ก่อนเริ่มอ่านบทความนี้ ผมขอให้ท่านตอบคำถามก่อนว่า ปัจจุบันคุณมีภาระและหนี้สินเช่น หนี้บ้าน หนี้รถ สินเชื่อธุรกิจ ค่าเล่าเรียนลูกเท่าไร? หากคุณเกิดเหตุไม่คาดฝัน คนข้างหลังคุณมีเงินพอชำระภาระและหนี้สินเหล่านั้นแทนคุณหรือไม่ ? ถ้ายังมีห่วงว่าเตรียมเงินไว้ไม่มากพอ หรืออยาก
จัดการเงินให้ดียิ่งขึ้น บทความนี้จะช่วยท่านที่เป็นกำลังหลักหรือกำลังสำคัญของครอบครัวสามารถเตรียมความพร้อมได้ดียิ่งขึ้นผ่านผลิตภัณฑ์ประกันชีวิตแบบตลอดชีพครับ
ประกันชีวิตแบบตลอดชีพคืออะไร?
ประกันชีวิตแบบตลอดชีพ คือ
ประกันชีวิตที่เน้นความคุ้มครองระยะยาว โดยเราจ่ายเบี้ยประกันเป็นระยะเวลาหนึ่ง เช่น 5 ปี 10 ปี เป็นต้น แต่จะให้ความคุ้มครองตลอดชีพ หรือจนถึงอายุ 85 ปี หรือ 99 ปี นอกจากนี้ยังสามารถลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 100,000 บาท (ตามกฏเกณฑ์ที่กรมสรรพากรกำหนด)
ตัวอย่างสมมติ เช่น อายุ 35 ปี ทำประกันชีวิตแบบตลอดชีพ ซึ่งมีเงื่อนไขคือ ชำระเบี้ย 20 ปี ได้รับเงินเอาประกันภัยหรือได้รับเงินจ่ายคืนตามกรมธรรม์ 1,000,000 บาท กรณีเสียชีวิตหรืออายุครบ 99 ปี ตามลำดับ รายละเอียดตามตารางด้านล่าง
วันครบรอบปีกรมธรรม์ปีที่ |
เบี้ยประกันภัยรายปี (บาท) |
เงินจ่ายคืนตามกรมธรรม์* |
จำนวนเงินเอาประกัน กรณีเสียชีวิต (บาท) |
1 |
20,000 |
- |
1,000,000 |
2 |
20,000 |
- |
1,000,000 |
.
.
. |
.
.
. |
.
.
. |
.
.
. |
20 |
20,000 |
- |
1,000,000 |
.
.
. |
- |
.
.
. |
- |
อายุครบ 99 ปี |
- |
1,000,000 |
- |
รวม |
400,000 |
|
|
*ณ วันครบรอบปีกรมธรรม์
สรุปจากตารางข้างบนคือ หากเสียชีวิตตั้งแต่ปีกรมธรรม์ที่ 1 ถึงอายุครบ 99 ปี ผู้ได้รับผลประโยชน์ตามที่ระบุในกรมธรรม์จะได้รับเงินเอาประกันภัยรวม 1,000,000 บาท โดยจ่ายเงินค่าเบี้ยประกันรวมเพียง 400,000 บาท หรือเมื่อครบอายุ 99 ปี จะได้รับเงินจ่ายคืนตามกรมธรรม์ที่ 1,000,000 บาท นั่นเอง
นอกจากนี้ ยังสามารถประหยัดภาษีรวมได้สูงสุดถึง 140,000 บาทเลยทีเดียว จากตารางด้านล่าง
ฐานภาษี |
5% |
10% |
15% |
20% |
25% |
30% |
35% |
ประหยัดภาษีปีละ** |
1,000 |
2,000 |
3,000 |
4,000 |
5,000 |
6,000 |
7,000 |
รวมประหยัดภาษี 20 ปี |
20,000 |
40,000 |
60,000 |
80,000 |
100,000 |
120,000 |
140,000 |
**การประหยัดภาษีเป็นไปตามกฏเกณฑ์ที่กรมสรรพากรกำหนด ตัวอย่างข้างต้นคำนวณกรณีเบี้ยประกันภัยลดหย่อนได้เต็มจำนวน
แล้วประกันชีวิตแบบตลอดชีพช่วยเตรียมเงินให้คนข้างหลังอย่างไร
จำคำถามที่ผมถามไว้ก่อนหน้านี้ได้ไหมครับ ท่านมีภาระหรือ
หนี้สินอยู่เท่าไร สมมติท่านเกิดเหตุไม่คาดฝันเสียชีวิตลง ท่านมีเตรียมเงินไว้เพียงพอกับภาระหรือหนี้สินนี้หรือยัง? เพราะภาระหรือหนี้สินดังกล่าวจะตกเป็นภาระของพ่อ แม่ แฟนหรือลูกของท่านได้ จะดีกว่าไหม หากท่านมีการถ่ายโอนความเสี่ยงตรงนี้ให้บริษัทประกันชีวิตช่วยดูแล หากท่านเห็นด้วย คำถามถัดมาที่ควรถามตัวเองคือ ความคุ้มครองเท่าไร ถึงจะเหมาะสมกับตัวเรา
ตามหลักการแล้ว พวกเราควรมีความคุ้มครองไม่น้อยกว่าภาระหรือหนี้สินที่มีอยู่ครับ แต่ในชีวิตจริงๆ แล้วถือว่าปฏิบัติได้ค่อนข้างยากโดยเฉพาะกับมนุษย์เงินเดือนที่เพิ่งเริ่มชีวิตทำงาน ดังนั้นแนะนำให้เริ่มต้นจากพิจารณาเงินออมต่อปีของท่านก่อน หัวใจของการเลือกเบี้ยประกันภัยที่เหมาะสมคือ การเลือกจำนวนเบี้ยประกันที่เมื่อท่านจ่ายไปแต่ละปีแล้วไม่กระทบต่อรายจ่ายอื่น ๆ ในชีวิตประจำวัน เพราะเบี้ยประกันเป็นภาระผูกพันระยะยาวครับ
ตัวอย่าง
ตัวอย่าง |
ภาระหรือหนี้สินรวม |
เงินออมต่อปี |
เบี้ยประกันภัย |
เงินเก็บต่อปี |
จำนวนเงินเอาประกันภัยที่ต้องการ |
1 |
2,200,000 |
50,000 |
50,000 |
0 |
2,500,000 |
2 |
40,000 |
10,000 |
2,000,000 |
3 |
20,000 |
20,000 |
1,000,000 |
จากตารางจะเห็นว่าตัวอย่างที่ 1 ได้รับจำนวนเงินเอาประกันภัยที่ 2,500,000 บาท หากเสียชีวิต คนข้างหลังจะไม่เหลือภาระหรือหนี้สินไว้ให้กังวลใจเลย แต่แลกกับการไม่มี
เงินออมเเลย ซึ่งหากมีเงินออมเดิมเยอะอยู่แล้ว ถือว่าโอเค แต่หากไม่มีเลย เราควรจัดให้มีเงินออมไว้ใช้ยามฉุกเฉินบางส่วนและปรับลดเบี้ยประกันชีวิตลงมาดังเช่นตัวอย่างที่ 2 และ 3 แม้ว่าอาจจะยังมีภาระหรือหนี้สินไว้ให้คนข้างหลังอยู่ แต่ถ้าเรามีแผนการจัดการเงินที่ดี ภาระและหนี้สินเหล่านี้สามารถลดลงเรื่อยๆ เมื่อเวลาผ่านไป
ตัวอย่างและตัวเลขข้างต้น เป็นข้อมูลคร่าวๆ นะครับ แนะนำให้ท่านที่สนใจลองสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมที่ธนาคารกรุงศรีฯ ใกล้บ้านท่านก่อน หวังว่าบทความนี้จะมีประโยชน์และทำให้ท่านเข้าใจความจำเป็นของประกันชีวิตแบบตลอดชีพมากยิ่งขึ้นครับ
หากมีข้อสงสัย ต้องการปรึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับวางแผนทำประกันชีวิตเบื้องต้น สามารถโทร. 1572 กด 5 วันจันทร์-ศุกร์ เวลา 9.00 – 17.00 น. เพื่อรับคำแนะนำแบบส่วนบุคคลจากเจ้าหน้าที่ผู้เชี่ยวชาญด้านการเงินได้ โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น หรือเข้าไปอ่านบทความเพิ่มเติมได้ด้วยตัวเองที่เว็บไซต์
KRUNGSRI Plan Your Money