DCA (dollar-cost averaging) คืออะไร
รอบรู้เรื่องลงทุน
icon-Facebook icon-Twitter icon-line

DCA (dollar-cost averaging) คืออะไร

icon-access-time Posted On 01 เมษายน 2561
By Krungsri the COACH
เวลาเรามีเงินเหลือเก็บ เราก็อยากจะหาทางเลือกให้กับเงินของเรา อยากให้มัน “งอกเงย” วิธียอดนิยมก็คือ เก็บไว้เป็นเงินฝากออมทรัพย์ แต่ทว่าดอกเบี้ยมันช่างต่ำเตี้ยเสียเหลือเกิน จริงมั้ยครับ? ครั้นจะมาลงทุนในหุ้นก็ดูจะเสี่ยง แต่โอกาสที่ผลตอบแทนจะสูงกว่าการฝากเงินกินดอกเบี้ยก็มีอยู่ จะมีหนทางตรงกลางที่ไม่เสี่ยงมาก แต่ได้ผลตอบแทนคุ้มค่าหรือไม่? คำตอบก็คือ “มีครับ” หนทางนั้นก็คือ การลงทุนแบบถัวเฉลี่ยต้นทุน หรือ DCA (dollar-cost averaging) มาดูกันว่า DCA (dollar-cost averaging) คืออะไร? และมีข้อดีข้อเสียอย่างไร? พร้อมแล้วมาทำความเข้าใจไปพร้อมกัน

 
"DCA จะทำให้เราสามารถซื้อหน่วยลงทุน หรือหุ้นในจำนวนที่มากขึ้นหากราคาหุ้นปรับตัวต่ำลง และจะซื้อได้น้อยลงในขณะที่ราคาหุ้นปรับตัวสูงขึ้น"
การลงทุนแบบ DCA (dollar-cost averaging) นั้นคือการลงทุนแบบถัวเฉลี่ยต้นทุน ขอเรียกสั้นๆ ว่า DCA ก็แล้วกันครับ ซึ่งการลงทุนแบบถัวเฉลี่ยต้นทุน หรือ DCA ก็คือ การที่เรากำหนดการลงทุนเป็นงวด ๆ งวดละเท่า ๆ กัน อาจลงทุนเป็นรายเดือน รายไตรมาส โดยไม่สนใจว่าราคาหน่วยลงทุน หรือราคาหุ้นที่เราจะซื้อตอนนั้นเป็นราคาเท่าไร จะขึ้นหรือจะลง ก็ไม่สนใจ การลงทุนแบบนี้จะเป็นระบบตัดเอาอารมณ์ความรู้สึกออกไป เป็นการลงทุนแบบอัตโนมัติไปเรื่อย ๆ โดยตั้งเป้าหมายเป็นจำนวนเงินที่ต้องการลงทุนเป็นหลัก การที่เราลงทุนโดยซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวม หรือหุ้น ด้วยวิธี DCA จะทำให้เราสามารถซื้อหน่วยลงทุน หรือหุ้นในจำนวนที่มากขึ้นหากราคาหุ้นปรับตัวต่ำลง และจะซื้อได้น้อยลงในขณะที่ราคาหุ้นปรับตัวสูงขึ้น แต่โดยเฉลี่ยแล้วเราจะไม่ต้องมาคอยกะเก็งการขึ้นๆ ลงๆ ของราคาหุ้น หรือของกองทุนที่เราต้องการซื้อเฉลี่ย ทำให้ลดความเครียดลงไปได้มากครับ
DCA (dollar-cost averaging)

ข้อดีของการกระจายการลงทุนอย่างเป็นระบบด้วยวิธี DCA

ก็คือ ถ้าภาวะตลาดในช่วงนั้นมีความผันผวนมาก ๆ หรือเป็นตลาดขาลง เราจะมีโอกาสขาดทุนน้อยกว่าวิธีที่เราซื้อทั้งหมดในครั้งเดียว แต่ในช่วงขาขึ้นวิธีนี้ก็จะให้ผลเป็น“ค่าเฉลี่ย” ที่ไม่มีความเสี่ยงสูง และสามารถเอาชนะตลาดได้ หรือเสมอกับตลาดเป็นอย่างน้อยที่สุดครับ ลองมาดูแบบจำลอง DCA ในรอบ 1 ปี หากเราตัดซื้อเฉลี่ยหุ้นตัวหนึ่งที่มีราคาอยู่ในช่วง 6-15 บาท โดยซื้อเฉลี่ยทุกเดือน เดือนละ 3,000 บาท เราสามารถจำลองโอกาสที่จะเกิดขึ้นดังต่อไปนี้
DCA ราคาหุ้น เงินซื้อเฉลี่ยทุกเดือน จำนวนหุ้นที่ได้
เดือนที่ 1
10
3,000
300.00
เดือนที่ 2
8
3,000
375.00
เดือนที่ 3
12
3,000
250.00
เดือนที่ 4
7
3,000
428.57
เดือนที่ 5
6
3,000
500.00
เดือนที่ 6
8
3,000
375.00
เดือนที่ 7
9
3,000
333.33
เดือนที่ 8
11
3,000
272.73
เดือนที่ 9
11
3,000
272.73
เดือนที่ 10
10
3,000
300.00
เดือนที่ 11
9
3,000
333.33
เดือนที่ 12
15
3,000
200.00
ราคาเฉลี่ย
9.67
36,000
3,940.69
จากตารางจะเห็นว่าหากราคาหุ้นที่เราต้องการซื้อเฉลี่ยแกว่งตัวอยู่ในช่วง 6-15 บาท ถ้าเราตัดซื้อเฉลี่ยทุกเดือน เดือนละ 3,000 บาท เราจะได้ต้นทุน 9.67 บาทต่อหุ้น ต่ำกว่าราคาหุ้นในเดือน 12 ที่ปิดไป 15 บาทต่อหุ้น โดยเราจะได้จำนวนหุ้น 3,900 หุ้น และใช้เงินไป 36,000 บาท หากเราซื้อหุ้นทีเดียวเมื่อสิ้นปีที่ราคา 15 บาทต่อหุ้น ด้วยเงินจำนวน 36,000 บาทเช่นกัน เราจะได้หุ้นเพียง 2,400 หุ้น เห็นได้ชัดเจนเลยว่าน้อยกว่าวิธีที่เราซื้อเฉลี่ยด้วยแนวทาง DCA
ข้อดีของวิธี DCA นั้นนอกจากจะช่วยเฉลี่ยความเสี่ยงให้เราแล้ว ผลลัพธ์ที่ได้อาจจะดีกว่าการกะเก็งจังหวะซื้อด้วยตัวเอง แต่ข้อดีอีกข้อหนึ่งที่สำคัญก็คือ การทำ DCA นั้นเป็นระบบที่ทำให้เรามีวินัยในการลงทุน ไม่หลงไปกับความผันผวนของตลาดในระยะสั้น ๆ ทำให้เราเกิดความต่อเนื่องในการลงทุน และสามารถใช้การลงทุนช่วยทำให้เราออมเงินได้งอกเงยสมดังความตั้งใจได้ไม่ยากครับ
pym logo
ผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง
บทความที่เกี่ยวข้อง
พิมพ์สิ่งที่ต้องการค้นหา