5 เช็คลิสต์เตรียมตัวก่อนคลอดลูกสำหรับพ่อแม่มือใหม่
เพื่ออนาคตลูก
icon-Facebook icon-Twitter icon-line

5 เช็คลิสต์เตรียมตัวก่อนคลอดลูกสำหรับพ่อแม่มือใหม่

icon-access-time Posted On 26 สิงหาคม 2564
By Krungsri the COACH
ยิ่งใกล้ถึงวันที่ลูกน้อยจะออกมาลืมตาดูโลก คุณพ่อคุณแม่ก็ต้องยิ่งตื่นเต้นที่จะได้เห็นหน้าลูกน้อย พร้อม ๆ กับมีความกังวลในเรื่องอีกมากมาย ไม่ว่าจะเป็นความปลอดภัยในการคลอดลูก การเตรียมข้าวของเครื่องใช้ที่จำเป็นหลังคลอด รวมถึงเรื่องค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้น ทั้งค่าคลอดบุตร ค่าฉีดวัคซีน ค่าใช้จ่ายเผื่อเจ็บป่วยฉุกเฉิน รวมไปถึงการวางแผนการเงินในระยะยาวเพื่ออนาคตของลูกอีกด้วย ยิ่งอยู่ในยุคโรคระบาดแบบนี้แล้วความกังวลยิ่งเพิ่มมากขึ้นเป็นทวีคูณแน่ ๆ ซึ่งความกังวลต่าง ๆ เหล่านี้จะหมดไปหากเรามีการเตรียมความพร้อมตั้งแต่เนิ่น ๆ เรามาดูกันว่าควรเตรียมอะไรอีกบ้าง

1. เตรียมวางแผนลาคลอด

แน่นอนว่าเมื่อลูกน้อยลืมตาดูโลกขึ้นมาแล้วคุณแม่และคุณพ่อคงอยากจะใช้เวลาอยู่กับเค้าให้เต็มที่มากที่สุด ดังนั้นลองมาเช็กสิทธิ์วันลากันดีกว่าจะได้วางแผนการลากันถูก นอกจากนี้ยังมีสิทธิประโยชน์อื่น ๆ ที่มีรายละเอียดแตกต่างไปตามรูปแบบการทำงานด้วย ดังนี้
5 เช็คลิสต์เตรียมตัวก่อนคลอดลูกสำหรับพ่อแม่มือใหม่

2. เตรียมสุขภาพกายและสุขภาพใจก่อนคลอด

  • สุขภาพของคุณแม่และลูกน้อยเป็นเรื่องที่สำคัญ ในช่วงเดือนที่ 9 คุณหมอจะนัดตรวจครรภ์และตรวจดูความพร้อมของร่างกายทุกสัปดาห์ เพื่อเป็นการเตรียมพร้อม และเพื่อดูอาการแทรกซ้อนต่าง ๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นในช่วงนี้ รวมถึงตรวจดูความสมบูรณ์ของลูกน้อยในครรภ์ เพื่อประเมินในการให้คุณแม่เตรียมตัวคลอดอย่างปลอดภัย
  • การดูแลร่างกายและจิตใจ ในช่วงไตรมาสสุดท้ายก่อนคลอด คุณแม่ควรดูแลสุขภาพร่างกายให้แข็งแรง อาจจะมีการออกกำลังกายเบา ๆ ทานโปรตีนให้มากขึ้น รวมถึงทำให้จิตใจผ่อนคลายด้วยการฟังเพลง อ่านหนังสือ ดูซีรีส์ รวมถึงนอนหลับให้เพียงพอ เพื่อให้ร่างกายได้พักผ่อน พร้อมที่จะรับมือกับลูกตัวน้อยที่กำลังจะเกิดมา
  • การหาคนมาช่วย จะทำให้คุณแม่ลดความวิตกกังวลลงไป และจะได้คอยช่วยเหลือคุณแม่ในเรื่องต่าง ๆ ที่สำคัญคุณพ่อควรเตรียมลางานไว้แต่เนิ่น ๆ เพื่อที่จะพร้อมทุกเมื่อหากคุณแม่เกิดอาการเจ็บท้องกะทันหัน

3. เตรียมงบประมาณสำหรับค่าคลอดลูกและการดูแลลูกหลังคลอด

คุณพ่อคุณแม่สามารถวางแผนไว้ก่อนได้เพื่อความอุ่นใจ ดังนี้
  • ค่าใช้จ่ายสำหรับการคลอด จะเป็นเงินก้อนใหญ่ที่ต้องเตรียมไว้ สำหรับคลอดธรรมชาติ ค่าใช้จ่ายประมาณ 20,000-100,000 บาท ส่วนการผ่าคลอดจะอยู่ที่ 50,000-100,000 บาทขึ้นไป โดยคุณพ่อคุณแม่สามารถเตรียมเงินสำรองทุกเดือนไว้ประมาณ 20% ของรายได้
  • ค่าใช้จ่ายฉุกเฉิน ควรเตรียมเงินอีกก้อนเผื่อสำหรับกรณีฉุกเฉินไว้สำหรับภาวะเสี่ยงหลังคลอด เพราะหลังการคลอดอาจเกิดภาวะต่าง ๆ ทั้งกับตัวคุณแม่และลูกน้อยได้ เช่น ภาวะตัวเหลือง ซึ่งก็จะทำให้ค่าใช้จ่ายเพิ่มมากขึ้นตามอาการและจำนวนวันที่พักฟื้น
  • ค่าใช้จ่ายหลังจากคลอด เช่น ค่าผ้าอ้อม ค่านม (หากนมแม่ไม่พอ) ค่าอุปกรณ์และข้าวของเครื่องใช้ต่าง ๆ รวมถึง ค่าพี่เลี้ยง เป็นต้น การวางแผนการออมเงินและวางแผนใช้จ่ายสำหรับลูกน้อยจึงเป็นสิ่งที่สำคัญ ดังนั้นจึงควรเลือกการออมเงินในบัญชีออมทรัพย์ที่มอบสิทธิประโยชน์คืนให้แก่ลูกค้าได้อย่างเต็มที่ อย่าง “บัญชีออมทรัพย์ และบัตรเดบิตกรุงศรี จัดให้ D” ที่มาพร้อมแนวคิด “ได้ฟรี ยังไม่ดีเท่าได้คืน” ที่มอบสิทธิประโยชน์คืนให้แก่ลูกค้าทั้ง Welcome GIFT, Monthly GIFT และ Krungsri GIFT ทุกเดือนผ่าน KMA krungsri app เพิ่มเติมจากการให้ฟรีค่าธรรมเนียมในการทำธุรกรรม ฝาก ถอน โอน จ่าย ที่ตอบโจทย์เหมาะกับคุณพ่อคุณแม่ยุคใหม่ที่ไม่มีเวลาออกไปจับจ่ายซื้อของโดยสามารถใช้ KMA krungsri app โอนซื้อสินค้าได้สะดวกรวดเร็ว หรือจะใช้บัตรเดบิต “จัดให้ D” ซื้อของออนไลน์ผ่านแอปฯ Shopee และ Lazada ก็ได้รับส่วนลดพิเศษ* ให้ทุกเดือน และที่สำคัญสำหรับคุณพ่อคุณแม่ที่อยากเปิดบัญชีและสมัครบัตรเดบิต ปัจจุบันไม่ต้องออกไปสมัครที่สาขาธนาคารแล้ว สามารถสมัครผ่าน KMA krungsri app ได้เลย
  • ค่าใช้จ่ายเพื่อสุขภาพของลูกน้อย แน่นอนว่าสุขภาพลูกน้อยเป็นสิ่งสำคัญ คุณพ่อคุณแม่ต้องสำรองค่าใช้จ่ายส่วนนี้ไว้ด้วย เช่น ค่าวัคซีน และค่ารักษาตัวจากโรคติดต่อต่าง ๆ เป็นต้น ซึ่งการซื้อประกันเพื่อสุขภาพลูกน้อยก็ช่วยแบ่งเบาค่าใช้จ่ายส่วนเกินได้

4. เตรียมกระเป๋าสำหรับวันคลอดให้พร้อม

หากมีกำหนดคลอดไว้แล้ว คุณพ่อคุณแม่ควรเตรียมของใช้เอาไว้ให้พร้อมล่วงหน้าอย่างน้อย 2 สัปดาห์ก่อนคลอด เพราะหากมีอาการเจ็บท้องฉุกเฉินจะได้หยิบกระเป๋าพร้อมไปโรงพยาบาลได้ทันที ซึ่งของใช้ที่จำเป็นสำหรับคุณแม่มีดังนี้
  • สมุดบันทึกการฝากครรภ์
  • เอกสารสำคัญต่าง ๆ ได้แก่ บัตรประจำตัวคนไข้, บัตรประกันสุขภาพ, บัตรทอง, ทะเบียนบ้านและบัตรประชาชนทั้งของคุณแม่และคุณพ่อ ตัวจริงและแบบสำเนา
  • กระเป๋าใบเล็กสำหรับใส่ของใช้ในห้องน้ำหรือของใช้ส่วนตัว เช่น แปรงสีฟัน, ยาสีฟัน, สบู่หรือเจลอาบน้ำ, แชมพู, ครีมล้างหน้า, ครีมทาตัว, แปรงหวีผม, ยางมัดผม หรือที่คาดผม (สำหรับคุณแม่ผมยาว), เครื่องสำอางอื่น ๆ ฯลฯ อุปกรณ์สำหรับฆ่าเชื้อโรคต่าง ๆ ทั้งแมสก์สำรอง เจลแอลกอฮอล์ล้างมือ จะได้มั่นใจว่าลูกน้อยจะไม่ได้รับเชื้อโรคแน่ ๆ
  • นาฬิกา เพื่อจับเวลาการบีบรัดตัวของมดลูก หากเจ็บท้องทุก 5 นาทีควรรีบไปโรงพยาบาลทันที
  • สมาร์ทโฟน กล้องถ่ายรูป หรือกล้องถ่ายวิดีโอ เพื่อเก็บภาพความทรงจำเอาไว้ ทั้งนี้ควรสอบถามทางโรงพยาบาลก่อนว่าอนุญาตให้มีการบันทึกภาพในห้องคลอดได้หรือไม่
  • เสื้อชั้นในให้นมลูก แผ่นซับน้ำนม และครีมทากันหัวนมแตก เพื่อลดการเสียดสีหากลูกน้อยของคุณดูดนมจนหัวนมแตก
  • ผ้าอนามัย สำหรับผ้าอนามัยควรใช้ชนิดที่มีห่วงและสายคาด เพื่อใช้ซับน้ำคาวปลาหลังคลอด ส่วนใหญ่แล้วทางโรงพยาบาลจะมีให้อยู่แล้ว คุณสามารถเตรียมแบบที่คุณแม่ใส่เป็นประจำเพื่อสำหรับใส่กลับบ้าน
  • ถุงเท้า เพื่อให้ร่างกายอบอุ่นยิ่งขึ้น
  • เสื้อผ้า 1 ชุด สำหรับใส่กลับบ้าน
  • เครื่องปั๊มนม เพื่อกระตุ้นน้ำนมและปั๊มนมให้ลูกน้อยของคุณ
  • Car seat สำหรับให้ลูกน้อยนั่งกลับบ้านได้อย่างปลอดภัย

5. เตรียมของใช้ของลูกน้อยให้พร้อม

  • เสื้อผ้าเด็กอ่อน ควรเลือกเนื้อผ้าที่ไม่ระคายผิว ใช้เชือกผูกหรือกระดุมที่ง่ายต่อการสวมใส่ รวมถึงควรเตรียมหมวก ถุงมือ ถุงเท้าเพื่อให้ความอบอุ่นและป้องกันเล็บข่วน โดยซักให้เรียบร้อยด้วยน้ำยาซักผ้าเฉพาะของเด็กอ่อน หลีกเลี่ยงการใช้น้ำยาปรับผ้านุ่มเพราะอาจทำให้ระคายเคืองต่อผิวเด็ก
  • ผ้าอ้อม เพื่อใช้ห่อ หรือใช้รองอุ้มเพื่อป้องกันผิวทารกน้อยสัมผัสกับตัวผู้ใหญ่โดยตรง ควรเลือกผ้าที่มีความอ่อนนุ่ม
  • ผ้าอ้อมสำเร็จรูป ควรเลือกเป็นแบบเทป เพื่อความกระชับและสะดวกในการสวมใส่ และผิวสัมผัสอ่อนนุ่มเพื่อป้องกันการระคายเคือง
  • ผ้าห่มหรือผ้าห่อตัว ช่วยให้ลูกน้อยอุ่นสบายรู้สึกปลอดภัยและอบอุ่น แถมให้หลับได้นานขึ้น
  • อุปกรณ์อาบน้ำเด็ก เช่น อ่างอาบน้ำ สบู่ แชมพูที่อ่อนโยนต่อผิวเด็ก และผ้าเช็ดตัวเนื้อนิ่ม สำหรับเช็ดตัวทารกหลังอาบน้ำ
  • อุปกรณ์ทำความสะอาด เช่น สำลีชุบน้ำใช้เช็ดใบหน้า และก้น ใช้คู่กับน้ำเกลือเพื่อทำความสะอาดวงตา ใช้คู่กับแอลกอฮอล์เพื่อทำความสะอาดสะดือ รวมถึง ไว้เช็ดหัวนมก่อนให้นมลูกน้อย ผ้าก๊อซชุบน้ำต้มสุกสำหรับช่องปาก และคอตตอนบัตต์ สำหรับทำความสะอาดใบหู ทิชชู่เปียกแบบปราศจากน้ำหอมหรือสารอันตรายต่าง ๆ เพื่อใช้เช็ดทำความสะอาด
  • ครีมแก้ผื่นแพ้หรือวาสลีน สำหรับทาบาง ๆ บริเวณก้นก่อนใส่ผ้าอ้อม เพื่อป้องกันผดผื่น และมหาหิงส์ เพื่อบรรเทาอาการปวดท้องของลูกน้อย
  • อุปกรณ์ให้นมต่าง ๆ เช่น ขวดนม หมอนรองให้นม ลูกประคบ เครื่องนึ่งขวดนมหรือตู้อบ UV เพื่อฆ่าเชื้อโรค
  • อุปกรณ์ตัดเล็บ สามารถเลือกแบบเครื่องตะไบหากคุณแม่กลัวที่จะตัดโดนเนื้อ
  • การทำความสะอาดห้องของลูกน้อย เนื่องจากเด็กแรกเกิดนั้น สิ่งที่สำคัญที่สุดคือความสะอาด ว่าที่คุณพ่อ คุณเม่จึงควรทำความสะอาดห้องของลูกน้อยไว้แต่เนิ่น รวมถึงควรมีฟอกอากาศเพื่อป้องกันฝุ่นและลดเชื้อโรคในอากาศ

เช็คลิสต์ครบแล้ว ว่าที่คุณพ่อคุณแม่ก็คลายกังวลในการเตรียมตัวต้อนรับลูกน้อยที่จะลืมตาดูโลกได้อย่างสบายใจ ทั้งนี้คุณพ่อคุณแม่ควรวางแผนและเตรียมตัวตั้งแต่เนิ่น ๆ เพื่อเตรียมพร้อมรับมือได้เป็นอย่างดีในทุกสถานการณ์
pym logo
ผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง
บทความที่เกี่ยวข้อง
พิมพ์สิ่งที่ต้องการค้นหา