คุณจ่ายค่าเรียนพิเศษเพื่อเตรียมลูกน้อยเข้าโรงเรียนดัง เท่าไหร่?
จะกี่ยุคกี่สมัยพ่อแม่ทุกคนก็อยากให้ลูกเข้าโรงเรียนดี ๆ และต้องนั่งวางแผนตั้งแต่ลูกยังไม่ได้ลืมตาดูโลกว่าจะให้เข้าโรงเรียนไหนดี จะไปแนวบูรณาการหรือวิชาการ ซึ่งการเลือกโรงเรียนอนุบาลก็สำคัญมาก เพราะควรเลือกให้สอดคล้องกับโรงเรียนประถมที่หมายตาเอาไว้ อย่างเช่น ถ้าอยากให้ลูกสอบเข้าประถมในโรงเรียนสายไหนก็ควรเลือกโรงเรียนอนุบาลที่เน้นสายนั้นเหมือนกัน เพื่อช่วยให้การสอบเข้าโรงเรียนง่ายขึ้นและมีความต่อเนื่องในการเรียน
แต่หลายบ้านอาจไม่ได้วางแผนไว้ชัดเจนแต่แรกหรืออยากให้ลูกเปลี่ยนสายหลังจากที่เข้าโรงเรียนอนุบาลไปแล้ว เช่น ลูกเรียนอนุบาลสายวิชาการแล้วดูหนักเกินไป อยากให้ลูกได้เรียนแบบสบาย ๆ เน้นกิจกรรมมากขึ้น จึงอยากให้ไปสอบเข้าโรงเรียนประถมสายบูรณาการมากกว่า ในส่วนนี้คงจะต้องเสริมด้วยการติว หรือเรียนพิเศษฝึกทักษะเพิ่มเติมอย่างเข้มข้น เพราะสายบูรณาการจะเน้นข้อสอบแนวเชาว์ปัญญามากกว่าวิชาการ ซึ่งเหล่านี้ คือค่าใช้จ่ายลูกที่คุณพ่อคุณแม่ต้องเตรียมวางแผนตั้งแต่เนิ่น ๆ และเตรียมวางแผนการเก็บเงินให้พอสำหรับการเรียนทั้งในโรงเรียนและการติวสอบของลูกรัก
ค่าใช้จ่ายสำหรับเข้าโรงเรียนอนุบาล-ชั้นประถม ต้องเตรียมอะไรบ้าง?
เราลองมาดูค่าใช้จ่ายคร่าวๆ ว่ามีค่าใช้จ่ายอะไร ประมาณเท่าไหร่กันบ้าง
ค่าเทอมโรงเรียนอนุบาล
เริ่มต้นค่าใช้จ่ายส่วนนี้ก็ไม่ธรรมดาแล้ว ลำพังค่าเทอมโรงเรียนอนุบาลดัง ๆ อย่าง อนุบาลเด่นหล้า/เลิศหล้าหรืออนุบาลเธียรประสิทธิศาสตร์ ก็แตะหลักแสนบาทต่อปี ส่วนโรงเรียนที่ดังรอง ๆ ลงมา ค่าเทอมต่อปีก็จะอยู่โดยเฉลี่ย 4-6 หมื่นบาท ก็นับว่าเป็นเงินจำนวนไม่น้อย ขั้นต่ำก็ต้องเตรียมเงินในส่วนนี้ไว้สำหรับ 2-3 ปี
ค่าติว หรือค่าเรียนพิเศษเพื่อสอบเข้าโรงเรียนประถม
ค่าใช้จ่ายนี้จะขึ้นอยู่กับชื่อเสียงของสถาบันและคุณครู โดยส่วนใหญ่จะคิดเป็นรายชั่วโมงอยู่ที่ประมาณ 200-1,000 บาทต่อชั่วโมง ทั้งนี้ ค่าใช้จ่ายในการติวก็จะขึ้นอยู่กับความถี่ของจำนวนครั้งที่เรียนติว
ค่าแรกเข้า ค่าบำรุง ค่าเทอม ค่าสนับสนุนทางการศึกษาของโรงเรียนประถม
เริ่มตั้งแต่หลักหมื่นถึงหลักแสนบาท ขึ้นอยู่กับว่าจะเข้าโรงเรียนอะไร นอกจากนี้ยังมีค่าใช้จ่ายจิปาถะกับกิจกรรมต่าง ๆ ของลูกที่ต้องเตรียมเผื่อไว้ด้วย
โดยสรุป ประมาณการค่าใช้จ่ายที่ต้องเตรียมตั้งแต่โรงเรียนอนุบาล จนถึงชั้นประถมปีที่ 1 โรงเรียนดังทั้งหมดจะอยู่ที่ประมาณ 180,000-650,000 บาทเลยนะ
เราเห็นแล้วว่ากว่าลูกน้อยจะเข้าโรงเรียนประถมดัง ๆ ได้ มีค่าใช้จ่ายทั้งค่าเรียนและค่าเรียนพิเศษมากมายขนาดไหน จึงอยากชวนคุณพ่อคุณแม่มาเตรียมเก็บเงินในกระเป๋าเพื่อรองรับค่าใช้จ่ายในส่วนนี้กัน
โดยสิ่งแรกที่ต้องคำนึงถึงก็คือ สภาพคล่องของเงินในกระเป๋าของเรา สมมติว่า ถ้าเรามีแผนจะใช้เงินในเร็ว ๆ นี้ การฝากเงินในบัญชีออมทรัพย์ถือเป็นทางเลือกหนึ่งที่ดีสุด เพราะเราสามารถถอนเงินไปใช้ได้ตลอดเวลาเมื่อมีความจำเป็นต้องใช้เงิน ยิ่งถ้าเปิดบัญชีออมทรัพย์ที่ให้ดอกเบี้ยสูงก็ยิ่งได้รับดอกเบี้ยสูงอีกด้วย อย่างบัญชี
- ดอกเบี้ยสูงสุด 1.50% ต่อปี สำหรับยอดเงินฝากน้อยกว่า หรือเท่ากับ 1 ล้านบาท และ 1.00% ต่อปี สำหรับเงินฝากที่เกิน 1 ล้านบาทแต่ไม่เกิน 2 ล้านบาท
- รับดอกเบี้ยทุกเดือน
- สภาพคล่องสูงมาก สามารถถอนเพื่อนำไปใช้จ่ายเมื่อไหร่ก็ได้
- วิธีการเปิดบัญชีก็ง่ายมาก สามารถเปิดบัญชีได้ด้วยตัวเองผ่าน KMA – krungsri app ได้ทันที
ถ้าลูกน้อยยังเบบี๋อยู่ ยังไม่ต้องเข้าโรงเรียนในช่วง 2 ปีนี้ เรามีเวลาทยอยเก็บเงินได้อยู่
ธนาคารกรุงศรีอยากแนะนำให้เก็บเงินใน..
- รับดอกเบี้ยสูงถึง 2.55% ต่อปี โดยไม่ต้องเสียภาษีดอกเบี้ย
- ทยอยฝากได้ เดือนละเท่า ๆ กัน ตั้งแต่เดือนละ 500 บาท ถึง เดือนละ 25,000 บาท
- สะดวก ไม่ต้องคอยมาจำว่าต้องเอาเงินมาฝากทุกเดือน เพราะตั้งโอนเงินล่วงหน้าได้ง่าย ๆ ผ่าน KMA – krungsri app หรือสมัครบริการโอนเงินระหว่างบัญชีเงินฝากได้เลย
ตัวอย่างเช่น เก็บเดือนละ 10,000 บาท ครบ 24 เดือนเราจะ
มีเงินเก็บ 240,000 บาท บวกดอกเบี้ยที่ได้รับเต็ม ๆ อีก ก็ได้เงินก้อนโตไม่น้อย
จะเห็นว่าการเก็บเงินมีได้หลายแบบขึ้นอยู่กับเป้าหมายและระยะเวลาที่ต้องการใช้เงิน ทำให้การวางแผนเก็บเงินของแต่ละครอบครัวมีรูปแบบที่แตกต่างกัน สำคัญที่สุด คือ การวางแผน และเริ่มการเก็บเงินแต่เนิ่น ๆ จะช่วยให้เราไปถึงเส้นชัยได้ง่ายขึ้น และท้ายที่สุดแล้วสิ่งที่ทุกครอบครัวจะได้เหมือนกันคือ
ความพร้อมทางการเงินที่จะช่วยผลักดันลูกน้อยให้ได้มีโอกาสเข้าโรงเรียนดัง ๆ ได้นั่นเอง