About Plean เพลิน
แนะนำ GURU
Krungsri The COACH
www.krungsri.com
หน้าหลัก
Lifestyle
Guru Financial
Business
Innovation
Podcast
×
Share
×
Share
เกี่ยวกับกรุงศรี
×
หน้าหลัก
Lifestyle
Living
Eat & Travel
Shopping
Hall of Fame
Guru Financial
Plan Your Money
Financial
Investment
Money tips
Business
SME
Marketing
Management
Inspiration & Success Case
Innovation
Innovation
Podcast
เรื่องเงินย่อยง่าย
เรื่องชีวิตคิดให้ง่าย
ชวนเริ่มต้น กับปี 2022 ปีแห่งโอกาสและความท้าทาย
By นิ้วโป้ง อธิป กีรติพิชญ์
Add
ปีขาล 2022 คือ ปีแห่งโอกาสและความท้าทายในการลงทุน
ที่ว่าเป็นโอกาส คือ เรายังคงอยู่ในช่วงที่สภาพคล่องทางการเงินล้นระบบ และอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำ ซึ่งเอื้อต่อการลงทุนอย่างมาก นักลงทุนยังคงมุ่งหาผลตอบแทน (search for yield) ทั้งในตลาดหุ้นสหรัฐ ยุโรป เอเชีย รวมทั้งประเทศไทย ไม่เว้นแม้แต่สินทรัพย์ทางเลือกอย่างสินทรัพย์ดิจิทัล (Crypto Asset) ที่เป็นที่รู้จักกันดีอย่างเหรียญ Bitcoin, Ethereum, Ripple หรือเหรียญไทยอย่าง KUB JFIN และ SIX เป็นต้น แนวโน้มการมุ่งหาผลตอบแทนในสินทรัพย์เสี่ยงซึ่งให้ผลตอบแทนที่ดีมากในปี 2021 ยังคงมีแรงส่งมาสู่ปี 2022 อย่างชัดเจน
ที่ว่าเป็นความท้าทาย คือ
หลังจากโควิดผ่านไป
1 ปี โลกมีการฟื้นตัวที่ไม่เท่าเทียมกัน ในรูปแบบ K-Shape กล่าวคือมี K ขาขึ้น และ K ขาลง โดยตลาดหุ้นในประเทศพัฒนาแล้ว (Developed Market : DM) อย่างตลาดหุ้นอเมริกา ยุโรป เป็น K ขาขึ้น ฟื้นขึ้นผ่านระดับก่อนเกิดโควิด และทะลุทำ All Time High ในขณะที่ตลาดหุ้นเกิดใหม่ (Emerging Market : EM) หลายประเทศโดยเฉพาะในอาเซียน เป็น K ขาลง ฟื้นตัวได้ช้ากว่า ดัชนีตลาดหุ้นส่วนใหญ่เพิ่งผ่านจุดก่อนเกิดโควิดเท่านั้น ยังห่างไกลจากจุด All Time High อยู่มาก นับเป็นความท้าทายสำหรับผู้ลงทุนในตลาดหุ้นเหล่านี้ รวมทั้งไทยที่ต้องติดตามการเปลี่ยนแปลงนโยบายทางการเงินการคลังของประเทศพัฒนาแล้ว ที่คาดว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงในปี 2022 นี้
ตลาดหุ้นชอบดอกเบี้ยต่ำ ไม่ชอบดอกเบี้ยสูง
การกระตุ้นเศรษฐกิจในช่วงโควิด 2 ปีที่แล้ว ธนาคารกลางทั่วโลก มีการลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงมาสู่ระดับต่ำ ซึ่งส่งผลดีต่อการกระตุ้นเศรษฐกิจ และส่งผลดีต่อตลาดหุ้นด้วย
สำหรับนักลงทุน ต้องทำความเข้าใจก่อนว่า ตลาดหุ้น ไม่ชอบการขึ้นดอกเบี้ย โดยเฉพาะอัตราดอกเบี้ยนโยบายสหรัฐ ที่จัดเป็นยานแม่ของการติดตามเรื่องนี้ โดยนักลงทุนทั่วโลกจะติดตามผ่านผลการประชุมของธนาคารกลางสหรัฐ (FED)
ในเชิงธุรกิจ การขึ้นดอกเบี้ยทำให้ต้นทุนทางการเงินของกิจการสูงขึ้น และกระทบการตัดสินใจในการลงทุนขยายกิจการ ซึ่งไม่เป็นผลดีต่อผลประกอบการ
ในเชิงการวัดมูลค่าหุ้น (Valuation) มูลค่ากิจการคือมูลค่าปัจจุบันของกระแสเงินสดอิสระที่กิจการจะทำได้ตลอดอายุ ซึ่งการขึ้นดอกเบี้ย จะทำให้การคำนวณมูลค่าปัจจุบันได้น้อยลง มูลค่าหุ้นจึงลดน้อยลง
ปัจจัยสำคัญคือ เงินเฟ้อ และทิศทางดอกเบี้ยนโยบายสหรัฐ
เงินเฟ้อ คือสาเหตุหลักของการขึ้นดอกเบี้ยแทบทุกรอบ เมื่อเกิดเงินเฟ้อ ราคาสินค้าแพงขึ้น อัตราเงินเฟ้อเกินเป้าหมายระยะยาวของ FED จะเป็นที่มาของการใช้นโยบายการเงินที่เข้มงวดขึ้น โดยในช่วงเดือน ธ.ค. 2021 ที่ผ่านมา FED เริ่มส่งสัญญาณชัดเจนว่า จะเริ่มใช้นโยบายที่เข้มงวดขึ้นตั้งแต่ต้นปี 2022 ไม่ว่าจะเป็นการสิ้นสุดมาตรการอัดฉีดสภาพคล่อง (Quantitative Easing : QE) ภายในไตรมาสสองของปี 2022 และจะเริ่มขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย เพื่อรับมือกับเงินเฟ้อที่เร่งตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่องกระทั่งมาอยู่ที่ 6.2% ทั้งที่ค่าเฉลี่ยก่อนโควิด อัตราเงินเฟ้อเฉลี่ยอยู่ที่ระดับ 2% เท่านั้น (ดังรูปที่ 1)
รูปที่ 1 อัตราเงินเฟ้อ USA Inflation Rate
Source:
https://tradingeconomics.com
จากสถิติการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายของ FED ในปี 2018 พบว่า ปรับดอกเบี้ยขึ้นทั้งหมด 4 ครั้งในปีเดียว ส่งผลให้ผลตอบแทนตลาดหุ้นในปี 2018 เกือบทั่วโลกติดลบกันถ้วนหน้า เช่น Dow Jones -5.6%, S&P500 -6.2%, DAX เยอรมัน -18.3%, FTSE อังกฤษ -12.5%, จีน -24.6%, ฮ่องกง -13.6% และ SET ไทย -10.8% เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม นักลงทุนหุ้นไทยยังไม่ต้องตกใจกลัวอะไร เพราะในช่วงปี 2018 ตลาดหุ้นทั่วโลกยังมีความเชื่อมโยงกันสูงมาก ยังไม่ถูกแยกจากกันเป็นรูป K-Shape จากโควิด ในขณะที่ตลาดหุ้นทั่วโลกเริ่มแยกชั้นออกจากกันในปี 2020 จากวิกฤตโควิดและความสามารถในการแก้ปัญหาเศรษฐกิจของรัฐบาลแต่ละประเทศ ในปี 2022 ที่ FED เตรียมปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย จึงอาจจะไม่ส่งผลกระทบต่อ
ตลาดหุ้นไทย
มากนัก
นอกจากนี้ การขึ้นอัตราดอกเบี้ย FED ในรอบนี้อาจไม่ใช่เรื่องน่ากังวล เพราะเป็นการปรับขึ้นจากฐานดอกเบี้ยที่ต่ำสุดในประวัติศาสตร์ในระดับ 0-0.25% (ดังรูปที่ 2) สุดท้ายแล้วการลงทุนในตลาดหุ้น ยังคงเป็นทางเลือกที่น่าสนใจอยู่ดี
รูปที่ 2 อัตราดอกเบี้ยนโยบาย FED
Source:
https://fred.stlouisfed.org
เงินเฟ้อที่สูงขึ้นในปัจจุบัน อาจเป็นภาวะชั่วคราว ที่เกิดจากการขยายตัวอย่างรวดเร็วของความต้องการ (Pent Up Demand) ในขณะที่ภาคการผลิตยังฟื้นตัวไม่เต็มที่ เมื่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจทั่วโลกทยอยกลับสู่ภาวะปกติมากขึ้น แรงกดดันเงินเฟ้อน่าจะชะลอลง ซึ่งเป็นหนึ่งในปัจจัยการลงทุนที่นักลงทุนควรติดตาม
ปี 2022 อาจจะเป็นปีสุดท้ายของความกังวลโควิด
แม้ว่าโควิดสายพันธุ์ใหม่ ๆ ยังคงเป็นปัจจัยเสี่ยงที่ต้องติดตาม แต่สถานการณ์การระบาด การรักษา การรับวัคซีน และความกังวลต่อโควิด กำลังลดลงอย่างมีนัยสำคัญ ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือการระบาดของสายพันธุ์โอมิครอน ที่ระบาดเร็วและง่าย แต่อัตราการเสียชีวิตต่ำ ทั้งสหรัฐอเมริกาและยุโรปที่กำลังระบาดเป็นจำนวนมาก แต่การปิดเมืองหรือควบคุมการเคลื่อนที่ของคนกลับลดลงอย่างชัดเจน กิจกรรมทางเศรษฐกิจยังคงดำเนินต่อไป ตลาดหุ้นอเมริกาและตลาดหุ้นยุโรปก็ทำ new high ต่อเนื่องได้ในสัปดาห์แรกของปี 2022
จำนวนคนทั่วโลกที่ได้รับวัคซีน รวมทั้งคนไทยเองก็ฉีดไปแล้วเกินครึ่ง อีกทั้งยังมีการพัฒนายารุ่นใหม่ และวัคซีนรุ่นใหม่ ที่มีประสิทธิภาพสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้มีโอกาสที่โควิดจะกลายเป็นโรคประจำถิ่นไปในที่สุด และการเดินทางระหว่างประเทศจะเติบโตขึ้นได้อีกครั้ง ซึ่งนั่นจะเป็นโอกาสมหาศาลของธุรกิจบริการในยุคหลังโควิด
ส่องปัจจัยตลาดหุ้นไทย
ตลาดหุ้นไทย
ก็ยังคงมีความน่าสนใจและน่าลงทุน เพราะ SET Index ที่ระดับประมาณ 1650 ยังคงอยู่ระดับใกล้เคียงกับช่วงก่อนโควิด อีกทั้งเศรษฐกิจไทยในยุคหลังโควิด ก็มีแนวโน้มฟื้นตัวได้ดี โดยเฉพาะภาคบริการและการท่องเที่ยว ที่คาดว่าจะฟื้นตัวจากฐานต่ำในปี 2021 ไปสู่การเติบโต 2-3 ปีต่อเนื่อง เพื่อกลับไปสู่ระดับเดียวกับระดับก่อนเกิดโควิดนั่นเอง
ในมุม Fund Flow หรือเม็ดเงินจากนักลงทุนต่างชาติ (Foreign Investor) ก็มีโอกาสไหลกลับเข้าตลาดหุ้นไทยมีสูง เพราะเศรษฐกิจไทยมีโอกาสในการฟื้นตัวในฐานะประเทศท่องเที่ยวที่จะได้รับประโยชน์จากยุคหลังโควิด ยังไม่มีปัญหาเงินเฟ้อ ยังไม่ต้องขึ้นดอกเบี้ย นอกจากนี้กระแส Fund Flow จากนักลงทุนต่างชาติ เริ่มทยอยเข้ามาแล้วตั้งแต่ไตรมาสสามปี 2021 หากนับจากกลางเดือนสิงหาคม ต่างชาติทยอยซื้อสุทธิหุ้นไทยแล้วมากกว่า 57,000 ล้านบาท (ดังรูปที่ 3)
รูปที่ 3 มูลค่าซื้อขายสุทธิของนักลงทุนสี่ประเภท
Source: SETSMART
ลงทุนอย่างไรในปี 2022 นี้
การลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยง อย่างเช่น
หุ้นและกองทุนรวมหุ้น
ยังคงเป็นตัวเลือกที่ดี เพราะเศรษฐกิจโลกและกิจการในตลาดหุ้นกำลังฟื้นตัวอย่างแข็งแกร่ง เพื่อกลับสู่ระดับยอดขายและกำไรในระดับก่อนเกิดโควิด และอัตราดอกเบี้ยแม้อาจจะมีการปรับขึ้นบ้าง แต่ก็ถือว่ายังอยู่ในระดับต่ำ ไม่เป็นอันตรายต่อการลงทุน
ควรเน้นลงทุนระยะยาวในหุ้นคุณค่า ที่มีความเป็น Good Stock at Good Price มีผลประกอบการฟื้นตัว เติบโตไปสู่จุดก่อนโควิด ยิ่งกิจการผูกขาด หรือกินขาด ยิ่งดี มีราคาที่ไม่แพงเกินไป และจ่ายเงินปันผลสม่ำเสมอ นี่คือกลยุทธ์การลงทุนที่ปลอดภัยและคาดหวังผลตอบแทนได้ดี
กิจการผูกขาด ให้ลองนึกถึงกิจการที่แทบไม่มีคู่แข่ง ตัวอย่างเช่น สนามบิน รถไฟฟ้า ทางด่วน โทรคมนาคม เป็นต้น กิจการกินขาด ให้นึกถึงกิจการผู้ชนะที่ใหญ่โตมากจนกระทั่งนำคู่แข่งเบอร์ 2 แบบทิ้งห่าง หากประเทศฟื้น การท่องเที่ยวฟื้น กิจการเหล่านี้แหละที่ยืนอยู่แถวหน้าสุดของผู้รับผลประโยชน์ เพราะเครือข่ายที่กว้างที่สุด ขนาดของกิจการที่ใหญ่ที่สุด เป็นผู้นำตัวจริงในอุตสาหกรรมนั้น ตัวอย่างเช่น ร้านสะดวกซื้อ ห้างสรรพสินค้า สปา โรงหนัง ฯลฯ
ขอบคุณข้อมูลจาก:
-
Tag:
ย้อนกลับ
Follow
×
คุกกี้
เว็บไซต์ของธนาคารมีการจัดเก็บข้อมูลจากเบราว์เซอร์ของคุณในรูปแบบคุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้นให้แก่คุณ รวมถึงนำเสนอเนื้อหา และประชาสัมพันธ์สิทธิประโยชน์ที่ตรงกับความต้องการ การกดปุ่ม
“ตกลงทั้งหมด”
จะช่วยให้คุณได้รับประสบการณ์เต็มรูปแบบในการใช้งานเว็บไซต์ของธนาคาร ทั้งนี้ คุณสามารถกำหนดการตั้งค่าคุกกี้แต่ละประเภทได้ตามที่คุณต้องการโดยกดปุ่ม
“ตั้งค่าคุกกี้”
โดยคุณสามารถคลิกดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
ประกาศการใช้งานคุกกี้
ของธนาคาร
การตั้งค่าคุกกี้
×
การตั้งค่าคุกกี้
คุกกี้ที่มีความจำเป็นต่อการใช้งานเว็บไซต์
Always Active
คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อการทำงานขั้นพื้นฐานของเว็บไซต์ ตัวอย่างเช่น การจดจำหน้าเว็บไซต์ที่คุณเข้าใช้งานล่าสุด การสำรวจหน้าเว็บไซต์ การจดจำรหัสของผู้เข้าใช้งาน หรือ ทำให้ผู้เข้าชม/ผู้ใช้เว็บไซต์เข้าสู่ระบบและสามารถเข้าถึงส่วนของเว็บไซต์ที่ถูกสงวนสิทธิ์ไว้สำหรับสมาชิกเท่านั้น เว็บไซต์จะไม่สามารถทำงานได้อย่างถูกต้องหากไม่มีการเก็บรวบรวมคุกกี้เหล่านี้ การจัดเก็บคุกกี้ประเภทนี้จึงไม่มีความจำเป็นต้องขอความยินยอมจากคุณเพราะคุกกี้ประเภทนี้ไม่ได้มีการจัดเก็บข้อมูลซึ่งสามารถระบุตัวตนของคุณได้อย่างเฉพาะเจาะจงแต่อย่างใด
คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้งานเว็บไซต์
คุกกี้ประเภทนี้ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของเว็บไซต์ ตัวอย่างเช่น การจดจำการตั้งค่าภาษา ภูมิภาค ขนาดตัวอักษรของคุณในการใช้งานเว็บไซต์ นับจำนวนและแหล่งที่มาของผู้เข้าชม/ผู้ใช้เว็บไซต์ เพื่อให้ทราบว่าผู้เข้าชม/ผู้ใช้เว็บไซต์มีการปฏิสัมพันธ์กับหน้าเว็บไซต์อย่างไร และหน้าเว็บไซต์ใดที่ได้รับความนิยมมากที่สุดหรือน้อยที่สุด โดยการเก็บรวบรวมและการรายงานข้อมูลโดยไม่ระบุตัวตนของคุณอย่างไม่เฉพาะเจาะจงจะช่วยให้สามารถพัฒนาและมอบประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ที่ดียิ่งขึ้น หากคุณไม่อนุญาตให้ใช้คุกกี้ประเภทนี้ อาจทำให้ไม่ทราบได้ว่าคุณเคยเข้ามาเยี่ยมชมเว็บไซต์เมื่อใดและไม่สามารถติดตามประสิทธิภาพการประมวลผลของหน้าเว็บไซต์ได้
คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์ข้อมูล
คุกกี้ประเภทนี้จะทำให้เว็บไซต์สามารถตอบสนองตามความพึงพอใจของคุณ โดยทำให้เราทราบถึงพฤติกรรมในการเยี่ยมชมเว็บไซต์ของคุณ รวมถึงรวบรวมข้อมูลทางสถิติเกี่ยวกับการเข้าใช้งานเว็บไซต์ ตัวอย่างเช่น สามารถจดจำการเข้าใช้งานเว็บไซต์ได้สำหรับคุณในครั้งถัดไป ทำให้ผู้ใช้งานสามารถค้นหาสิ่งที่ต้องการได้อย่างง่ายดาย และช่วยให้เราเข้าใจถึงความสนใจของผู้ใช้ และวัดประสิทธิผลของโฆษณาของเรา คุกกี้ประเภทนี้อาจถูกติดตั้งไว้โดยธนาคารหรือผู้ให้บริการซึ่งเป็นบุคคลที่สาม หากคุณไม่อนุญาตให้ใช้คุกกี้ประเภทนี้ การให้บริการบางอย่างของเว็บไซต์อาจไม่สามารถประมวลผลได้อย่างถูกต้อง
คุกกี้สำหรับสื่อสังคมออนไลน์
คุกกี้ประเภทนี้สำหรับฟังก์ชั่นการกดไลค์ แชร์ หรือสมัครสมาชิกบนเว็บไซต์ที่เชื่อมต่อกับแพลตฟอร์มสื่อสังคมออนไลน์
×
คุณยืนยันลบข้อมูลการเก็บคุกกี้ของเว็บไซด์ของธนาคาร ซึ่งไม่รวมถึงการจัดเก็บของบุคคลที่สาม เช่น Chrome, Firefox, Internet Explorer, Safari ฯลฯ ที่คุณต้องไปดำเนินการด้วยตนเอง