อยากสร้างผลงานที่โดดเด่นต้องทำอย่างไร

อยากสร้างผลงานที่โดดเด่นต้องทำอย่างไร

By Krungsri Academy

“ค่าของคน...อยู่ที่ผลของงาน” เป็นวลีที่ถูกยกมาสอนคนทำงานได้ไม่ตกยุคตกสมัย เพราะประโยชน์ของงานที่ทำมักจะสะท้อนถึงผู้ที่รังสรรค์โดยอัตโนมัติ จนเกิดการยอมรับในฝีมือ สร้างชื่อเสียง จนมีผู้คนจำนวนมากที่อยากร่วมงานด้วย บวกกับยุคสมัยที่คนทำงานรุ่นใหม่อยากเป็นที่ยอมรับและมีตัวตนในสายอาชีพ ทำให้เกิดการแข่งขันเพื่อสร้างผลงานให้โดดเด่น ซึ่งเราไม่ได้จะมาบอกเคล็ดลับของความสำเร็จในการสร้างงาน แต่จะมาแนะนำเหตุสำคัญที่จะทำให้งานของเรามีโอกาสโดดเด่นกว่าใครเพื่อน

แรงบันดาลใจอยู่รอบตัวเรา


คิดจะสร้างงานที่โดดเด่นให้คนอื่นชอบ เราต้องชอบงานที่เราทำก่อนเป็นลำดับแรก และการจะสร้างความรู้สึกตรงนี้ได้ย่อมต้องมี ‘แรงบันดาลใจ’ ซึ่งเราสามารถหาได้จากการสังเกต การบันทึกสิ่งต่าง ๆ รอบตัว หรือการพาตัวเราเองออกเดินทางไปเจอสภาพแวดล้อมที่แตกต่าง ก็สามารถช่วยให้เราเห็นมุมมอง พฤติกรรม และวัฒนธรรมท้องถิ่นใหม่ ๆ ที่เราอาจไม่เคยพบเจอมาก่อน ซึ่งเราสามารถนำสิ่งเก่าและสิ่งใหม่มาผสมกับความคิด และจินตนาการให้เกิดการสร้างสรรค์ผลงานใหม่ขึ้นมาได้
สิ่งที่ควรทำ: ฟังเพลง / อ่านหนังสือ / ชมภาพยนตร์ / ชมพิพิธภัณฑ์ และนิทรรศการ / เดินทางท่องเที่ยว / ถ่ายภาพ / ติดตามเทรนด์รอบโลก / พูดคุยกับผู้คน

ศึกษาจากความสำเร็จ


การศึกษาประวัติบุคคลที่ประสบความสำเร็จ คือ การเพิ่มเทคนิคและทักษะในการทำงานให้แก่ตัวเราเองอย่างง่าย ๆ ไม่ว่าจะเป็นการนำมุมมองการใช้ชีวิต วิธีการแก้ไขปัญหา หรือแม้กระทั่งรูปแบบการดำเนินชีวิตของเขา การศึกษาจากบุคคลเหล่านี้จะทำให้เราเห็นบางอย่างที่เราอาจมองข้าม และนำบทเรียนที่ได้มาประยุกต์ใช้ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ บางครั้งงานที่โดดเด่นก็ไม่จำเป็นต้องสร้างขึ้นใหม่ แค่ต่อยอดและพัฒนาสิ่งที่เคยมีให้ดีกว่าเดิม แค่นี้ก็ถือเป็นความสำเร็จได้เช่นกัน
สิ่งที่ควรทำ: อ่านหนังสือของบุคคลที่ประสบความสำเร็จหรือฟังบรรยายแล้วลองจดบันทึกสิ่งที่บุคคลเหล่านั้นทำเป็นประจำ

ทีมเวิร์กสำคัญที่สุด


การจะสร้างผลงานให้โดดเด่น ควรเปิดโอกาสให้เพื่อนร่วมทีมได้แสดงความคิดเห็น หรือเสนอแนะไอเดีย การได้แชร์ความคิด มุมมอง และประสบการณ์ต่าง ๆ ร่วมกันจะทำให้เราเกิดมุมมองแปลกใหม่ ซึ่งบางทีเราอาจไม่เคยนึกถึงมาก่อน แต่ก็ต้องทำใจไว้หน่อยว่าอาจมีการถกเถียงกันภายใน จนอาจมีอารมณ์บึ้งตึงใส่กัน อย่างไรก็ตาม เราควรบอกตัวเองเสมอว่าการแลกเปลี่ยนและถกเถียงกันในทีม ไม่ใช่การทะเลาะกัน แต่เป็นการระดมความคิด ซึ่งเป็นตัวช่วยสำคัญที่จะทำให้งานสำเร็จลุล่วง
สิ่งที่ควรทำ: เปิดใจ และพยายามมีส่วนร่วมในการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นให้เยอะที่สุด รวมทั้งการนำภาพตัวอย่างมาใช้อธิบายจะช่วยให้เพื่อนร่วมทีมเห็นแนวทางในการดัดแปลง และแก้ไขชิ้นงานได้ง่ายขึ้น
ขอบคุณข้อมูลจาก: -
ลงทะเบียนรับข่าวสาร
บริการส่งข้อมูลความรู้ ให้ลูกค้าธุรกิจผ่านอีเมล์
บริการจัดส่งบทวิเคราะห์และข้อมูลข่าวสารทางธุรกิจผ่านทาง E-mail
  • บทวิเคราะห์เศรษฐกิจรายสัปดาห์จากศูนย์วิจัยกรุงศรี
  • ผลการสำรวจดัชนีภาวะธุรกิจ SME รายไตรมาส โดยกรุงศรี
  • ข่าวสาร และกิจกรรมของธนาคาร
  • บริการทางการเงิน และโปรโมชั่นใหม่ๆ ของธนาคาร
Follow us on
ลงทะเบียนรับข่าวสาร
บริการส่งข้อมูลความรู้ ให้ลูกค้าธุรกิจผ่านอีเมล์
บริการจัดส่งบทวิเคราะห์และข้อมูลข่าวสารทางธุรกิจผ่านทาง E-mail
  • บทวิเคราะห์เศรษฐกิจรายสัปดาห์จากศูนย์วิจัยกรุงศรี
  • ผลการสำรวจดัชนีภาวะธุรกิจ SME รายไตรมาส โดยกรุงศรี
  • ข่าวสาร และกิจกรรมของธนาคาร
  • บริการทางการเงิน และโปรโมชั่นใหม่ๆ ของธนาคาร
Powered by
© 2567 ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน)
Follow