เอเชียเนื้อหอม โอกาสสำหรับนักลงทุนมาถึงแล้วจริงเหรอ?

โดย สิรภัทร เกาฏีระ CFP® นักวางแผนการเงิน
28 สิงหาคม 2567
เอเชีย เป้าหมายใหม่นักลงทุน
นักลงทุนส่วนใหญ่กำลังมีความลังเลว่าแท้จริงแล้ว เอเชียใช่เป้าหมายถัดไปที่นักลงทุนควรจะเข้าลงทุนหรือไม่ หากกำลังกังวลกับสถานการณ์โลกที่มีความผันผวนอย่างหนัก เอเชียคือหนึ่งทางเลือกที่ดีที่ควรมีติดไว้ในพอร์ตของการลงทุน

ปัจจุบันปัญหาโลกแบ่งขั้วมีความรุนแรงมากขึ้น ส่งผลให้ประเทศต่าง ๆ ต้องพึ่งพาตนเองและพันธมิตร โดยเฉพาะประเทศในตลาดเกิดใหม่ (Emerging Market) ที่มีความเป็นกลางในภูมิภาคเอเชียอย่างไทยและประเทศต่าง ๆ ในอาเซียน ส่งผลให้มีการเคลื่อนย้ายฐานการลงทุนมาสู่ภูมิภาคนี้มากขึ้น

 

สงครามการค้าหนุน FDI เอเชียพุ่ง

สงครามการค้าระหว่างจีนกับสหรัฐฯ และโลกตะวันตก ทวีความรุนแรงขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากกระแส China DE-risking หรือการลดความเสี่ยงในการพึ่งพาจีนมากเกินไป รวมทั้งมีมาตรการตอบโต้ด้านการค้าและการลงทุนโดยตรง เช่น การประกาศขึ้นภาษีนำเข้ารถ EV จากจีน 100% เมื่อเดือนพฤษภาคม 2567 ที่ผ่านมา สิ่งที่เกิดขึ้นทำให้เกิดการเคลื่อนย้ายฐานผลิตและการลงทุนทั่วโลกเพื่อลดความเสี่ยงจากการหยุดชะงักของ supply chain โดยภูมิภาคที่ได้อานิสงส์ คือเอเชียนั่นเอง

กระแสการเคลื่อนย้ายฐานผลิตและการลงทุนออกจากจีน ทำให้ผู้ผลิตย้ายฐานผลิตไปสู่ประเทศต่าง ๆ ซึ่งถูกเรียกว่า “ห่วงโซ่อุปทานทางเลือกในเอเชีย” (Alternative Asian Supply Chain) ซึ่งมีประเทศที่มีศักยภาพรวม 14 ประเทศ ได้แก่ ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ไต้หวัน อินเดีย บังคลาเทศ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา มาเลเซีย สิงคโปร์ อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และบรูไน โดยประเทศที่มีการเติบโตของยอดเงินลงทุนจากต่างประเทศ (FDI) สูงสุด ได้แก่ อินเดีย และกลุ่มประเทศอาเซียน

แนวโน้มการลงทุนโดยตรงในอาเซียนและอินเดียเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยยะสำคัญ โดยอินเดียเพิ่มจาก 2.8 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐฯ เป็น 3.7 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐฯ ใน 10 ปีต่อมา หรือเพิ่มขึ้น 2.8% ต่อปี ขณะที่ในอาเซียนเพิ่มขึ้นจาก 1.3 แสนล้านเหรียญสหรัฐฯ ในปี 2013 เป็น 2.04 แสนล้านเหรียญสหรัฐฯใน 10 ปีต่อมา หรือขยายตัว 4% ต่อปี โดยเวียดนามถือเป็นดาวรุ่งที่เติบโตถึง 7.4% รวมถึงไทย1 (ข้อมูล ณ วันที่ 14 มกราคม 2566)
 

อุตสาหกรรมดาวรุ่งในเอเชียมีอะไรบ้าง

 
อุตสาหกรรมดาวรุ่งในเอเชียมีอะไรบ้าง

กลุ่มประเทศอาเซียนมีศักยภาพในการเติบโตสูง โดยเฉพาะเวียดนาม อินโดนีเซีย และไทย โดยกลุ่มอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพในการเติบโต ได้แก่ พลังงานหมุนเวียน จากกระแสการพัฒนาประเทศสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน รวมถึงภาคการผลิต ภาคขนส่ง โลจิสติกส์ และการท่องเที่ยว โดยมี 3 เทรนด์การลงทุนที่น่าสนใจ ดังนี้
 

1. เทคโนโลยีดิจิทัลและอีคอมเมิร์ซ

ตลาดอีคอมเมิร์ซในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกยังเติบโตต่อเนื่อง โดยคาดว่าจะมีมูลค่าถึง 2 ล้านล้านเหรียญสหรัฐฯ2 คิดเป็น 47% ของยอดขายอีคอมเมิร์ซทั่วโลก และยังเติบโตในอัตรา 8% ต่อปี ถึงปี 2028 ขณะที่ผู้บริโภคมุ่งแสวงหาประสบการณ์การชอปปิ้งออนไลน์ที่ดีขึ้น ทำให้เกิดการลงทุนพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ ๆ นั่นเป็นที่มาของการที่บริษัทไอทียักษ์ใหญ่ระดับโลกอย่าง Amazon Web Service (AWS) ประกาศแผนลงทุนในไทยกว่า 2 แสนล้านบาท ภายในปี 2580 รวมทั้ง Google และ Microsoft ผู้ให้บริการระดับโลกได้ประกาศแผนลงทุนในภูมิภาคนี้เช่นเดียวกัน
 

2. พลังงานสะอาดที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

แนวโน้มการลงทุนของโลกเปลี่ยนผ่านเข้าสู่ยุคพลังงานสะอาด (Clean Energy) ที่กำลังกลายเป็นพลังงานหลักในอนาคต เพื่อมุ่งรักษาสมดุลของธรรมชาติ และลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม หลายประเทศทั่วโลกตั้งเป้าหมายก้าวสู่ระบบเศรษฐกิจที่มีความเป็นกลางทางคาร์บอน (Neutral Carbon Economy) และใช้แนวทางนี้มาเป็นมาตรการกีดกันทางการค้า เช่น ในยุโรปมีมาตรการจัดเก็บภาษีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสำหรับสินค้านำเข้า (Carbon Border Adjustment Mechanism หรือ CBAM) ทำให้ภาคอุตสาหกรรมต้องปรับตัวหันมาใช้พลังงานสะอาดมากขึ้น
 

3. การท่องเที่ยวในเอเชีย

การท่องเที่ยวในเอเชียกลับมาเฟื่องฟูอีกครั้งหลังเปิดพรมแดน โดย 30% ของนักท่องเที่ยวในเอเชียแปซิฟิกวางแผนที่จะใช้งบเดินทางท่องเที่ยวมากขึ้น3 และแน่นอน เมืองท่องเที่ยวอันดับ 1 ในเอเชีย จากการจัดอันดับของ Travel + Leisure Luxury Awards Asia Pacific 20244 ได้แก่ กรุงเทพฯ รองลงมา คือ ญี่ปุ่น และดูไบ ปัจจุบันรายได้จากการท่องเที่ยวคิดเป็นสัดส่วนเฉลี่ยถึง 12.4% ของจีดีพี และคาดว่าจะเพิ่มเป็น 15% ของจีดีพีในปี 2568 อุตสาหกรรมท่องเที่ยวจึงมีส่วนช่วยอย่างมากต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจของแต่ละประเทศ

จะเห็นได้ว่า ปัจจุบันประเทศต่าง ๆ ในทวีปนี้ มีศักยภาพในการพัฒนาทั้งด้านเทคโนโลยี เศรษฐกิจ และสังคม ให้ทัดเทียมกับประเทศมหาอำนาจ อย่างเช่น อเมริกา ยุโรป เป็นต้น ซึ่งประเทศเหล่านี้พร้อมจะพัฒนาตัวเองให้ก้าวไปข้างหน้าอย่างต่อเนื่อง อีกทั้งยังเป็นที่จับตามองของนักลงทุนทั่วโลกอีกด้วย การลงทุนในเอเชียไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป เพราะธนาคารกรุงศรีได้รวมการลงทุนในเอเชียมาไว้ให้คุณเลือกลงทุนแล้ว

กองทุนเปิดกรุงศรีเอเชียนอิควิตี้เฮดจ์เอฟเอ็กซ์-สะสมมูลค่า (KFHASIA-A) มีนโยบายลงทุนในกองทุนหลักคือ Baillie Gifford Pacific Fund (Class B Acc) ที่เน้นลงทุนในหุ้นของบริษัทที่อยู่ในทวีปเอเชีย (ไม่รวมประเทศญี่ปุ่น) กองทุนจะบริหารการลงทุนแบบเชิงรุก โดยลงทุนในบริษัททุกขนาดและทุกหมวดอุตสาหกรรม เช่น Samsung Electronics : บริษัทลูกของ Samsung ที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับด้านเทคโนโลยี นวัตกรรม TSMC : บริษัทผู้ผลิตชิปรายใหญ่ และเป็นผู้ผลิตชิป ให้กับบริษัทยักษ์ใหญ่อย่าง Apple และ CNOCC : บริษัทพลังงานยักษ์ใหญ่ในจีน เป็นต้น

กองทุนเปิดเคเคพี EMERGING MARKETS EX CHINA – HEDGED (KKP EMXCN-H) มีนโยบายลงทุนในกองทุนหลัก คือ iShares MSCI Emerging Markets ex China ETF (กองทุนหลัก) ที่เน้นลงทุนตามดัชนีที่ประกอบด้วยหุ้นในตลาดกลุ่มประเทศเกิดใหม่ขนาดกลางและขนาดใหญ่ (ไม่รวมประเทศจีน) พอร์ตการลงทุนมีสัดส่วนหลักอยู่ใน 3 ตลาดใหญ่อย่าง อินเดีย ไต้หวัน เกาหลีใต้ ซึ่งเป็นประเทศที่มีการเติบโตโดดเด่น รวมถึงมีชื่อเสียงด้านเทคโนโลยีและเซมิคอนดักเตอร์ ซึ่งมีแนวโน้มเติบโตดีในอนาคต

กองทุนเปิดไทยพาณิชย์หุ้นเกาหลี (ชนิดสะสมมูลค่า) (SCBKEQTG) เน้นลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุนรวมต่างประเทศเพียงกองทุนเดียว (Feeder Fund) ได้แก่ iShares MSCI South Korea ETF (กองทุนหลัก) เป็นกองทุนประเภท Equity Exchange Traded Fund (Equity ETF) ซึ่งบริหารและจัดการโดย BlackRock Fund Advisors (BFA) จดทะเบียนซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์นิวยอร์ก โดยกองทุนหลักจะลงทุนในตราสารทุนของประเทศเกาหลีใต้เป็นสกุลเงินวอน และกองทุนจะลงทุนในกองทุนหลักดังกล่าวเป็นสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐฯ (USD)

การลงทุนในเอเชียอาจเป็นเรื่องท้าทายสำหรับนักลงทุนมือใหม่ หรือเป็นตัวช่วยเสริมความแข็งแกร่งให้กับพอร์ตสำหรับผู้ที่มีความชำนาญในการลงทุน หากต้องการเข้าลงทุนกองทุนในเอเชีย หรือประเทศอื่น ๆ ที่มีศักยภาพในการเติบโต สามารถติดต่อเพื่อรับคำปรึกษาได้ผ่านช่องทางโทรศัพท์ 02-296-5959 วันจันทร์ – ศุกร์ เวลา 10.00 – 17.00 น. หรือฝากข้อมูลเพื่อให้ผู้เชี่ยวชาญด้านการลงทุนจาก KRUNGSRI PRIME ติดต่อกลับ

ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน
  • ผลการดำเนินงานในอดีตของกองทุนรวม มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต
  • SCBKEQTG ป้องกันความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนตามดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุนจึงมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน ซึ่งอาจทำให้ผู้ลงทุนขาดทุน หรือได้รับกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน/หรือได้รับเงินคืนต่ำกว่าเงินลงทุนเริ่มแรกได้


อ้างอิง
1 https://res.innovestxonline.com
2 https://www.euromonitor.com
3 https://www.euromonitor.com
4 https://www.travelandleisureasia.com
สนใจร่วมเป็นลูกค้า ด้วยการเลือก KRUNGSRI PRIME ต่อยอดเงินให้เติบโต​
KRUNGSRI PRIME ช่วยพาคุณไปสู่เป้าหมายทางการเงินได้เร็วขึ้น พร้อมเพิ่มความมั่งคั่งทางการเงิน และต่อยอดเงินล้านของคุณให้เติบโตสู่ล้านถัดๆไป นอกจากนี้ KRUNGSRI PRIME ยังมอบความพิเศษด้วยสิทธิ์ต่างๆทั้งด้านการเงินและไลฟ์สไตล์ที่ถูกคัดสรรมาให้แก่ลูกค้าคนพิเศษเช่นคุณ