เช็คเลเวลการออมของคุณ ทำยังไงให้ออมได้มากกว่า

0 Share
0
เช็คเลเวลการออมของคุณ ทำยังไงให้ออมได้มากกว่าเช็คเลเวลการออมของคุณ ทำยังไงให้ออมได้มากกว่าเช็คเลเวลการออมของคุณ ทำยังไงให้ออมได้มากกว่าเช็คเลเวลการออมของคุณ ทำยังไงให้ออมได้มากกว่า
การออมเงิน  ใครๆก็รู้ว่าสำคัญ เผื่อเอาไว้ใช้ในอนาคต เป็นเงินฉุกเฉิน เอาไว้ลงทุน หรือเก็บยาวไว้เผื่อเกษียณเร็ว เกษียณรวย
 
ไม่ว่าไลฟ์สไตล์ของคุณจะเป็นแบบไหน เคยคำนวณกันไหม ว่าแต่ละเดือนเนี่ย เลเวลการออมของเราอยู่ในระดับไหน?
เช็คกันง่าย ๆ ลองดูว่าไลฟ์สไตล์การจับจ่ายของเราเป็นแบบไหน?  ออมได้บ้างไหม? ใช้เงินไปกับอะไรมากที่สุด?
 
  A B C
  เลเวลการออม : ชักหน้าไม่ถึงหลัง เลเวลการออม : เหลือก็เก็บ เลเวลการออม : แบ่งส่วนเงินตั้งแต่แรก
ค่าที่พัก 8,000 5,000 4,000
  ที่พักขอสะดวกสบายนิดนึง คอนโดติดแนวรถไฟฟ้า ที่พักก็สะดวกสบายระดับนึง ที่พักไม่ต้องสะดวกสบายมาก เอาแค่พออยู่ได้
ค่าเดินทาง 2,500 2,500 2,000
  บีทีเอสบ้าง แท็กซี่บ้างตามเวลาอยากสบาย บีทีเอสบ้าง แท็กซี่บ้างตามเวลาอยากสบาย เน้นการใช้บีทีเอสและรถขนส่งสาธารณะเป็นหลัก
ค่าข้าว 5,500 5,500 4,500
  มีมื้อพิเศษบ้าง บุฟเฟต์บ้างตามความอยากกิน มีมื้อพิเศษบ้าง บุฟเฟต์บ้างตามความอยากกิน ค่าข้าวมื้อละ 50 บาทขาดตัว
ค่าน้ำ/กาแฟ 1,000 500 500
  กินเป็นบางวันแต่กาแฟแก้วละ 100 กินเป็นบางวัน กินเป็นบางวัน
ค่าเสื้อผ้า 6,000 4,000 3,000
  คเห็นเสื้อผ้าถูกใจ ห้ามใจไม่เคยไหว ซื้อเท่าที่อยากซื้อ ซื้อ แต่มีจำกัดงบ
ค่าของใช้ส่วนตัว 1,000 1,000 1,000
เงินออม -3,000 1,500 5,000
เปอร์เซนต์เงินออม -15% 7.5% 25%

จากตารางข้างบน คิดว่าไลฟ์สไตล์การใช้จ่ายของคุณเป็นแบบไหน?


ถ้าคุณเป็นคนแบบ A - สถานะ : ชักหน้าไม่ถึงหลัง!
ไม่ต้องแปลกใจเลยว่าทำไมแต่ละเดือน เงินถึงไม่พอใช้ เพราะคุณใช้จ่ายตามใจจนเกินตัว  ไม่เคยวางแผนว่าเดือนนี้ต้องใช้จ่ายอะไร เป็นเงินเท่าไหร่ สุดท้ายปลายเดือนก็ไม่มีเงินเหลือเก็บ แถมมีหนี้สินติดลบอีกต่างหาก
ดูจากบันทึกการใช้จ่ายแล้ว เห็นชัดเลยว่าคนแบบ A ไม่สามารถแยกแยะความจำเป็นกับความอยากได้  ค่าเสื้อผ้าก็เลยสูงถึงเดือนละ 6,000 บาท ยังไม่รวมการใช้จ่ายที่เกินจำเป็นอย่างเช่น ค่ากาแฟที่ตกเดือนละ 1,000 บาท หรือค่าอาหารมื้อพิเศษอื่นๆ อีก รวมกันแล้วมากกว่า 35% ของรายได้เลยทีเดียว ทั้ง ๆ ที่ตามหลักแล้ว ค่าใช่จ่ายส่วนนี้ไม่ควรเกิน 30% ของรายได้ ถือว่ามากเกินไปจนสถานะทางการเงินติดลบ

วิธีเปลี่ยนสถานะเงินออมที่เหมาะสมกับคนแบบ A – ลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น
  • ใช้วิธีจดบันทึกค่าใช้จ่าย อาจจะด้วยสมุดจดหรือใช้ App ต่าง ๆ จะได้รู้ว่ารายจ่ายไหนที่ไม่จำเป็น ตัดออกได้บ้าง
  • ตัดรายจ่ายที่ไม่จำเป็นออกไปบ้าง การกินบุฟเฟต์ที่อาจจะจำกัดเหลือเดือนละ 2 ครั้ง , รองเท้าเก่ายังดีอยู่เลย ชะลอการซื้อรองเท้าใหม่ไปก่อนแล้วกัน , ไปเที่ยวตอนนี้ยังไม่ดีมั้ง รอไปเที่ยวช่วงอื่นดีกว่า
  • ถ้าตัดรายจ่ายไม่ได้จริงๆ ลองหารายได้เสริม เพื่อช่วยแบ่งเบาภาระทางการเงินของตัวเอง ก่อนที่คุณจะเริ่มเป็นหนี้

ถ้าคุณเป็นคนแบบ B - สถานะการออม : เหลือใช้แล้วค่อยเก็บ
จริง ๆ ก็ มีความพยายามจะเก็บเงิน แต่ใช้ระบบเหลือก็ค่อยเก็บ เหลือจากค่าใช้จ่ายตอนปลายเดือนเท่าไหร่ ก็เก็บเท่านั้น  บางเดือนก็เลยไม่เหลือ เพราะเจอสิ่งของที่อยากได้ อยากซื้อ อยากกิน
ถ้าดูจากบันทึกการใช้จ่ายแล้ว คนแบบ B สามารถแยกแยะได้ระดับนึงระหว่างความจำเป็นกับความอยาก
สามารถควบคุมค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นอย่างค่ากาแฟ , ค่าเสื้อผ้าบางอย่างได้ แต่ไม่มีระบบในการจัดการเงินที่ดี ทำให้มีเงินออมเพียง 7.5% ของรายได้

วิธีแก้ปัญหาของคนแบบ B - เน้นเพิ่มประสิทธิภาพการออม
  • ลองใช้ระบบแบ่งส่วนเงินตั้งแต่วันที่เงินเดือนออกเลย หัก 20% เข้าบัญชีเงินออมทันทีที่เงินเดือนออก
  • ส่วนที่เหลือ แบ่งเป็น 50% สำหรับค่าใช้จ่ายที่จำเป็น เช่น ค่าข้าว, ค่าเดินทาง, ค่าที่พัก
  • 30% แบ่งเป็นค่าใช้จ่ายตอบสนองความต้องการของตัวเอง เช่น ค่าเสื้อผ้า, ค่าอาหารมื้อหรู
  • แบ่งเงินเป็นสัดส่วนมากขึ้น ป้องกันปัญหาการใช้เงินเกิน

ถ้าคุณเป็นคนแบบ C - สถานะการออม : แบ่งเงินออมตั้งแต่แรก
ปรบมือรัว ๆ สำหรับคนแบบ C  คุณไม่มีปัญหาด้านการบริหารเงินเลย เงินค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวันก็เพียงพอ อยากซื้อเสื้อผ้าอะไรก็ซื้อได้ ขอแค่ไม่เกินเงินที่แบ่งส่วนไว้แค่นั้นเอง เงินเก็บออมก็มี อยากจะใช้เงินออมเพื่อทำตามความฝันในบางครั้งคราวก็ได้ ไม่กระทบต่อเงินค่าใช้จ่ายส่วนอื่นๆ เวลาฉุกเฉินก็อุ่นใจว่าเราก็มีเงินออมสำรองอยู่
 
แต่คนแบบ C ก็ควรหาวิธีที่ทำให้เงินออมของเรางอกเงย เช่น ลงทุนในบัญชีฝากประจำแบบปลอดภาษี  ลงทุนในกองทุนรวม หรือลงทุนในหุ้นบ้าง วิธีนี้ก็เป็นอีกวิธีหนึ่ง ที่ช่วยให้เราสามารถไปถึงฝันได้เร็วขึ้น ที่สำคัญ ต้องไม่ลืมศึกษาข้อมูลให้ดี ก่อนลงทุนเสมอ
 
รู้จักตัวเองดีขึ้น จากการเช็คเลเวลการออมกันไปแล้ว อย่าลืมเอาเคล็ดลับการออมสำหรับคนแต่ละประเภทไปลองปรับใช้กันดู เริ่มออมตั้งแต่วันนี้  อนาคตดี ๆ รอเราอยู่แน่นอน
< ย้อนกลับ