กู้เงินออนไลน์ อย่างไรให้ปลอดภัยชัวร์! ไม่มีโดนหลอก
รอบรู้เรื่องยืมเงิน
icon-Facebook icon-Twitter icon-line

กู้เงินออนไลน์ อย่างไรให้ปลอดภัยชัวร์! ไม่มีโดนหลอก

icon-access-time Posted On 31 มีนาคม 2564
By Krungsri The COACH
“ยินดีด้วยคุณได้รับเงินกู้ 10,000 บาท คลิกลิงก์ตรงนี้เลย”
“อยากได้เงินด่วน กู้เงินง่าย ไม่ต้องใช้เอกสาร รับเงินไว คลิกตรงนี้สิ”
คุณเคยได้รับ SMS ข้อความแบบนี้บ้างไหม? ถ้าเคยได้รับ อย่าเผลอกดเด็ดขาดไม่อย่างนั้น คุณอาจตกเป็นเหยื่อของแก๊งเงินกู้ จนอาจทำให้เราเสียเงิน เสียเวลา และบางครั้งอาจเป็นอันตรายต่อชีวิตของเราเลยทีเดียว

ในตอนนี้มีกลโกงจากมิจฉาชีพในรูปแบบใหม่เพื่อล่อลวงคนที่อยากได้เงินไว เงินด่วน ในรูปแบบใหม่ ๆ โดยใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยมาเพื่อหลอกเรา ซึ่งก็เข้าใจว่าสถานการณ์เศรษฐกิจในบ้านเราตอนนี้กำลังชะลอตัว หลายคนประสบปัญหากับเงินไม่พอใช้ มีภาระค่าใช้จ่ายมากมาย พอมีข้อเสนอที่ให้เงินด่วนง่าย ๆ กับเราแบบนี้ เป็นใครจะอดใจได้ แต่เชื่อเถอะว่า อะไรที่ส่งมาหาเราโดยไม่มีข้อมูลที่น่าเชื่อถือ ก็คงไม่น่าไว้ใจ ซึ่งตอนนี้มีหลายคนกำลังเจอปัญหาตกเป็นเหยื่อจากเงินกู้ออนไลน์ที่มีดอกเบี้ยโหด ๆ จากมิจฉาชีพเหล่านี้ แล้วจะรับมืออย่างไรถ้าเจอกลโกงแบบนี้ วันนี้เราจะมาเปิดกลโกงแก๊งเงินกู้ออนไลน์ ที่ถ้าใครได้เจอแบบนี้ ให้รู้ไว้เลยพวกนี้มันโจร
ชัด ๆ
กู้เงินออนไลน์ อย่างไรให้ปลอดภัยชัวร์! ไม่มีโดนหลอก

1. เปิดเพจ-ไลน์ปลอม ตั้งชื่อให้เหมือนธนาคาร

อีกหนึ่งกลโกงของมิจฉาชีพก็ใช้วิธีการเปิดเพจหรือไลน์ปลอม โดยจะใช้ชื่อที่ใกล้เคียงกับธนาคาร เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือ และใช้วิธีส่งข้อความหรือโทรมาหาเราโดยตรง และเสนอเงินกู้ที่มีดอกเบี้ยต่ำ กู้ง่ายใช้แค่บัตรประชาชน ถึงติดแบล็คลิสต์จากธนาคารก็กู้ได้ เพื่อให้เรารู้สึกสนใจและหลวมตัวกู้เงินกับมิจฉาชีพโดยทันที หากเราพลาดกู้เงินไปมิจฉาชีพก็จะเริ่มคิดดอกเบี้ยโหด ๆ บางคนจะต้องจ่ายดอกเบี้ยที่เพิ่มไปเรื่อย ๆ จ่ายเท่าไหร่ก็ไม่หมด เพื่อไม่ให้ใครต้องตกเป็นเหยื่อของมิจฉาชีพทุกครั้งที่แชทคุยสามารถจับพิรุธของบัญชีไลน์ปลอมได้ไม่ยาก หากเป็นบัญชีไลน์ของแท้จากธนาคาร เช่น บัญชีไลน์ของธนาคารกรุงศรี ของแท้จะต้องมีสัญลักษณ์โล่สีเขียวอยู่หน้าชื่อบัญชี หรือถ้าของเฟซบุ๊กแฟนเพจของธนาคารกรุงศรีจะมีสัญลักษณ์เครื่องหมายติ๊กถูกสีน้ำเงิน อยู่หลังชื่อเฟซบุ๊กแฟนเพจเสมอ และมั่นใจได้ทุกครั้งถ้ามีข้อความแชทจากธนาคาร ธนาคารจะไม่มีนโยบาย ขอข้อมูลส่วนบุคคลจากลูกค้า เช่น เลขบัตรประชาชน เลขวันเดือนปีเกิด เลขรหัสข้อมูลส่วนตัวทุกประเภท หรือถ้าแชทที่กำลังคุยบอกว่ามีส่งเลขความปลอดภัย (OTP) มายังเบอร์ของเราแล้วให้บอกเลขนั้นกลับมา อย่าส่งให้โดยเด็ดขาด หากว่าใครเจอแชทที่กำลังปลอมเป็นธนาคาร สิ่งที่เราควรทำก็คือเก็บหลักฐานประวัติการแชทพูดคุย แล้วสอบถามกับเจ้าหน้าที่กรุงศรี ผ่าน inbox facebook @KrungsriSimple เพื่อตรวจสอบความถูกต้องก่อนตกเป็นเหยื่อของมิจฉาชีพ
กู้เงินออนไลน์ อย่างไรให้ปลอดภัยชัวร์! ไม่มีโดนหลอก

2. ใช้เอกสารราชการปลอม หลอกให้โอนเงิน

ในตอนนี้มิจฉาชีพนิยมใช้วิธีปลอมเอกสารจากกระทรวงการคลัง หรือกระทรวงพาณิชย์ เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือ โดยวิธีการก็คือมิจฉาชีพจะทักแชทมาหาเรา แล้วนำเสนอเงินกู้ ดอกเบี้ยต่ำ แต่ถ้าเราคุยแล้วไม่แน่ใจ ทางมิจฉาชีพก็จะแสดงเอกสารปลอม เช่น ใช้เอกสารที่แอบอ้างว่าได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจเกี่ยวกับสถาบันการเงินจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ส่งมาให้เรามั่นใจว่ากู้เงินกับเราเชื่อถือได้แน่ ๆ ตรงนี้แหละที่มิจฉาชีพอาศัยจังหวะที่เราไม่ทันได้เช็กข้อมูลให้ถูกต้อง ส่งเลขที่บัญชี หรือคิวอาร์โค้ดโอนเงินมาให้เรา แล้วอ้างว่าต้องมีโอนเงินเพื่อจ่ายค่าดำเนินการกู้เงิน อาจคิดเป็น 10% ของยอดเงินกู้ ถ้าเราเผลอใจโอนเงินให้เมื่อไหร่ ก็จะถูกบล็อกข้อความทันที ไม่สามารถติดตามตัวได้ ถ้าหากใครเจอแบบนี้ ก็ให้มั่นใจได้เลยว่า เรากำลังโดนหลอกอย่างแน่นอน ให้รีบรวบรวมหลักฐานที่เรามีทั้งหมด แล้วติดต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจโดยด่วน!

3. เปิดแอปฯ-เว็บ กู้เงินเถื่อนแบบออนไลน์

เมื่อเทคโนโลยีล้ำหน้า มิจฉาชีพก็ก้าวทันเสมอ ในตอนนี้ที่หลายคนมักเจอก็คือแอปฯ หรือเว็บไซต์ กู้เงินด่วน กู้เงินแบบออนไลน์ต่าง ๆ โดยกลโกงที่มิจฉาชีพจะใช้คือ ให้เรากรอก ชื่อ-นามสกุล เบอร์โทรศัพท์ ถ่ายรูปบัตรประชาชนแล้วให้อัปโหลดขึ้นไปบนเว็บ และเสนอเงินให้กับเราตามที่ตกลง แต่เมื่อได้เงินก็ได้ไม่ครบตามที่ตกลงกันไว้ หากว่าเราจะคืนเงิน มิจฉาชีพเหล่านี้ก็จะข่มขู่เราด้วยดอกเบี้ยโหด ๆ อาจคิดเป็นร้อยละ 10-20% ของเงินกู้ และถ้าไม่จ่ายเงิน มิจฉาชีพก็จะเริ่มข่มขู่เราด้วยวิธีต่าง ๆ จนเราไม่มีความสุข ดังนั้นก่อนที่เราจะกรอกอะไรลงบนเว็บไซต์ก็อย่าลืมสังเกตสัญลักษณ์ชื่อ URL ต้องมีเครื่องหมายรูปแม่กุญแจ และชื่อของ https:// ทุกครั้งเพราะจุดสังเกตทั้ง 2 บ่งบอกเว็บนั้นคือเว็บที่ปลอดภัย แต่เพื่อความไม่ประมาทก็ไม่ควรกรอกข้อมูลส่วนตัวของเรา เช่น ชื่อผู้ใช้ และรหัสผ่าน หรือหมายเลขความปลอดภัย (OTP) ถ้าหากว่าเราเจอแอปฯ หรือเว็บไซต์กู้เงินเหล่านี้ก็ไม่ควรติดตั้งหรือเปิดใช้งานในโทรศัพท์ของเรา เพื่อที่จะได้ไม่ตกเป็นเหยื่อแก๊งเงินกู้ออนไลน์
3 กลโกงแก๊งเงินกู้ออนไลน์
หากว่าเราเดือดร้อนเรื่องการเงินจริง ๆ อยากจะแนะนำให้ใช้บริการกู้เงินจากธนาคารที่มีมาตรฐานจะปลอดภัย เช่น สินเชื่อ Krungsri iFIN ที่เราสามารถทำเรื่องกู้เงิน ยืมเงินแบบออนไลน์ โดยที่ไม่ต้องไปที่ธนาคาร สามารถทำได้ง่าย ๆ ผ่านแอปฯ KMA krungsri app มั่นใจได้เลยว่า กู้ยืมเงินผ่านบริการของธนาคารกรุงศรี ปลอดภัย ได้เงินชัวร์ แถมดอกเบี้ยยังถูกกว่าการไปกู้เงินเถื่อนอีกนะ หากใครสนใจก็สามารถทำได้ด้วยตัวเองดังนี้
  • ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน KMA krungsri app ติดตั้งในมือถือ
  • เข้าสู่ระบบ หาเมนู “สมัครสินเชื่อบัตรเครติต” > “สมัครสินเชื่อส่วนบุคคล” แล้วกดเลือก “สินเชื่อ Krungsri iFIN
  • กรอกรายละเอียดและข้อมูลส่วนตัวของเราให้ครบถ้วน แล้วกดยอมรับเงื่อนไข
  • จะมีเจ้าหน้าที่ติดต่อกลับโดยเบอร์ของธนาคารกรุงศรีเท่านั้น และเราสามารถติดตามสถานะการกู้ยืมเงินผ่านแอปฯ KMA krungsri app ได้เลย ง่าย ๆ
สำหรับคนที่กำลังมีปัญหาเรื่องการเงิน จากปัญหาต่าง ๆ การกู้เงินจากแหล่งเงินกู้ที่ไม่ได้รับอนุญาตจากภาครัฐ มีแต่จะสร้างปัญหาให้เราไม่จบสิ้น บางคนโชคดีมีเจ้าหน้าที่คอยช่วยเหลือ แต่บางคนก็อาจโดนคุกคาม ถูกทำร้ายหรืออาจเสียชีวิต หากไม่มีเงินจ่ายค่าดอกเบี้ย เพื่อป้องกันไม่ให้ชีวิตทางการเงินเดินมาถึงจุดนี้ ในวันที่เรามีเงินก็อย่าลืมวางแผนการเงินให้มีประสิทธิภาพ และหลีกเลี่ยงการกู้เงินด่วนจะดีกับตัวเราที่สุด
ผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง
บทความที่เกี่ยวข้อง
พิมพ์สิ่งที่ต้องการค้นหา