วางแผนลาออกเพื่อสานฝันสร้างธุรกิจควรเตรียมตัวอย่างไร

0 Share
0
วางแผนลาออกเพื่อสานฝันสร้างธุรกิจควรเตรียมตัวอย่างไร

ถ้าเรามั่นใจว่าเราพร้อมที่จะออกจากงาน เพื่อเริ่มต้นใหม่ในชีวิตกับการมีธุรกิจของตัวเองสักชิ้นหนึ่งตามความฝันที่ตั้งไว้ อยากแนะนำให้พักความตั้งใจไว้ก่อน แต่ลองเช็คเรื่องต่อไปนี้ให้ดี เพื่อที่ความฝันจะได้ไม่ล่มสลายกลางคัน
 
1. เงินสำรองมีหรือยัง ? เพราะการทำธุรกิจต้องใช้เงินเยอะ ดังนั้นเราต้องมีเงินสำรองไว้สำหรับใช้จ่ายส่วนตัว จะได้ไม่กระทบภาระใช้จ่ายและการดำเนินงานของธุรกิจ เพราะชีวิตเราก็ต้องใช้เงิน และธุรกิจก็ต้องใช้เงิน แต่มันควรเป็นเงินคนละก้อน ที่ผ่านการเตรียมพร้อมมาในระดับหนึ่งแล้ว อย่างน้อยๆ ตัวเราควรมีเงินสำรองไว้เพื่อใช้ฉุกเฉินไว้สัก 6 เดือนถึง 1 ปี เพื่อที่จะได้ทำธุรกิจได้เต็มที่โดยที่ไม่ต้องห่วงภาระของตัวเอง 

2. ความรู้ความสามารถ ได้ลองทำธุรกิจบ้างหรือเปล่า หรือได้ลองทำควบคู่ไปกับการทำงานประจำแล้วหรือยัง เพื่อให้มั่นใจว่าการลาออกครั้งนี้มันจะเป็นครั้งสุดท้าย เพราะว่าการใช้ชีวิตแบบนั้น มันต้องมีความสามารถที่จะส่งต่อความฝัน ไม่ใช่ใช้แค่ความตั้งใจเพียงอย่างเดียวแล้วจะประสบความสำเร็จ 

ถ้าใครเคยอ่านข้อคิด หนังสือ หรือเวลาที่เรามองตัวเอง ทุกคนมักชอบพูดว่าธุรกิจส่วนตัว ไม่ใช่เรื่องยาก แต่ความเป็นจริงก็คือ คนที่ไม่ประสบความสำเร็จมีมาก แต่ไม่มีโอกาสลุกขึ้นมาเล่าเรื่องราวของตัวเองต่างหาก ดังนั้น ลองถามตัวเองก่อนว่า เราแน่ใจจริงๆ ว่าจะสามารถทำมันได้ และมีความพร้อมเรื่องเงินที่ทำให้ชีวิตมันง่ายขึ้นหรือยัง ไม่งั้นบางทีมันอาจจะกลายเป็นการทำตามความฝันที่สร้างฝันร้ายในชีวิตจริงก็ได้
 
ถ้าลองดูธุรกิจส่วนตัวยอดฮิตที่มีในตลาดตอนนี้ เช่น ขายของออนไลน์ ฟรีแลนซ์ เราลองมาเปรียบเทียบและวิเคราะห์ดูว่า ควรต้องเตรียมความพร้อมยังไงบ้างหากจะออกไปประกอบธุรกิจเป็นของตัวเอง
 
รายละเอียด ขายของออนไลน์ ฟรีแลนซ์
ค่าใช้จ่ายหลักๆ ต้นทุนของสินค้า
ต้นทุนค่าใช้จ่ายในการดูแลสินค้า ค่าขนส่ง
ต้นทุนเวลาและทรัพยากร
อุปกรณ์ในการทำงานต่างๆ
เงินสำรองเพิ่มเติม กรณีสินค้ามีปัญหา
ธุรกิจเก็บเงินไม่ได้ หมุนเงินไม่ทัน
กรณีที่ไม่มีงาน แต่มีต้นทุนต้องดูแล
ต้องเตรียมเงินไว้สำหรับการใช้จ่ายธุรกิจ
 
จะเห็นว่าในแง่ของการทำธุรกิจ ต้องคิดค่าใช้จ่ายพวกนี้ในการวางแผนการเงินล่วงหน้าด้วย (ซึ่งเป็นเพียงค่าใช้จ่ายเพียงส่วนหนึ่งเท่านั้น) และสิ่งสำคัญคือ เราต้องรู้จำนวนเงินสำรองที่เหมาะสมของตัวเองด้วยว่า ควรเป็นเท่าไร ยกตัวอย่างเช่น สมมติเราอยากจะเปิดร้านขายของออนไลน์สินค้ามือสอง พร้อมกับทำฟรีแลนซ์รับถ่ายภาพไปพร้อมๆกัน เราก็ต้องเขียนรายการออกมาให้ชัด ตัวอย่างเช่น
 
รายละเอียด ขายสินค้ามือสอง ฟรีแลนซ์รับถ่ายภาพ
อุปกรณ์ที่ต้องใช้ ไม่มี กล้องถ่ายรูป โปรแกรมแต่งภาพ คอมพิวเตอร์
ค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษา ต้นทุนค่าเช่าที่เก็บสินค้า (ถ้ามี)
หรือถ้าสามารถใช้บ้านตัวเองได้ก็จะไม่มีต้นทุน
ที่เก็บอุปกรณ์ หรือรักษาอุปกรณ์
(ขึ้นอยู่กับความจำเป็น)
ต้นทุนแรงงาน ค่าคนช่วยทำงาน แอดมินตอบคำถาม
ค่าแรงจ้างในการแพ็คสินค้า ค่าแรงในการส่งของให้ลูกค้า ฯลฯ
ค่าจ้างผู้ช่วย (ถ้ามี)
ค่าใช้จ่ายฉุกเฉิน ลูกค้าคืนของ ของชำรุด
เงินหมุนเวียนไว้สำหรับจ่ายค่าสินค้าที่จะนำเข้ามาขาย ฯลฯ
ค่าใช้จ่ายในการซื้ออุปกรณ์ใหม่
หากมีการเสียหาย หรือค่าจ้างที่ต้องจ่ายเพิ่มในบางกรณี
 
ตัวอย่างข้างต้นเป็นเพียงตัวอย่างคร่าวๆ เพื่อให้เห็นภาพของการจัดการวางแผนการเงินสำหรับธุรกิจ ดังนั้น ถ้าหากเราไม่มีเงินสำรองไว้ก็น่าจะเป็นปัญหาในระดับหนึ่ง เราจึงควรเก็บทุนตั้งตัวทำธุรกิจสะสมไว้ตั้งแต่ก่อนออกจากงานประจำให้พอเสียก่อน หรือถ้ามั่นใจว่ามีงานแน่และพร้อมเสี่ยง อาจจะใช้วิธีการเก็บเงินค่ากำไรเจียดแบ่งมาเพื่อใช้สะสมไว้สำรองก็พอช่วยได้ในระดับหนึ่งเช่นเดียวกัน
 
สุดท้ายขอย้ำไว้ว่า อย่าเพิ่งลาออกถ้ายังไม่มีเงินเหล่านี้ ทั้งเงินฉุกเฉิน เงินหมุนเวียนธุรกิจ เงินสำหรับการใช้ชีวิตส่วนตัวที่ชัดเจน โดยการทำแบบนี้ได้ จะต้องเริ่มต้นที่การจดบันทึกบัญชีรายรับ-รายจ่าย ที่มีข้อมูลพร้อมมาตั้งแต่แรก ถ้าเรามีข้อมูลเยอะแค่ไหน เราจะยิ่งทราบแผนการใช้เงินของเรา และนั่นหมายถึงเราจะยิ่งมีความปลอดภัยเรื่องการเงินมากขึ้นเท่านั้น
 
นอกจากนั้น การจัดการเวลาและการวางแผนชีวิตตัวเองก็ควรเตรียมตัวอย่างดีก่อนที่จะคิดลาออก คิดเผื่อไว้ด้วยว่าถ้าทุกอย่างไม่เป็นอย่างที่คิดไว้ เราจะมีแผนสำรอง และมีวิธีจัดการและดูแลมันอย่างไรดี รวมถึงความพร้อมทั้งด้านร่างกายและจิตใจ เพื่อที่เราสามารถเติมไฟและสร้างความฝันให้เกิดขึ้นได้จริงอย่างสมบูรณ์ที่สุด
 
< ย้อนกลับ