วางแผนชีวิตแบบฉบับ LGBTQ ให้ชีวิตสบายกว่าที่เคย
เพื่อชีวิตสบาย
icon-Facebook icon-Twitter icon-line

วางแผนชีวิตแบบฉบับ LGBTQ ให้ชีวิตสบายกว่าที่เคย

icon-access-time Posted On 16 สิงหาคม 2564
By Krungsri the COACH
คำถามในใจของ LGBTQ+ หลายๆ คน ในอีก 30 ปีข้างหน้าจะเป็นยังไง? แต่ในความเป็นจริง ไม่ว่าจะใครไหนก็ย่อมมีภาพอนาคตไว้เป็นจุดมุ่งหมายเหมือนกัน ยิ่งชาว LGBTQ+ ที่อาจจะต้องเจอข้อจำกัดของชีวิต ยิ่งต้องวางแผนชีวิตอย่างรัดกุม และควรเริ่มต้นตั้งแต่เริ่มเข้าสู่วัยทำงาน เพราะการใช้ชีวิตช่วงวัยทำงานเป็นช่วงที่สำคัญสำหรับชีวิตในระยะยาวได้ ถึงแม้ว่าในวัยนี้จะมีสวัสดิการอื่น ๆ จากที่ทำงานหรือประกันสังคมช่วยรองรับอยู่ แต่ก็ไม่ได้ครอบคลุมรอบด้าน ถ้าอนาคตชาว LGBTQ+ มีสิ่งที่ต้องการมากกว่าสวัสดิการพื้นฐาน การมองหาตัวช่วยทางการเงินที่ดี หรือทิปส์ในเรื่องการเงินต่าง ๆ จะช่วยตอบโจทย์รูปแบบของชีวิตที่ต้องการได้มากกว่า เพื่อเลือกความมั่นคงให้อนาคคในแบบที่เราอยากเป็น

1. อนาคตยามเจ็บป่วย ก็ดูแลตัวเองได้ ไม่เป็นภาระ

ความเจ็บป่วยคงเป็นเรื่องที่คาดเดา และหลีกเลี่ยงไม่ได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในปัจจุบันมีปัจจัยที่ทำให้เกิดความเสี่ยงเรื่องสุขภาพเกิดขึ้นง่ายมาก ไม่ว่าจะเป็น ความเสี่ยงจากการใช้ชีวิตในปัจจุบัน การบริโภค ความเครียด ความเสี่ยงที่จะเกิดโรคบางอย่าง และความเสี่ยงที่จะเกิดปัญหาจากการผ่าตัดแปลงเพศ หรือการทำศัลยกรรม อีกทั้งสถานการณ์โควิด-19 ที่ระบาดอย่างหนัก การหาโรงพยาบาลหรือเตียงที่รักษาเป็นเรื่องที่ทำได้ยาก ถ้าคราวที่ต้องเจ็บป่วยขึ้นมา ทั้งค่าห้อง ค่ายา ค่ารักษา ก็ต้องใช้เงินด้วยกันทั้งนั้น ยิ่งถ้าจำเป็นต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลเอกชน ค่าใช้จ่ายจะสูงขึ้นมากกว่าเท่าตัว การวางแผนสุขภาพของชาว LGBTQ+ จึงเป็นเป็นเรื่องสำคัญที่อาจจะช่วยกำหนดชีวิต และความเป็นอยู่ในอนาคตของชาว LGBTQ+ได้เลย ดังนั้น การเลือกประกันสุขภาพจะเป็นตัวช่วยยามเจ็บป่วยได้อย่างดี ด้วยเคล็ดลับการเลือก ดังนี้
  1. วงเงินความคุ้มครอง ขั้นต่ำ 3 - 5 ล้านบาท เพื่อให้ครอบคลุมค่าใช้จ่ายการรักษาพยาบาลทั้งโรคทั่วไปและโรคร้ายแรง และสามารถรักษาในโรงพยาบาลเอกชนได้
  2. สามารถปรับเปลี่ยนรูปแบบความคุ้มครองได้ เพื่อตามความต้องการ
  3. ครอบคลุมค่าห้องพักรักษาที่โรงพยาบาลด้วย และควรเผื่อในส่วนของการรักษาตัวในห้องผู้ป่วยฉุกเฉิน (ICU) ด้วย
  4. ครอบคลุมค่ารักษาพยาบาลผู้ป่วยนอก (OPD) ผู้ที่ไม่มีสวัสดิการบริษัทจำเป็นต้องมีความคุ้มครองส่วนนี้
  5. ลักษณะสัญญาการต่ออายุความคุ้มครองแบบปีต่อปี ควรเลือกทำประกันที่การันตีการต่ออายุ เพื่อเป็นหลักประกันว่าการรักษาจะมีความต่อเนื่องและสามารถเบิกค่ารักษาพยาบาลได้จนกว่าจะหายเป็นปกติ
  6. อายุสูงสุดที่บริษัทจะต่ออายุกรมธรรม์ เพราะหลังเกษียณเป็นช่วงที่มีค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลมากกว่าก่อนเกษียณ จึงควรเลือกแบบประกันที่สามารถต่ออายุได้เทียบเท่ากับอายุขัยเฉลี่ยของคนไทยหรือประมาณ 80 ปี
  7. การเลือกบริษัทประกัน ควรเลือกบริษัทที่มีประวัติการดำเนินกิจการที่มั่นคงและน่าเชื่อถือ
ซึ่งประกันเป็นตัวช่วยให้ผลประโยชน์ที่ครอบคลุมรายจ่ายที่จะเกิดขึ้น และสามารถตอบโจทย์ความต้องการได้ทุกเพศทุกอาชีพ แนะนำ กรุงศรีประกันสุขภาพตามใจ ประกันที่คุ้มครองแบบเหมาจ่าย สามารถปรับแผนให้ยืดหยุ่นครอบคลุมทุกไลฟ์สไตล์ สามารถปรับความคุ้มครองค่ารักษาพยาบาลต่อปีได้ตั้งแต่ 5 แสน - 10 ล้านบาท ถ้าต้องการเพิ่มลดความคุ้มครองเสริมก็ทำได้ ทั้ง OPD, ค่าชดเชยรายวัน, คุ้มครองโรคร้ายแรง หากวันใดเกิดมีรายได้ไม่มั่นคงก็สามารถแบ่งจ่ายเบี้ยได้ 3 รูป ทั้งแบบรายเดือน, ทุก 3 เดือน หรือทุก 6 เดือน บางท่านอาจเจอปัญหาแผนประกันสุขภาพปัจจุบันที่ถืออยู่ไม่ครอบคลุมค่ารักษา ก็สามารถซื้อกรุงศรีประกันสุขภาพตามใจ มาช่วยเติมความคุ้มครองได้อีก เพราะถ้ามีแผนประกันสุขภาพอื่นแล้ว จะยิ่งประหยัดค่าเบี้ยได้มากขึ้น

2. อนาคตบั้นปลาย อยู่แบบสบาย ในวันที่ไม่มีรายได้

สิ่งหนึ่งที่อาจจะเป็นคำถามของการใช้ชีวิตแบบ LGBTQ+ เราจะมีคุณภาพชีวิตที่ดีอย่างไร ในวันที่ไม่มีลูกหลานคอยดูแล การอยู่โดยลำพังแต่มั่นคงคือคำตอบที่หลายคนอาจกำลังมองหา ดังนั้นการวางแผนเกษียณตั้งแต่เริ่มทำงานจึงเป็นเรื่องหนึ่งที่ต้องให้ความสำคัญแบบไม่อาจละเลย ซึ่งเคล็ดลับการวางแผนเกษียณที่สามารถทำตามได้ง่าย มี 5 ข้อ ดังนี้
  1. กำหนดอายุเกษียณ โดยปกติแล้วมนุษย์เงินเดือนจะกำหนดให้ทำงานได้ถึงอายุ 60 ปี แต่ยังต้องดำรงชีวิตอยู่จนอายุ ถึง 70-90 ปี ซึ่งชาว LGBTQ+ สามารถประเมินตนเองได้จากอายุขัยของคนในครอบครัวได้
  2. คำนวนค่าใช้จ่ายหลังเกษียณ หากลองคำนวณดู เช่น ตอนนี้อายุ 35 ปี คิดว่าจะเกษียณตอนอายุ 60 ปี และคาดว่าจะมีชีวิตอยู่จนถึงอายุ 80 ปี โดยคิดว่าจะมีค่าใช้จ่ายหลังเกษียณอยู่ที่ 20,000 บาทต่อเดือน แต่ค่าใช้จ่ายต่างสูงขึ้นทุกปี จึงต้องคำนวณอัตราเงินเฟ้อเข้าไปด้วย (สมมติว่า 3% ต่อปี) ทำให้เงิน 20,000 บาท ในวันนี้ มีมูลค่าเพิ่มเป็น 41,875 บาท ในอีก 25 ปีข้างหน้า ดังนั้น จำนวนเงินที่ต้องเตรียมไว้ใช้หลังเกษียณไปอีก 20 ปี คือ 8,323,028 บาท
  3. เตรียมที่อยู่อาศัย การซื้อเพื่ออยู่อาศัยในยามเกษียณจะเป็นหลักประกันหนึ่งที่จะการันตีว่าคุณสามารถลงหลักปักฐานและมีความมั่นคงในชีวิตหลังเกษียณมากขึ้น
  4. ตรวจสอบเงินออมเพื่อเกษียณ จากแหล่งต่าง ๆ ว่าในปัจจุบันเรามีเงินออมอยู่เท่าไหร่ เพียงพอหรือไม่ เช่น เงินฝากธนาคาร เงินกองทุนประกันสังคม กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนรวม SSF RMF และการลงทุนในหุ้น หรือลองศึกษาตัวช่วยในรูปแบบ ประกันชีวิตแบบบำนาญ ให้สามารถตอบโจทย์ความมั่นคงในช่วงชีวิตวัยเกษียณได้ โดยอาจทำควบคู่ไปกับผลิตภัณฑ์ทางการเงินเพื่อการเกษียณอายุอื่น ๆ อย่าง RMF หรือกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ เพื่อเสริมความมั่นคงทางรายได้ให้กับชีวิตในวัยเกษียณ

3. อนาคตไม่แน่นอน ไม่ใช่แค่เราแต่คนข้างหลังที่เราห่วงใย

คู่รักเพศเดียวกัน หรือชาว LGBTQ+ ที่ลงหลักปักฐาน ดูแลกันมาทั้งชีวิต คงกังวลเรื่องความมั่นคงในอนาคตของคู่ชีวิตหากใครคนหนึ่งต้องจากไป และด้วยปัจจุบันกฎหมายของประเทศไทยยังไม่รองรับคู่ชีวิต LGBTQ+ จึงทำให้การวางแผนการเงินมีความสำคัญอย่างยิ่งที่จะเป็นหลักประกันว่าทรัพย์สินจะถูกส่งต่ออย่างถูกต้องและครบถ้วนให้กันและกันได้ โดยมีขั้นตอนการวางแผนมรดก 3 ขั้นตอน ดังนี้
  1. ทำพินัยกรรม เริ่มต้นด้วยการเก็บบันทึกรายการทรัพย์สินและทำบัญชีหนี้สินอย่างสม่ำเสมอ เมื่อได้รายการทรัพย์สินทั้งหมดแล้ว ให้จัดสรรทรัพย์สินที่ต้องการมอบและบุคคลที่ต้องการมอบให้ระบุไว้ในพินัยกรรมอย่างชัดเจน ซึ่งพินัยกรรมสามารถเขียนและลงชื่อเองได้ หรือทำเป็นพินัยกรรมแบบเอกสารยื่นต่อนายอำเภอก็ทำได้
  2. ศึกษาและวางแผนภาษีมรดก เพราะเมื่อเจ้าของมรดกเสียชีวิตและส่งต่อทรัพย์สินไปตามพินัยกรรมแล้ว ผู้รับมรดกจะต้องเสียภาษีมรดกตามที่กฎหมายกำหนดไว้ โดยในปี 2560 กฎหมายภาษีมรดกกำหนดให้ผู้รับมรดกที่เป็นบุคคลทั่วไป (ซึ่งหมายถึงคู่รักในกรณีนี้) เสียภาษีเฉพาะส่วนเกิน 100 ล้านบาท ในอัตราร้อยละ 10 หากเป็นอสังหาริมทรัพย์ให้คำนวณจากราคาประเมิน ส่วนหลักทรัพย์ให้คำนวณจากราคาปิดตลาด ณ วันโอน
  3. วางแผนการเงิน ด้วยการมองหา ประกันชีวิต ที่สามารถระบุให้ “คนรัก” ให้เป็นผู้รับผลประโยชน์ในกรมธรรม์ประกันชีวิตได้ เพียงใช้เอกสารประกอบเพิ่มเติม เช่น เอกสารหลักฐานการกู้ร่วมกัน หรือทำธุรกิจร่วมกัน เป็นต้น โดยประเภทประกันชีวิตที่แนะนำ คือ “กรุงศรี ประกันตลอดชีพ มรดกอุ่นใจ 90/7” ที่จ่ายเบี้ยประกันเพียง 7 ปี และคุ้มครองยาวไปจนถึงอายุ 90 ปี ข้อดีคือ เบี้ยประกันเริ่มต้นเพียงปีละ 5,000 บาท และมียอดความคุ้มครองตั้งแต่ 150,000 บาท จนถึง 5 ล้านบาท ทั้งนี้ เป็นไปตามเงื่อนไขที่บริษัทผู้รับประกันภัยกำหนด
ไม่ว่าชาว LGBTQ+ จะเลือกอนาคตแบบไหนถ้าวางแผนและเลือกใช้เครื่องมือได้ตามนี้ เชื่อว่าอนาคตที่วาดไว้จะชัดเจนและเป็นไปได้แน่นอน การวางแผนการเงินเป็นเรื่องสำคัญนอกจากที่เราจะวางแผนเรื่องรายรับ - รายจ่ายแล้ว ประกันชีวิตหรือประกันในรูปแบบต่าง ๆ เป็นหนึ่งส่วนของการป้องกันความเสี่ยงในการใช้ชีวิตของเรา
pym logo
ผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง
บทความที่เกี่ยวข้อง
พิมพ์สิ่งที่ต้องการค้นหา