KRUNGSRI EXCLUSIVE
 

COVID-19 VACCINE Q&A

 

ไขข้อข้องใจวัคซีนโควิด -19

 
COVID-19 VACCINE Q&A

นาทีนี้ประเด็นเรื่องการฉีดวัคซีนโควิด -19 ให้กับประชาชนให้ได้มากที่สุด ยังคงเป็นเรื่องที่นานาประเทศพูดถึงและให้ความสำคัญเป็นอันดับต้น อย่างไรก็ตามตลอดปีกว่าที่ผ่านมา การพัฒนาวัคซีนโควิด -19 ในแต่ละชนิดล้วนมีความแตกต่างกันออกไป เราจึงมีข้อควรสังเกตและควรรู้ เพื่อสร้างความเข้าใจเพิ่มเติมในการสร้างภูมิคุ้มกันให้ร่างกายผ่านการฉีดวัคซีน

วัคซีนโควิด -19 แต่ละชนิดแตกต่างกันอย่างไร
แม้ทั่่วโลกจะมีการวิจัยและผลิตวัคซีนออกมาหลากหลายชนิด แต่ศาสตราจารย์ นายแพทย์ยงภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ระบุว่า มีเพียง 3 กลุ่มเท่านั้นที่ผ่านการทดลองและได้รับอนุญาตให้ใช้กับมนุษย์ใน ภาวะปกติและฉุกเฉิน ได้แก่
  • วัคซีนเชื้อตาย การทำวัคซีนแบบดั้งเดิมซึ่งเป็นวิธีเดียวกับการทำวัคซีนโปลิโอ พิษสุนัขบ้า และไวรัสตับอักเสบเอ ที่่นำเชื้อไวรัสโคโรนามาเพาะเลี้ยงบนเซลล์จากนั้นจึงฆ่าเชื้อให้ตาย แล้วนำไป Formulation ใส่สารกระตุ้นภูมิต้านทาน เมื่อฉีดวัคซีนเข้าไปในร่างกาย จะกระตุ้นให้ระบบภูมิคุ้มกันให้สร้างแอนติบอดี้ต้านไวรัสโคโรนา ด้วยความที่เป็นเชื้อตาย เชื้อจะไม่เพิ่มจำนวน สามารถใช้กับผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่องหรือภูมิคุ้มกันต่ำได้ บริษัทที่ใช้วัคซีนชนิดนี้ ได้แก่ Sinovac และ Sinopharm จากจีน
  • วัคซีนที่มีไวรัสเป็นพาหะ วัคซีนชนิดใหม่ที่ใช้ในมนุุษย์ วัคซีนชนิดนี้คือการนำเอาสารพันธุุกรรมของไวรัสโคโรนาใส่เข้าไปในไวรัสที่จะเป็นพาหะ ซึ่งไวรัสที่เป็นพาหะจะไม่ก่อให้เกิดโรคต่อร่างกายของมนุษย์ เมื่อฉีดวัคซีนเข้าไปจะสร้างโปรตีนไวรัสโคโรนาขึ้น ซึ่งเป็นการกระตุ้นให้ระบบภูมิคุ้มกันสร้างแอนติบอดี้ และกระตุ้นให้ที-เซลล์์ (T-cell) ทำลายเซลล์ที่ติดเชื้อลง บริษัทที่ใช้วัคซีนชนิดนี้ ได้แก่ AstraZeneca จากสหราชอาณาจักรและสวีเดน ซึ่งร่วมมือกับมหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด (Oxford University) และ Sputnik V จากรัสเซีย
  • วัคซีน mRNA วัคซีนรูปแบบใหม่ที่เป็นการใช้ mRNA หรือ messenger RNA ซึ่งเป็นโมเลกุุลอาร์เอ็นเอชนิดหนึ่ง โดยวัคซีน mRNA นี้จะถูกห่อหุ้มด้วยอนุภาคนาโนไขมัน (Lipid Nanoparticle) เมื่อฉีดเข้าไปในร่างกาย ก็จะทำให้เซลล์ในร่างกายสร้างโปรตีน หรือชิ้นส่วนของโปรตีนที่สามารถกระตุ้นให้เกิดตอบสนองทางภูมิคุ้มกันในร่างกายให้เกิดเป็นแอนติบอดี้ ซึ่งจะช่วยคุ้มกันจากเชื้อไวรัสที่เข้าสู่ร่างกายได้ บริษัทที่ใช้วัคซีนชนิดนี้ ได้แก่ Pfizer จากสหรัฐอเมริกา และ Moderna จากเยอรมัน

การฉีดวัคซีนโควิด-19 มีผลข้างเคียงอย่างไรบ้าง
องค์การอนามัยโลกระบุว่า ผลข้างเคียงที่มีการรายงานเกี่ยวกับวัคซีนป้องกันโควิด-19 ส่วนใหญ่มีความรุุนแรงเล็กน้อยถึงปานกลาง และส่งผลเป็นระยะเวลาสั้นๆ โดยอาการที่พบ ได้แก่ มีไข้เหนื่อยล้า ปวดศีรษะ ปวดกล้ามเนื้อ หนาวสั่นท้องเสีย มีอาการปวดบริเวณที่ฉีดวัคซีนโอกาสที่จะเกิดผลข้างเคียงหลังจากได้รับวัคซีนจะแตกต่่างกันไปตามวัคซีนป้องกันโควิด-19 แต่ละชนิดแต่มักเป็นอาการชั่วคราวเพียง 2-3 วัน ขึ้นอยู่กับสภาพร่างกายของแต่ละบุคคล สำหรับผลข้างเคียงของวัคซีนที่รุุนแรงหรือส่งผลเป็นระยะเวลานานกว่าปกตินั้้นอาจเกิดขึ้นได้แต่ไม่บ่อยนัก

ทั่วโลกใช้วัคซีนโควิด -19 ชนิดใดกันบ้าง
สถิติ ณ ปัจจุบัน (16 มิถุุนายน 2564) มีวัคซีนมากกว่า 2.28 พันล้านโดสที่ได้รับการแจกจ่ายไปยังทั่วโลก มีผู้ได้รับการฉีดวัคซีนแล้ว 480 ล้านคน สำหรับประเทศไทย มีผู้ได้รับการฉีดวัคซีนแล้ว 1.66 ล้านคน โดยวัคซีนที่มีการฉีดมากที่สุดคือ Astrazeneca กระจายใน 177 ประเทศ อาทิ แคนาดา อังกฤษ อินเดีย เม็กซิโก บราซิล รองลงมาคือ Pfizer 104 ประเทศ อาทิ สหรัฐอเมริกา อังกฤษ เยอรมัน โปรตุเกส และ Moderna 54 ประเทศ อาทิ สหรัฐอเมริกา แคนาดา และประเทศในกลุ่มยุโรป

ข้อควรปฏิบัติก่อนและหลังการฉีดวัคซีน
ก่อนเข้ารับการฉีดวัคซีนโควิด -19 ผู้ที่มีโรคประจำตัว หรือมียาประจำที่ต้องรับประทาน ควรปรึกษาแพทย์ประจำตัวก่อน สองวัน งดออกกำลังกายหนักๆ และพักผ่อนให้เพียงพอทำใจสบายๆ หากเจ็บป่วย มีไข้ ไม่สบาย ให้้เลื่อนการฉีดวัคซีนออกไปก่อนอย่างน้อย 1-2 สัปดาห์ ดื่มน้ำเปล่าในปริมาณที่เพียงพอต่อร่างกาย 500-1,000 ซีซี (ประมาณ 3-5 แก้ว) หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีคาเฟอื่น เช่น ชา กาแฟ น้ำอัดลม หรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ หากใช้ยาละลายลิ่มเลือดหรือยาต้านเกล็ดเลือด กรุุณาแจ้งเจ้าหน้าที่ก่อนเข้ารับการฉีด สุดท้ายควรเลือกฉีดแขนข้้างที่ไม่ค่อยถนัด

หลังฉีดวัคซีนอย่างน้อย 2 วัน พยายามไม่ใช้งานแขนข้างนั้น ไม่ควรเกร็งยกของหนัก และไม่ควรบีบนวดบริเวณที่ฉีดวัคซีน ในกรณีีที่มีไข้หรือปวดเมื่อยมาก สามารถกิินยาพาราเซตามอลขนาด 500 มิลลิกรัม ครั้งละหนึ่งเม็ด (กินซ้ำได้หากจำเป็น) แต่ให้ห่างกัน 6 ชั่วโมง
ชนิดของวัคซีน วัคซีนเชื้อตาย มีไวรัสเป็นพาหะ mRNA
บริษัทที่ผลิต Sinovac Sinopharm Astrazeneca Pfizer Moderna
จำนวนโดส 2 โดส ห่างกัน 21 วัน 2 โดส ห่างกัน 28 วัน 2 โดส ห่างกัน 28 วัน 2 โดส ห่างกัน 21 วััน 2 โดส ห่างกัน 28 วัน
ช่วงอายุุที่ฉีดได้ 18-59 18-59 18+ 16+ 18+
ผลข้างเคียงที่พบ มีไข้ ปวด บวม แดง บริเวณที่ฉีดซึ่งเป็นอาการชั่วคราว ปวดศีรษะ อ่อนเพลีย ปวด บวม แดง บริเวณที่ฉีด มีไข้ หนาวสั่น
ปวดศีรษะ อ่อนเพลีย ปวดกล้ามเนื้อหรือข้อ
คลื่นไส้ ปวดและระคาย เคืองบริเวณที่ฉีด
มีไข้ หนาวสั่น
ปวด บวม แดง
บริเวณที่ฉีด อ่อนเพลีย
ปวดศีรษะ ปวดกล้าม เนื้อหรือข้อต่อ คลื่นไส้ ท้องร่วง
มีไข้ ปวด
บวม แดง อ่อนเพลีย ปวดศีรษะ ปวดกล้ามเนื้อ ปวดข้อ หนาวสั่น คลื่นไส้อาเจียน
ประสิทธิภาพ วัคซีนทุกตัวมีประสิทธิภาพในการช่วยเพิ่มภูมิคุ้มกัน ป้องกันการติดเชื้อโควิดได้รวมทั้งลดอัตราการเสียชีวิต
ข้อมูลอ้างอิง nytimes.com, hfocus.com, WHO.int, กรมควบคุมโรค
© 2565 ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน)