกาศขึ้นภาษีสินค้านำเข้าจากจีน มูลค่าหลายแสนล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยอ้างถึงการขาดดุลการค้าอย่างต่อเนื่องและข้อกังวลเรื่องการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา

มาตรการเหล่านี้นำไปสู่การตอบโต้จากจีน และขยายวงกว้างไปยังพันธมิตรการค้ารายอื่น ๆ จนกลายเป็น “Trade War” เต็มรูปแบบ ที่ก่อให้เกิดการชะงักงันของการลงทุน การวางแผนการผลิต และการจัดซื้อวัตถุดิบในระดับโลก ส่งผลกระทบต่อ ห่วงโซ่อุปทานโลก (Global Supply Chain) ในหลายด้าน ดังนี้
  • ต้นทุนสูงขึ้น: ภาษีนำเข้าส่งผลให้ต้นทุนวัตถุดิบและสินค้ากึ่งสำเร็จรูปจากจีนและประเทศอื่น ๆ สูงขึ้น ส่งผลให้กำลังซื้อของผู้บริโภคถดถอยลงอย่างมีนัยสำคัญ
  • การย้ายฐานการผลิต: บริษัทหลายแห่งเริ่มพิจารณาย้ายฐานการผลิตออกจากจีน และกระจายไปยังประเทศต่าง ๆ โดยเฉพาะในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
  • ความล่าช้าและไม่แน่นอนในซัพพลายเชน: สินค้าหลายรายการต้องเผชิญกับกระบวนการตรวจสอบเพิ่มเติม ทำให้เกิดการสะดุดของกระบวนการผลิตและส่งมอบสินค้า

แนวโน้มดังกล่าว ได้เร่งให้เกิดกระแส “Reshoring” “Nearshoring” และ “Friendshoring” ซึ่งหมายถึงการย้ายฐานการผลิตกลับเข้าประเทศตนเอง ใกล้ประเทศปลายทาง หรือย้ายฐานไปยังประเทศพันธมิตร เพื่อควบคุมความเสี่ยงจากนโยบายการค้า แม้ว่าจะส่งผลให้ต่อต้นทุนการผลิต แต่ความยืดหยุ่นและการตอบสนองต่อตลาดได้อย่างรวดเร็ว การสร้างความมั่นคงของห่วงโซ่อุปทาน กลายเป็นปัจจัยสำคัญที่มีน้ำหนักในการตัดสินใจทางธุรกิจ ซึ่งจะนำไปสู่การเปลี่ยนภูมิทัศน์การผลิตโลกครั้งใหญ่
 

ผลต่อประเทศตลาดเกิดใหม่และตลาดโลก

การเปลี่ยนแปลงในห่วงโซ่อุปทานโลก ส่งผลโดยตรงต่อประเทศเกิดใหม่ (Emerging Markets) ทั้งในแถบเอเชีย ละตินอเมริกา ยุโรปตะวันออกและตะวันออกกลาง
  • บางประเทศได้ประโยชน์: ประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น เวียดนาม อินโดนีเซีย และไทย อาจกลายเป็นทางเลือกใหม่สำหรับฐานการผลิตแทนจีน
  • แต่บางประเทศเผชิญความเสี่ยง: โดยเฉพาะประเทศที่พึ่งพาการส่งออกไปยังสหรัฐฯ หรือมีค่าเงินอ่อนค่า อาจเผชิญแรงขายจากนักลงทุนต่างชาติ เช่น จีน เม็กซิโก แคนาดา
  • ความผันผวนของเงินทุนเคลื่อนย้าย: นักลงทุนทั่วโลกมีแนวโน้มปรับลดการถือครองสินทรัพย์เสี่ยงในประเทศกำลังพัฒนา ไปยังสินทรัพย์ปลอดภัย (safe-haven assets) เช่น ทองคำ พันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ หากเห็นสัญญาณการตอบโต้หรือความไม่แน่นอนทางนโยบายการค้าเพิ่มขึ้น

ทั้งนี้ ประเทศตลาดเกิดใหม่ เช่น ประเทศไทย ควรเตรียมมาตรการรับมือ เช่น เปิดเสรีการค้าระหว่างกัน เพื่อลดพึ่งพาตลาดสหรัฐและจีน การพัฒนาตลาดภายในประเทศ ลดพึ่งพาการส่งออก รวมถึงการปฏิรูปโครงสร้างเศรษฐกิจในระยะยาว เพื่อรับมือกับความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นในอนาคต
 

นักลงทุนควรรับมืออย่างไรกับความผันผวนระดับโลก

 
4 วิธีรับมือการลงทุนที่ผันผวน

ในภาวะที่ความไม่แน่นอนทางนโยบายกลับมาเด่นชัด โดยเฉพาะนโยบาย Trump Tariffs กลับมามีบทบาทสำคัญในเศรษฐกิจโลก ความไม่แน่นอนและความผันผวนในตลาดการเงินมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น นักลงทุนจำเป็นต้องปรับกลยุทธ์การลงทุนเพื่อบริหารความเสี่ยงและแสวงหาโอกาสในสภาวะตลาดที่ท้าทาย โดยมีกลยุทธ์หลัก ๆ ที่ควรนำไปใช้ ดังนี้
  • กระจายการลงทุน (Diversification) ข้ามภูมิภาคและประเภทสินทรัพย์ เพื่อบรรเทาความเสี่ยงเฉพาะด้าน เช่น เพิ่มสัดส่วนลงทุนในตลาดที่ได้ประโยชน์จากการย้ายฐานผลิต ลดน้ำหนักลงทุนในประเทศที่อาจได้รับผลกระทบรุนแรงจากมาตรการภาษี สร้างสมดุลระหว่างสินทรัพย์เสี่ยงและสินทรัพย์ปลอดภัย เลือกสินทรัพย์ที่มีคุณสมบัติป้องกันเงินเฟ้อ หรือหุ้นกลุ่มที่ส่งผลต้นทุนไปยังผู้บริโภคได้
  • เพิ่มน้ำหนักสินทรัพย์ปลอดภัย (Safe Haven) เช่น ทองคำ กองทุนพันธบัตรระยะสั้น หรือตราสารหนี้ที่มั่นคง เงินสดกองทุนตลาดเงิน (Money Market Funds) มีสภาพคล่องสูงและความเสี่ยงต่ำ เหมาะสำหรับเก็บเงินในระยะสั้น
  • มองหาโอกาสในหุ้นกลุ่ม Reshoring หรือกลุ่มที่ไม่อ่อนไหวต่อต่างประเทศ เช่น กลุ่มอุตสาหกรรมภายในประเทศ (Domestic-oriented), พลังงาน, ความมั่นคงทางไซเบอร์ สาธารณูปโภค ผู้ผลิตเครื่องจักรและระบบอัตโนมัติ รวมถึงบริษัทด้านโลจิสติกส์และซัพพลายเชน ที่ช่วยบริษัทปรับตัวกับการเปลี่ยนแปลงในห่วงโซ่อุปทาน
  • เกาะติดนโยบาย ปัจจัยการเมืองและข้อตกลงการค้าระหว่างประเทศ ซึ่งอาจมีผลเปลี่ยนเกมการลงทุนในระดับโลก เช่น การเจรจาทวิภาคี การรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจภูมิภาค มาตรการตอบโต้ทางการค้า การปรับเปลี่ยนนโยบายด้านภาษี กฎ ระเบียบด้านสิ่งแวดล้อม รวมถึงนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจที่อาจสร้างโอกาสการลงทุน

ท่ามกลางวิกฤต ยังมีโอกาส KRUNGSRI PRIME ขอแนะนำ กรุงศรีอีเมอร์จิ้งมาร์เก็ต เอ็กซ์ไชน่า อิควิตี้-สะสมมูลค่า (KF-EMXCN-A)

ที่เป็นโอกาสการลงทุนในตลาดเกิดใหม่ไม่รวมจีน มีศักยภาพที่จะฝ่าความผันผวนจากสงครามการค้า จากการเน้นลงทุนในหุ้นของบริษัทคุณภาพสูงที่ดำเนินธุรกิจภายในประเทศเป็นหลัก มีสัดส่วนหลักอยู่ในอินเดีย ไต้หวัน และเกาหลี โดยกองทุนมีจุดเด่น ดังนี้
  • มีนโยบายลงทุนในกองทุนหลักชื่อ RBC Funds (Lux) - Emerging Markets ex-China Equity Fund โดยจุดเด่นของกองทุนหลัก คือ ใช้กลยุทธ์การลงทุนแบบผสมผสานระหว่าง Top-down และ Bottom-up เพื่อคัดเลือกหุ้นที่มีศักยภาพเติบโตระยะยาว โดยพิจารณาถึงความยั่งยืนของธุรกิจ ทีมบริหาร และธรรมาภิบาลควบคู่กันไป
  • พอร์ตของกองทุนหลักประกอบด้วยหุ้นประมาณ 45 - 50 ตัว มีการกระจายน้ำหนักลงทุนตามความเชื่อมั่นในหุ้นแต่ละตัว ให้น้ำหนักการลงทุนในอินเดีย ไต้หวัน และเกาหลี พร้อมกระจายการลงทุนไปยังอุตสาหกรรมต่าง ๆ โดยกลุ่มไอที การเงิน และสินค้าอุปโภคบริโภค
  • เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการเพิ่มโอกาสสร้างผลตอบแทนที่ดีระยะยาวให้กับพอร์ตการลงทุน และผู้ที่มีพอร์ตการลงทุนในหุ้นจีนอยู่แล้ว แต่มองหากองทุนที่จะช่วยกระจายความเสี่ยง ลดความผันผวนจากตลาดจีนด้วย

“ความไม่แน่นอนทางการค้าอาจสร้างความผันผวนในระยะสั้น แต่เป็นโอกาสสำหรับนักลงทุนที่มีแผนระยะยาว” ปัจจุบันนี้ KRUNGSRI PRIME มีบริการที่ปรึกษาด้านการลงทุนช่วยคุณตัดสินใจ ทั้งจังหวะการเข้าซื้อ - ขายกองทุนรวม รวมทั้งทำหน้าที่อัปเดตทุกความเคลื่อนไหวเศรษฐกิจของตลาดกองทุน รวมคัดสรรกองทุนเด่นที่เหมาะสำหรับแต่ละสถานการณ์การลงทุน สามารถติดต่อได้ทางฮอตไลน์ 02-296-5959 ทุกวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 9.00 น.-17.00 น. หรือฝากข้อมูลให้ติดต่อกลับ

ขอรับหนังสือชี้ชวน และสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ธนาคารกรุงศรีอยุธยาทุกสาขา
ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยง ก่อนตัดสินใจลงทุน
  • ผลการดำเนินงานในอดีตของกองทุนรวมมิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต
  • KF-EMXCN-A กองทุนป้องกันความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนตามดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุน จึงมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน ทำให้ผู้ลงทุนขาดทุนหรือได้รับกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน/หรือได้รับเงินคืนต่ำกว่าเงินทุนเริ่มแรกได้
สนใจร่วมเป็นลูกค้า ด้วยการเลือก KRUNGSRI PRIME ต่อยอดเงินให้เติบโต​
KRUNGSRI PRIME ช่วยพาคุณไปสู่เป้าหมายทางการเงินได้เร็วขึ้น พร้อมเพิ่มความมั่งคั่งทางการเงิน และต่อยอดเงินล้านของคุณให้เติบโตสู่ล้านถัดๆไป นอกจากนี้ KRUNGSRI PRIME ยังมอบความพิเศษด้วยสิทธิ์ต่างๆทั้งด้านการเงินและไลฟ์สไตล์ที่ถูกคัดสรรมาให้แก่ลูกค้าคนพิเศษเช่นคุณ